ฟื้นฟูป่าชายเลน สร้างแหล่งเพาะพันธุ์ รักษ์ธรรมชาติ-สิ่งแวดล้อมบ้านแสงอรุณ


หมู่บ้านแสงอรุณ ตำบลแสงอรุณ อำเภอทับสะแก จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ แต่เดิมมีความอุดมสมบูรณ์ทางทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมสูง โดยเฉพาะพื้นที่ป่าชายเลนที่มีอยู่ประมาณ 30 ไร่ มีความหลากหลายทางชีวภาพ มีสัตว์น้ำ สัตว์ครึ่งบก-ครึ่งน้ำ อย่างอุดมสมบูรณ์ ในป่าชายเลนมีต้นโกงกาง ต้นโพธิ์ ต้นแสม ขึ้นอยู่อย่างหนาแน่น ช่วยยึดเหนี่ยวหน้าดินไม่ให้พังทลาย และเป็นที่หลบอาศัยของสัตว์ชนิดต่างๆ เช่น ลิง ปลา กุ้ง หอย ปู ที่สำคัญเป็นแหล่งอาหารของคนในหมู่บ้านแสงอรุณและหมู่บ้านใกล้เคียง

แต่ปัจจุบัน ความเจริญเติบโตทางวัตถุได้รุกคืบสู่หมู่บ้าน มีการขุดดินถมที่เพื่อปลูกสร้างบ้านเรือน มีการนำต้นไม้ที่ป่าชายเลนไปเผาถ่าน เพื่อเป็นเชื้อเพลิงและสร้างรายได้ให้กับครัวเรือน บางกลุ่มมีการตัดถอนต้นโกงกาง เพื่อให้สะดวกแก่การหาสัตว์น้ำ ส่งผลให้พื้นที่ป่าชายเลนลดลง ส่งผลกระทบในเรื่อง

- แหล่งเพาะพันธุ์และที่หลบภัยของสัตว์น้ำลดลง

- ปริมาณและขนาดสัตว์น้ำ กุ้ง หอย ปู ปลา ลดลง

- ชาวประมงในชุมชนและพื้นที่ข้างเคียงขาดรายได้

- ชาวประมงมีภาวะหนี้สิ้นจนเกิดภาวะเครียด ร่างกายทรุดโทรม

จากเหตุผลดังกล่าว ผู้นำชุมชน หมู่ 4 บ้านแสงอรุณได้ขอการสนับสนุนจากสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ หรือ สสส. ทำ โครงการฟื้นฟูป่าชายเลนบ้านแสงอรุณให้เป็นแหล่งเพาะพันธุ์บ้านแสงอรุณ จากนั้นได้มีการพูดคุยกับชาวบ้าน เพื่ออธิบายโครงการฯและอยากเห็นหมู่บ้านแสงอรุณมีความอุดมสมบูรณ์ทางทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมมีแหล่งทำกิน มีแหล่งท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์เป็นแหล่งอาหารของคนในชุมชน

ในการดำเนินงานหมู่บ้านแสงอรุณได้รับการสนับสนุนงบประมาณจากสำนักสร้างสรรค์โอกาสและนวัตกรรม (สำนัก6) สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) จำนวน 122,000 บาท มีการคัดเลือกตัวแทนกลุ่มต่างๆ ในหมู่บ้าน 20 กลุ่มมาเป็นคณะทำงานสภาผู้นำชุมชน 20 คน เพื่อเป็นกลไกในการขับเคลื่อนการดำเนินงานโครงการและการพัฒนาหมู่บ้านในทุกๆ เรื่องเพื่อนำไปสู่ชุมชนน่าอยู่ต่อไป

กิจกรรมสำคัญๆ ที่ทำไปแล้ว ได้แก่การอบรมให้ความรู้เรื่องวิธีการปลูกป่าชายเลน กลุ่มเป้าหมาย 100 คน มีผู้เข้าร่วมอบรม 107 คน ในวันที่ 19 ธันวาคม 2556 ที่ อบต.แสงอรุณ โดยเชิญวิทยากรจากประมงอำเภอมาให้ความรู้กับผู้เข้าเวทีในเรื่องการปลูกป่าชายเลน การดูแลรักษา ทำให้ผู้เข้าร่วมอบรมมีความรู้ในเรื่องการปลูก การดูแลรักษาป่าชายเลน และมีการกำหนดแผนการเฝ้าระวังหลังจากปลูกป่าโดยผลัดเปลี่ยนดูแลทุกวันวันละ 3 คน มีมาตรการในการดูแลรักษาต้นไม้ที่ปลูกให้รอด ต้นโกงกาง 2,000 ต้น ต้นจาก 500 ต้น ทำให้เกิดมาตรการในการดูแลดังนี้

1.ห้ามตัดต้นโกงกางและต้นไม้ที่ปลูกบริเวณป่าชายเลน

2.ห้ามลงจับสัตว์น้ำทุกชนิดในช่วงที่กรมประมงประกาศในฤดูวางไข่

3.การดูแลเฝ้าระวังต้นโกงกางและให้มีการปลูกซ่อมแซมต่อเนื่อง

หลังจากนั้นก็มีกิจกรรมปลูกป่าชายเลนเมื่อวันที่ 26 ธันวาคม 2556 คณะทำงานนัดหมายวันเวลาปลูกป่าชายเลน พันธุ์กล้าในการปลูกโดยได้รับการสนับสนุนจากประมงอำเภอ , ศูนย์ทรัพยากรที่ 8 อ.บางสะพาน และอบต.แสงอรุณ ผู้เข้าร่วม 105 คน มีส่วนร่วมในการปลูกป่าโกงการ 2,000 ต้น ต้นจาก 500 ต้น ในวันปลูก ผู้บริหารและเจ้าหน้าที่อบต.แสงอรุณได้มีส่วนร่วมในการปลูกและช่วยดูแลให้เป็นพื้นที่ในการอนุรักษ์สัตว์น้ำของตำบลแสงอรุณต่อไป

หลังจากปลูกเสร็จแล้ว ได้มีการเฝ้าระวังป่าชายเลน โดยมีอาสาสมัครออกตรวจทุกวัน จะมีการจดบันทึกเกี่ยวกับปริมาณสัตว์น้ำที่จับได้ โดยการสอบถามจากชาวประมงที่ออกเรือบริเวณป่าชายเลนบ้านแสงอรุณ และตรวจดูสภาพของต้นโกงจากข้อมูลการออกตรวจจำนวนต้นโกงกาและต้นจากยังอยู่ในสภาพปกติไม่ตาย มีการเจริญเติบโตได้ดี

โครงการได้ทำกิจกรรมปลูกป่าชายเลนอย่างต่อเนื่อง มีกลุ่มเอกชนและหน่วยงานอื่นมาร่วมปลูกอย่างต่อเนื่อง แต่มีอุปสรรคสำคัญคือ พื้นดินถูกคลุมไว้ด้วยผ้าพลาสติกดำยาวรอบคุ้งน้ำ ต้นไม้ที่ปลูกไปก็ไม่ขึ้น ในช่วงแรก ต้นไม้ไม่เติบโตเลย ปลูกไปก็ตายเพราะปลูกได้แค่ชั้นหน้าดินเจาะผ่านพลาสติกไม่ได้ ชาวบ้านต้องเพิ่มวิธีปลูกคือ เอาเสียมเจาะให้ถึงชั้นดินแล้วจึงปลูกต้นไม้ลงไป

น่าแปลกใจที่มีกลุ่มคนพยายามจะพควบคุมสภาพแวดล้อม ด้วยการเอาผื่นผ้าใบคลุมลงบนผิวดินใต้น้ำในพื้นที่กว่า 100 ตารางกิโลเมตร นับเป็นการทำลายความสมดุลของทรัพยากรธรรมชาติเป็นอย่างมาก ต้องใช้เงินลงทุนมหาศาล และทำบนพื้นที่สาธารณประโยชน์ เมื่อโครงการไปไม่รอดขาดทุน ความพยายามในการทำลายทรัพยากรธรรมชาติก็สูญเปล่า แถมยังทิ้งร่องรอยไว้จนถึงปัจจุบัน

กิจกรรมของชาวบ้านยังมีความยั่งยืนอย่างต่อเนื่อง มีการผลัดเวรยามมาดูแลรักษา และเก็บสถิติความสมบูรณ์ของทรัพยากร ในกิจกรรมปลูกป่าชายเลนคุณครูก็พานักเรียนมาร่วมกิจกรรม เป็นการปลูกฝังลูกหลานในพื้นที่ให้รู้จักและรักษาทรัพยากรของตนเอง

หมายเลขบันทึก: 583693เขียนเมื่อ 9 มกราคม 2015 15:10 น. ()แก้ไขเมื่อ 9 มกราคม 2015 17:45 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท