โครงการสร้างความร่วมมือการแลกเปลี่ยนเรียนรู้การจัดการทุนมนุษย์ เรื่อง ทุนทางความสุข (Happiness Capital)


ถึงลูกศิษย์และชาว Blog ทุกท่าน

วันอาทิตย์ที่ 23 พฤศจิกายน 2557 ได้จัดโครงการสร้างความร่วมมือการแลกเปลี่ยนเรียนรู้การจัดการทุนมนุษย์ เรื่อง ทุนทางความสุข (Happiness Capital) ของนักศึกษาทั้ง 3 สถาบัน ได้แก่ มรภ.สวนสุนันทา, มรภ. หมู่บ้านจอมบึง, มรภ.นครปฐม

ณ ห้องประชุมสภามหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา


หมายเลขบันทึก: 581001เขียนเมื่อ 23 พฤศจิกายน 2014 11:14 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 พฤศจิกายน 2014 11:53 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

โครงการสร้างความร่วมมือการแลกเปลี่ยนเรียนรู้การจัดการทุนมนุษย์

เรื่อง ทุนทางความสุข (Happiness Capital)

วันอาทิตย์ที่ 23 พฤศจิกายน 2557 เวลา 08.30-12.00 น.

ณ ห้องประชุมสภามหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา

มรภ.สวนสุนันทา, มรภ. หมู่บ้านจอมบึง, มรภ.นครปฐม

ศ.ดร.จีระ: แต่ละมหาวิทยาลัยได้ความรู้เรื่องอะไรในการเรียนรู้เรื่องการสร้างองค์กรแห่งการเรียนรู้

เราต้องสร้าง Habit เพื่อสร้างวัฒนธรรมการเรียนรู้

หลักสูตรที่สอนสวนสุนันทา รุ่น 8 ทำทั้งหทด 4 เรื่อง

ทุนมนุษย์เกิดจากระดับ Macro เช่น โภชนาการ การศึกษาของประเทศ การเตรียมบุคลากรของประเทศ หรือ HR Architecture ตอนทำงานเป็นตัวที่สำคัญที่สุด

ต้องสร้างสังคมแห่งการเรียนรู้ของสังคมทุกระดับ

ระดับองค์กร ทุนมนุษย์มี 3 เรื่อง คือ

  • - ปลูก ทำให้พร้อมต่อการทำงาน ไม่ได้ปลูกเฉพาะตอนเด็ก แต่เมื่อเข้ามาทำงานก็ต้องปลูกใหม่
  • -เก็บเกี่ยว
  • -Execution

อุปสรรคของการปลูก เก็บเกี่ยว คือ วัฒนธรรมองค์กร ไม่ทำงานเป็นทีม ไม่เป็น Strategic partner ซึ่งเป็นที่มาของ Value diversity หากมีความหลากหลายก็ทำให้มีความสำเร็จเกิดขึ้น

วัตถุประสงค์

  • -สร้างความเข้าใจที่ถูกต้องเรื่องการสร้างองค์กรแห่งการเรียนรู้ (Learning Culture) และสรความตระหนักในเรื่องการมีวัฒนธรรมในการเรียนรู้ (Learning Culture)
  • -ได้รู้จัก แลกเปลี่ยนประสบการณ์ที่เป็นประโยชน์ สร้างโอกาสจาการเรียนรู้ร่วมกัน
  • -สร้างชุมชนแห่งการเรียนรู้ของพวกเรา และขยายวงออกไปสู่สังคม

LO: Hypothesis

มี Knowledge แต่ไม่มี Learning Culture จึงไม่มี Learning Organization

ถ้ามี Learning Culture ก็จะไปสู่การเป็น Learning Organization ได้

และวันนี้สำหรับทุกท่านถือว่าน่าจะเป็นการจุดประกายให้เราสนใจและเอาจริงเรื่องการสร้างองค์กรแห่งการเรียนรู้ให้สำเร็จ

ผมคิดว่าองค์กรแห่งการเรียนรู้เป็นสิ่งที่ สำคัญ อย่างน้อยๆ จะตอบโจทย์ได้ 3-4 เรื่อง

จะอยู่ในโลกที่มีการแข่งขันได้จะเกิดการทำงานที่มีคุณภาพสูง (High Performance)

จาก Good อาจจะไปสู่ Great พนักงานจะภูมิใจและมีความสุขในการทำงานการทำงานอย่างยั่งยืนในอนาคต

ข้อสังเกต

องค์กรส่วนใหญ่มี Training แต่เราไม่ค่อยจะมี Learning ถ้ามี Training เราไม่ได้ไปสร้าง

  • -Change
  • -Value added
  • -กระจายไม่ทุกกลุ่ม
  • -ผู้บริหารระดับสูงในอดีตยังไม่ได้ทำอย่างจริงจังและไม่ทำอย่างต่อเนื่อง

การจะสร้างวัฒนธรรมในการเรียนรู้ (Learning Culture) หรือสังคมแห่งการเรียนรู้ (Learning Society) หรือองค์กรแห่งการเรียนรู้ (Learning Organization) ได้ ผมขอเสนอแนวคิดดังต่อไปนี้

หลักคิดและปรัชญาของพระเจ้าอยู่หัวฯ

แนวคิดของ Peter Senge

แนวคิดของ Stephen Covey

แนวคิดของ Edward De Bono

แนวคิดของ Grid

ทฤษฎี 4 L's +3L's +2 R's +2 I's ของ ดร.จีระ

พระเจ้าอยู่หัวฯ ทรงเป็นตัวอย่างขององค์กรแห่งการเรียนรู้และเศรษฐกิจพอเพียง

วิธีการคิด 4 แนว ก่อนที่จะเริ่มทำงานใดๆ ให้คิดถึงสิ่งต่อไปนี้
1) ทำอะไร
2) ทำอย่างไร
3) ทำเพื่อใคร
4) ทำแล้วได้อะไร

6 หลักคิดในการทำงาน

1) คิด Macro ทำ Micro

2) ทำเป็นขั้นเป็นตอน

3) ทำเรื่องยากให้เป็นเรื่องง่าย

4) ทำอะไรให้นึกถึงภูมิสังคมของที่นั้นๆ

5) การสื่อความ การประสานงาน และการบูรณาการ (Communication, Coordination, Integration)

6) ทำอะไรต้องมีผู้เป็นเจ้าของ

รู้ คือ จะทำอะไรต้องไปศึกษาให้รู้จริง

รัก คือ จะทำอะไรต้องสร้างฉันทะกับสิ่งนั้นๆ

สามัคคี คือ ทำอะไรก็ให้ทำเป็นทีม ร่วมมือ ร่วมใจกันทำให้มีประสิทธิภาพ

กฎของ Peter Senge
อยู่ในหนังสือ Rethinking the Future

-Personal Mastery รู้อะไร รู้ให้จริง

-Mental Models มีแบบอย่างทางความคิด

-Shared Vision มีเป้าหมายร่วมกัน

-Team Learning เรียนรู้เป็นทีม ช่วยเหลือกัน

-System Thinking มีระบบการคิด มีเหตุมีผล

Edwards De Benoกล่าวไว้ถึงเรื่อง Lateral Thinking ซึ่งแปลว่า การเป็นผู้เรียนรู้ที่ฉลาดและได้ผล ซึ่งจะต้อง

- ถามว่าที่ผ่านมาหรือเป็นมา ถูก หรือ ผิด

- ท้าทายความคิดที่ถูกยอมรับ เช่น ในอดีตมีการถกเถียงว่า โลกแบน หรือ โลกกลม

-หาทางออกใหม่ ๆ เช่น พยาบาลหรือหมอรู้ลึกและ แคบ ควรฝึกคิดให้กว้างขึ้น เอาศาสตร์ต่าง ๆ มาใช้

ทฤษฎี 4L's

1.Learning Methodology

2.Learning Environment

3.Learning Opportunities

4.Learning Communities

ทฤษฎี 2R's

-Reality

-Relevance

ทฤษฎี 2i's

•Inspiration

•Imagination

สรุป

เมื่อมีความเข้าใจในทฤษฎีและแนวคิดขององค์กรแห่งการเรียนรู้ แล้วจะทำอย่างไรให้ Awareness เกิดขึ้น

อย่างจริงจัง ในวันนี้ ผมคิดว่าเราน่าจะวิเคราะห์

1 ผู้นำเป็นอย่างไร

2 บรรยากาศในการสร้างองค์กรแห่งการเรียนรู้

3 ทำสำเร็จแล้วได้อะไร (Incentives)

4 สร้าง facilities ใหม่ , e-learning และ ห้องสมุด

5 ทำโทษถ้าไม่ดำเนินการ

6 มี learning coach and mentor

7 มีการวัดผล และเครื่องชี้

8 โยงไปสู่ ความสุขและ Blue Ocean

สิ่งที่ได้จากการเรียนรู้

1. นักศึกษาป.โทมรภ.หมู่บ้านจอมบึง

- การสร้างองค์กรแห่งการเรียนรู้ สิ่งสำคัญคือ ต้องสร้างที่ตัวองค์กร

อ.จีระ: องค์กรต้องข้ามศาสตร์ และต้องเน้นไปที่พฤติกรรมของแต่ละคน

- ทั้งหมดรวมเป็นเรื่อง Leadership

- เมื่อพูดถึงคนก็ต้องพูดถึงการเปลี่ยนแปลง แต่คนไทยกลัวการเปลี่ยนแปลง และมีการต้อต้าน และกีดกันให้เกิดกับการเปลี่ยนแปลง ต้องคิดว่าจะทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร

อ.จีระ: การเปลี่ยนแปลงมีทั้งดีและแลว

2. มรภ. นครปฐม

- สร้างความศรัทธาให้ผู้นำ และนำคนทำงานให้เกิดความศรัทธาด้วย

อ.จีระ: ผู้นำต้องสร้างบรรยากาศให้พนักงานแชร์ แบ่งปันด้วย

3. มรภ.สวนสุนันทา

- ผู้นำต้องทำงานเป็นเครือข่าย ต้องแชร์ความรู้เพื่อกระตุ้นให้เกิดความใฝ่รู้

อ.จีระ: ถ้าผู้นำไม่มีความใฝ่รู้ องค์กรก็ไม่สามารถอยู่รอดได้

ความใฝ่รู้ในสังคมไทยจะเกิดอย่างไร

ดร.สร้อยสุคนธ์: ความรู้ที่ได้ต้องสดใหม่ เศรษฐกิจไทยในวันนี้เป็นอย่างไร ทำไมถึงตกต่ำ

อ.จีระ: Growth ของประเทศไทย เติบโตน้อยที่สุด เราต้องกลับมาคิดอย่างเป็นระบบ มีการบริหารความเสี่ยงว่าจะต้องทำอย่างไร

ดร.สร้อยสุคนธ์: ในหนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ บ่งบอกให้เราคิดว่า ในขณะนี้ใครรวยที่สุดในประเทศ และเราต้องสามารถวิเคราะห์ Macro ก่อน

การศึกษาเปรียบเทียบระดับความสุขในการประกอบอาชีพ

ของกลุ่มอาชีพที่แตกต่างกัน

โดย นายวัฒนศักดิ์ ศรรุ่ง

นักศึกษาปริญญาเอก สาขาวิชานวัตกรรมการจัดการ

มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา

ปี พ.ศ 2557

ความสำคัญ

—- แนวโน้มของประชาคมโลกให้ความสำคัญของตัวชี้วัดความสุขของชาติ (National Happiness Indicator)

(เสาวลักษม์ กิตติประภัสร์, 2557 ออนไลน์)

—- การมีรายได้เพิ่มขึ้น ไม่ได้ทำให้ความสุขเพิ่มขึ้นตามไปด้วย

(เสาวลักษม์ กิตติประภัสร์, 2557 ออนไลน์)

—- ความสุขในการทำงานของคนในองค์กร มีความสำคัญต่อการทำงานและองค์กรอย่างแท้จริง (Davis, 1977; Merton, 1977; Seashore, 1975; Royuela et al., 2007 อ้างถึงในศิรินันท์ กิตติสุขสถิต และคณะ, 2556 หน้า 33-34)

—- แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 11 มุ่งเน้นผลลัพธ์ ให้คนทำงานในประเทศไทยคุณภาพชีวิตที่ดีและมีความสุข

—- เตรียมความพร้อมด้านแรงงานคุณภาพ รองรับการปรับตัวเข้าสู่ประชาคมอาเซียน

วัตถุประสงค์

1.เพื่อศึกษาระดับความสุขในการประกอบอาชีพของคนไทย

2.เพื่อเปรียบเทียบระดับความสุขในกลุ่มอาชีพของ คนไทยที่แตกต่างกัน

3.เพื่อศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อระดับความสุขของอาชีพในคนไทย

ขอบเขตการวิจัย

ขอบเขตด้านพื้นที่ พื้นที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่พื้นที่ศึกษา กลุ่มอาชีพที่ปฏิบัติงานในเขตกรุงเทพมหานคร และจังหวัดสมุทรสาคร

ตัวแปร ประกอบด้วย

ตัวแปรอิสระ ได้แก่ เพศ อายุ ระดับการศึกษา สถานภาพสมรส จำนวนบุตร สถานภาพการจ้างงาน ระยะเวลาการทำงาน

ตัวแปรต้น ได้แก่ อาชีพ ปัจจัยที่มีผลต่อระดับความสุข

ตัวแปรตาม ได้แก่ ระดับความสุขในอาชีพ

กลุ่มตัวอย่าง

1. ผู้ประกอบการโรงงานอุตสาหกรรม กับ พนักงานเก็บขยะ

2. ข้าราชการในตำแหน่งอาจารย์ มรภ.สวนสุนันทา กับพนักงานมหาวิทยาลัยในตำแหน่งอาจารย์

3. คนขับรถไฟ กับพนักงานทำความสะอาดบนขบวนรถไฟ

4. หมอนวด กับ อาชีพเดิมที่ทำ

5. ช่างเสริมสวย กับ ช่างตัดเสื้อผ้า

สมมติฐาน

1. ผู้ประกอบการโรงงานอุตสาหกรรม มีระดับความสุขสูงกว่า พนักงานเก็บขยะ

2. ข้าราชการในตำแหน่งอาจารย์ มรภ.สวนสุนันทา มีระดับความสุขสูงกว่า พนักงานมหาวิทยาลัยในตำแหน่งอาจารย์

3. คนขับรถไฟ มีระดับความสุขสูงกว่า พนักงานทำความสะอาดบนขบวนรถไฟ

4. หมอนวด มีระดับความสุขต่ำกว่า อาชีพเดิมที่ทำ

5. ช่างเสริมสวย มีระดับความสุขต่ำกว่า ช่างตัดเสื้อผ้า

อภิปรายผล

จากผลการศึกษา พบว่า ความสุข ไม่ได้อยู่ที่รายได้หรือเงินเดือนสูง อาชีพที่ได้รับการยอมรับเสมอไป เมื่ออาชีพ "บางอาชีพที่มีรายได้น้อยและทำงานหนักกว่า กลับมีความสุขมากกว่าบางอาชีพที่มองว่ามีความมั่นคง" ซึ่งสอดคล้องกับ

ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ (จาก ทฤษฎี "8K's+5K's)

ทุนแห่งความสุข (Happiness Capital) คือ ทุนที่อยู่ภายในจิตใจของคน ในการลงมือทำสิ่งใดสิ่งหนึ่งจากแรงบันดาลใจ ที่จะส่งผลให้เกิดความสุขความอิ่มเอมใจในการกระทำสิ่งเหล่านั้น เป็นแรงผลักดันให้การทำงานมีเป้าหมายที่ชัดเจน

—พระราชดำรัสของพระบาทสมเด็กพระเจ้าอยู่หัว (จากหนังสือคำพ่อสอน)

"ความสุขจากการรู้ตัวเอง การเข้าถึงความจริง การเข้าถึงความงาม การเข้าถึงความดี เป็นความสุขราคาถูก (Happiness at Low Cost) จึงเป็นไปได้สำหรับทุกคน"

ข้อเสนอแนะ

-ควรมีการวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรต้น กับระดับความสุขในแต่ละอาชีพ

-ควรมีการวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยที่ส่งผลต่อระดับความสุขในแต่ละอาชีพ

-ควรศึกษาเชิงลึกในปัจจัยบางตัวที่ส่งผลต่อระดับความสุขของแต่ละอาชีพ

-ควรศึกษาหาความสัมพันธ์ของระดับความสุขกับProductivity ในแต่ละอาชีพ

ดร.ชวน: ความแตกต่างของอาชีพแตกต่างกันมาก แต่ความสุขอาจจะไม่ได้ขึ้นกับอาชีพเท่านั้นอยากให้ใช้ทฤษฎี 8K 5K มาใส่เข้าในงานวิจัยมากกว่านี้

อ.จีระ:

อาจารย์พรศักดิ์ จากราชภัฎจอมบึง: งานนี้เป็นงานสำรวจ มี 5 บท ขอพูดเรื่องมุมมองงานวิจัย ประเด็นที่สงสัย คือ เรื่องกรอบความคิด เวลาสร้างเครื่องมือ มาจากอะไร

ส่วนต่อมาเรื่องการเปรียบเทียบอาชีพยังไม่ค่อยเหมาะสมกันเท่าไหร่

อีกส่วนหนึ่ง เรื่องเพศไม่ชัดเจน เพราะเป็นหญิงมากกว่า ควรจะมีความสมดุลมากกว่านี้

อ.จีระ: หากเรามีงบวิจัย ก็ควรที่จะทำงานวิจัยร่วมกัน

ท่านคณบดี: ควรเอาความรักอาชีพเป็นตัวตั้ง เพื่อจะได้ดูว่าความสุขมาจากปัจจัยอะไร จะลุ่มลึกมากกว่านี้ ซึ่งความสุขในการทำงานก็จะเป็น LO ต่อไป

วันนี้ได้ประโยชน์มาก สิ่งที่ได้รับทราบ คือ วิธีสอน ให้คิดของท่านอาจารย์จีระ ซึ่งเป็นวิธีที่น่าสนใจมาก อีกประเด็น คือ เรื่อง Coursework ของอาจารย์จีระที่มีความหลากหลายส่งผลให้นักศึกษามีความสนใจที่หลากหลายเช่นกัน

อาจารย์สร้อยสุคนธ์: ขอรับและนำคำแนะนำทั้งหมดไปปรับปรุงงานวิจัย ครั้งนี้เป็นการทดลองในการทำวิจัย ได้รู้ว่าหากต้องทำงานวิจัยจริงๆต้องใช้เวลานานกว่านี้มาก

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท