beeman 吴联乐
นาย สมลักษณ์ (ลักษณวงศ์) วงศ์สมาโนดน์

๔.แนวการสอนวิชาวิทยาศาสตร์ในชีวิตประจำวันภาคเรียนที่ ๒ ปีการศึกษา ๒๕๕๗


บูรณาการ จากข่าววิทยาศาสตร์ ประยุกต์การเรียนรู้แบบพหุปัญญา ด้วยการนำเสนอเป็นทีม (Team Learning)

อาจารย์บีแมน จะกลับมาสอนวิชา "วิทยาศาสตร์ในชีวิตประจำวัน" รายวิชาการศึกษาทั่วไป หมวดวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ในแบบที่ ภายใน ๑ ห้องเรียน มีผู้เรียนจำนวน ๕๐ คน ซึ่งจะเริ่มลงทะเบียน ภาคเรียนที่ ๒ ปีการศึกษา ๒๕๕๗ ตั้งแต่วันที่ ๑๕ ธันวาคม ๒๕๕๗ เป็นต้นไป ซึ่งผมยังไม่รู้ว่าจะสอนห้องไหน แต่มีเวลาเรียนตรงกัน คือ วันอังคารเริ่มเวลา ๑๐.๐๐ น. และ วันพฤหัสเริ่มเวลา ๑๓.๐๐ น. มีผู้สอน ๑ คน และไม่มีอาจารย์ผู้ช่วยสอน

  • แนวที่ใช้ในการสอนสำหรับห้องนี้คือ Teach less, learn more หรือ เปิดปากศิษย์ ปิดปากครู
  • เครื่องมือที่ใช้ประกอบการวิเคราะห์ คือ หนังสือพิมพ์ M2F (เน้นข่าววิทยาศาสตร์) นิสิตต้องไปรับหนังสือพิมพ์มาเข้าห้องทุกคน
  • ผลลัพธ์การเรียนรู้ ๘ ระดับ Benjamin Bloom, 1956
    • รู้
    • เข้าใจ
    • ประยุกต์
    • วิเคราะห์
    • สังเคราะห์
    • ประเมิน
    • พัฒนาวิธีเรียน
    • เปลี่ยนกระบวนทัศน์
  • เนื้อหา มี ๒ ส่วน คือ ส่วนที่ใช้ในการสอบ และส่วนที่ใช้ในชีวิตประจำวัน (เน้นส่วนนี้)
  • ส่วนที่ใช้ในชีวิตประจำวัน จะให้วิเคราะห์จากข่าว...เช่น...


วิเคราะห์ข่าว เช่น ข่าว "บอกลาปัญหาท้องผูก"
ตั้งทีม ตีความ : ความรู้,ความเข้าใจ, การวิเคราะห์, การสังเคราะห์, การประเมิน

ตัวอย่าง

  1. คำศัพท์ คำว่า Chronic Constipation แปลว่า ท้องผูกเรื้อรัง
  2. ความหมาย อาการท้องผูก หมายถึง ภาวะที่มีความถี่ในการถ่ายอุจจาระน้อยกว่าปกติ
  3. มีหลักเกณฑ์ในการวินิจฉัยท้องผูก ดังนี้
    • ถ่ายอุจจาระน้อยกว่า 3 ครั้งต่อสัปดาห์
    • ต้องเบ่งมากกว่าปกติ
    • อุจจาระเป็นก้อนแข็ง
    • รู้สึกถ่ายอุจจาระไม่สุด
    • มีความรู้สึกว่าถ่ายไม่ออกเนื่องจากมีสิ่งอุดกั้นบริเวณทวารหนัก
  4. คนที่ท้องผูกเรื้อรัง มีสิทธิ์เป็น มะเร็งลำไส้ใหญ่ สิ่งที่ไม่บอกโดยตรงคือ "มะเร็งลำไส้ใหญ่" ใช้คำภาษาอังกฤษว่า colon cancer
  5. เวชศาสตร์ป้องกัน ( Preventive Medicine) สำหรับเรื่องนี้คือ "หากร่างกายระบายของเสียออกได้ ก็เหมือนการล้างพิษ (Detox=Detoxification= removal of toxic substances from a living organism, including, but not limited to, humans) แบบธรรมชาติ
  6. คนที่ท้องผูก ควรปฏิบัติ
    1. เลือกทานอาหาร ที่มีเส้นใย ที่ช่วยให้ลำไส้สบาย เช่น กล้วย, ฝรั่ง, แก้วมังกร, ลูกพรุน, เม็ดแมงลัก, อินทผลัม และเห็ด เป็นต้น (ความรู้ที่เกี่ยวเนื่อง-ความรู้เกี่ยวกับผักและผลไม้) และอย่าลืม แกงส้มมะละกอ (มีมะขามเปียก ซึ่งมีคุณสมบัติเป็นยาระบายอ่อนๆ=พืชอาหารสมุนไพร=ทานอาหารให้เป็นยา)
    2. ฝึกดื่มน้ำให้เป็นนิสัย (ดื่มน้ำวันละ ๑๔ แก้ว หรือ ๓.๕ ลิตร) จะช่วยให้อุจจาระอ่อนตัว (สร้างความชุ่มชื้นให้กับกากอาหาร=ฝึกการใช้ภาษาไทย) และจะไม่เป็นริดสีดวงทวารแน่นอน
    3. ฝึกขับถ่ายให้เป็นเวลา (สร้างวินัยในตัวเอง)
    4. ฝึกออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ (ใช้กล้ามเนื้อลาย=Skeleton/striated muscle) ซึ่งจะช่วยให้ลำไส้ ซึ่งเป็นท่อกล้ามเนื้อเรียบ (Smooth muscle) หดตัว
  7. ฝึกสร้าง Story board (Storyboard คือ การสร้างภาพให้เห็นลำดับขั้นตอนตามเนื้อเรื่องที่ต้องการ โดยเฉพาะภาพเคลื่อนไหว)
  8. ฝึกการ Presentation และฝึกการทำงานเป็นทีมแบบ Synergy
  9. ฝึกประเมิน โดยทีมที่มิได้ present
  10. ฝึกการ Reflection

Note : อย่าลืม ค้นหา คลิป จาก "รายการกบนอกกะลา" เช่น "เรื่องพลังงาน" เป็นต้น

ตัวอย่าง

หมายเลขบันทึก: 581010เขียนเมื่อ 23 พฤศจิกายน 2014 17:27 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 พฤศจิกายน 2014 18:43 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)
อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท