ปัญหาบางประการในการบังคับใช้กฎหมายทะเลของเจ้าหน้าที่ตำรวจน้ำ ในเขตเศรษฐกิจจำเพาะ


การบังคับใช้กฎหมายในเขตเศรษฐกิจจำเพาะ

กองบังคับการตำรวจน้ำ มีอำนาจและหน้าที่ตามกฎกระทรวงแบ่งส่วนราชการเป็นกองบังคับการหรือส่วนราชการที่เรียกชื่ออย่างอื่นในสำนักงานตำรวจแห่งชาติ พ.ศ.2552 โดยมีหน้าที่ "ในการถวายความปลอดภัยสำหรับองค์พระมหากษัตริย์ พระราชินี พระรัชทายาท ผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ พระบรมวงศานุวงศ์ ผู้แทนพระองค์และพระราชอาคันตุกะ รวมทั้งรักษาความปลอดภัยบุคคลสำคัญอื่นๆ รักษาความสงบเรียบร้อย ป้องกันและปราบปรามอาชญากรรมทั่วราชอาณาจักร ปฏิบัติตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาและกฎหมายอื่นอันเกี่ยวกับความผิดทางอาญาในเขตน่านน้ำไทย ท่าเรือ ชายฝั่งทะเล ซึ่งเป็นอาณาเขตของประเทศไทย เขตเศรษฐกิจจำเพาะและทะเลหลวงเฉพาะเรือไทย และความผิดที่เกี่ยวเนื่องและปฏิบัติงานร่วมกับหรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้องหรือที่ได้รับมอบหมาย " ทั้งนี้ประเทศไทยได้เข้าเป็นภาคีอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยกฎหมายทะเล ค.ศ.1982 ได้ให้สิทธิและอำนาจแก่รัฐชายฝั่งโดยมีอำนาจและหน้าที่ที่จะให้ความร่วมมือในการปราบปรามการกระทำอันเป็นโจรสลัดและการป้องกันและปราบปรามการค้ายาเสพติดทางทะเล แต่ทั้งนี้ประเทศไทยในฐานะรัฐภาคี ยังไม่ได้ปรับปรุงหรือแก้ไขกฎกระทรวงแบ่งส่วนราชการเป็นกองบังคับการหรือส่วนราชการที่เรียกชื่ออย่างอื่นในสำนักงานตำรวจแห่งชาติ พ.ศ.2552 ที่ให้อำนาจหน้าที่แก่เจ้าหน้าที่ตำรวจน้ำในการตรวจค้น จับกุม ตรวจยึด อายัด เรือต่างชาติที่เข้ามากระทำผิดในเขตเศรษฐกิจจำเพาะของประเทศไทยแต่อย่างใด ดังนั้นปัญหาที่เกิดขึ้นจากกฎกระทรวงแบ่งส่วนราชการเป็นกองบังคับการหรือส่วนราชการที่เรียกชื่ออย่างอื่นในสำนักงานตำรวจแห่งชาติ พ.ศ.2552 ให้อำนาจตรวจค้น จับกุม และตรวจยึด เรือต่างชาติ ในเขตเศรษฐกิจจำเพาะของประเทศไทย ดังนี้

1. อำนาจในการตรวจค้นเรือต่างชาติของเจ้าหน้าที่ตำรวจน้ำในเขตเศรษฐกิจจำเพาะนั้น ตามกฎกระทรวงแบ่งส่วนราชการเป็นกองบังคับการหรือส่วนราชการที่เรียกชื่ออย่างอื่นในสำนักงานตำรวจแห่งชาติ พ.ศ.2552 กับอำนาจในการตรวจค้นเรือต่างชาติในเขตเศรษฐกิจจำเพาะให้อำนาจในการตรวจค้นเฉพาะเรือสัญชาติไทยเท่านั้น ซึ่งไม่สอดคล้องกับอนุสัญญาฯ ค.ศ.1982 ที่ให้รัฐที่เป็นภาคีสามารถดำเนินการปราบปรามการกระทำผิดเกี่ยวกับยาเสพติดให้โทษและการกระทำอันเป็นโจรสลัดโดยการตรวจค้นเรือต้องสงสัยในเขตเศรษฐกิจจำเพาะได้

เห็นควรแก้ไขความตามวรรคท้ายของกฎกระทรวงแบ่งส่วนราชการเป็นกองบังคับการหรือส่วนราชการที่เรียกชื่ออย่างอื่นในสำนักงาน ตำรวจแห่งชาติ พ.ศ.2552 ที่ว่า " ...กฎหมายอื่นอันเกี่ยวกับความผิดทางอาญาในเขตน่านน้ำไทย ท่าเรือ ชายฝั่งทะเล ซึ่งเป็นอาณาเขตของประเทศไทย เขตเศรษฐกิจจำเพาะและทะเลหลวงเฉพาะเรือไทย และความผิดที่เกี่ยวเนื่อง.... " โดยให้มีอำนาจตรวจค้นเรือต่างชาติในเขตเศรษฐกิจจำเพาะได้ โดยให้มีคำว่า "กฎหมายอื่นอันเกี่ยวกับความผิดทางอาญาในเขตน่านน้ำไทย ท่าเรือ ชายฝั่งทะเล ซึ่งเป็นอาณาเขตของประเทศไทย เขตเศรษฐกิจจำเพาะและทะเลหลวง " โดยตัดคำว่า " เฉพาะเรือไทย " ออกไป จะทำให้เจ้าหน้าที่ตำรวจมีอำนาจหน้าที่ตามกฎหมายมากขึ้น สามารถป้องกันและปราบปรามอาชญากรรมในเขตเศรษฐกิจจำเพาะได้อย่างมีประสิทธิภาพ

2. อำนาจในการจับกุมเรือต่างชาติของเจ้าหน้าที่ตำรวจน้ำในเขตเศรษฐกิจจำเพาะ ตามกฎกระทรวงแบ่งส่วนราชการเป็นกองบังคับการหรือส่วนราชการที่เรียกชื่ออย่างอื่นในสำนักงานตำรวจแห่งชาติ พ.ศ.2552 กับอำนาจในการจับกุมเรือต่างชาติในเขตเศรษฐกิจจำเพาะ โดยให้มีอำนาจหน้าที่ในการป้องกันและปราบปรามอาชญากรรมทั่วราชอาณาจักร ปฏิบัติตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาและกฎหมายอื่นอันเกี่ยวกับความผิดทางอาญาในเขตน่านน้ำไทย ท่าเรือ ชายฝั่งทะเล ซึ่งเป็นอาณาเขตของประเทศไทย เขตเศรษฐกิจจำเพาะและทะเลหลวงเฉพาะเรือไทย ซึ่งตามอนุสัญญาฯ ค.ศ.1982 ข้อ 58 อนุโลมให้นำบทบัญญัติแห่งข้อ 88 ถึง 115 มาใช้บังคับในเขตเศรษฐกิจจำเพาะด้วยเท่าที่ไม่ขัดกับบทบัญญัติในส่วนของเขตเศรษฐกิจจำเพาะ โดยกำหนดไว้ในข้อ 108 ว่า " รัฐทั้งปวงจะร่วมมือกันในการปราบปรามการลักลอบค้ายาเสพติดให้โทษ และสารที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาททางเรือในทะเลหลวง อันขัดต่ออนุสัญญาระหว่างประเทศ " และ ข้อ 100 กำหนดให้ รัฐทั้งปวงจะร่วมมือกันอย่างมากที่สุดที่จะทำได้ในการปราบปรามการกระทำอันเป็นโจรสลัดในทะเลหลวงหรือในเขตอื่นใดภายนอกเขตอำนาจรัฐใด จะเห็นได้ว่า อนุสัญญาฯ ค.ศ.1982 ได้ให้อำนาจรัฐที่เป็นภาคีดำเนินการปราบปรามการกระทำผิดทั้ง 2 อย่างนี้ได้ โดยไม่ต้องคำนึงถึงสัญชาติของเรือ ถ้าเป็นการกระทำผิดในเขตเศรษฐกิจจำเพาะของรัฐใดก็สามารถทำการจับกุมเรือได้เลย แต่ตามกฎหมายที่มอบหมายอำนาจให้เจ้าหน้าที่ตำรวจน้ำ

เมื่อพิจารณาจากกฎกระทรวงฯ พ.ศ.2552 จะเห็นว่าเจ้าหน้าที่ตำรวจน้ำไม่มีอำนาจในการตรวจค้นจับกุมเรือต่างประเทศในเขตเศรษฐกิจจำเพาะที่กระทำความผิดในการลักลอบค้ายาเสพติดในทะเลและกระทำการอันเป็นโจรสลัด ทั้งที่ตามอนุสัญญาฯ ค.ศ.1982 ได้ให้รัฐที่เป็นภาคีตามอนุสัญญานี้มีอำนาจในการจับกุมผู้กระทำผิดทั้งสองฐานความผิดนี้ ถือว่าเป็นปัญหาสำคัญอีกปัญหาหนึ่งที่จำเป็นจะต้องหาทางแก้ไขมิให้ผู้กระทำผิดสามารถใช้ช่องว่างทางกฎหมายในการกระทำความผิดในเขตเศรษฐกิจจำเพาะได้ จึงสรุปได้ว่ากรณีที่เรือต่างชาติในเขตเศรษฐกิจจำเพาะ ซึ่งประเทศไทยมีเพียงสิทธิอธิปไตย ถ้าหากไม่มีกฎหมายกกำหนดเป็นความผิดและไม่มีบทลงโทษไว้ก็มีผลเท่ากับว่ากฎหมายไม่ได้ให้อำนาจจับกุมเรือต่างชาติที่เข้ามากระทำความผิดในเขตเศรษฐกิจจำเพาะของประเทศไทยได้และไม่สามารถดำเนินคดีกับผู้กระทำผิดอาญาได้ เพราะกฎกระทรวงฯ พ.ศ.2552 ไม่ได้ให้อำนาจไว้

จึงเห็นควรแก้ไขความตามวรรคท้ายของกฎกระทรวงแบ่งส่วนราชการเป็นกองบังคับการหรือส่วนราชการที่เรียกชื่ออย่างอื่นในสำนักงานตำรวจแห่งชาติ พ.ศ.2552 ที่ว่า " ...กฎหมายอื่นอันเกี่ยวกับความผิดทางอาญาในเขตน่านน้ำไทย ท่าเรือ ชายฝั่งทะเล ซึ่งเป็นอาณาเขตของประเทศไทย เขตเศรษฐกิจจำเพาะและทะเลหลวงเฉพาะเรือไทย และความผิดที่เกี่ยวเนื่อง.... " โดยให้มีอำนาจตรวจค้นเรือต่างชาติในเขตเศรษฐกิจจำเพาะได้ โดยให้มีคำว่า "กฎหมายอื่นอันเกี่ยวกับความผิดทางอาญาในเขตน่านน้ำไทย ท่าเรือ ชายฝั่งทะเล ซึ่งเป็นอาณาเขตของประเทศไทย เขตเศรษฐกิจจำเพาะและทะเลหลวง " โดยตัดคำว่า " เฉพาะเรือไทย " ออกไป จะทำให้เจ้าหน้าที่ตำรวจมีอำนาจหน้าที่ตามกฎหมายมากขึ้น สามารถป้องกันและปราบปรามอาชญากรรมในเขตเศรษฐกิจจำเพาะได้อย่างมีประสิทธิภาพ

3. อำนาจในการตรวจยึดเรือต่างชาติของเจ้าหน้าที่ตำรวจน้ำในเขตเศรษฐกิจจำเพาะ ถ้าการตรวจค้นเรือมีเหตุอันควรสงสัยว่าจะมีหรือได้มีการกระทำอันเป็นโจรสลัดหรือการลักลอบค้ายาเสพติดในทะเล ให้เจ้าหน้าที่ตำรวจน้ำมีอำนาจจับกุมและควบคุมผู้ต้องสงสัย ตลอดจนควบคุมเรือและสิ่งของที่จะใช้หรือได้ใช้ในการกระทำความ ผิด หรือได้มาจากการกระทำความผิด ไปยังสถานีตำรวจน้ำที่ใกล้ที่สุดเพื่อทำการสอบสวนและตรวจยึดเรือและสิ่งของที่ใช้ในการกระทำความผิดทั้งหมด

ทั้งนี้เมื่อมาพิจารณาถึงกฎกระทรวงฯ พ.ศ.2552 ที่ให้อำนาจในการปราบปรามเฉพาะเรือไทย ที่กระทำผิดในเขตเศรษฐกิจจำเพาะเท่านั้น ถ้ากฎหมายที่มอบอำนาจหน้าที่ให้เจ้าหน้าที่ตำรวจน้ำโดยเฉพาะยังไม่ได้ให้อำนาจ ตรวจค้น จับกุมเรือต่างชาติที่เข้ามากระทำผิดในเขตเศรษฐกิจจำเพาะแล้วนั้น ก็ไม่ต้องมองถึงประเด็นในการตรวจยึดเรือที่ถูกจับกุม เพราะอำนาจเริ่มต้นในการบังคับใช้กฎหมายยังไม่มี ก็ไม่ต้องมองถึงจุดสิ้นสุดในการบังคับใช้กฎหมายเลย

จึงเห็นควรแก้ไขความตามวรรคท้ายของกฎกระทรวงแบ่งส่วนราชการเป็นกองบังคับการหรือส่วนราชการที่เรียกชื่ออย่างอื่นในสำนักงานตำรวจแห่งชาติ พ.ศ.2552 ที่ว่า " ...กฎหมายอื่นอันเกี่ยวกับความผิดทางอาญาในเขตน่านน้ำไทย ท่าเรือ ชายฝั่งทะเล ซึ่งเป็นอาณาเขตของประเทศไทย เขตเศรษฐกิจจำเพาะและทะเลหลวงเฉพาะเรือไทย และความผิดที่เกี่ยวเนื่อง.... " โดยให้มีอำนาจตรวจค้น จับกุม ตรวจยึด เรือต่างชาติในเขตเศรษฐกิจจำเพาะได้ โดยให้มีคำว่า "กฎหมายอื่นอันเกี่ยวกับความผิดทางอาญาในเขตน่านน้ำไทย ท่าเรือ ชายฝั่งทะเล ซึ่งเป็นอาณาเขตของประเทศไทย เขตเศรษฐกิจจำเพาะและทะเลหลวง " โดยตัดคำว่า " เฉพาะเรือไทย " ออกไป จะทำให้เจ้าหน้าที่ตำรวจมีอำนาจหน้าที่ตามกฎหมายมากขึ้น สามารถป้องกันและปราบปรามอาชญากรรมในเขตเศรษฐกิจจำเพาะได้อย่างมีประสิทธิภาพ

4. อำนาจในการตรวจค้น จับกุม และตรวจยึดเรือต่างชาติของเจ้าหน้าที่ตำรวจน้ำในเขตเศรษฐกิจจำเพาะในเขตซ้อนทับกับประเทศมาเลเซีย องค์กรร่วมไทย - มาเลเซีย จัดตั้งขึ้นตามความตกลงระหว่างรัฐบาลไทยกับรัฐบาลมาเลเซียและพระราชบัญญัติองค์กรร่วมไทย - มาเลเซีย พ.ศ. 2533 มีอำนาจหน้าที่ในการสำรวจและแสวงประโยชน์จากทรัพยากรที่ไม่มีชีวิต โดยเฉพาะปิโตรเลียมในพื้นที่พัฒนาร่วมไทย - มาเลเซีย ( Joint Development Area – JDA ) เพื่อประโยชน์ในการใช้เขตอำนาจศาล โดยให้ไทยใช้เขตอำนาจทางแพ่งและทางอาญาในพื้นที่พัฒนาร่วมส่วนครึ่ง หนึ่งด้านเหนือ และให้มาเลเซียใช้เขตอำนาจทางแพ่งและทางอาญาในพื้นที่พัฒนาร่วม ทั้งนี้อำนาจของเจ้าหน้าที่ตำรวจน้ำ ตามกฎกระทรวงฯ พ.ศ.2552 นั้น ไม่ได้กำหนดไว้แต่อย่างใด ถ้ามองในแง่ของการเอื้อประโยชน์แก่การปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าหน้าที่ตำรวจน้ำใน JDA นั้น คงใช้ข้อบังคับได้เฉพาะมีอำนาจในการตรวจค้นเรือไทยในเขตเศรษฐกิจจำเพาะเท่านั้น แต่มิอาจข้ามไปจับกุมเรือสัญชาติไทยในเขตแดน JDA ของประเทศมาเลเซียได้ เมื่อเรือต้องสงสัยข้ามเขตไปยังเขตเศรษฐกิจจำเพาะของประเทศมาเลเซียต้องมีการประสานขอความร่วมมือจากประเทศมาเลเซีย

จึงเห็นควรแก้ไขความตามวรรคท้ายของกฎกระทรวงแบ่งส่วนราชการเป็นกองบังคับการหรือส่วนราชการที่เรียกชื่ออย่างอื่นในสำนักงานตำรวจแห่งชาติ พ.ศ.2552 ที่ว่า " ...กฎหมายอื่นอันเกี่ยวกับความผิดทางอาญาในเขตน่านน้ำไทย ท่าเรือ ชายฝั่งทะเล ซึ่งเป็นอาณาเขตของประเทศไทย เขตเศรษฐกิจจำเพาะและทะเลหลวงเฉพาะเรือไทย และความผิดที่เกี่ยวเนื่อง.... " โดยให้มีอำนาจตรวจค้นเรือต่างชาติในเขตเศรษฐกิจจำเพาะได้ โดยให้มีคำว่า " กฎหมายอื่นอันเกี่ยวกับความผิดทางอาญาในเขตน่านน้ำไทย ท่าเรือ ชายฝั่งทะเล ซึ่งเป็นอาณาเขตของประเทศไทย เขตเศรษฐกิจจำเพาะและทะเลหลวง " โดยตัดคำว่า " เฉพาะเรือไทย " ออกไป จะทำให้เจ้าหน้าที่ตำรวจมีอำนาจหน้าที่ตามกฎหมายมากขึ้น สามารถป้องกันและปราบปรามอาชญากรรมในเขตเศรษฐกิจจำเพาะได้อย่างมีประสิทธิภาพ ทั้งนี้อำนาจในการตรวจค้น จับกุม และตรวจยึดเรือต่างชาติที่กระทำผิดในเขตเศรษฐกิจจำเพาะ มีได้เฉพาะเขตเศรษฐกิจจำเพาะของประเทศไทยเท่านั้น ส่วนการตรวจค้น จับกุม และตรวจยึดเรือต่างชาติที่กระทำผิดในเขตเศรษฐกิจจำเพาะของประเทศมาเลเซีย ต้องอาศัยกลไกความร่วมมือระหว่างประเทศในการแจ้งข้อมูลข่าวสารการกระทำผิดให้เจ้าหน้าที่ของประเทศมาเลเซียรับทราบและใช้กำลังทางเรือของประเทศมาเลเซียในการปราบปรามเท่านั้น

ทั้งนี้ในภาพรวมของกฎกระทรวงแบ่งส่วนราชการเป็นกองบังคับการหรือส่วนราชการที่เรียกชื่ออย่างอื่นในสำนักงานตำรวจแห่งชาติ พ.ศ.2552 สมควรให้มีการแก้ไขบทบัญญัติของอำนาจและหน้าที่ของเจ้าหน้าที่ตำรวจน้ำตาม โดยมีความดังต่อไปนี้

กองบังคับการตำรวจน้ำ โดยให้มีหน้าที่ในการถวายความปลอดภัยสำหรับองค์พระมหากษัตริย์ พระราชินี พระรัชทายาท ผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ พระบรมวงศานุวงศ์ ผู้แทนพระองค์และพระราชอาคันตุกะ รวมทั้งรักษาความปลอดภัยบุคคลสำคัญอื่นๆ รักษาความสงบเรียบร้อย ป้องกันและปราบปรามอาชญากรรมทั่วราชอาณาจักร ปฏิบัติตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาและกฎหมายอื่นอันเกี่ยวกับความผิดทางอาญาในเขตน่านน้ำไทย ท่าเรือ ชายฝั่งทะเล ซึ่งเป็นอาณาเขตของประเทศไทย เขตต่อเนื่อง เขตเศรษฐกิจจำเพาะและทะเลหลวง ทั้งนี้ให้เป็นไปตามบทบัญญัติแห่งอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยกฎหมายทะเล ค.ศ.1982 และกฎหมายระหว่างประเทศอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องและความผิดที่เกี่ยวเนื่องและปฏิบัติงานร่วมกับหรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้องหรือที่ได้รับมอบหมาย

หมายเลขบันทึก: 581604เขียนเมื่อ 3 ธันวาคม 2014 10:26 น. ()แก้ไขเมื่อ 3 ธันวาคม 2014 10:34 น. ()สัญญาอนุญาต: ไม่สงวนสิทธิ์ใดๆจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

ยินดีต้อนรับสู่ชุมชนแห่งการเรียนรู้แห่งนี้นะครับ สารวัตร ;)...

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท