การสร้างภาวะผู้นำอย่างง่ายๆเลยค่ะ


ดิฉันได้มีโอกาสอ่านบทความของ ดร.พงศ์ศรันย์ พลศรีเลิศ ท่านได้พูดถึง ผู้นำธุรกิจที่ประสบความสำเร็จในศตวรรษที่ 21 ว่าท่านเหล่านั้น จะมีลักษณะบางอย่างที่คล้ายคลึงกัน ด้วยหลัก 5 C ดังนี้ค่ะ คิดว่าเราน่าจะนำไปใช้กันได้

  • Communicator of Vision : ผู้สื่อสารวิสัยทัศน์ ขององค์กร ได้อย่างชัดเจน และยังสามารถกระตุ้นให้ทีมงานมองเห็นทิศทางขององค์กร บอกเล่าความฝัน และพูดคุยกระตุ้นให้พนักงานในองค์กรเล่าถึงความฝันที่อยากเห็นองค์กรเติบโตไปในทิศทางใดบ้าง สามารถเป็นแบบอย่างในการปฏิบัติตามค่านิยมที่เป็นคุณค่าหลักขององค์กร สร้างความสนใจให้แก่ผู้มีส่วนได้เสียด้วยการสนทนาที่เต็มไปด้วยพลัง พวกเขาจะเป็นฑูตขององค์กรเมื่ออยู่นอกองค์กร และเป็นหน้าตาขององค์กรเมื่อต้องปรากฎตัวต่อลูกค้า คู่ค้า หรือสื่อมวลชน
  • Connector of People : มือประสาน สามารถนำคนและไอเดียที่ดีที่สุดมาอยู่ด้วยกัน ทั้งจากภายในองค์กร จากบริษัทและผู้เชี่ยวชาญอื่นๆ เพื่อสร้างแนวคิด และคำตอบที่ยิ่งใหญ่กว่าและดีกว่า เขาจะเน้นสร้างทีมงานที่ดีเยี่ยม โดยใช้คนให้ถูกกับงานเพื่อปัจจุบัน และวางแผนเพื่อการสืบทอดในอนาคต
  • Catalyst of Chang : กระตุ้นความเปลี่ยนแปลง เปิดโลกทัศน์เพื่อหาความเห็นที่เป็นไปได้ใหม่ๆ เสมอ ท้าทายธุรกิจเพื่อคิดต่าง มีพัฒนาการและประสิทธิภาพที่ดีขึ้น เร็วขึ้น และได้ผลดียิ่งขึ้นตลอดเวลา ซึ่งอาจจะอยู่ในรูปของความคิดที่ยั่วยุ ท้าทาย และอาจจะคล้อยตามได้ในความเห็นที่แตกต่างซึ่งเป็นประโยชน์ต่อองค์กรและ ลูกค้า สามารถเป็นได้ทั้งผู้นำที่ดี และเป็นผู้ตามที่ดี ในขณะเดียวกัน
  • Coach of High Performance : สอนการสร้างผลงานในระดับสูง ร่วมงานและสนับสนุนคนในทุกระดับทั่วทั้งองค์กร ทำหน้าที่เป็นโค้ช ที่ต้องรู้จุดแข็งและจุดอ่อนของพนักงานแต่ละคน เพื่อเสริมสร้างและพัฒนาทักษะที่มีความจำเป็นต่อการบรรลุเป้าหมายขององค์กร ให้แข็งแกร่งยิ่งขึ้น โดยแสดงให้เห็นถึงระดับความคาดหวังสูงต่อผลงานของพนักงานแต่ละคน
  • Conscience of Business : มีมโนธรรมในการดำเนินธุรกิจ ผู้นำต้องสามารถตัดสินในสิ่งที่ผิดและถูกได้อย่างถูกต้อง ด้วยคุณธรรม ค่านิยมที่ดีงาม ไม่ลำเอียงหรือเห็นแก่ประโยชน์ส่วนตนและพวกพ้อง มีจริยธรรมในการดำเนินธุรกิจ และมีสำนึกในความรับผิดชอบต่อผู้มีส่วนได้ส่วนเสียที่เกี่ยวข้องของธุรกิจ เช่น ผู้ถือหุ้น พนักงาน ลูกค้า คู่ค้า คู่แข่ง สังคม ชุมชน และสิ่งแวดล้อม

ผู้นำที่ยืนหยัดเพื่อลูกค้าจะทำงานประสบความสำเร็จด้วยมุมมองจากภายนอก สู่ภายใน เป็นปากเสียงแทนลูกค้าในห้องประชุม และถกปัญหาด้วยความเชื่อมั่นจากใจแทนลูกค้า ซึ่งจะเป็นจุดเริ่มต้นที่ดีในการเปลี่ยนแปลงธุรกิจโดยมีลูกค้าเป็นศูนย์กลาง และเมื่อนั้น ผู้นำทางธุรกิจจะกลายเป็นผู้นำของลูกค้าไปด้วย

ดิฉันชอบเเนวคิดของปรมาจารย์ดรักเกอร์ (Drucker) ที่ว่าการทำธุรกิจให้ประสบความสำเร็จจะต้อง
"รู้และเข้าใจลูกค้าดีเสียจนสินค้าหรือบริการนั้นลงตัวกับลูกค้าและขายตัวมันเอง" หมายถึงการให้บริการจะต้องรู้ถึงความต้องการของลูกค้าเป็นเบื้องต้น นำความต้องการนั้นไปผลิตสินค้าหรือบริการทีตอบสนองความต้องการของลูกค้าเป็นหลัก รวมทั้งมีการจัดระบบการให้บริการ การบริหารจัดการที่มุ่งเน้นที่ลูกค้าเป็นศูนย์กลาง เมื่อใดก็ตามที่ลูกค้ามารับบริการหรือมาซื้อสินค้าจะได้รับการดูแลอย่างดี รวมถึงได้รับบริการที่มีมาตรฐาน มีคุณภาพ รวดเร็ว ถูกต้อง ทันเวลา พูดง่าย ๆ คือ ได้รับแต่ผลิตภัณฑ์ที่ดีมีคุณภาพตรงตามที่ลูกค้าต้องการเสมอ สิ่งต่างๆ เหล่านี้ทำให้ ลูกค้าเกิดความจงรักภักดี และกลับมาใช้บริการหรือซื้อสินค้าของเราอีกโดยเราไม่จำเป็นต้องมานั่งขายสินค้า เพราะสินค้าของเราเกิดการสร้างแบรนด์ตัวสินค้าเองไปเเล้ว สินค้าของเราจึงขายตัวของสินค้าเอง

น่าสนใจและน่านำไปปฏิบัติค่ะ

......................

คนึงนิจ อนุโรจน์

คำสำคัญ (Tags): #leadership
หมายเลขบันทึก: 581014เขียนเมื่อ 23 พฤศจิกายน 2014 18:56 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 พฤศจิกายน 2014 19:37 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

ตามมาอ่าน

หนังสือของดรักเกอร์น่าอ่านมาก

แต่เมื่อเอามาใช้กับบริบทของคนไทยต้องประยุกต์ใช้ครับ

ขอบคุณมากๆครับ

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท