10 เหตุผลที่ไม่ต้องพัฒนาคุณภาพ


If the organization isn’t serious about improvement, the criteria will only provide frustration

10 เหตุผลที่ไม่ต้องพัฒนาคุณภาพ

(ไม่ว่าจะเป็น TQA, EdPEx, SEPA, PMQA, HA, MBNQA ฯลฯ)

พันเอก มารวย ส่งทานินทร์

[email protected]

10 มกราคม 2558

บทความนี้ดัดแปลงเนื้อหาให้เข้าบริบทแบบไทย ๆ กับคำถามที่พบบ่อย โดยนำมาจาก The Top Ten Reasons Your Organization Should Not Do Baldrige ประพันธ์โดย Mac McGuire, Ph.D. McGuire & Associates

ผู้สนใจเอกสารแบบ PowerPoint (PDF file) สามารถ Download ได้ที่ http://www.slideshare.net/maruay/10-reasons-not-to-do-balrige

เหตุผลข้อที่ 10 จะต้องสนใจฟังทำไม ว่าใครเขาจะว่าเราอย่างไร เสียงนกเสียงกา

  • ถ้าองค์กรนำเกณฑ์มาใช้ ในเกณฑ์ระบุว่า องค์กรจะต้องสร้างความสัมพันธ์กับบุคคลทั้งภายนอกคือ ผู้ส่งมอบ พันธมิตร ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย และสร้างความสัมพันธ์กับบุคคลภายในคือ บุคลากร นอกจากนั้นองค์กรยังต้องกำหนด ตัวชี้วัดความสำเร็จของความสัมพันธ์ด้วยว่า องค์กรทำได้ดีเพียงใด
  • ใครได้ประโยชน์จากการมีความสัมพันธ์อันดีเหล่านั้น?

เหตุผลข้อที่ 9 จ้างที่ปรึกษาดีกว่า ที่ปรึกษารู้ดี ว่าจะต้องทำอย่างไรจึงจะถูกต้อง

  • การส่งแบบประเมินเพื่อขอรับรางวัล ไม่ว่าจะได้รางวัลหรือไม่ก็ตาม องค์กรจะได้รับข้อมูลป้อนกลับ ที่มีทั้งจุดแข็งและโอกาสพัฒนาตามบริบทขององค์กร ด้วยค่าใช้จ่ายที่ถูกมาก ๆ เพื่อพัฒนาให้กระบวนการและผลลัพธ์มีประสิทธิผลมากขึ้น จากผู้ตรวจประเมินมืออาชีพ ที่มาจากสาขาวิชาต่าง ๆ
  • ใครได้ประโยชน์จากรายงานป้อนกลับ โดยบุคคลภายนอก ที่เน้นว่า องค์กรควรมุ่งเน้นการพัฒนาที่จุดใดบ้าง?

เหตุผลข้อที่ 8 สิ่งที่เราทำอยู่ในปัจจุบันก็ดีอยู่แล้วนี่ ไม่เห็นจำเป็นต้องไปเปรียบเทียบกับใคร

  • การพัฒนาตามเกณฑ์ องค์กรมีจุดมุ่งหมายว่าจะพัฒนาไปสู่จุดใดตามวิสัยทัศน์ การที่จะรู้ว่าขณะนี้เราอยู่ในระดับใด ต้องมีคู่เทียบเคียง ไม่ว่าจะเป็นเทียบกับคู่แข่ง การเทียบเคียงในอุตสาหกรรมเดียวกัน หรือการเป็นผู้นำในอุตสาหกรรมนั้น ๆ
  • ใคร ๆ เขาต้องการพัฒนาผลประกอบการให้ดีขึ้นอยู่ตลอดเวลา ถ้าเราอยู่เฉย ไม่ดูคนอื่น เราก็จะถูกทิ้งให้อยู่ท้ายแถวโดยไม่รู้ตัว

เหตุผลข้อที่ 7 ผู้ตรวจประเมินทั้งภายนอกและภายใน มีไปทำไม ไม่จำเป็นต้องไปอบรมกันหรอก

  • การได้ทำหน้าที่เป็นผู้ตรวจประเมิน ถือว่าเป็นเกียรติประวัติกับตนเองและองค์กร เป็นความท้าทาย ได้เรียนรู้เพิ่มเติม ได้พบปะกับผู้ที่มีความฉลาดปราดเปรื่อง เป็นอีกหนทางหนึ่งที่ได้รับใช้สังคม ประเทศชาติ และสร้างประโยชน์ให้กับชนรุ่นต่อไป
  • เรื่องนี้ไม่เกี่ยวกับเงิน (เงินไม่ใช่ปัจจัยที่สำคัญที่สุดในเรื่องนี้) เพราะการเป็นผู้ตรวจประเมิน เป็นการอาสาสมัครเข้ามาทำงาน

เหตุผลข้อที่ 6 การจัดทำงบประมาณไม่เห็นยาก ทำแบบที่เคยทำมาเป็นประเพณีนั่นแหละ

  • เกณฑ์ระบุไว้ว่า การจัดสรรทรัพยากรต้องบูรณาการและมีการจัดลำดับความสำคัญของทรัพยากรที่มีอยู่อย่างจำกัด (เงิน เวลา พลังงาน บุคคล) เพื่อให้องค์กรปฏิบัติงานได้สอดคล้องตามแผนกลยุทธ์ที่จัดทำไว้ ไม่ใช่ทำตามคู่มือที่อยู่บนหิ้ง
  • องค์กรควรจัดสรรทรัพยากร ตามลำดับความสำคัญที่มีอยู่ในแผนกลยุทธ์หรือไม่?

เหตุผลข้อที่ 5 การติดต่อสื่อสารก็ใช้ได้อยู่แล้ว จะไปพัฒนาอะไรอีก

  • การนำเกณฑ์มาใช้ ต้องมีการพัฒนาระบบการติดต่อสื่อสารกับบุคลากรทั่วทั้งองค์กร ตลอดจนถึงภายนอก ผู้นำจะต้องมีการพบปะพูดคุยกับบุคลากรด่านหน้าอย่างซื่อสัตย์และจริงใจ ว่านโยบายข้อใดปฏิบัติได้ ข้อใดไม่สามารถปฏิบัติได้
  • การติดต่อสื่อสารที่มีทั้งแนวระดับและแนวระนาบ และการติดต่อสื่อสารสองทางเป็นเรื่องดีหรือไม่?

เหตุผลข้อที่ 4 การอบรมบุคลากร ก็ให้สอบถามความคิดเห็น แล้วส่งไปอบรมก็จบเรื่อง ไม่ต้องปวดหัว

  • ในเกณฑ์กำหนดให้มีแนวทางในการทำแผนปฏิบัติการและมีการปฏิบัติตามแผนที่วางไว้ เพื่อให้แผนปฏิบัติการมีการตอบสนองต่อเป้าประสงค์ขององค์กรสัมฤทธิ์ผล องค์กรจึงควรมีการอบรมความรู้ที่ขาดอยู่ ให้กับบุคลากรทุกระดับ รวมถึงผู้นำด้วย
  • ทำไมองค์กรต้องจัดทำแผนปฏิบัติการ และต้องรับผิดชอบในการทำแผนปฏิบัติการให้สำเร็จด้วย?

หตุผลข้อที่ 3 คนอื่นอยากทำตามกระแสก็ช่างเขา เราอยู่ของเราอย่างนี้ก็ดีแล้ว เป็นเรื่องของไฟไหม้ฟาง ผ่านมาแล้วก็ผ่านไป

  • ตามเกณฑ์ที่กำหนด องค์กรจะต้องมีการติดตามสถานการณ์ในอุตสาหกรรมที่เราอยู่ให้เป็นปัจจุบันอยู่เสมอ บุคลากรแต่ละคนควรติดตามข่าวสารจากสิ่งตีพิมพ์ โลกสังคมออนไลน์ หรือจากแหล่งอื่น ๆ เพื่อให้มีความรู้ทันกับองค์กรเหล่านั้น
  • รู้หรือไม่ว่าองค์กรของคุณทำไมจึงยังไม่เป็นเลิศ ยังต้องคอยมองผู้อื่นด้วย?

เหตุผลข้อที่ 2 เกลียดนักเชียว พวกที่ชอบมาประเมินเรา มีหลายคณะเหลือเกิน ทำไมไม่มีแบบประเมินแบบเดียว แล้วตรวจได้ทุกคณะ

  • เกณฑ์ระบุให้การปฏิบัติงานประจำวัน มีความสอดคล้องกับแผนกลยุทธ์ และปัจจัยสำคัญสู่ความสำเร็จ การปฏิบัติงานต้องมีการประเมินผลอย่างสม่ำเสมอ มีการพัฒนาตามความต้องการและความคาดหวังของลูกค้า/นักเรียน/ผู้ป่วย ว่าทำได้ดีเพียงใด
  • ทำไมต้องมีการประเมิน แล้วทำไมจึงยังกลัวการประเมินอีก?

เหตุผลข้อที่ 1 เราทำหน้าที่ของเราให้เต็มที่ก็เพียงพอ อย่างอื่นไม่ต้องไปสนใจ เงินเดือนก็ได้เท่าเดิมอยู่แล้ว

  • ความสำคัญที่สุด อยู่ที่ความรับผิดชอบต่อหน้าที่ (accountability and responsibility) ที่บุคลากรทุกระดับทั่วทั้งองค์กรต้องมี ในเกณฑ์ระบุว่า การปฏิบัติงานต้องมีการวัดผลว่า มีส่วนช่วยให้องค์กรบรรลุวิสัยทัศน์ได้อย่างไร
  • การปฏิบัติงาน ทำไมจึงต้องมีการวัดผลงานที่รับผิดชอบว่า ทำได้ดีเพียงใด?

สรุป

  • I can say without reservation that the Baldrige Criteria is ideal for any organization that wants to improve performance or financials in business, health care, not for profit, and education sectors – but only if the organization is serious about improving.
  • If the organization isn't serious about improvement, the criteria will only provide frustration.Mac McGuire, Ph.D. McGuire & Associates

*******************************************


คำสำคัญ (Tags): #tqa#edpex#SEPA#pmqa#ha#mbnqa
หมายเลขบันทึก: 583751เขียนเมื่อ 10 มกราคม 2015 12:43 น. ()แก้ไขเมื่อ 10 มกราคม 2015 22:24 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

เปลี่ยน จาก ลบ ไปเป็น บวก สะดวก พัฒนาคุณภาพ ครับ 10 ประเด็น มี 11 ทำใจ ครับ

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท