กระบวนกรฝึกหัด 1


กระผมขอเขียนข้อควรปฏิบัติสำหรับ การเป็นกระบวนกร ฝึกหัด ไว้ ณ ที่นี้ ครับ ... การเป็นกระบวนกรนั้น หลายๆคนก็อาจจะคิดในมุมที่เเตกต่างกัน บางท่านก็บอกว่า เป็นคนสรุปประเด็น เป็นคนนำกระบวนการ เป็นคนคอยชวนคุย เป็นคนคอยสร้างบรรกาศการเรียนรู้ หากในมุมมองของเราเเล้วนั้น มาถึงจุดนี้ ผมคิดว่า "กระบวนกร คือ คนที่คอยทำทุกอย่างเพื่อให้ทุกๆคนเกิดการเรียนรู้ร่วมกัน" ซึ่งการที่จะให้ทุกๆคนเกิดการเรียนรู้ร่วมกันได้นั้นก็อาจมีวิธีการเป็นร้อยเป็นพันวิธีการ เเต่ใช่ว่าวิธีการนี้จะใช้ได้ลอดไป เพราะเราต้องมีการพัฒนาเครื่องมือกระบวนการให้มีความเหมาะสมกับยุคสมัยอยู่ตลอดๆ ในการดำเนินกระบวนการอาจมีข้อคิดเป็นร้อยพัน เเต่ในที่นี้กระผมขอยกตัวอย่างในการสังเคราะห์ข้อควรระวังสำหรับบกระบวนกรฝึกหัด ไว้ ครั้งที่หนึ่ง มีนัยดังนี้

1.จุดประสงค์ของกิจกรรมหรือเป้าหมายของกิจกรรมที่เราควรรู้อยู่เสมอว่าคืออะไร ซึ่งจุดประสงค์นี้เองที่จะเป็นเส้นมาตรฐานของกิจกรรมเราว่าจะไปในทิศทางใด ถ้าจะให้ชัดเจนในขั้นการออกเเบบกระบวนการควรเเยก Need กับ Want คือ สิ่งที่ต้องการจริงๆเเละสิ่งที่ต้องการรองลงมาไว้ร่วมด้วยเพราะหากเรามีจุดประสงค์หลายๆอย่าง ภาพที่ออกมาเราอาจจะเห็นเป็นภาพเบลอๆได้

2.ชุดคำถาม ในกระบวนการ อันนี้ยิ่งสำคัญเพราะว่าหากเราใช้คำที่ยากๆอาจไม่เหมาะสมกับเด็กๆตัวเล็กๆ หรือหากเราใช้คำถามที่กำกวมไม่เข้าใจ เราจนกลายเป็นคนที่ไม่เข้าใจเสียเอง คำถามที่ควรถามเด็กๆ ได้เเก่ รู้สึกอย่างไร ประทับใจอะไร เรื่องนี้สอนอะไรเรา ฯ คำถามหลักๆที่เราคุ้นเคยจะมีอยู่ 2 อย่างด้วยกัน ได้เเก่ ปลายปิด เช่น ใช่หรือไม่ ปลายเปิด เช่น เป็นอย่างไร เพราะอะไร (เห็นถึงเหตุผล) ในบทบาทนี้เราควรที่จะใช้คำถามปลายเปิดเข้าไว้เพื่อเปิดพื้นที่ให้เด็กๆได้สะท้อนมุมมองเเลกเปลี่ยนเรียนรู้ ส่วนคำถามปลายปิดนั้นเราอาจถามได้ในในช่วงเวลาเช่น เขายังไม่ชัดเจน เขายังเบลอๆ เขายังเข้าใจผิด เป็นต้น

3.เครื่องมือในกระบวนการ อันที่จริงเเล้วที่เราเห็นๆกันนั้นเครื่องมือ คือ สิ่งที่ทำให้เรามองเห็นภาพร่วมกันได้ชัดเจนยิ่งขึ้น นำไปสู่การเรียนรู้ เครื่องมือก็มีหลายๆอย่าง วิธีการใช้ คือ เราควรประเมินก่อนว่าบุคคลที่เราจะนำไปใช้นั้นเขามีศักยภาพมากน้อยเพียงใดด้วย วิธีการดำเนินเครื่องมือก็มีอยู่ 2 อย่างหลักๆเช่นเดียวกัน ได้เเก่ นำเเบบปลายปิด คือ ทำไปตามคำสั่งทีละอย่างๆ ทำไปโดยมีรูปเเบบเดียวมาให้คิด ฯ เเละนำเเบบปลายเปิด คือ ให้ออกเเบบรูปเเบบด้วยตนเอง ให้สรุปกิจกรรมลงบนกระดาษ เป็นต้น

4.ประเมินตลอด เป็นการประเมินดูว่ากิจกรรมเราที่ทำนั้นมันเกิดผลมากน้อยเพียงใด อะไรที่เราควรที่จะเสริมเข้าไปอีกในกระบวนการ เมื่อเสริมเข้าไปเเล้วเราย่ำที่เดิมหรือไม่ เช่น การละลายพฤติกรรม หากเรายังไม่ค่อยพูดคุยกัน เราควรจะเพิ่มอะไรลงไปได้อีกโดยมองดูจุดประสงค์ของกิจกรรมเป็นหลัก หรือ เครื่องมือนี้มันยากไปสำหรับคนที่ไม่เคยทำ เรามีเเผนสำรองที่จะใช้เครื่องมือง่ายๆกว่านี้หรือเปลี่ยนรูปเเบบวิธีการได้ไหม ฯ

5.ลำดับขั้นของกิจกรรมในตอนออกเเบบที่เราควรเชื่อมร้อยกัน เเม้เเต่กิจกรรมสันทนาการก็ควรที่จะทิ้งท้ายเพื่อเข้าสู่บทเรียนของกิจกรรมหรือเครื่องมือ หากมีการปรับเเผนควรปรับความเชื่อมร้อยนี้ไปด้วยเพราะหากไม่เชื่อมกันกระบวนการนี้ จะเหมือนกับ "กระตุก" ทำเเล้วเปลี่ยนอันใหม่ๆ เด็กอาจจะเบื่อได้เเละหลุดบทเรียนไปเลยก็ได้

6.ตัวอย่างที่ดีมีมากกว่าคำอธิบาย หมายถึงว่า ในการดำเนินกิจกรรมต่างๆนานานั้น เราจะชอบอธิบายอะไรยาวๆที่หล่ายๆคนไม่เข้าใจ หากเราลองอธิบายสั้นๆเเล้วยกตัวอย่างให้ดูเลย เขาอาจจะเข้าใจได้เร็วขึ้นเยอะ หากใช้กับเด็กๆควรยกตัวอย่างเป็นหลัก

7.เมื่อมีการจับประเด็นอะไรสักอย่างไม่ควรที่จะใส่ความคิดของตนเองลงไป เพราะมันความคิดของทุกๆคน สามารถรวบยอดได้ วิธีการที่ช่วยให้ง่ายขึ้น ได้เเก่ การวาดเเมปปิ้ง การทำตาราง เป็นต้น


หมายเลขบันทึก: 581437เขียนเมื่อ 30 พฤศจิกายน 2014 19:03 น. ()แก้ไขเมื่อ 30 พฤศจิกายน 2014 19:06 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท