การศึกษาการเรียนรู้จากครูสมพร…..คนสอนลิง


สมพร นามสกุล แซ่โค้ว เป็นชาวบ้าน อ.กาญจนดิษฐ์ จ.สุราษฎร์ธานี เป็นชาวสวนมะพร้าว เรียนจบเพียงชั้นประถมศึกษาปีที่ 4

ในวัยเพียง 17 ปี เขามีความคิดที่จะก่อตั้งวิทยาลัยฝึกลิง หลังเกิดแรงบันดาลใจจากความเวทนาลิงเก็บมะพร้าว และคิดที่จะหาทางช่วยไม่ให้ลิงต้องถูกเฆี่ยนเพราะเก็บมะพร้าวไม่เลือกแก่อ่อน ประกอบกับแรงหนุนส่งจากคำสอนของท่านพุทธทาส ภิกขุ แห่งสวนโมขพลาราม อริยสงฆ์ที่สมพรให้ความนับถือ

ท่านพุทธทาสจุดประกายคิดให้กับเขาว่า

"การศึกษามิใช่การเรียน ๆ ท่อง ๆ แต่เป็นการเห็นอย่างถูกต้องและสมบูรณ์ด้วยตนเอง การศึกษามีอยู่รอบตัว ธรรมชาติจะสอนให้เราเรียนรู้อย่างสะอาดและสวยงาม"

ถึงแม้มีแรงบันดาลใจที่จะก่อตั้งโรงเรียนฝึกลิงแล้วก็ตาม แต่เขายังไม่มีโอกาสทำมันเป็นจริงเป็นจังเสียที สิ่งที่ทำได้มีเพียงฝึกฝน "ไข่นุ้ย" ทหารเอกของเขา และคิดค้นวิธีการสอน การวางแผน การปฏิบัติงาน การวัดผล และการแสวงหานวัตกรรม การสอนใหม่ๆ โดยไม่ทำให้ลิงเกิดความกลัวจากการลงโทษเฆี่ยนตี แต่ฝึกได้ด้วยความรักและความเมตตา

"การฝึกผู้ไม่รู้ให้รู้ ไม่จำเป็นต้องลงโทษ เฆี่ยนตี แต่ต้องสอนแบบไม่บังคับ ไม่เฆี่ยนตี เพราะการเฆี่ยนตีคือโทสะ เหมือนการทำให้น้ำขุ่นจะไม่เห็นตัวปลา จิตไม่สงบก็ไม่เกิดปัญญา การเรียนการสอนเราต้องการปัญญา" ลุงสมพรอธิบายถึงแก่นของการเรียนการสอน

จวบจนกระทั่งเตรียมหลักสูตรพร้อมแล้ว ครูสมพรจึงได้ก่อตั้ง "วิทยาลัยฝึกลิงเพื่อการเกษตร" เมื่อปี พ.ศ.2500 ที่ อ.กาญจนดิษฐ์ โดยเขาเป็นครูเพียงคนเดียว ทำหน้าที่ทุกอย่าง นับตั้งแต่เป็นผู้บริหารฝึกสอน ผู้กำกับการแสดง และผู้บรรยาย

การเรียนมี 4 ระดับ ระดับอนุบาลและประถมศึกษา รวม 8 เดือน ระดับมัธยมศึกษาใช้เวลาอีก 3 เดือน ระดับอุดมศึกษานั้นแล้วแต่ลักษณะความเชี่ยวชาญพิเศษที่ต้องการให้เกิด ที่ผ่านมามีลูกศิษย์หน้าขน 80% จบประถมศึกษาแล้วเจ้าของรับไปสอนต่อเองมี 15% จบมัธยมศึกษา และ 5% หรือประมาณ 20 ตัว จบอุดมศึกษา

หนึ่งในบัณฑิต 20 ตัว มีตัวหนึ่งโด่งดังเป็นพลุแตก ชื่อ "ไข่นุ้ย" มันโด่งดังจากการแสดงละครลิง แสดงภาพยนตร์ เดินสายโชว์ในรายการโทรทัศน์ ฯลฯ เป็นที่รู้จักทั่วเมืองไทย

กลับมาที่หัวใจการเรียนการสอนลิงเก็บมะพร้าว ลุงสมพรบอกว่า มันก็เหมือนกับสอนเด็ก คือเรียนจากง่ายไปหายาก โดยจัดหลักสูตรไว้คร่าวๆ ดังนี้ เดือนที่ 1 ใช้มือ เดือนที่ 2 ใช้เท้า เดือนที่ 3 ท่ายืน ท่ากระโดด เดือนที่ 4 ไต่ราว เดือนที่ 5 ขึ้นต้น เดือนที่ 6 ฝึกงาน ฯลฯ

จากที่ผู้เขียนได้อ่านเรื่องราวของครูสมพรสอนลิง จึงเกิดความคิดว่าครูสมพรมีวิธีการสอนและฝึกปฏิบัติลิงอย่างไร ให้ลิงได้เกิดการเรียนรู้และเกิดทักษะกระบวนการต่างๆในการที่จะขึ้นไปเก็บลูกมะพร้าวบนต้นมะพร้าวได้อย่างถูกต้อง ผู้เขียนจึงวิเคราะห์กระบวนการเรียนรู้เหล่านนี้ออกเป็น 6 รูปแบบ

1.Structuralism

2.Gestalt Psychology

3.Operant Conditioning

4.Humanistic Psychology

5.Information Processing

6.Constructivism

1.กลุ่มโครงสร้างของจิต (Structuralism)

จิตเป็นโครงสร้างจากองค์ประกอบเล็กๆที่เรียกว่า จิตธาตุ ซึ่งมี 3 องค์ประกอบคือ

1.การสัมผัส (Sensation) คือ การที่อวัยวะสัมผัสรับพลังงานจากสิ่งเร้า เช่น มือแตะของร้อน

หูฟังเสียงเพลง เป็นต้น

2. ความรู้สึก (Felling) คือ การแปลความหมายจากการสัมผัสสิ่งเร้านั้นๆ

3. มโนภาพ (Image) คือ การคิดออกมาเป็นภาพในจิตใจ

ทั้ง 3 สิ่งนี้เมื่อรวมกันภายใต้สถานการณ์ที่เหมาะสมก็จะก่อให้เกิดรูปจิตผสมขึ้น เช่น ความคิด อารมณ์ ความจำ การหาเหตุผลฯลฯ

2.ทฤษฎีเกสตัลท์ (Gestalt Psychology)

มนุษย์ไม่ได้เป็นเพียงหน่วยรับสิ่งเร้าที่อยู่นิ่งเฉยเท่านั้น แต่จิตมีการสร้างกระบวนการประมวลข้อมูลที่รับเข้ามาและส่งผลออกไปเป็นข้อมูลใหม่หรือสารสนเทศชนิดใหม่ นักจิตวิทยากลุ่มนี้ไม่เห็นด้วยกับแนวคิดของกลุ่มพฤติกรรมนิยม กลุ่มนี้เน้นอธิบายว่า การเรียนรู้เกิดจากการรับรู้เป็นส่วนรวมมากกว่าส่วนย่อยรวมกัน เพราะคนเราจะรับรู้สิ่งต่างๆในลักษณะรวมๆได้ดีกว่ารับรู้ส่วนปลีกย่อย กลุ่มนี้เห็นว่า การเรียนรู้จะเกิดขึ้น เมื่อมีการรับรู้เป็นส่วนรวมมากกว่าส่วนย่อยรวมกัน มนุษย์จะรับในสิ่งที่ตนเองสนใจเท่านั้น สิ่งใดที่สนใจรับรู้จะเป็นภาพ สิ่งใดที่ไม่ได้สนใจรับรู้จะเป็นพื้น ดังเช่น รูปภาพข้างบนถ้าสนใจมองที่สีขาว เราจะมองเห็นเป็นแก้ว แต่ถ้าเราสนใจมองสีดำเราจะเห็นเป็น รูปคนสองคนกำลังหันหน้าเข้าหากัน

หลักการเรียนรู้ของกลุ่มเกสตัลท์

กลุ่มเกสตัลท์ เชื่อว่า การเรียนรู้ที่เห็นส่วนรวมมากกว่าส่วนย่อยนั้น จะต้องเกิดจากประสบการณ์เดิม และการเรียนรู้ย่อมเกิดขึ้น 2 ลักษณะ คือ

1.การรับรู้ (Perception) หมายถึง การแปลความหมายหรือการตีความต่อสิ่งเร้าของอวัยวะรับ

สัมผัสส่วนใดส่วนหนึ่งหรือทั้งห้าส่วน ได้แก่ หู ตา จมูก ลิ้น และผิวหนัง การตีความนี้ มักอาศัยประสบการณ์เดิม ดังนั้นแต่ละคนอาจรับรู้ในสิ่งเร้าเดียวกันแตกต่างกันได้ แล้วแต่ประสบการณ์ เช่น นางสาว ก. เห็นสีแดงแล้วนึกถึงเลือด แต่นางสาว ข.เห็นสีแดงอาจนึกถึงดอกกุหลาบสีแดงก็ได้

2.การหยั่งเห็น (Insight) หมายถึง การเรียนรู้ด้วยตนเอง โดยจะเกิดแนวความคิดในการ

เรียนรู้หรือการแก้ปัญหาขึ้นอย่างฉับพลันทันทีทันใด(เกิดความคิดแวบขึ้นมาในสมองทันที) มองเห็นแนวทางการแก้ปัญหาตั้งแต่จุดเริ่มต้นเป็นขั้นตอนจนถึงจุดสุดท้ายที่สามารถจะแก้ปัญหาได้ เช่น การร้องออกมาว่ายูเรก้าของอาร์คีเมดิสเพราะเกิดการหยั่งเห็น (Insight) ในการแก้ปัญหาการหาปริมาตรของมงกุฎทองคำด้วยวิธีการแทนที่น้ำ ว่าปริมาตรของมงกุฎที่จมอยู่ในน้ำจะเท่ากับปริมาตรของน้ำที่ล้นออกมา แล้วใช้วิธีการนี้หาปริมาตรของวัตถุที่มีรูปทรงไม่เป็นเรขาคณิตมาจนถึงบัดนี้

การเรียนรู้ของกลุ่มเกสตัลท์ที่เน้น "การรับรู้เป็นส่วนรวมมากกว่าส่วนย่อย"นั้น ได้สรุปเป็นกฎการเรียน

รู้ของทั้งกลุ่ม 4 กฎ เรียกว่า กฎการจัดระเบียบเข้าด้วยกัน (The Laws of Organization) ดังนี้

1. กฎแห่งความแน่นอนหรือชัดเจน (Law of Pregnant)

2. กฎแห่งความคล้ายคลึง (Law of Similarity)

3. กฎแห่งความใกล้ชิด (Law of Proximity)

4. กฎแห่งการสิ้นสุด (Law of Closure)

3.การวางเงื่อนไขแบบการกระทำ (Operant Conditioning)

ทฤษฎีการวางเขื่อนไขแบบการกระทำของสกินเนอร์ (Skinner'sOperantConditioning Theory)
B.F. Skinner (1904 - 1990) นักจิตวิทยาชาวอเมริกัน ได้ทำการทดลองด้านจิตวิทยาการศึกษาและวิเคราะห์สถานการณ์การเรียนรู้ที่มีการตอบสนองแบบแสดงการกระทำ (Operant Behavior) สกินเนอร์ได้แบ่ง พฤติกรรมของสิ่งมีชีวิตไว้ ๒ แบบ คือ
1. Respondent Behavior พฤติกรรมหรือการตอบสนองที่เกิดขึ้นโดยอัตโนมัติ หรือเป็นปฏิกิริยาสะท้อน (Reflex) ซึ่งสิ่งมีชีวิตไม่สามารถควบคุมตัวเองได้ เช่น การกระพริบตา น้ำลายไหล หรือการเกิดอารมณ์ ความรู้สึกต่างๆ
2. Operant Behavior พฤติกรรมที่เกิดจากสิ่งมีชีวิตเป็นผู้กำหนด หรือเลือกที่จะแสดงออกมา ส่วนใหญ่จะเป็นพฤติกรรมที่บุคคลแสดงออกในชีวิตประจำวัน เช่น กิน นอน พูด เดิน ทำงาน ขับรถ
การเรียนรู้ตามแนวคิดของสกินเนอร์ เกิดจากการเชื่อมโยงระหว่างสิ่งเร้ากับการตอบสนองเช่นเดียวกัน แต่สกินเนอร์ให้ความสำคัญต่อการตอบสนองมากกว่าสิ่งเร้า จึงมีคนเรียกว่าเป็นทฤษฎีการวางเงื่อนไขแบบ Type R นอกจากนี้สกินเนอร์ให้ความสำคัญต่อการเสริมแรง (Reinforcement) ว่ามีผลทำให้เกิดการเรียนรู้ที่คงทนถาวร ยิ่งขึ้นด้วย สกินเนอร์ได้สรุปไว้ว่า อัตราการเกิดพฤติกรรมหรือการตอบสนองขึ้นอยู่กับผลของการกระทำ คือ การเสริมแรง หรือการลงโทษ ทั้งทางบวกและทางลบ

การนำหลักการมาประยุกต์ใช้

1. การเสริมแรง และ การลงโทษ

2. การปรับพฤติกรรม และ การแต่งพฤติกรรม

3. การสร้างบทเรียนสำเร็จรูป

การเสริมแรงและการลงโทษ

การเสริมแรง (Reinforcement) คือการทำให้อัตราการตอบสนองหรือความถี่ของการแสดงพฤติกรรมเพิ่มขึ้นอันเป็นผลจากการได้รับสิ่งเสริมแรง (Reinforce) ที่เหมาะสม การเสริมแรงมี 2 ทาง ได้แก่

1. การเสริมแรงทางบวก (Positive Reinforcement ) เป็นการให้สิ่งเสริมแรงที่บุคคลพึงพอใจ มีผลทำให้บุคคลแสดงพฤติกรรมถี่ขึ้น

2. การเสริมแรงทางลบ (Negative Reinforcement) เป็นการนำเอาสิ่งที่บุคคลไม่พึงพอใจออกไป มีผลทำให้บุคคลแสดงพฤติกรรมถี่ขึ้น

การลงโทษ (Punishment) คือ การทำให้อัตราการตอบสนองหรือความถี่ของการแสดงพฤติกรรมลดลง การลงโทษมี 2 ทาง ได้แก่

1. การลงโทษทางบวก (Positive Punishment) เป็นการให้สิ่งเร้าที่บุคคลที่ไม่พึงพอใจมีผลทำให้บุคคลแสดงพฤติกรรมลดลง

2. การลงโทษทางลบ (Negative Punishment) เป็นการนำสิ่งเร้าที่บุคคลพึงพอใจ หรือสิ่งเสริมแรงออกไป มีผลทำให้บุคคลแสดงพฤติกรรมลดลง

4. จิตวิทยามนุษยนิยม (Humanistic Psychology)

ในปี ค.ศ.1954 อัมบราฮัม มาสโลว์ ได้เริ่มคิดเกี่ยวกับจิตวิทยามนุษยนิยม เพราะมาส โลว์เกิดความคิดว่าจิตวิทยาสกุลต่าง ๆ ลืมที่จะพูดถึง "การทำงานของคนที่ปกติ" (healthy human being's functioning) "การดำเนินชีวิต" (mode of living) และ "จุดมุ่งหมายของชีวิต" (goals of life) มาสโลว์จึงเสนอจิตวิทยามนุษยนิยมในฐานะทางเลือกที่ 3 นอกเหนือจากจิต วิเคราะห์และพฤติกรรมนิยม ตั้งแต่ปี ค.ศ.1950 เป็นต้นมาได้มีเสียงคัดค้านความคิดเห็นของ 2 กลุ่มนี้ ผู้ที่เห็นด้วยกับการเคลื่อนไหวของกลุ่มมนุษยนิยมมีความรู้สึกว่ากลุ่มพฤติกรรมนิยม โดยเฉพาะที่นำเสนอโดยสกินเนอร์เป็นสิ่งที่เย็นชา แคบ และขาดความเข้าใจในความเป็น มนุษย์ โดยมองว่าพฤติกรรมนิยมลดบทบาทของความเป็นมนุษย์ลงมาเป็น "หนูขาวตัวใหญ่ หรือเครื่องคำนวณที่ช้า ๆ" เท่านั้น กลุ่มพฤติกรรมนิยมไม่ได้ให้ความสนใจกับคุณภาพและ ศักยภาพของมนุษย์ ซึ่งแยกมนุษย์ออกจากการทดลองในห้องทดลองของหนู นกพิราบหรือลิง และขณะเดียวกันจิตวิทยามนุษยนิยมวิจารณ์ว่าจิตวิเคราะห์สนใจศึกษาแต่คนที่มีปัญหาโดย การมุ่งสนใจแต่คนที่ไม่ปกติเท่านั้น มาสโลว์จึงตั้งคำถามว่าจิตวิเคราะห์จะศึกษาความปกติ ของคนอย่างไร ? มาสโลว์พูดไว้ว่า "ถ้าศึกษาแต่คนที่ไร้ความสามารถ เติบโตช้า ไม่มีวุฒิภาวะ และสุขภาพไม่ดี จะได้ผลแต่จิตวิทยาและปรัชญาที่ไร้ความสามารถเท่านั้น" ในปี ค.ศ.1961 ได้ เกิด Journal of Humanistic Psychology และในปี ค.ศ.1962 ได้มีการก่อตั้ง American

5.กระบวนการรับรู้ข้อมูล (Information Processing)

กระบวนการรับรู้ข้อมูล ถือเป็นกระบวนการสำคัญ เพราะเป็นจุดเริ่มต้นของกระบวนการ

เรียนรู้ สมองรับรู้ข้อมูลใหม่ จากนั้นเริ่มรับและประยุกต์กับความรู้เดิม ผ่านกระบวนการกลั่นกรองสู่ระบบเก็บข้อมูล ดังนี้

- ข้อมูลใหม่ผ่านเข้าระบบรับข้อมูล

- ข้อมูลใหม่ปรับสู่ระบบรหัสการรับรู้

- ข้อมูลใหม่และข้อมูลเดิม เก็บข้อมูลในระบบความจำระยะสั้น

- เก็บข้อมูลในระบบความจำระยะยาว

- ข้อมูลถูกถอดรหัสในระบบการตอบสนอง

- ข้อมูลถ่ายโอนออกสู่สิ่งแวดล้อมของผู้รับ

ระบบความจำระยะสั้นมีส่วนสำคัญและมีสิ่งจำกัดมาก เพราะฉะนั้นส่วนนี้จะทำงานเร็วและมี

ประสิทธิภาพ ระบบความจำระยะสั้นมี ปุ่มงาน (executive control) คอยกำหนด การทำงาน ซึ่งมีส่วนสำคัญมากต่อการรับรู้ข้อมูล ปุ่มงานเหล่านี้คือ

การเลือกให้ความสนใจ

หน่วยความจำ/ทบทวน

แรงกระตุ้น/จูงใจ

การตีความ

แรงผลักดันในตัวเอง

การแก้ปัญหาเฉพาะหน้า

การโต้ตอบโดยทันทีทันใด (อัตโนมัติ)

ปุ่มควบคุมงาน ทำงานอย่างไร

ารเลือกให้ความสนใจ เป็นเหมือนด่านหน้าคอยเปิดรับ(หรือไม่รับข้อมูล) เพื่อเข้ารับกระบวนการรับรู้ข้อมูล (ยกตัวอย่างเรื่องการอ่าน ควรใช้คำถามนำก่อนการอ่าน เด็กประสบผลสำเร็จทางการเรียนจะเลือกสนใจในสิ่งที่สำคัญ ตัดส่วนไม่สำคัญออก อ่านก็จะจับประเด็นสำคัญได้)

ไตร่ตรอง/ทบทวนความจำ หน่วยความจำทำหน้าที่บันทึกข้อมูลและทบทวนข้อมูล (ตัวอย่างการเก็บเอกสารไว้ในลิ้นชัก ต้องการข้อมูลก็ต้องเปิดลิ้นชัก ค้นหา และเอาข้อมูลออกมา และก็ยกตัวอย่างการอ่านอีกครั้ง เด็กที่หน่วยความจำดี ไตร่ตรองเก่ง ก็จะสามารถเข้าใจจุดสำคัญของเรื่องที่อ่าน เขียนสรุปสั้นๆ ได้ เป็นต้น ส่วนครูถ้าสอนก็ต้องสอนให้เด็กพัฒนาความสามารถการทบทวน เรียบเรียง สรุปข้อความได้ ) การเก็บข้อมูล/ทบทวนข้อมูลใหม่นี้ อยู่ภายใต้การควบคุม ในรูปของแผนผังโยงใยข้อมูลของข้อมูลแต่ละชุดที่รับเข้าไป ทำให้เกิดเป็นประมวลภาพรวมความรู้ขึ้น

แรงขับ/แรงจูงใจ หลายคนเทียบแรงจูงใจ/แรงขับภายในกับสิ่งที่ผู้เรียนต้องการเรียน แต่จริง ๆ แล้ว มีเด็กหลายคนที่ต้องการเรียนแต่ล้มเหลว เพราะเด็กยังไม่รับกลวิธีการพัฒนาแรงจูงใจ ไม่มีแรงกระตุ้นให้เรียนรู้ แต่ก็มีเด็กจำนวนมากเหมือนกันที่เรียนได้อย่างสบาย ๆ บางครั้งเรื่องที่เรียนไม่ดึงดูดใจเท่าที่ควร

ยกตัวอย่างเด็กที่เรียน แล้วเผชิญปัญหาความยุ่งยากในการเรียน เด็กลักษณะนี้จะมีแรงจูงใจสูงและจะใช้ความพยายามมากขึ้น ตรงข้ามเด็กบางคนอาจจะละความพยายามไปเลยก็ได้

Learned helplessness ในกรณีนี้คือเด็กได้รับการดูแลดีจนไม่พัฒนาด้านแรงจูงใจ เช่น คุณครูเชื่อว่า การให้เด็กทำแบบฝึกง่ายๆ ทุกอย่างออกมาดี ให้คำชมบ่อย ๆ หรือแม้กระทั่งเด็กที่มีความฉลาดอยู่เดิมแล้ว เด็ก เหล่านี้ถือเป็นกลุ่มที่ขาดการช่วยส่งเสริมการเรียนรู้

Learning orientation ผู้เรียนที่มีความเชื่อว่า ความสำเร็จทางการเรียน มาจาการพัฒนาความรู้เพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์การเรียนรู้หรือหลักสูตร

Performance orientation ผู้เรียนที่มีความเชื่อว่า ความสำเร็จทางการเรียน มาจากการทำงานที่ได้รับมอบหมายให้เสร็จสมบูรณ์ ผู้เรียนในกลุ่ม Learning orientation จะเป็นกลุ่มที่รับและพัฒนาแรงจูงใจและแรงขับภายใน เพราะว่า ผู้เรียนจะมีความตั้งใจในการทำงาน แม้ชิ้นงานนั้น ๆ จะท้าทายความสามารถ ในขณะเดียวกัน เด็กจะพัฒนาความรู้ความสามารถไปในตัว แม้ว่าชิ้นงานจะออกมาไม่เสร็จสมบูรณ์

ในทำนองเดียวกัน ผู้เรียนที่มุ่งทำงานให้เสร็จเพื่อส่ง (Performance orientation) อาจจะพัฒนากลเม็ดเพื่อให้งานเสร็จตามเป้าหมาย (และเวลา) (หรืออาจทำงานด้วยความสำเร็จแต่ผิดพลาด หรือไม่ก็ลอกเพื่อน ๆ)

6.ทฤษฎีสรรคนิยม (Constructivism)

เป็นทฤษฎีที่ว่าด้วยการสร้างความรู้ ได้มีการเปลี่ยนจากเดิมที่เน้นการศึกษาปัจจัยภายนอกมาเป็น สิ่งเร้าภายใน ซึ่งได้แก่ ความรู้ ความเข้าใจ หรือกระบวนการรู้คิด กระบวนการคิด (Cognitive processes) ที่ช่วยส่งเสริมการเรียนรู้ จากผลการศึกษาพบว่า ปัจจัยภายในมีส่วนช่วยทำให้เกิดการเรียนรู้อย่างมีความหมาย และความรู้เดิมมีส่วนเกี่ยวข้องและเสริมสร้างความเข้าใจ สามารถสรุปเป็นสาระสำคัญได้ดังนี้
1. ความรู้ของบุคคลใด คือ โครงสร้างทางปัญญาของบุคคลนั้นที่สร้างขึ้นจากประสบการณ์ในการคลี่คลายสถานการณ์ที่เป็นปัญหาและสามารถนำไปใช้เป็นฐานในการแก้ปัญหาหรืออธิบายสถานการณ์อื่น ๆ ได้
2. นักเรียนเป็นผู้สร้างความรู้ด้วยวิธีการที่ต่าง ๆ กัน โดยอาศัยประสบการณ์และโครงสร้างทางปัญญาที่มีอยู่เดิม ความสนใจและแรงจูงใจภายในตนเองเป็นจุดเริ่มต้น
3. ครูมีหน้าที่จัดการให้นักเรียนได้ปรับขยายโครงสร้างทางปัญญาของนักเรียนเอง ภายใต้ ข้อสมมติฐานต่อไปนี้
3.1 สถานการณ์ที่เป็นปัญหาและปฏิสัมพันธ์ทางสังคมก่อให้เกิดความขัดแย้งทางปัญญา
3.2 ความขัดแย้งทางปัญญาเป็นแรงจูงใจภายในให้เกิดกิจกรรมการไตร่ตรองเพื่อขจัดความขัดแย้งนั้น และจะจบลงด้วยความแจ่มชัดที่สามารถอธิบายสถานการณ์ดังกล่าว สามารถแก้ปัญหาได้ ตลอดจนได้เรียนรู้และพึงพอใจกับผลที่ได้รับ
3.3 การไตร่ตรองบนฐานแห่งประสบการณ์และโครงสร้างทางปัญญาที่มีอยู่เดิมภายใต้การมี ปฎิสัมพันธ์ทางสังคม กระตุ้นให้มีการสร้างโครงสร้างใหม่ทางปัญญา

สรุป

การเรียนรู้เกิดจากประสบการณ์การสัมผัส ความรู้สึก และการรับรู้ การสอนให้ลิงรู้จักการเลือกลูกมะพร้าว ต้องมีกระบวนการเรียนรู้ในป้อนข้อมูลใหม่ ให้ลิงได้ใช้ มือ เท้า สัมผัสกับมะพร้าวให้คุ้นเคย เกิดการเรียนรู้อย่างเป็นระบบ จากนั้นลิงก็จะเกิดกระบวนการเรียนรู้ด้วยตนเอง ว่าควรจะเก็บมะพร้าวอย่างไรให้ไม่โดนเฆี่ยนตี เมื่อฝึกให้ลิงพฤติกรรมตามความต้องการ ผู้ฝึกจะต้องเสริมแรงทางบวกทันที ผู้ฝึกสามารถนำหลักการเรียนรู้ของทฤษฎีนี้มาทำความเข้าใจพฤติกรรมของลิงที่แสดงออกถึงอารมณ์ ความรู้สึกทั้งด้านดีและไม่ดี รวมทั้งเจตคติต่อสิ่งแวดล้อมต่างๆ ผู้ฝึกควรใช้หลักการเรียนรู้จากทฤษฎีปลูกฝังความรู้สึกและเจตคติที่ดีต่อหลักสูตรการเรียนและสิ่งแวดล้อมอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องให้เกิดในตัวลิง และ ครูสามารถป้องกันความรู้สึกล้มเหลว ผิดหวัง และวิตกกังวลของลิงได้โดยการส่งเสริมให้กำลังใจในการเรียนและการทำกิจกรรม ไม่คาดหวังผลเลิศจากตัวลิง และหลีกเลี่ยงการใช้อารมณ์หรือลงโทษลิงอย่างรุนแรงจนเกิดการวางเงื่อนไขขึ้น กรณีที่ลิงเกิดความเครียด และวิตกกังวลมาก ผู้ฝึกควรเปิดโอกาสให้ลิงได้ผ่อนคลายความรู้สึกได้บ้างตามขอบเขตที่เหมาะสม

เอกสารอ้างอิง

[online]: http://www.oknation.net/blog/print.php?id=250940. (สืบค้นวันที่ 13 ธันวาคม 2557)

[online]: http://toey53540381.blogspot.com/2010/09/blog-post_21.html. (สืบค้นวันที่ 13 ธันวาคม 2557)

[online]: http://www.educ-bkkthon.com/blog/apsornsiri/wp-content/uploads/2014/02/.pdf.

(สืบค้นวันที่ 14 ธันวาคม 2557)

[online]: อุทัยรัตน์ ศรีนาดี. https://www.gotoknow.org/posts/387660. (สืบค้นวันที่ 14 ธันวาคม 2557)

[online]: file.siam2web.com/.../2009725_39257.doc. (สืบค้นวันที่ 14 ธันวาคม 2557)

หมายเลขบันทึก: 582920เขียนเมื่อ 21 ธันวาคม 2014 22:11 น. ()แก้ไขเมื่อ 21 ธันวาคม 2014 22:11 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท