The 1st OBEC National Asian Parliamentary Debate Training and Competition 2014 : ตอนที่ 1 การโต้สาระวาทีแบบรัฐสภาเอเชีย


การโต้สาระวาที เป็นการโต้ด้วยสาระ ที่มีตรรกะ และประเด็นอันน่าเชื่อถือ ใช้เหตุผลเหนืออารมณ์ โดยใช้วาจาที่สุภาพเป็นอาวุธ ในการเอาชนะคู่ต่อสู้ แต่หลังจากจบการแข่งขันทุกคนเป็นมิตรกัน

นับว่าเป็นก้าวแรกของมิติใหม่แห่งการโต้วาทีภาษาอังกฤษระดับชั้นมัธยมศึกษา ฯ ที่ใช้รูปแบบการโต้สาระวาทีแบบรัฐสภาเอเซีย ในการจัดการแข่งขันโต้วาทีภาษาอังกฤษโดย สพฐ. ซึ่งนิยมใช้ในการแข่งขันโต้วาทีในกลุ่มประเทศเอเชีย แต่ในระดับมหาวิทยาลัยมีการโต้ภายใต้รูปแบบ นี้มาประมาณ 20 ปี โดยเริ่มจากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และขยายออกสู่วงกว้างไปยังมหาวิทยาลัยชั้นนำของประเทศไทยหลายแห่ง ฯ


ผศ.ปิยนารถ ฟักทองพรรณ ผู้ก่อตั้งชมรมโต้วาทีภาษาอังกฤษคนแรกของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

สำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ ได้จัดการแข่งขันโต้วาทีภาษาอังกฤษระดับชันมัธยมศึกษาฯ ครั้งแรกในปีการศึกษา 2556 โดยใช้รูปแบบการโต้วาทีเหมือนกับการโต้วาทีภาษาไทย แบ่งออกเป็น 3 ประเภท ดังนี้


ดร. มัลลวีร์ รอชโฟล หนึ่งในคณะผู้ดูแลโครงการฯ และผู้เข้ารับการอบรมฯ

1. ประเภทโรงเรียนขยายโอกาส ระดับชั้น ม.1-3

2. ประเภทห้องเรียนทั่วไป
* ระดับชั้น มัธยมศึกษาตอนต้น (ชั้น ม.1-3)

* ระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย (ชั้น ม 4-6)

3. ประเภทห้องเรียนพิเศษ ( โครงการ Eng.Program / ห้องพิเศษภาษาอังกฤษ/ Mini Eng.Program/STEM )

* ระดับชั้น มัธยมศึกษาตอนต้น(ชั้น ม.1-3)
* ระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย (ชั้น ม 4-6)

สำหรับปีการศึกษา 2557 การแข่งขันระดับเขตพื้นที่การศึกษา และระดับภาค ใช้รูปแบบการโต้วาที เหมือนกับการโต้วาทีภาษาไทย แต่ในระดับประเทศฯ ได้เปลี่ยนแปลงรูปแบบการโต้วาทีเป็นการโต้สาระวาทีแบบรัฐสภาเอเชีย มีการจัดอบรมปฏิบัติการ ให้กับคณะครูผู้ดูแล-ฝึกสอนและนักเรียนที่เข้าร่วมประกวดการแข่งขัน เพื่อพัฒนาศักยภาพผู้เข้าประกวด ฯและสร้างความรู้-ความเข้าใจในการโต้วาทีในรูปแบบโต้สาระวาที ให้ทั้งครูและเด็ก ชื่อเรื่อง การอบรมปฏิบัติการพัฒนาศักยภาพผู้เข้าประกวด แข่งขันภายใต้โครงการเตรียมความพร้อมสู่ประชาคมอาเซียน และทักษะในศตวรรษที่ 21 ครั้งที่ 2



นายพิธาน พื้นทอง ผอ.สำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา ประธานในพิธีเปิด กับนักแสดงโขนฯ

นายก้องภัค จารุฑีฆัมพร และนายภูริณัฐ โตวารี นร. ร.ร. กำแพงเพชรพิทยาคม ร่วมแสดงโขนประกอบ


คณะครูฯ กลุ่มพาทีสร้างสรรค์(โต้วาทีภาษาไทย)



คณะครูกลุ่มโต้สาระวาทีภาษาอังกฤษ จำนวน 80 คน

เป็นครั้งแรกที่ผู้เขียนได้เข้ามาสัมผัส-รับรู้-เรียนรู้การโต้สาระวาทีในรูปแบบนี้ และได้ชมการสาธิตการโต้สาระวาที ของรุ่นพี่ ฝีมือระดับขั้นเทพ เพราะทุกคนล้วนมีประสบการณ์และผ่านเวทีการแข่งขันทั้งในระดับประเทศและต่างประเทศ แถมยังมีดีกรีเป็นแชมป์มาแล้ว เป็นการรวมพลนักโต้วาทีภาษาอังกฤษของประเทศไทย ได้รับชม-รับฟังแล้วรู้สึกทึ่ง-อึ้ง-เครียด-กังวล อย่างหนัก " ทึ่งในความสามารถของนักโต้วาที อึ้งเพราะเป็นรูปแบบของมิติใหม่ที่ต้องปรับเปลี่ยน เครียดเพราะคิดว่าตนเองยังไม่มีความเข้าใจในทักษะ-เทคนิคของการโต้สาระวาทีอย่างลึกซึ๊ง กังวลเพระเกรงว่าจะพัฒนาทักษะใหม่ที่ต้องใช้ความรู้-ความสามารถและปฏิภาณไหวพริบของนักเรียนในระยะเวลาอันจำกัดไม่ทันการ "
แต่เมื่อได้เห็นความตั้งใจจริงของคณะวิทยากรที่จะพัฒนาศักยภาพให้กับน้องๆ และสร้างพื้นฐานความรู้ในการโต้สาระวาที ให้กับคณะครู จึงพยายามปรับเปลี่ยนความตั้งใจ และเรียนรู้ให้มากที่สุด เพื่อจะได้นำความรู้และประสบการณ์ไปถ่ายทอด –เสริมสร้างศักยภาพให้กับนักเรียนได้อย่างสร้างสรรค์และเป็นประโยชน์อย่างสูงสุดต่อสังคมส่วนรวมต่อไป

คณะวิทยากรฯ ผู้มีจิตวิญญาณของครูอย่างแท้จริง

หลายคนกล่าวว่า การโต้วาที เปรียบเสมือนกีฬาวิชาการ ที่ช่วยพัฒนาความคิดอย่างเป็นระบบ มีเหตุผล เป็นการเปิดโลกทรรศน์ในมุมมองที่ต่างออกไป และแสดงความคิดเห็นได้อย่างมีตรรกะที่น่าเชื่อถือ
การโต้สาระวาที เป็นการโต้ด้วยสาระ ที่มีตรรกะ และประเด็นอันน่าเชื่อถือ ใช้เหตุผลเหนืออารมณ์ โดยใช้วาจาที่สุภาพเป็นอาวุธ ในการเอาชนะคู่ต่อสู้ แต่หลังจากจบการแข่งขันทุกคนเป็นมิตรกัน



วิทยากรกล่าวว่า การโต้วาทีจะช่วยให้ชีวิตของนักโต้วาทีเปลี่ยนไป ได้รับโอกาสดีๆในชีวิต ทั้งด้านการงานและสังคม ซึ่งอบอวลไปด้วยความรัก-ความเข้าใจ-มีน้ำใจ ช่วยเหลือซึ่งกันและกัน เพราะนักโต้วาทีได้รับการฝึกฝนผ่านกระบวนการคิด-วิเคราะห์อย่างมีเหตุ-มีผล เป็นระบบมีน้ำใจเป็นนักกีฬา ช่วยสร้างสรรค์สังคมให้มีความเจริญ ส่งผลให้ประเทศชาติพัฒนาได้อย่างรุ่งเรือง



ผู้เขียนเห็นด้วยกับคำกล่าวด้านบนอย่างยิ่งและดีใจที่มีส่วนช่วยสืบสานกิจกรรมสร้างสรรค์อันเป็นประโยชน์ต่อผู้เข้าร่วมกิจรรมโต้วาที ส่งผลดีต่อสังคมและประเทศชาติ แต่เมื่อย้อนกลับมามองตนเอง จึงได้แต่
เฝ้าครุ่นคิดคำนึงถึงชีวิตของตนที่กำลังจะเปลี่ยนไปจริงๆ นั่นแหละ จากที่เคยมีเวลาพักผ่อนวันละ 6-7 ชั่วโมง คงจะต้องลดลงมาเหลือ 4-5 ชั่วโมง เพราะมีภาระงานอื่นๆ อีกหลายด้านที่ต้องรับผิดชอบสานต่อควบคู่ไปด้วย การดูแล-ฝึกฝนโต้สาระวาทีภาษาอังกฤษสำหรับนักเรียนระดับชั้น ม.ต้น จึงเป็นภาระงานที่หนักมาก เพราะต้องเสริมสร้างทั้งด้านเนื้อหา-สาระความรู้และฝึกฝนทั้งด้านทักษะ-มุมมอง-การคิด-วิเคราะห์ ให้กว้างไกลอย่างเป็นระบบ สามารถใช้เหตุผลไปโต้ตอบได้อย่างสร้างสรรค์ ที่สำคัญทักษะภาษาอังกฤษของนักเรียนกลุ่มที่ผู้เขียนรับผิดชอบฯ นี้ เรียนภาษาอังกฤษแค่ 4 รายวิชา คือคอมพิวเตอร์ วิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์และภาษาอังกฤษ แต่ต้องไปแข่งขันกับนักเรียนโปรแกรมภาษาอังกฤษทีผ่านเข้ารอบจากทั่วประเทศ



*** ผู้เขียนจึงห่วงทั้งด้านการคิด-วิเคราะห์ และกังวลถึงด้านการสื่อสารที่อาจสื่อได้ไม่ครบถ้วน ***

*** ... ขอขอบคุณผู้เข้ามาเยี่ยมชมทุกท่านนะคะ...***

หมายเลขบันทึก: 580885เขียนเมื่อ 21 พฤศจิกายน 2014 12:50 น. ()แก้ไขเมื่อ 26 พฤศจิกายน 2014 12:58 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)

เยี่ยมมากๆค่ะครูพอลลี่กับครูเจน หนทางยังคงอีกยาวไกลสำหรับเวทีนี้ ขอเป็นกำลังใจให้นะคะ

***... ขอบคุณพี่ใหญ่ มากมายเลยนะคะ ต้องเร่งรีบพัฒนาอย่างด่วนจี๋ แต่ภาระงานของนักเรียนเกี่ยวกับเรื่องเรียนก็มากมายไม่ยิ่งหย่อนไปจากครูเหมือนกัน คงไม่กดดัน...เท่าที่โอกาสจะอำนวยค่ะ...***

***.... ขอบใจสาว micky.kpp มากนะจ๊ะ การเปลี่ยนแปลงครั้งนี้มันเป็นเรื่องที่ยิ่งใหญ่จริงๆ ยกระดับมาตรฐานจนสูงลิ่วเลย หุหุหุ ...****



พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท