บันทึกนี้เป็นเรื่องราวของการบริหารการใช้จ่ายผ่านบัตรเครดิต Duo Firstchoice ครับ เป็นการคิดและปฏิบัติลึก 3 ชั้นครับ จากโปรโมชั่นของบัตร มีเวลาให้ทดลองวิชา 4 เดือน ตั้งแต่เดือน พฤศจิกายน, ธันวาคม, มกราคม และกุมภาพันธ์
ผ่านไป ๒ เดือน แล้ว นำผลปฏิบัติมาบันทึกไว้ เผื่อจะได้เป็นประโยชน์สำหรับผู้บริโภค เป็นประสบการณ์จากการปฏิบัติ เป็น Active learning และเกิด Mastery learning แบบที่คนคิดโปรโมชั่นคาดคิดไม่ถึง และหากมีคนอย่างผมถึง ๒๐% ของผู้ถือบัตร บริษัทบัตรเครดิตจำต้องปิดกิจการไป...
ผู้ที่จะอ่านบันทึกนี้เข้าใจ ต้องไปอ่านบันทึก ครอบครัวตึ๋งหนืด <๓๕> ครอบครัวตึ๋งหนืด <๓๖> ครอบครัวตึ๋งหนืด <๓๘> มาก่อนนะครับ
ตัดตอนมาที่ บัตรเครดิต Duo Firstchoice ของผม
ทีนี้ถ้าผมมียอดใช้จ่าย 1-25 ธันวาคม 2557 คิดตัวเลขกลมๆ 20,000 บาท และ ช่วงวันที่ 26-31 ธันวาคม 2557 ผมรูดบัตรเครดิตอีก 50,000 บาท ยอดใช้จ่ายในเดือนธันวาคม 70,000 บาท
แต่ในวันที่ ๒ มกราคม ๒๕๕๘ (ตอนเช้าๆ ) จะมี SMS เข้ามาแจ้งว่าผมได้รับเครดิตเงินคืน 750+1500+700 บาท เท่ากับ 2,750 บาท ซึ่งจะเครดิตคืนเงินให้ผมใน 7 วันทำการ (คือราว 10 วันปฏิทิน) แต่ในทางปฏิบัติ ผมมีวงเงินใช้จ่ายเพิ่มทันที 2,750 บาท หลังจากได้ SMS ซึ่งผมไปรูดซื้อสินค้าได้ทันที โดยไปเติมน้ำมันขณะที่วงเงินเหลือ 700 บาท แต่ผมสามารถเติมน้ำมันในราคา 900 บาท และซื้อของอื่นๆ ได้อีก แสดงว่ายอดเงินในบัญชีบัตรเครดิต Active แล้ว (คนส่วนใหญ่ไม่ทราบ แต่ผมทราบจากการปฏิบัติ)
คิดแบบนี้ธรรมดาเกินไป คิดได้แค่ 2 ชั้น (ซึ่งนับว่ายอดแล้ว)
สรุปว่า หากเราอยู่เฉยๆ ก็จะเสียดอกเบี้ยเงินกู้ไปตามปกติ แต่เมื่อเราโยกเงิน (ให้เงินทำหน้าที่แทนเรา) โดยการบริหารบัตรเครดิต เราจะได้เงินเพิ่มในกระเป๋าไป-กลับ เป็นเงิน ๒,๑๐๘ บาท ถ้าเอาไปรูดเติมน้ำมันรถ ก็ได้น้ำมันใช้ฟรีประมาณ ๗๗ ลิตร วิ่งรถได้ไกลถึง ๑,๑๕๕ กิโลเมตร (รถ KIA-Eco.Car)
ตามสูตรครอบครัวตึ๋งหนืดบอกไว้ว่า "ประหยัดเงินได้ ๑ บาท ดีกว่าหาเงินเพิ่ม ๑๐๐ บาท ดังนั้นประหยัดเงินได้ ๒,๐๐๐ บาท ดีกว่าไปหาเงินเพิ่ม ๒ แสนบาท"
น่าสงสัยไหมว่าทำไมตึ๋งหนืดจึงกล่าวแบบนี้?
ไม่มีความเห็น