พัฒนาวิชาชีพครู ตอนที่ 1: ฟังเสียงของเด็ก ๆ


<ว่ากันเรื่องการพัฒนาครู>


เคยได้ยินกันมานานแล้วนะครับ ว่าครูต้องเป็นปูชนียาจารย์ แปลว่า ครูที่ควรบูชา

พอถามต่อไปว่า แล้วครูที่ควรบูชาควรจะเป็นแบบไหน เป็นแบบที่สอนดี สอนเก่ง สอนจนได้รับรางวัลหรือไม่

คำตอบส่วนใหญ่ก็คือ ครูที่ควรบูชา คือ ครูที่เป็นแบบอย่าง

ถามต่อว่า แบบอย่างอะไร? ก็อาจจะมีเสียงตอบว่า แบบอย่างทุกเรื่อง (??)

คำถามพวกนี้ ตอบโดยคนที่คาดหวังกับครู แต่ถ้าถามคนเป็นครู

ถามจริงๆ ว่าเรา "สมบูรณ์แบบ" หรือไม่

การเป็น role models นี้ยากมากนะครับ เพราะไม่รู้เหมือนกันว่าเด็กจะ "เลียนแบบ" หรือ "เอาอย่าง" ครูในด้านใด (แน่นอนว่า ครูไม่ได้มีสิ่งให้เลียนแบบได้ด้านเดียว)

มีนักการศึกษากล่าวไว้อย่างน่าสนใจว่า เหอะ จะเลียนแบบอะไรก็ได้ ขอให้ในนั้นมีด้านหนึ่งให้เด็กเลียนแบบ คือ ความเคารพผู้อื่น (respect) ก็แล้วกัน

แล้วไอ้การเคารพเด็กที่ไม่ยากเลยครับ เขาบอกว่า ให้คิดก่อนว่า สิ่งที่เราจะคิด พูด ทำกับเด็กนั้น ถ้าเราเป็นเด็กเสียเอง เราโอเคหรือไม่ ชอบ ยอมรับ เข้าใจได้หรือไม่

พูดอีกอย่างก็คือ จงปฏิบัติต่อเด็ก (หรือผู้อื่น) ในสิ่งที่ครูเองก็อยากได้รับการปฏิบัติจากผู้อื่น

เอาใจครู ไปใส่ในใจเด็ก "คิดในมุมเด็กบ้าง"

อ้อ คนพูดคือ Angela Lumpkin (2008: 48) ศาสตราจารย์แห่ง University of Kansas นะครับ ไม่ใช่ผม

เพราะงั้น ก่อนจะด่าผม ยังไงก็ขอให้เอาใจของท่านผู้่อ่านมาใส่ความรู้สึกของผมก่อน

นั่นแหล่ะครับ
ความนับถือได้เริ่มขึ้นแล้ว 555

______________________________________________________________________

หมายเลขบันทึก: 583376เขียนเมื่อ 3 มกราคม 2015 20:44 น. ()แก้ไขเมื่อ 3 มกราคม 2015 20:44 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

ชอบใจแนวคิด

ฟังเสียงเด็กๆบ้าง

ใช่เลยครับอาจารย์

ทำยาก แค่มาตราเงิน ก็คิดน้อยแล้ว เด็กลาวคิดเงินวันละหลายหมื่นกีบ

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท