MODEL การพัฒนาโครงการ


"จุดประกายดวงตา เปิดท้องฟ้า สู่โลกกว้าง"

MODEL การพัฒนาโครงการ ตอนที่ 1

ในการทำโครงการ ในลักษณะเสริมการเรียนรู้ให้กับเยาวชนนั้น เพื่อให้เกิดการเรียนรู้ร่วมกันมากที่สุด ก็อาจมาจากหลายๆปัจจัยด้ายกัน ได้เเก่ ศักยภาพ อายุ บริบท เพศ เวลา สถานที่ กิจกรรม ฯ หรือที่สำคัญ คือ เครื่องมือ ที่ช่วยให้เกิดการเรียนรู้ร่วมกันอย่างเห็นภาพชัดเจน ซึ่งเคร่ืองมือในที่นี้นั้น หมายถึง วิธีการที่ช่วยให้ทุกๆคนที่เริ่มทำโครงการ ติดตามงาน หรือสรุปงาน ได้เห็นคุณค่าของสิ่งที่ทำ เเละเกิดการเรียนรู้ขึ้น เครื่องมือนี้เเละปัจจัยอื่นๆนี้เองที่เราน่าจะหันมาให้ความสำคัญมากขึ้น เพราะรูปแบบหรือวิธีการจะเปลี่ยนไปตามยุค ตามสมัย ตามวัตถุประสงค์ หรือความต้องการ เป็นต้น

MODEL ในที่นี้จึงหมายถึง เครื่องมือ ที่จะช่วยให้คิดออก เเละเห็นภาพร่วมกัน โดยเป็นลักษณะของการพัฒนาโครงการตามเเบบทรรศนะของกระผม โดย เริ่มจาก เลือกประเด็น การวิเคราะห์งาน ออกเเบบงาน ติดตามงาน เเละสรุปงาน (บทนี้ขอกล่าวถึงการเลือกประเด็น-การออกเเบบงานของตนเอง) ... "สื่อด้วยสไลด์"

"จุดประกายดวงตา เปิดท้องฟ้า สู่โลกกว้าง" หมายถึง การเข้ามาพัฒนาโครงการของตนเองด้วยตนเอง ที่อาจเกิดการเปลี่ยนแปลงในเชิงปัจเจกหรือทุกๆคน ที่พร้อมมาเรียนรู้ในโลกของโครงการ

เครื่องมือเเรกที่ชวนคิด คือ การเลือกประเด็นหัวข้อโครงการซึ่งจะเป็นสิ่งกำหนดรูปแบบทั้งโครงการ โดยอาจมีหลายๆปัจจัยในความสนใจของเเต่ละคน ในที่นี้ยกมา 3 ประเด็นด้วยกัน คือ อยากทำเพราะสนใจ อยากทำเพราะอยากเสริมให้ดีขึ้น เเละอยากทำเพราะต้องทำต้องเเก้ไขปัญหานั้น วิธีการ คือ ให้ในกลุ่มกำหนดประเด็นหัวข้อที่กลุ่มคิดว่าอยากจะทำ (ตัวอย่าง 3 ประเด็นข้างต้นไม่ได้เป็นรูปแแบบให้คิดตายตัว) เช่น กลุ่มที่ 1 อาจอยากจะทำเรื่องปัญหาเพื่อนติดเกมส์ ก็ให้เอาประเด็นปัญหาเรื่อง เพื่อนติดเกมส์ หรือ กลุ่ม 2 อยากทำข้าวเกรียบชุมชน ประเด็นเรื่องคือ ข้าวเกรียบชุมชน เป็นต้น

เเผนที่เดินดิน เป็นเครื่องมือที่จะบอกในเรื่องของพื้นที่ประเด็นของเราว่าเป็นอย่างไร + สาเหตุ + ผลกระทบที่เกิดขึ้น ดังนี้

*เลือกประเด็นมา 1 ประเด็นจากการเลือกหัวข้อที่จะทำ เพื่อมาวาดพื้นที่ บริเวณนั้น

โจทย์ คือ ?
1.วาดขอบอาณาเขตของพื้นที่ประเด็นของเรา ว่ามีขนาดเป็นอย่างไร
2.ให้วาดถนนสายหลักและสายรองของพื้นที่ประเด็นของเรา
3.ให้วาดทรัพยากร แม่น้ำลำคลองที่มีอยู่ในพื้นที่
4.ให้วาดบริเวณบ้านเรือนผู้คนและบริเวณการเกษตร /อาชีพ
5.กำหนดจุดว่าเราอยู่ตรงไหนในพื้นที่
6.ปัญหาหรือประเด็นของเรานั้นเกิดที่จุดไหน
7.ปัญหาหรือประเด็นเหล่านั้นเกิดมาจากอะไรหรือปัจจัยอะไร
8.ประเด็นหรือปัญหานั้นส่งผลกระทบอย่างไร กับใคร กับเราอย่างไร (อาจเกิดผลทั้งดีและไม่ดี)

ต่อจากนั้นมาวิเคราะห์ต้นทุนของเราว่า มีอะไรบ้างที่จะทำให้โครงการของเราดำเนินไปถึงเป้าหมายได้ ดังนี้

โจทย์ คือ ?
1.ศักยภาพของเรานั้น เราสามารถทำอะไรได้บ้าง ในกลุ่มเรามีใครที่มีความสามารถเรื่องอะไรบ้าง หรือกลุ่มเราเมื่อทำงานร่วมกันแล้วสามารถทำอะไรได้บ้าง
2.ในโรงเรียนหรือองค์กรของเรา มีทุนอะไรบ้าง มีกิจกรรม หรือโครงการ ฯ อะไรบ้างที่จะมาเสริมงานของเรา
3.ภายนอกโรงเรียนหรือองค์กร เราสามารถไปขอความร่วมมือจากใครได้บ้าง และแต่ละหน่วยงานนั้นสามารถช่วยเราในด้านใดได้บ้าง
4.โอกาสต่างๆที่เข้ามา เช่น เทศกาล ประเพณี วัฒนธรรม กระแสนิยม กิจกรรม งานโรงเรียน ฯ อะไรบ้างที่เราสามารถใช้เป็นสื่อหรือดำเนินงานของเราได้ ... ทุนเป็นปัจจัยแห่งความสำเร็จ ทุนในพื้นที่ยั่งยืนที่สุด

จากที่มองปัญหา สาเหตุ ผลกระทบ เเละทุนเเล้ว มาถึงขั้นในการกำหนดเป้าหมาย วัตถุประสงค์ เเละผลที่คาดว่าจะได้รับ โดยย้อนมองดูแผนที่ชุมชนแล้วกำหนดเป้าหมาย/จุดประสงค์/ผลที่เกิดขึ้น

โจทย์ คือ ?
1.จากประเด็นในแผนที่ชุมชน อยากจะเห็นอะไร (เป้าหมาย) โดยอาจใช้วิธีการ แยกระหว่าง Need (ต้องการมากที่สุด) และ Want (ต้องการรองลงมา) ให้เลือกเอา ความต้องการเดียว เปลี่ยนมาเป็นเป้าหมาย "ไม่สูงเกินไป"
2.อยากจะทำอะไรบ้าง (วัตถุประสงค์) ย้อนมองไปที่สาเหตุของปัญหา และไปดูทุนของตนเองว่าเราสามารถทำอะไรได้บ้าง โดยมองที่ "อยากทำ" และ "ทำได้" เน้นความสร้างสรรค์เเละเเปลกใหม่
3.ผลที่เกิดขึ้น "คาดว่าจะได้อะไรบ้าง จากการทำเนินงาน" ที่อาจจะเกิดขึ้นจริง

สุดท้ายเเต่ไม่ท้ายสุดในการวิเคราะห์งานต่างๆ มาถึงจุดนี้ คือ การออกเเบบกิจกรรม การออกแบบกิจกรรม ออกแบบจาก ที่ตนเองอยากทำและสามารถทำได้

โจทย์ คือ ?
1.เป้าหมายของเรา คือ อะไร
2.วัตถุประสงค์ของเรา คือ อะไร
3.ลองคิดกิจกรรมและวิธีการร่วมกันในแบบของเราเอง โดยมองที่ สภาพปัญหา สิ่งที่เราอยากทำ สิ่งที่เราต้องทำ และสิ่งที่เราสามารถทำได้ และทุนที่เรามี
4.แต่ละกิจกรรมนั้น สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ข้อไหน เเละเชื่อมไปสู่เป้าหมายได้อย่างไร
5.ระบุวันเวลาที่เราจะทำลงไปด้วยเป็นปฏิทินการดำเนินงาน

การพัฒนาโครงการในครั้งที่ 1 นี้ เเละครั้งอื่นๆ เครื่องมือเป็นสิ่งสำคัญ เเละสิ่งที่ควบคู่ไปกับเครื่องมือ คือ กระบวนการ ซึ่งเครื่องมือเเละกระบวนการนี้ไม่ยึดติดตายตัว ขึ้นอยู่กับจุดประสงค์ของกระบวนกร ในการสร้างกระบวนการ พูดอีกเเบบหนึ่ง คือ ขึ้นอยู่กับบริบทเเละความต้องการ นี่เป็นเพียงเครื่องมือพื้นฐานตามเเบบฉบับของผมที่ทั้งรับความรู้มาเเละพัฒนาขึ้นเอง ... "ประตูการพัฒนาโครงการ เปิดเเล้ว ครับ" ...
.............................
ธีระวุฒิ ศรีมังคละ
18 ธันวาคม 2557
.............................


หมายเลขบันทึก: 582765เขียนเมื่อ 18 ธันวาคม 2014 20:41 น. ()แก้ไขเมื่อ 7 พฤษภาคม 2015 20:56 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)

ขอบคุณครับอ. ได้ประโยชน์มากเลย หากจะพัฒนาโครงการจะขอปรึกษาด้วยนะครับ


สุดยอดครับ ขอบคุณครับ

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท