สภาพในปัจจุบันในเรื่องการสอนการฟังในโรงเรียนในประเทศไทย จากประสบการณ์ของผม ตอนที่ 7


3. นักเรียนควรจะเรียนรู้ยุทธวิธีการฟังที่มีประสิทธิภาพ

3.1 เหตุผลในเรื่องยุทธิวิธีการฟังที่มีประสิทธิภาพ

ในการฟังภาษาต่างประเทศ นักเรียนโดยส่วนใหญ่ไม่สามารถจะทำความเข้าใจสิ่งที่ฟังได้ทั้งหมด ถึงแม้ว่าในภาษาของเราเอง จริงๆแล้ว เราเดาสิ่งที่เราไม่เข้าใจ และเดาต่อไปว่าอะไรกำลังจะมาถึง อย่างไรก็ตามนักเรียนภาษามักจะลืมเรื่องนี้ไปหมด เช่น Ur (1984) ได้ยืนยันไว้ว่า "ผู้เรียนทางภาษาจะต้องมีการบีบบังคับในการเข้าใจทุกๆสิ่ง ถึงแม้ว่าสิ่งนั้นจะไม่สำคัญ, กระจัดกระจาย, ไม่จำเป็นต้องจำ, และไม่มีความสมดุลเพียงใดก็ตาม" หากนักเรียนปรับปรุงในเจตคติแบบนี้ได้ พวกเขาก็จะกลายเป็นผู้ฟังที่มีประสิทธิภาพได้ Mendelsohn (1994) ได้สรุปยุทธวิธีบางอย่างเอาไว้ เช่น การเดา, การสร้างนัยยะ (inferencing) ฯลฯ และกล่าวว่าควรจะได้สอนผู้เรียนในกรณีที่จะช่วยชดเชย หากพวกเขาไม่มีความเข้าใจ

3.2 กลุ่มของยุทธวิธี

ยุทธวิธีการฟังอย่างมีประสิทธิภาพมีกี่อย่าง ยุทธวิธีเหล่านั้นจะแบ่งได้กี่กลุ่ม นักวิจัยจัดกลุ่มยุทธวิธีไว้แตกต่างกัน H.D. Brown (2001) ได้เน้นการสอนยุทธวิธีการฟังเพื่อปรับปรุงในการทำให้นักเรียนเป็นผู้เรียนที่ดี เขาได้นำเสนอยุทธวิธีเอาไว้ 8 ประการ ได้แก่

1. มองหาคำที่เป็นคำหลักๆ

2. มองหาอวัจนภาษาที่มีความหมาย

3. พยากรณ์จุดประสงค์ของผู้พูด โดยการดูที่บริบท

4. เชื่อมโยงข้อมูล โดยการความรู้ที่เป็นภูมิหลัง

5. เดาความหมาย

6. ให้ค้นหาความแจ่มชัด

7. ให้ฟังใจความสำคัญ (general gist)

8. หายุทธวิธีทำข้อสอบในการฟังอย่างหลากหลาย

Nunan (2001) กระตุ้นให้ครู ทำให้ผู้เรียนรู้ตัวอยู่ว่ากำลังทำอะไร และกระบวนการเรียนรู้ รวมทั้งแนะนำยุทธวิธีทั้ง 8 ประการ ต่อไปนี้

1. ฟังเพื่อหาใจความสำคัญ (gist)

2. ฟังเพื่อหาจุดประสงค์ (purpose)

3. ฟังเพื่อหาใจความหลักๆ (main idea)

4. ฟังเพื่อหาความหมายโดยนัย (inference)

5. ฟังเพื่อหาข้อมูลจำเพาะ (specific information)

6. ฟังเพื่อหาความแตกต่างทางเสียง (phonetic distinctions)

7. ฟังเพื่อหา เสียงสูงต่ำ (tone) หรือและ ระดับเสียง (pitch) เพื่อบ่งชี้เจตคติของผุ้พูด

8. ฟังเพื่อหาการเน้นคำ (stress)

Mendelsohn (1995) ได้แบ่งยุทธวิธีในการฟังเอาไว้เป็น 7 ประเภท ได้แก่

1. ยุทธวิธีในการหาฉาก (setting)

2. ยุทธวิธีในการหาความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล (interpersonal relations)

3. ยุทธวิธีในการหาอารมณ์ (mood)

4. ยุทธวิธีในการหาหัวข้อ (topic)

5. ยุทธวิธีในการหาแก่นของความหมายใประโยค

6. ยุทธวิธีในการตั้งสมมติฐาน (hypotheses), การพยากรณ์ (predictions), และการหาความหมายโดยนัย (inference)

7. ยุทธวิธีในการหาใจความสำคัญที่กำลังฟังอยู่ (the main idea of a passage)

หนังสืออ้างอิง

Koichi Nihei. (2002). how to teach listening

หมายเลขบันทึก: 582221เขียนเมื่อ 13 ธันวาคม 2014 18:25 น. ()แก้ไขเมื่อ 13 ธันวาคม 2014 18:25 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท