การท่องเที่ยวไปในดินแดนปลายด้ามขวาน 2


ต่อจากตอนที่แล้ว

เมื่อผู้เขียนกำลังนั่งรถผ่านตัวเมืองหาดใหญ่ไปในถนนสายเก่ามุ่งตรงออกไปสู่อำเภอสะเดานั้นได้ครุ่นคิดถึงดินแดนแถบนี้ ในภาคใต้ของประเทศไทยปัจจุบันมีผู้คนนับถือศาสนาอิสลามอยู่มาก ยิ่งมองเข้าไปในเขตสามจังหวัดภาคใต้ตอนล่างนี้มักจะเห็นศาสนสถานคือมัสยิดและชุมชนมุสลิมอยู่ทั่วไป ความหนาแน่นของชุมชนขยายออกมาในสี่อำเภอของจังหวัดสงขลาและจังหวัดสตูลบางส่วน

แต่ยังไม่ทราบแน่ชัดว่าศาสนาอิสลามได้เผยแพร่เข้ามายังดินแดนแถบนี้ตั้งแต่ปี พ. ศ. ใดกันแน่ จะมีก็เพียงการคาดเดาของเหล่าผู้สนใจใฝ่รู้แล้วบันทึกไว้ว่าในราวพุทธศตวรรษที่ 18 ที่ศาสนาอิสลามได้เผยแพร่เข้ามาในชุมชนมลายู - ชวา ด้วยดินแดนแถบนี้ถือได้ว่าเป็นดินแดนแห่งวัฒนธรรมมลายู – ชวามาแต่เดิม ด้วยเหตุนี้เองผู้ประกาศศาสนาอิสลามได้ใช้ภาษามลายูเป็นหลักในการสื่อสารกับชุมชนท้องถิ่นอันเป็นเหตุให้ผู้คนเข้าถึงหลักคำสอนศาสนาอิสลามได้โดยง่ายและรวดเร็วที่จะยอมรับเป็นศาสนิกชนมุสลิม

ในอีกกระแสหนึ่งเล่าขานกันมาว่าในราวพุทธศตวรรษที่ 18 บนเกาะสุมาตราอันไกลโพ้นได้ก่อเกิดการปกครองโดยใช้กฎหมายทางศาสนาอิสลามขึ้นที่เมืองปาไซ ( Pasai ) และที่เมืองอาเจะห์ ( Acheh ) โดยเฉพาะในปี พ. ศ. 1840 นั้นเมื่อเจ้าผู้ปกครองเมืองปาไซล่วงลับไปปรากฏว่าเป็นสุลต่านคนแรกของเมืองปาไซ

ในบางแห่งได้เล่าขานถึงมาโคโปโลนักเดินเรือทะเลจากจีนแผ่นดินใหญ่ผ่านมาทางช่องแคบมะละกา ในราวปี พ. ศ. 1835 ก็ได้เล่าไว้ทำนองว่าบรรดากลุ่มชน ในชายฝั่งตะวันออกของเกาะสุมาตรานั้นบัดนี้ได้หันมาเปลี่ยนศาสนาโดยนับถือศาสนาอิสลามตามบรรดาพ่อค้าที่นำสินค้าชาวอาหรับที่มาค้าขายสินค้าด้วยมาเผยแพร่ศาสนาด้วยในขณะเดียวกัน

........................................................................

ขอขอบคุณหนังสืออ่านเพิ่มเติมดังนี้

1 . สุธิวงศ์ พงศ์ไพบูลย์, .ความสัมพันธ์ระหว่างเมืองสงขลากับต่างเมืองที่ส่งผลต่อผู้คนและวัฒนธรรมท้องถิ่น.ใน.สงขลาศึกษาประวัติศาสตร์และโบราณคดีเมืองสงขลา. ( สงขลา : สถาบันทักษิณคดีศึกษา, 2535 ).

2 . Brain Harrison, South – East Asia : A Short History ( New York : ST Martin Press, 1967 )

หมายเลขบันทึก: 584388เขียนเมื่อ 22 มกราคม 2015 23:31 น. ()แก้ไขเมื่อ 22 มกราคม 2015 23:31 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท