beeman 吴联乐
นาย สมลักษณ์ (ลักษณวงศ์) วงศ์สมาโนดน์

ครอบครัวตึ๋งหนืด <๓๖> (วิธีคิด-วิธีปฏิบัติ) เปลี่ยนค่าใช้จ่ายผ่านบัตรเครดิต ให้เป็นรายรับ ในแบบที่บริษัทบัตรเครดิต(คาด)คิดไม่ถึง


โจทย์/วิธีคิด : จะต้องมียอดค่าใช้จ่ายผ่านบัตรเครดิตต่อเดือนเท่าไร จึงจะได้รับเครดิตเงินคืนสูงสุด 3,000 บาท ต่อเดือน/รอบบัญชี ตามโฆษณา และจะมีหนทางได้รับเงินคืนมากกว่าเงินคืนสูงสุด หรือไม่ อย่างไร

จากโฆษณา

โฆษณาบัตรเครดิต First Choice

คุณจะรับคำท้า ใช้จ่ายผ่านบัตรเครดิตนี้หรือไม่ ระยะเวลารับคำท้าคือ 1 พฤศจิกายน 2557 ถึง 28 พฤศจิกายน 2558 เป็นเวลา 4 เดือน .... ถ้าคำตอบคือไม่ (หรือไม่มีบัตรเครดิต First Choice) คุณก็ไม่ต้องอ่านบันทึกนี้ต่อ

แต่สำหรับครอบครัวตึ๋งหนืด ก่อนจะทำอะไรต้องนั่งคิดทบทวน (วิเคราะห์) ก่อน (วิเคราะห์=Analyse มาจาก Ana แปลว่า apart แยกแยะ) เงื่อนไขโฆษณา ซึ่งวิเคราะห์ได้ดังนี้

  1. การเครดิตเงินคืน 16,000 บาท เป็นเงินคืนสูงสุดที่เป็นไปได้ (Maximum Rate) ใน 1 รอบโปรโมชั่น ตลอดระยะเวลา 4 เดือน
  2. เครดิตแต่ละเดือนสูงสุด คือ 3,000 บาท รวม 4 เดือน เป็นเงิน 12,000 บาท และ อีก 4,000 บาท จะได้จากยอดใช้จ่าย 4 เดือน รวม 450,000 บาท ซึ่งจะต้องมีเงื่อนไขรักษายอดใช้จ่ายขั้นต่ำ 5,000 บาท ทุกเดือน จึงเป็นเงื่อนไขที่ไม่น่าสนใจอย่างไร...

สรุปว่า สนใจที่เงือนไข เงินคืน สูงสุด เดือนละ 3,000 บาท จะต้องทำอย่างไร? (โฆษณาคือโฆษณา คือ ต้องเวอร์เอาไว้ก่อน เหมือนว่า จะได้เงินคืน ๑ รอบบัญชี 16,000 บาท แต่ความจริงต้องไปศึกษาเงื่อนไขอีก) ตรงนี้แหละที่ท้าทายระบบวิธีคิดของเรา

วิธีคิดของบริษัทบัตรเครดิต First Choice คือ เงื่อนไขการคืนเงินเข้าบัตรเครดิตแบบขั้นบันได (ซึ่งบีแมนปรับรูปแบบให้ง่ายเข้า) ดังตาราง


ยอดใช้จ่ายสะสมต่อเดือน จำนวนเงินที่นำมาคำนวณเครดิตเงินคืน (บาท) % เครดิตเงินคืน จำนวนเงินคืนสูงสุดในแต่ละขั้น
ตั้งแต่ 5001-30,000 บาท 25,000 บาท 3 % 750 บาท
30,000-60,000 บาท 30,000 บาท 5 % 1500 บาท
60,001-70,715 บาท 10,715 บาท 7 % 750 บาท
รวมเครดิตเงินคืนสูงสุด 3,000 บาท/เดือน/บัญชี
00

จะเห็นว่า..ยอดใช้จ่ายสูงสุดต่อเดือนคือ 70,715 บาท....

(ต่อไปเป็นการนำข้อมูลที่วิเคราะห์มาสังเคราะห์ โดยที่การสังเคราะห์ หรือ Synthesize เป็นการตกผลึกในวิธีคิดของแต่ละคน)
แต่บัตรเครดิตของครอบครัวตึ๋งหนืด มียอดเงินรวมอยู่ที่ 71,000 บาท เป็นยอด บัตรเครดิต (รูดซื้อสินค้า 41,000) บาท และยอดเครดิตส่วนบุคคล (ผ่อนซื้อสินค้า 30,000) เมื่อทำการโยกวงเงินแล้ว ผลการโยกวงเวินใหม่มีดังนี้

  • ยอดเงินบัตรเครดิตมี 65,000 บาท
  • ยอดเงินผ่อนสินค้ามี 6,000 บาท (เน้นใช้เครดิต)

และยอดเงินบัตรเครดิตเมื่อวันที่ 1 พฤศจิกายน 2557 มียอดคงค้าง (หนี้เดิม) 10,664 บาท ทำให้ยอดใช้จ่ายผ่านบัตรเครดิตในเดือนพฤศจิกายน 2557 เหลือเพียง 65,000-10,664=54,336 บาท เท่านั้น...ซึ่งจะมีสิทธิ์ได้รับเงินคืนสูงสุด เพียง 24,336*5%=1,216.8 บาท ซึ่งเมื่อรวมกับเงินคืนขั้นแรก จะเป็นเงินคืนสูงสุด 1,966.8 บาท ซึ่งคิดเป็นร้อยละของเงินที่คืนต่อยอดใช้จ่ายเท่ากับ 1,966.8หารด้วย 54,336 และคูณด้วย 100 จะเท่ากับ ประมาณ 3.62%

เงินคืน 3.62% นั้นน่าสนใจไหม เปรียบเหมือนเอาเงินไปลงทุน 54,336 บาทได้ผลตอบแทน 3.62% ต่อปี ก็น่าสนใจอยู่แล้ว เพราะผลตอบแทนนั้นเอาชนะเงินเฟ้อเฉลี่ย 3.0% ต่อปี...

แต่เครดิตเงินคืน จะคืนให้ภายใน 1 เดือน (หรืออย่างมากไม่เกิน 50 วัน ขึ้นอยู่กับความจำเป็นและแผนการใช้) หมายความว่า ได้ผลตอบแทน 3.62 % ภายในเวลาแค่ 1 เดือน ถ้าเงินหมุน 4 รอบของการลงทุน ก็จะได้ผลตอบแทนคิดเป็นปีเท่ากับ 3.62*4*3 เท่ากับ ผลตอบแทนเฉลี่ย 43.44% ต่อปี เลยทีเดียว..ทำให้น่าสงสัยว่า บริษัทบัตรเครดิตเอาเงินจากไหนมาจ่ายเป็นเครดิตเงินคืน..

ลองคิดคำตอบแทน.."บริษัทบัตรเครดิต"...เงินที่นำมาจ่ายให้กับลูกค้า ก็คือเงินของลูกค้าบัตรเครดิตที่ไม่มีการบริหารจัดการที่ดี คือ เมื่อถึงเวลาจ่าย จ่ายไม่ตรงนัดหรือจ่ายแค่ขั้นต่ำ ทำให้เป็นหนี้บัตรเครดิตนั่นเอง (มีภาระเป็นดอกเบี้ยและค่าธรรมเนียม)..นั่นก็คือมีคนได้และมีคนเสียจากการบริหารบัตรเครดิตที่เป็นระบบและไม่เป็นระบบ..ซึ่งผู้ถือบัตรเครดิตแต่ละคนจะมีวิธีคิดที่แตกต่างกันไปตามสิ่งที่ได้เรียนรู้มาในชีวิตซึ่งจะแตกต่างกันแม้จะเรียนมาจากสำนักเดียวกันก็ตาม..

กลับมาที่วิธีคิด...ถ้าผมต้องการเครดิตเงินคืน 3,000 บาท ต่อเดือน ซึ่งคิดเป็นค่าเฉลี่ยเครดิตเงินคืน จะเท่ากับ 3,000 หารด้วย 70,715 คูณด้วย 100 (ใช้ฐานคิดคือคณิตศาสตร์เรื่องเลขร้อยละสมัยเรียนชั้นประถมปีที่ 4) จะเท่ากับ 4.24 % ต่อเดือนเลยทีเดียว หรือ คิดเป็น 16.96 % ต่อปีเลยทีเดียว

เปรียบเหมือนเอาเงินมาฝากธนาคาร 70,715 บาท แล้วได้ผลตอบแทน เป็นเงิน 12,000 บาท คิดเป็น16.96 % (ต่อรอบ 4 เดือน) ซึ่งคือการบริหารการเงิน โดยการทำให้เงินทำหน้าที่ (โดยเรามีหน้าที่เป็นคนโยกเงินเท่านั้น)

คำถามท้าทายที่ตามมา คือ นั่นเป็นแค่วิธีคิด..ก็ในเมื่อคุณมีวงเงินบัตรเครดิตเพียง 65,000 บาท แล้วคุณยังใช้ได้เต็มที่ได้เพียง 54,336 บาท ในเดือนพฤศจิกายน ซึ่งคุณจะได้เครดิตเงินคืนเข้าบัญชีสูงสุดเพียง 1,966.8 บาท เท่านั้น...

คำตอบของผมคือ ผมเชื่อในความคิดที่ว่า ไม่มีอะไรในโลกนี้ ที่คนอื่นทำได้ แล้วผมจะทำไม่ได้ ตราบใดที่มันมีวิธีคิด ย่อมต้องมีวิธีปฏิบัติ...ดังที่ผมนำมาเรียบเรียงเป็นข้อๆ ดังนี้

  1. อย่าลืมเงื่อนไขการใช้จ่าย รอบการใช้จ่าย เดือน พฤศจิกายน คือ 1-30 พฤศจิกายน...
  2. แต่รอบตัดบัญชีของผมคือทุกวันที่ 25 ของเดือน ซึ่งรอบที่แล้วตัดยอดไปเมื่อ 25 ตุลาคม ยอดใช้จ่าย 10,644 บาท...ซึ่งผมต้องไปชำระหนี้บัตร 100% ภายในวันที่ 14 พฤศจิกายน
  3. ในช่วงวันที่ 1-7 พฤศจิกายน ผมรูดบัตรเครดิตใบนี้ เป็นเงินทั้งสิ้น 54,327 บาท ซึ่งถ้าจะให้ได้เครดิตเงิ นคืน 3,000 บาท ผมต้องใช้อีก 70,715-54,327 บาท ซึ่งจะเท่ากับ 16,388 บาท...
  4. ซึ่งผมก็ทำเพียง...ในวันที่ 14 พฤศจิกายน แทนที่ผมจำชำระบัตรเครดิต จำนวน 10,664 บาท...ผมก็ไปชำระเพิ่มให้เป็น 16,388 บาท (ชำระเพิ่ม 5,724 บาท เท่ากับผมเป็นเจ้าหนี้บัตรเครดิตอยู่ 5,724 หรือผมมีวงเงินคงเหลือสำหรับใช้จ่ายเพิ่มสำหรับเดือนพฤศจิกายน 16,388 บาท)
  5. ผมมีเวลาใช้บัตรรูดซื้อสินค้าในเดือนพฤศจิกายนอีก 5 วัน ระหว่างวันที่ 26-30 พฤศจิกายน (ซึ่งจะเป็นรอบบัญชีถัดไป มีระยะเวลาปลอดดอกเบี้ยสูงสุด 50 วัน) ซึ่งผมก็จะรูดบัตรเป็นยอดรวมทั้งสิ้น 16,388 บาท..ทำให้ยอดรวมการใช้จ่ายผ่านบัตรเครดิตของผมในเดือนพฤศจิกายน เป็นเงินทั้งสิ้น 70,715 บาท ได้เครดิตเงินคืนในวันที่ 4 ธันวาคม 2557 เป็นเงิน 3,000 บาท ยอดเงินจะเข้าบัญชีภายใน 7 วันทำการ ซึ่งจะเข้าบัญชีบัตรเครดิตในวันที่ 17 ธันวาคม 2557
  6. ที่สำคัญคือ...หลายคนคงคิดว่า ในเดือนพฤศจิกายน 2558 บีแมนได้เครดิตเงินคืน 3,000 บาท (เข้าบัญชี 17 ธันวาคม) ก็นับว่าสุดยอดอยู่แล้ว (เพราะมีวงเงินในบัตรแค่ 65,000 บาท) แต่ขึ้นชื่อว่าครอบครัวตึ๋งหนืด..ต้องได้มากกว่านั้น...คือ จะได้เงินคืนเพิ่มอีก 40.38 บาท (จากยอดการใช้จ่ายเพิม 4,038 บาท ในวันที่ 7 พฤศจิกายน ซึ่งเป็นวันเกิด-อีก ๑ โปรโมนชั่น) รวมได้รับเครดิตเงินคืน 3,040.38 บาท แถมได้ชุดผ้าปูที่นอน 1 ชุด มูลค่าตามโฆษณา 990 บาท จากการใช้จ่ายในเดือนเกิดยอด 50,000 บาท (เงินยอดเดียวกันนำมาคิดได้หลายรอบตามโปรโมชั่นที่มีอยู่ ณ ขณะนั้น)..ซึ่งเกินความคาดหมายของตึ๋งหนืดในตอนคิดครั้งแรกมากทีเดียว...และปฏิบัติได้แน่นอนตามที่เขียนไว้ในบันทึก เพราะได้วาง Action Plan ไว้เรียบร้อยแล้ว (คือบันทึกนี้ ซึ่งได้ประกาศให้โลกรู้ผ่าน gotoknow อิอิ)..
หมายเลขบันทึก: 579944เขียนเมื่อ 8 พฤศจิกายน 2014 10:54 น. ()แก้ไขเมื่อ 8 พฤศจิกายน 2014 15:56 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท