กลุ่มเกษตรอินทรีย์บ้านดอนผิงแดด พัฒนาชุมชนต่อเนื่อง เกิดสภาผู้นำชุมชน ต่อยอดนำเยาวชุนเริ่มงานธนาคารขยะ


โครงการ "แปลงขยะให้เป็นประโยชน์ในชุมชนบ้านดอนผิงแดด" เนื่องจากเห็นว่ามีปริมาณขยะในหมู่บ้านเพิ่มขึ้น การจัดเก็บขยะโดยองค์การบริหารส่วนตำบล(อบต.)ใช้วิธีการเผาไม่มีการคัดแยกขยะ และใช้งบประมาณสูงถึงปีละ 800,000 บาท จากค่าขนส่งและค่าเช่าที่ทิ้งขยะที่ชะอำ หากชุมชนช่วยกันก็จะลดค่าใช้จ่ายลงได้

บ้านดอนผิงแดดผุดธนาคารขยะ

ชุมชนมีส่วนร่วม-หมู่บ้านสะอาด

กลุ่มเกษตรจุลินทรีย์หมู่ 5 บ้านดอนผิงแด อ.บ้านแหลม จ.เพชรบุรีต่อยอดงานสร้างชุมชนให้น่าอยู่ ชักชวนเยาวชนตั้ง "ธนาคารขยะ" นำขยะที่ถูกทิ้งไม่เป็นระเบียบมาคัดแยกขาย สร้างมูลค่าเพิ่มเป็นรายได้ชุมชน

นายสำราญ อ่วมอั๋น ผู้จัดการศูนย์เครือข่ายปราชญ์ชาวบ้าน กลุ่มเกษตรอินทรีย์บ้านดอนผิงแดด หมู่ 5 ต.บางขุนไทร อ.บ้านแหลม จ.เพชรบุรี เปิดเผยว่าการดำเนินกิจกรรมเรื่องเกษตรอินทรีย์อย่างครบวงจรได้ดำเนินการต่อเนื่อง ซึ่งได้รับการสนับสนุนจากหลายหน่วยงาน รวมทั้งจากสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) อีกด้วย ซึ่งในขณะนี้ทางศูนย์ฯได้จัดทำ"ธนาคารขยะ"ขึ้น ภายใต้โครงการ "แปลงขยะให้เป็นประโยชน์ในชุมชนบ้านดอนผิงแดด" เนื่องจากเห็นว่ามีปริมาณขยะในหมู่บ้านเพิ่มขึ้น การจัดเก็บขยะโดยองค์การบริหารส่วนตำบล(อบต.)ใช้วิธีการเผาไม่มีการคัดแยกขยะ และใช้งบประมาณสูงถึงปีละ 800,000 บาท จากค่าขนส่งและค่าเช่าที่ทิ้งขยะที่ชะอำ หากชุมชนช่วยกันก็จะลดค่าใช้จ่ายลงได้

ผู้จัดการศูนย์เครือข่ายปราชญ์ชาวบ้าน กล่าวว่าชุมชนบ้านดอนผิงแดด 182 หลังคาเรือน จึงระดมความคิดหาทางช่วยกันและตอนแรกคิดว่าจะทำเตาเผาขยะ แต่ก็ได้รับความรู้ว่าไม่จำเป็นต้องใช้วิธีการเผา จึงได้จัดตั้งธนาคารขยะขึ้น ดำเนินงานโดยเยาวชนบุตรหลานของคณะกรรมการศูนย์ฯ 13 คน อบรมเยาวชนที่ให้ความสนใจ แบ่งหน้าที่ทำบัญชีรายรับ รายจ่าย การจัดเก็บ การตลาด ประชาสัมพันธ์ ซึ่งมีครอบครัวนำร่องเข้าโครงการกว่า 30 หลังคาเรือนแล้ว

กิจกรรมของธนาคารขยะเริ่มจ้นจากการจัดเก็บอย่างถูกวิธี คัดแยกขยะที่ขายได้ ที่เป็นน้ำมันพืชเก่าก็นำไปผลิตเป็นไบโอดีเซล ส่วนขยะเปียกก็นำไปหมักทำฮอร์โมนสำหรับไว้ใช้พืชผักในครัวเรือน หากเหลือก็นำมาบรรจุขายที่ศูนย์ฯ นำรายได้เข้ากองกลาง สิ้นปีก็จะแบ่งกำไรคืนให้แก่สมาชิกโดยปัจจุบันนี้มีทุนหมุนเวียนกว่า 10,000 บาทแล้ว

"หลังจากมีธนาคารขยะ ตามริมถนนตอนนี้ไม่มีขยะให้เห็นแล้ว ชุมชนกระตระหนักขึ้นและเป็นรายได้เสริม ขยะพวกเศษอาหารก็มีการอบรมให้ทำปุ๋ยหมักไปใช้ในครัวเรือน พวกเปลือกผลไม้ก็นำมาหมักไล่แมลงได้ จากการที่ชุมชนมีกิจกรรมร่วมกันเลยทำให้เกิดสภาผู้นำชาวบ้านมีส่วนร่วม เกิดความสามัคคีกันดีในหมู่คณะ จะเดินหน้ากิจกรรมอะไรก็สามารถทำได้อย่างต่อเนื่อง" ผู้จัดการศูนย์เครือข่ายปราชญ์ชาวบ้าน กลุ่มเกษตรอินทรีย์บ้านดอนผิงแดดกล่าว

เครื่องผลิตไบโอดีเซลซึ่งนำเอาน้ำมันพืชเก่าเหลือทิ้งมาผ่านกระบวนการใหม่

ลูกบอลจุลินทรีย์ที่ศูนย์ฯผลิตขึ้นเพื่อแจกจ่ายสมาชิกไปใช้หากเหลือก็นำออกจำหน่าย


หมายเลขบันทึก: 581269เขียนเมื่อ 26 พฤศจิกายน 2014 15:07 น. ()แก้ไขเมื่อ 26 พฤศจิกายน 2014 15:16 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

"...การจัดเก็บขยะโดยองค์การบริหารส่วนตำบล(อบต.)ใช้วิธีการเผาไม่มีการคัดแยกขยะ และใช้งบประมาณสูงถึงปีละ 800,000 บาท จากค่าขนส่งและค่าเช่าที่ทิ้งขยะที่ชะอำ หากชุมชนช่วยกันก็จะลดค่าใช้จ่ายลงได้

ผู้จัดการศูนย์เครือข่ายปราชญ์ชาวบ้าน กล่าวว่าชุมชนบ้านดอนผิงแดด 182 หลังคาเรือน จึงระดมความคิดหาทางช่วยกันและตอนแรกคิดว่าจะทำเตาเผาขยะ แต่ก็ได้รับความรู้ว่าไม่จำเป็นต้องใช้วิธีการเผา จึงได้จัดตั้งธนาคารขยะขึ้น ดำเนินงานโดยเยาวชนบุตรหลานของคณะกรรมการศูนย์ฯ 13 คน อบรมเยาวชนที่ให้ความสนใจ แบ่งหน้าที่ทำบัญชีรายรับ รายจ่าย การจัดเก็บ การตลาด ประชาสัมพันธ์ ซึ่งมีครอบครัวนำร่องเข้าโครงการกว่า 30 หลังคาเรือนแล้ว..."

Wonderful news!

I salute all of you who make this possible.

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท