"พี่หนาน"
นาย พรพจน์ พี่หนาน เรียงประพัฒน์

"ฝึกแปล: เรียนรู้พุทธศาสนาไทยผ่านมุมมอง "พระฝรั่ง" ที่มีต่อพระสงฆ์และพระพุทธศาสนาไทย"(๑)


๑/๑๒/๒๕๕๗

**************

"ฝึกแปล: เรียนรู้พุทธศาสนาไทยผ่านมุมมอง "พระฝรั่ง"

ที่มีต่อพระสงฆ์และพระพุทธศาสนาไทย"

...........แปลความจากเว็บไซต์แนะนำของท่านอาจารย์ Prof.Vichan Panich เรื่อง "เรียนรู้พุทธศาสนาไทยจากกระจกเงา" ตรงนี้ ผู้แปลพยายามแปลตามความเข้าใจให้เป็นลำดับ โดยส่วนตัวแล้วก็ไม่ค่อยถนัดภาษาอังกฤษสักเท่าไหร่ อาศัยว่าเคยบวชเรียนมาหลายปีมีพื้นฐานภาษาพระอยู่บ้าง ขณะเดียวกันก็เป็นการฝึกแปลเพื่อเพิ่มการเรียนรู้คำศัพท์ภาษาอังกฤษควบคู่กับความหมายของภาษาไทยไปพร้อม ๆ กัน

หากมีประโยคไหนที่ท่านผู้รู้ผู้เชี่ยวชาญเห็นว่าไม่ถูกต้องหรือคลาดเคลื่อนจากความหมายที่แท้จริงไปมาก ก็ขอให้ได้โปรดช่วยกรุณาชี้แนะเพื่อการปรับปรุงแก้ไขในโอกาสต่อไป

การแปลในครั้งนี้จักขอยกมาเป็นวรรคตอนแต่ละช่วงของคำถามคำตอบ พร้อมกับเสริมในวงเล็บแสดงคำศัพท์เดิม และความเห็นเพิ่มเติมเท่าที่เห็นว่าเกิดประโยชน์ อย่างน้อยผู้ที่ยังไม่เข้าใจ โดยเฉพาะเยาวชนนักศึกษา ที่ยังมองภาพพระสงฆ์และพุทธศาสนาไทยยังไม่ชัดเจนหรือยังไม่กระจ่างแจ้ง ก็จักได้มองเห็นภาพรวมได้ดั่งกระจกเงา ได้เรียนรู้พุทธศาสนาไทยดั่งที่ท่านศาสตราจารย์ Vichan Panich ได้เขียนแนะนำไว้

...

*introduce

One of the best books about Buddhism in Thailand is undoubtedly "Phra Farang: An English Monk in Thailand" by Phra Peter Pannapadipo. Even if you are not interested in becoming a monk yourself, his vivid description of his ten years as a foreign monk in Thailand will give you an insight into Thai life and culture that would be difficult to find elsewhere. It is certainly one of my favourite books about Thailand and I was really happy when I was finally able to catch up with "Phra Farang" at home in Nakhon Sawan.

*นำสู่เรื่อง

หนึ่งในหนังสือที่ดีที่สุดเกี่ยวกับพระพุทธศาสนาในประเทศไทยอย่างไม่ต้องสงสัยคือ"Phra Farang: An English Monk in Thailand" ("พระฝรั่ง : พระสงฆ์อังกฤษในประเทศไทย") โดย พระปีเตอร์ ปญฺญาปทีโป (Phra Peter Pannapadipo) แม้ว่าคุณจะไม่ได้สนใจในการมาเป็นพระสงฆ์ด้วยตนเอง คำอธิบายที่ชัดเจนของเขาสิบปี ในฐานะพระสงฆ์ต่างชาติในประเทศไทย จะทำให้คุณมีความเข้าใจในวิถีชีวิตแบบไทยและวัฒนธรรมที่ดูแตกต่างจากที่อื่น แน่นอนมันเป็นหนึ่งในหนังสือที่ผมชื่นชอบเกี่ยวกับประเทศไทยและมีความสุขจริงๆ เมื่อผมสามารถติดต่อกับ "พระฝรั่ง" ที่บ้านในนครสวรรค์ได้

Since the events described in his book, he has now disrobed and resorted back to his previous name of Peter Robinson. He now works full time for The SET Foundation (SET), which awards scholarships to needy students. In this first interview, I talk to Peter about his time as a monk in Thailand. Next week, I will be asking him about what he has been up to since he left the monkhood. Peter now has three books published about Buddhism. "Little Angels: Real Life Stories of Thai Novice Monks" is also one of my favourites. His third book, "One Step at a Time", about meditation techniques, has just been published by Bamboo Sinfonia.

นับตั้งแต่เหตุการณ์ที่อธิบายไว้ในหนังสือของเขา ปัจจุบันเขาได้ลาสิกขาและกลับไปอยู่ที่รีสอร์ท กลับไปใช้ชื่อเดิมว่า ปีเตอร์ โรบินสัน ตอนนี้เขาทำงานเต็มเวลาให้กับสถาบันตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (SET) ซึ่งได้รับรางวัลผู้มอบทุนการศึกษาให้กับนักเรียนที่ยากจน ในการให้สัมภาษณ์ครั้งแรกนี้ ผมพูดคุยกับปีเตอร์เกี่ยวกับช่วงเวลาที่เขาเป็นพระสงฆ์ในประเทศไทย สัปดาห์ถัดไปผมจะถามเขาเกี่ยวกับสิ่งที่เขาได้รับตั้งแต่เขาออกจากสมณเพศ ขณะนี้ปีเตอร์มีหนังสือที่ตีพิมพ์เกี่ยวกับพระพุทธศาสนาสามเล่มคือ "Little Angels: Real Life Stories of Thai Novice Monks" เป็นหนึ่งในเล่มโปรดของผม หนังสือเล่มที่สามของเขา "One Step at a Time" เกี่ยวกับเทคนิคการทำสมาธิเพิ่งได้รับการตีพิมพ์โดยสำนักพิมพ์ Bamboo Sinfonia

*เรียนรู้ลักษณะถามตอบ

Q. Before you became a monk in Thailand, how much were you prepared for the experience?

A. I was well prepared because I trained at the Thai monastery in the UK for three years before actually ordaining in Thailand. I had a fairly involved business and social life in London and I needed time anyway to withdraw from all that. For me, it was a gradual process.

ถาม. ก่อนที่คุณจะมาเป็นพระสงฆ์ในประเทศไทย คุณได้เตรียมความพร้อมรับประสบการณ์ใหม่มากน้อยปานใด

ตอบ. ผมได้เตรียมความพร้อมอย่างดี เพราะผมผ่านการฝึกอบรมที่วัดไทยในอังกฤษเป็นเวลาสามปี ก่อนที่จะมาบวชจริงในประเทศไทย ผมมีธุรกิจที่ต้องดูแลเอาใจใส่อยู่พอสมควรชีวิตทางสังคมในกรุงลอนดอน และผมจำเป็นต้องมีเวลาเคลียร์ตัวเองจากสิ่งต่าง ๆ โดยส่วนตัวต้องดำเนินการอย่างค่อยเป็นค่อยไป

...

Q. Was Thailand monasteries up to your expectations?

A. Not quite, because I had been trained by very senior and very disciplined Thai monks in the UK, so I naively expected to find the same level of discipline, understanding and commitment in Thailand. Almost immediately after ordaining at a monastery in Bangkok, I realized that many monks were not at all disciplined, some even knew very little about Buddhism and very few knew even the basics of meditation.

ถาม. ความคาดหวังเกี่ยวกับวัดในประเทศไทยของคุณเป็นอย่างไร?

ตอบ. ไม่แน่นอนนะ เพราะผมได้รับการแนะนำเรื่องพระวินัยจากผู้อาวุโสและจากพระสงฆ์ไทยในอังกฤษหลายท่าน ดังนั้น ผมจึงคาดหวังอย่างพาซื่อว่าจะพบผู้รักษาพระวินัย มีความเข้าใจและความมุ่งมั่นในระดับเดียวกันในประเทศไทย เกือบจะทันทีหลังจากบวชที่วัดในกรุงเทพฯแล้วผมตระหนักว่าพระสงฆ์หลายรูปไม่ได้อยู่ในพระวินัย บางรูปรู้เรื่องพระพุทธศาสนาน้อยมาก และมีจำนวนน้อยมากที่รู้จักการทำสมาธิในระดับพื้นฐาน

...

Q. If you had the time again, what would you have done differently to prepare yourself for life as a monk in Thailand?

A. Nothing. I think my way was the best way, to ease into it, but that was because of my particular circumstances in the UK. Although my studies and meditation practice were often difficult in the UK, at least I didn't have the added difficulty of living in a strange environment at the same time. I have since met Westerners who have decided to ordain and who have come straight to Thailand, without any real preparation at all. Sometimes they don't last very long in the robes.

ถาม. ถ้าคุณมีเวลาอีกครั้ง อะไรคือสิ่งที่คุณควรจะทำให้ดูแตกต่างในการเตรียมตนเอง เพื่อชีวิตความเป็นพระสงฆ์ขณะที่อยู่ในประเทศไทย?

ตอบ. ไม่มีอะไร ผมคิดว่าวิธีการของผมเป็นวิธีที่ดีที่สุด การปล่อยวาง แต่นั่นก็ขึ้นกับพฤติกรรมโดยเฉพาะของผมในอังกฤษ(สหราชอาณาจักร) ถึงแม้ว่าการศึกษาและการฝึกสมาธิของผมมักจะได้รับความลำบากในอังกฤษ อย่างน้อยผมก็ไม่ได้มีชีวิตที่ลำบากเพิ่มขึ้น ในสภาพแวดล้อมที่ต่างออกไป ณ ช่วงเวลาเดียวกัน ผมได้พบกับชาวตะวันตกที่ตัดสินใจที่จะบวช และผู้ที่มายังประเทศไทยโดยตรง นอกจากการเตรียมสิ่งทั้งหลายเท่าที่จำเป็นจริง ๆ บางคราวพวกเขาไม่ได้ครองจีวร(บวช)อยู่ได้นานเลย

...

Q. How would you describe the differences between a Thai temple in the West to one in Thailand?

A. I have no experience of Thai monasteries in the West, except in the UK. There, if it's an official Thai monastery, the monks will usually have been chosen carefully by the Thai Sangha (Order of Monks) before being sent abroad. The monks will also often speak English and will have at least a basic understanding of British culture. They will also usually be able to teach pure Buddhism – which is what Europeans want – rather than the sort of hybrid Buddhism/Animism that is so common in Thailand.

ถาม. คุณจะอธิบายความแตกต่างระหว่างวัดไทยในตะวันตกกับวัดในประเทศไทยอย่างไร?

ตอบ. ผมไม่เคยมีประสบการณ์ของวัดไทยในตะวันตก ยกเว้นประเทศอังกฤษ ถ้าเป็นวัดไทยที่จัดตั้งอย่างเป็นทางการแล้ว พระสงฆ์มักจะได้รับการคัดเลือกอย่างพิถีพิถันโดยสังฆะไทย/คณะสงฆ์ไทย (คำสั่งมหาเถรสมาคม) ก่อนที่จะถูกส่งไปต่างประเทศ พระสงฆ์มักจะพูดภาษาอังกฤษได้ และอย่างน้อยมีความเข้าใจพื้นฐานวัฒนธรรมของอังกฤษได้ดี พระท่านมีความารถที่จะสอนพุทธศาสนาที่บริสุทธิ์(หลักธรรมคำสอน)- ซึ่งเป็นสิ่งที่ชาวยุโรปต้องการ - มากกว่าพุทธศาสนาแบบประสม/ ความเชื่อว่าชีวิตเกิดขึ้นเพราะวิญญาณนั้น ถือเป็นเรื่องธรรมดาในประเทศไทย

...

Q. What kind of duties do the monks undertake for the lay people which is not strictly Buddhism?

A. I think the majority of Thai monks give the people what the people want, which is mostly blessings, charms and the like. If that helps the people then I suppose it's not too bad, but it's not exactly Buddhism. Unfortunately, many monks come from little country villages and are not well educated either in a secular or religious sense – which isn't their fault – so they believe that the non-Buddhist practices they undertake actually are Buddhist.

ถาม. การปฏิบัติหน้าที่พระสงฆ์ให้เกิดการยอมรับต่อศาสนิกชน ทางพระพุทธศาสนาไม่มีความเคร่งครัด คุณเห็นอย่างไร?

ตอบ. ผมคิดว่า พระสงฆ์ไทยส่วนใหญ่ ให้กับประชาชน(ชาวบ้าน) รู้ว่าประชาชนต้องการอะไร โดยทั่วไปคือการให้พร, ทำเสน่ห์และมหานิยม หากนั่นคือการช่วยเหลือประชาชน ผมลองคิดดู มันก็ไม่เลวร้ายจนเกินไป แต่ก็ไม่ตรงกับหลักการทางพระพุทธศาสนาอย่างแท้จริง น่าเสียดาย ที่พระสงฆ์จำนวนมากมาจากหมู่บ้าน ในเมืองเล็ก ๆ และไม่ได้รับการศึกษาที่ดีทั้งในแง่ความเป็นฆราวาสหรือความลึกซึ้งทางศาสนา - ซึ่งก็ไม่ใช่ความผิดของพวกเขา - ดังนั้นพวกเขาจึงเชื่อว่าไม่ใช่การปฏิบัติของชาวพุทธ พวกเขายอมรับว่าเป็นชาวพุทธตามที่เป็นอยู่ในเวลานี้

...

Q. When there are no lay people around, do some monks just act like normal people by joking around and teasing each other?

A. Of course, but the point is that they are normal people. Lay people seem to think that the moment a man puts on the robes, he instantly becomes something special, but it can takes years to fully develop as a monk. Many young monks in Thailand are 'short-time' monks; they've ordained with the idea of staying in the robes for a couple of years, or for one Pansa (the 3-months Rains Retreat) or even just a couple of weeks. Of course they act like 'normal' people. But there are also many long-term monks with 10, 20, 40 – even 60 – years spent in the robes and their behavior tends to be quite different.

ถาม. เมื่อไม่มีศาสนิกชนอยู่ใกล้ๆ พระสงฆ์บางรูปชอบแสดงออกเหมือนชาวบ้านปกติ โดยการพูดคุยสนุกสนาน และหยอกล้อเล่นซึ่งกันและกัน เช่นนั้นหรือ ?

ตอบ. แน่นอน แต่ประเด็นก็คือว่า พวกเขาก็เป็นประชาชนธรรมดา ศาสนิกชนดูเหมือนจะคิดว่าชายที่ห่มจีวรแล้วนั้น เขาจะกลายเป็นสิ่งที่วิเศษได้ในชั่วอึดใจ แต่มันจะต้องใช้เวลาหลายปีในการพัฒนาไปสู่ความเป็นพระสงฆ์ พระสงฆ์หนุ่มจำนวนมากในประเทศไทย ใช้เวลาในการเป็นพระสงฆ์ 'สั้นมาก' ; พวกเขาได้บวชพร้อมกับความคิดที่ว่า จะอยู่กับจีวร(ผ้าเหลือง)สักสองสามปี, หรือหนึ่งพรรษา(Pansa) (3 เดือนช่วงฤดูฝน) หรือแม้กระทั่งอยู่เพียงสองสามสัปดาห์ แน่นอนว่า พวกเขาชอบปฏิบัติตนเช่น คน 'ปกติ' แต่ยังมีพระสงฆ์จำนวนมากที่บวชห่มจีวรใช้เวลาอยู่นานหลายพรรษา เช่น 10, 20, 40 แม้ถึง 60 พรรษา ความประพฤติของพวกเขามีแนวโน้มที่แตกต่างกันมาก

...

Q. Over the years the Thai monkhood has received some bad publicity due to the antics of a small minority of monks. For example, sexual relations, drug use and other inappropriate behaviour. Is this only the tip of the iceberg and will things just get worse?

A. There have been and still are some very bad Thai monks, but I think the majority do the best they can, depending on their level of understanding of the Buddha's teaching and their commitment to the teaching and way of life. But I think – or at least hope – that there are also some extremely good monks, maybe even arahants (saints) living in isolated caves and forests. We never see them, we never hear about them, but I believe they are there.

ถาม. หลายปีที่ผ่านมาของการครองสมณเพศ(monkhood) ในไทย ได้เห็นพระสงฆ์ผู้เยาว์จำนวนหนึ่งแสดงออกในทางที่ไม่ดีผ่านสื่อสาธารณะ ยกตัวอย่างเช่น การมีเพศสัมพันธ์ การใช้ยาเสพติด การแสดงออกทางพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสม คุณพอจะชี้ให้เห็นถึงการไร้ยางอายและสิ่งที่จะเกิดจากความเสื่อมนี้บ้างไหม?

ตอบ. มีนะ ยังคงมีพระสงฆ์บางรูปในไทยที่ไม่ดีเอามากๆ แต่ผมคิดว่าส่วนใหญ่ท่านทำดีที่สุดที่พวกเขาสามารถทำได้ขึ้นอยู่กับระดับของความเข้าใจในหลักคำสอนของพระพุทธเจ้า ความมุ่งมั่นที่จะสอน และการนำไปใช้ในชีวิตจริงของพวกเขา แต่ผมก็คิด - หรือมีความหวังน้อยมาก – ว่ายังมีพระสงฆ์ที่ปฏิบัติดีอย่างยิ่งยวดอาจจะยังมีพระอรหันต์ (saints:เซ็นท์ส) ที่ปลีกวิเวกอยู่ในถ้ำ และป่าไม้ เราไม่เคยเห็นพวกเขา เราไม่เคยได้ยินเรื่องราวเกี่ยวกับพวกเขา แต่ผมเชื่อว่าพวกเขา(พระอรหันต์)มีอยู่จริง

...

Q. Some abbots seem to be spending more money constructing bigger temple buildings or Buddha images rather than using the money to help people who really need it. Why is this?

A. This is a thorny issue, even within the Sangha. The monks only duty towards lay people is to practice well, thus becoming good examples to the lay people, and to teach the Dhamma to them. They have no mandate to be actively socially-involved. There are monks who are socially-involved – in helping the poor, protecting forests from illegal logging, in environmental issues and even in one case by setting up an AIDS hospice in the monastery – but they come under great criticism, both from other monks and from lay people, who claim that is simply not the monks' job and that, anyway, monks are not trained in these issues.

Additionally, abbots must make a periodic report to the Sangha to say what they have achieved at their monastery. Their advancement up the monastic ladder, and the gaining of monastic titles, may be based on what they have done or are seen to have done. It is easier to show some new temple building, or another installed Buddha image, than it is to show Compassion in a solid and quantifiable form.

ถาม. เจ้าอาวาสบางรูป ดูเหมือนจะใช้จ่ายเงินจำนวนมากในการสร้างวัดขนาดใหญ่ หรือสร้างพระพุทธรูปจำนวนเงินที่ใช้เหมือนจะมากกว่าที่ให้ความช่วยเหลือแก่ผู้ที่ เดือดร้อนจริงๆ เสียอีก ทำไมถึงเป็นเช่นนี้?

ตอบ. นี้เป็นประเด็นที่ละเอียดอ่อน แม้จะอยู่ภายในสังฆะ พระสงฆ์ควรทำหน้าที่มุ่งตรงต่อศาสนิกชนด้วยการให้ปฏิบัติในสิ่งที่ถูกต้องเท่านั้น นี้จึงต้องเป็นตัวอย่างที่ดีแก่ศาสนิกชน และสอนธรรมะ (Dhamma) ให้กับพวกเขา พวกเขามีหลักปฏิบัติตัวหรือที่เกี่ยวข้องทางสังคมที่ไม่ใช่ข้อบังคับมีพระสงฆ์จำนวนมากที่เข้าไปยุ่งเกี่ยวกับสังคม – ให้การช่วยเหลือคนยากจน ปกป้องป่าจากการลักลอบตัดไม้ ประเด็นด้านสิ่งแวดล้อมและแม้กระทั่งกรณีการสร้างที่พักรับรองแก่ผู้ติดเชื้อเอดส์ในวัด - แต่พวกเขาก็อยู่ภายใต้การประเมินผลงานที่ดีทั้งสองอย่างจากพระสงฆ์ท่านอื่น และจากศาสนิกชน มีการเรียกร้องว่านั่นไม่ใช่งานของพระสงฆ์โดยตรงและว่าถึงอย่างไรก็ตามพระสงฆ์ก็ไม่ได้รับการฝึกอบรมในประเด็นเหล่านี้(ไม่รู้เรื่องเหล่านี้จริง)

นอกจากนี้ เจ้าอาวาสจำต้องทำรายงานต่อคณะสงฆ์เป็นระยะๆ เพื่อที่จะบอกว่าสิ่งที่ท่านทำได้ประสบผลสำเร็จที่วัดของท่าน เป็นความพยายามก้าวไปในตำแหน่งที่สูงขึ้น

และมีผลดีต่อชื่อเสียงของวัด บางทีอาจจะเป็นเหตุผลว่าพวกเขาทำอะไร หรือเห็นผลงานอะไรบ้าง มันง่ายที่จะแสดงให้เห็นคือการสร้างถาวรวัตถุใหม่ ๆ หรือพระพุทธรูปที่จัดสร้างขึ้นมาในวัด ยิ่งกว่านั้นก็คือเป็นสิ่งแสดงให้เกิดความเห็นใจในรูปแบบที่เป็นสิ่งก่องสร้าง(วัตถุ)และในเชิงปริมาณ(ของจำนวนมาก)ที่มีต่อเจ้าอาวาส


...

Q. You once said that you were expected to act more like a monk than a Thai person. That any indiscretion by a Thai monk is more forgiveable than if you had done it yourself. Why do you think that is?

A. Simply because there are so many Thai monks that they become part of the background for Thai people. But a Phra Farang (foreign monk) will always stand out in a crowd, so he must be more vigilant about his behavior than a Thai monk.

ถาม. คุณเคยบอกว่าคุณคาดหวังว่าจะทำหน้าที่พระสงฆ์อย่างถูกต้องให้มากกว่าคนไทย การสำรวมระวังแบบพระไทยก็จะต้องมีการฝึกการให้ที่มากกว่า เมื่อได้ปฏิบัติด้วยตนเอง ทำไมคุณถึงคิดเช่นนั้น?

ตอบ. เป็นเรื่องธรรมดา เพราะมีพระสงฆ์ไทยอยู่จำนวนมาก พวกเขาเป็นพื้นฐานส่วนหนึ่งของประชาชนไทย แต่พระฝรั่ง (พระสงฆ์ชาวต่างชาติ) มักจะโดดเด่นในกลุ่มนั้น ดั้งนั้น ท่านจำเป็นต้องมีความระมัดระวังมากขึ้นเกี่ยวกับพฤติกรรมของตนเองมากกว่าพระสงฆ์ในประเทศไทย

...

บันทึกนี้ขอพักไว้แต่เพียงนี้ก่อน จักได้นำบันทึกที่สองต่อจากนี้ มาลงไว้ในโอกาสต่อไป...

ที่มา

https://www.gotoknow.org/posts/581188

Photographs of Thai Temples & Buddha Images by Richard Barrow

http://www.thaibuddhist.com/an-interview-with-phra-farang/

.............ขอบคุณคำชี้แนะ ขอบคุณทุกท่านที่สนใจ ขอบคุณโกทูโนว์..........

หมายเลขบันทึก: 581459เขียนเมื่อ 1 ธันวาคม 2014 09:12 น. ()แก้ไขเมื่อ 26 มกราคม 2015 10:45 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (7)

ยอดเยี่ยมเลยพี่หนานครับ..รออ่านต่อไปครับ

จริงๆแล้วเราคนไทยจำนวนไม่น้อย(รวมทั้งพี่เอง)ก็เห็นเช่นเดียวกับพระปีเตอร์ แต่เราไม่กล้าพูด

ท่านวิเคราะห์ได้ดีเยี่ยมตามคุณลักษณะของคนตะวันตกที่ระบบการศึกษาของเขาช่วยให้สามารถวิเคราะห์และสื่อสารอย่างตรงไปตรงมา

พี่ชอบมากในทุกประเด็น คนถามถามได้ดีมาก

พี่สนใจประเด็นบทบาทหน้าที่ของพระที่แท้จริง กับ การมุ่งสร้างวัดใหญ่โตกับการเรี่ยไรมากมายที่ทำให้พระร่ำรวยโดยไม่มีการตรวจสอบ สำหรับพี่คิดว่าองค์กรพระสงฆ์ในในประเทศไทยควรมีระบบการตรวจสอบเช่นเดียวกับองค์กรของฆราวาส

ขอบคุณมากที่แปลมาให้อ่าน รออ่านต่อไปนะคะ


ขอบคุณอาจารย์

ส.รตนภักดิ์

มากนะครับที่ให้กำลังใจ พร้อมกับคำชม ที่ช่วยให้จิตใจชุ่มชื่นขึ้นอีกเป็นกอง จะพยายามสร้างสรรค์สิ่งดีๆ ตลอดไปครับผม

ขอบคุณอาจารย์ พี่nui

มากครับที่ให้ความเห็นอันทรงคุณค่าประกอบบันทึกนี้...เห็นด้วยกับประเด็นดังกล่าวมากครับ

พระสงฆ์ไทยในปัจจุบันหลงทางกันมาก โดยลืมเป้าหมายที่แท้จริงมาก ตามหลักก็น่าจะมีอยู่สองประเด็นหลักๆ คือ เพื่อการศึกษาและเพื่อปฏิบัติธรรม เดี๋ยวนี้เพื่อ "เงิน" "บารมี" "ชื่อเสียง" "ตำแหน่ง" กันเสียมากกว่า ใจจริงผมก็อยากให้มีธนาคารพุทธ แบบของอิสลามด้วยซ้ำไปนะครับ การเงินของวัด การเงินของพระจะได้บริหารจัดการกันได้เป็นอย่างดี เห็นควรให้มีการจัดระบบเป็นอย่างยิ่งครับ...

ขอบคุณที่แวะมาเยี่ยมเยียนมากครับผม

ขอขอบคุณ คุณครู อร วรรณดา ที่เข้ามาอ่านพร้อมกับให้คำชมและกำลังใจเป็นอย่างมากครับผม

ขอบคุณอาจารย์ ดร.ขจิต ฝอยทอง

ที่ให้กำลังใจด้วยนะครับ...ช่วยคอมเม้นท์เพื่อการปรับปรุงแก้ไขข้อบกพร่องก็จะดีมากนะครับผม

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท