บันทึกอนุทิน ครั้งที่ 5 เรื่อง การจัดการความรู้


องค์ความรู้ที่ได้ศึกษามาล่วงหน้า

ขั้นตอนการจัดการเรียนรู้ (Knowledge Management Process) แบ่งเป็น 7 ขั้นตอน ดังนี้

ขั้นตอนที่ 1 การบ่งชี้ความรู้
หน่วยงานต้องสำรวจความรู้ที่บุคลากรจำเป็นต้องใช้เพื่อให้การทำงานบรรลุเป้าหมาย โดยสำรวจว่าต้องการความรู้อะไรบ้าง และความรู้ที่มีอยู่เพียงพอหรือไม่
ขั้นตอนที่ 2 การสร้างและแสวงหาความรู้
ถ้าเห็นว่าความรู้ที่มีอยู่ไม่เพียงพอ ก็ต้องแสวงหาเพิ่มเติมให้ได้ความรู้ครบถ้วนสมบูรณ์มากที่สุด
ขั้นตอนที่ 3 การจัดการความรู้ให้เป็นระบบ
เมื่อได้ความรู้มาเพียงพอแล้วก็นำมาจัดหมวดหมู่ให้ชัดเจน และจัดเก็บไว้ในรูปแบบต่างๆ ทั้ง เอกสาร หนังสือ เทป วีซีดี เป็นต้น
ขั้นตอนที่ 4 การประมวลและกลั่นกรองความรู้
ต้องนำความรู้ที่จัดเก็บเป็นหมวดหมู่ไว้แล้วมาทบทวน กลั่นกรอง ให้มีความทันสมัย
ขั้นตอนที่ 5 การเข้าถึงความรู้
ต้องมีการจัดช่องทางเผยแพร่ความรู้ทางช่องทางต่างๆ ที่หลากหลาย เพื่อให้บุคลากรสามารถเข้าถึง ความรู้ได้สะดวก รวดเร็ว และทั่วถึง
ขั้นตอนที่ 6 การแบ่งปันแลกเปลี่ยนความรู้
จัดกิจกรรมให้บุคลากรมีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ เช่น กิจกรรมชุมชนนักปฏิบัติ ( Community of Practice การสอนงาน ( Coaching ) และระบบพี่เลี้ยง (Mentoring) เป็นต้น
ขั้นตอนที่ 7 การเรียนรู้
กำหนดให้บุคลากรในองค์กรต้องใช้ KM เข้ามาช่วยในการทำงานเพื่อผลงานที่มีประสิทธิภาพ โดยอาจจะกำหนดเป็นนโยบาย จากผู้บริหารขององค์กรก็ได้

วิธีการทำ KM ในงาน

ขั้นตอนแรก กำหนดเป้าหมายให้ชัดเจนก่อนว่าสิ่งที่องค์กรต้องการจากการจัดการความรู้ คืออะไร เรียกว่า กำหนดเป้าหมาย ซึ่งการกำหนดเป้าหมายอาจจะพิจารณาจากยุทธศาสตร์ขององค์กรหรือจากปัญหาของ องค์กรก็ได้

ขั้นตอนที่ 2 เมื่อได้เป้าหมายแล้วก็ต้องวางแผนและจัดกิจกรรมที่จะสนับสนุนในการจัดการความรู้ ดังนี้
ปรับเปลี่ยนพฤติกรรม การทำให้คนในองค์กรอยากเป็นทั้งผู้ให้และผู้รับ ความรู้ จนทำให้เกิดการแลกเปลี่ยนแบ่งปันและการเรียนรู้
การสื่อสารทำให้ทุกคนในองค์กรเข้าใจว่า ทำอะไร เพื่ออะไร ทำเมื่อไร และทำอย่างไร โดยสื่อสารอย่างต่อเนื่องจนการแลกเปลี่ยนความรู้และการเรียนกลายเป็นวัฒนธรรม
กระบวนการและเครื่องมือเป็นแกนหลักของการจัดการความรู้ทั้งหมด
การให้ความรู้เรื่องการจัดการความรู้ให้กับคนในองค์กรไม่ว่าจะฝึกอบรม เอกสาร หรือไฮเทค อย่างไรก็ได้ตามความเหมาะสมขององค์กร ที่สำคัญคือพยายามสอดแทรกความรู้ด้านการจัดการความรู้เข้าไปบ่อย ๆ
การวัดผล การดำเนินการตามแผน ผลผลิตที่ได้และผลิตภัณฑ์จากการจัดการความรู้ ในช่วงแรกของการดำเนินการอาจจะวัดเพียงความก้าวหน้าตามกิจกรรมต่าง ๆ ที่กำหนดในแผน
การยกย่องชมเชยและให้รางวัล เป็นการจูงใจให้คนในองค์การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมให้สนใจที่จะแลกเปลี่ยนความรู้กันมากขึ้น

ขั้นตอนที่ 3 จัดทำ KM Process

องค์ความรู้ที่ได้จากการเรียนวันนี้

วิธีการจัดการการเรียนรู้ในองค์กร

1. ระบุให้ชัดเจนว่าจะทำ KM เรื่องอะไร เช่น เทคนิคการสอน การจัดการนักเรียน การบริหารวิชาการ การบริหารการเงิน การจัดการชั้นเรียน แล้วพิจารณาว่าบุคลากรท่านใดโดดเด่นในด้านใดบ้าง

2. สร้างและแสวงหาความรู้ จาก Knowledge Mapping


<p style="margin-bottom:0cm;margin-bottom:.0001pt"> 3. จัดความรู้ให้เป็นระบบ ได้แก่ จัดทำสารบัญ จัดหมวดหมู่แยกประเภท ซึ่งจะทำให้สะดวก รวดเร็ว ในการค้นหา </p> <p style="margin-bottom:0cm;margin-bottom:.0001pt"> 4. ประมวลและกลั่นกรองความรู้ ว่าความรู้ที่ได้มาถูกต้องหรือไม่ ถ้าไม่ถูกต้องก็ต้องปรับแก้ไข </p> <p style="margin-bottom:0cm;margin-bottom:.0001pt"> 5. การเข้าถึงความรู้ มี 2 ลักษณะ ได้แก่ </p> <p style="margin-bottom:0cm;margin-bottom:.0001pt"> 1. การป้อนความรู้ คือ ไม่ต้องร้องขอ เรียกว่า Supply Based เช่น หนังสือเรียน </p> <p style="margin-bottom:0cm;margin-bottom:.0001pt"> 2. การให้โอกาสการใช้ความรู้ ผู้ใช้สามารถเลือกใช้เฉพาะข้อมูล / ความรู้ ที่ต้องการเท่านั้น </p> <p style="margin-bottom:0cm;margin-bottom:.0001pt"> เรียกว่า Demand Based </p> <p style="margin-bottom:0cm;margin-bottom:.0001pt"> 6. การแบ่งปันแลกเปลี่ยนเรียนรู้ เช่นจัดทำเอกสาร จัดทำฐานข้อมูล และจัดทำสมุดหน้าเหลือง </p> <p style="margin-bottom:0cm;margin-bottom:.0001pt"> โดยนำเทคโนโลยีเข้ามาช่วยให้เข้าถึงความรู้ เพื่อที่จะได้เข้าถึงความรู้ได้โดยง่าย สะดวก และรวดเร็ว เช่น Weblog ซึ่งวิธีนี้จะใช้ได้ดีกับ Explicit Knowledge </p> <p style="margin-bottom:0cm;margin-bottom:.0001pt"> 7. การเรียนรู้ที่สอดคล้องกับทิศทางหรือค่านิยมขององค์กร </p> <p style="margin-bottom:0cm;margin-bottom:.0001pt;text-indent:36.0pt"> วัตถุประสงค์ของการจัดการเรียนรู้ คือเพื่อให้บุคคลได้เรียนรู้และนำความรู้ไปใช้ ให้เกิดประโยชน์สูงสุด ซึ่งหัวใจของการจัดการความรู้ คือ Tacit Knowledge </p> <p style="margin-bottom:0cm;margin-bottom:.0001pt"> Story Telling </p> <p style="margin-bottom:0cm;margin-bottom:.0001pt"> คือวิธีการแชร์ความรู้ระหว่างบุคคลหรือกลุ่มบุคคล เป็นการเล่าแบบไม่เป็นทางการ เล่าถึงสิ่งที่ตนเองภาคภูมิใจเกี่ยวกับสิ่งที่เกิดขึ้นภายในองค์กร </p> <p style="margin-bottom:0cm;margin-bottom:.0001pt;text-indent:36.0pt"> ขั้นตอนในการถ่ายทอดความรู้โดย Story Telling </p> <p style="margin-bottom:0cm;margin-bottom:.0001pt"> 1. กำหนดเป้าหมายที่ชัดเจน </p> <p style="margin-bottom:0cm;margin-bottom:.0001pt"> 2. จำแนกกลุ่มย่อย ทุกคนคือผู้ปฏิบัติงาน </p> <p style="margin-bottom:0cm;margin-bottom:.0001pt"> 3. เล่าประสบการณ์ที่ไม่ปรุงแต่ง ผู้ฟังควรฟังอย่างตั้งใจ ถามอย่างสร้างสรรค์ ไม่ควรถามขณะที่ผู้เล่าเล่ายังไม่จบ </p> <p style="margin-bottom:0cm;margin-bottom:.0001pt"> 4. ประธานพูดสรุปเป็นระยะๆ </p> <p style="margin-bottom:0cm;margin-bottom:.0001pt"> หัวใจ คือ ผู้เล่าต้องพยายามจับประเด็น สิ่งที่ตนได้ทำสำเร็จ สิ่งที่เป็น Tacit Knowledge แปลงออกมาเป็น Explicit Knowledgeให้คนอื่นได้ฟัง </p> <p style="margin-bottom:0cm;margin-bottom:.0001pt;text-indent:36.0pt"> ข้อควรคำนึง </p> <p style="margin-bottom:0cm;margin-bottom:.0001pt"> 1. เรื่องต้องเป็นแบบ panacea </p> <p style="margin-bottom:0cm;margin-bottom:.0001pt"> 2. ไม่ปรุงแต่งหรือเสริมจินตนาการ </p> <p style="margin-bottom:0cm;margin-bottom:.0001pt"> 3. เป็นอายุที่ไม่นานเกินไป </p> <p style="margin-bottom:0cm;margin-bottom:.0001pt"> 4. เป็นเรื่องเชิงบวก ที่ เป็น best practice </p> <p style="margin-bottom:0cm;margin-bottom:.0001pt"> 5. ผู้ฟังต้องตั้งใจฟัง อย่าถามบ่อย </p> <p style="margin-bottom:0cm;margin-bottom:.0001pt"> 6. สร้างบรรยากาศที่เป็นกัลป์ญาณมิตร </p> <p style="margin-bottom:0cm;margin-bottom:.0001pt"> บรรยากาศในชั้นเรียน </p> <p style="margin-bottom:0cm;margin-bottom:.0001pt"> วันนี้บรรยากาศการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่าง ผู้สอนกับผู้เรียนก็ไม่มีมากนัก ในขณะที่ผู้สอนพยายามกระตุ้นให้ผู้เรียนได้แสดงความคิดเห็น แต่นักศึกษาส่วนใหญ่ก็ไม่ได้แสดงความคิดเห็น ก็มีแค่บางคนได้แสดงความคิดเห็น คนอื่นๆก็ได้พยายามฟังและจับประเด็นที่สำคัญ โดยภาพรวมก็ยังไม่ถึงกับดีมาก </p> <p style="margin-bottom:0cm;margin-bottom:.0001pt"> การนำไปประยุกต์ใช้ในองค์กร </p> <p style="margin-bottom:0cm;margin-bottom:.0001pt;tab-stops:right 451.3pt"> จะนำวิธีการจัดการความรู้ไปใช้ในโรงเรียน ตามขั้นตอน เริ่มต้นที่ได้สำรวจความรู้ที่จะจัดการแล้ว คือจะจัดการเรื่องเทคนิคการสอน เพราะมีบุคลากรในโรงเรียนที่มีเทคนิคในการฝึกซ้อมนักเรียนที่เป็นเด็กพิเศษเล่านิทานคุณธรรม เพื่อเข้าร่วมการแข่งขันในงานทักษะวิชาการ และอีกท่านหนึ่งที่มีเทคนิคในการสอนเด็กพิเศษเรียนรวมให้สามารถอ่านหนังสือออก เขียนหนังสือได้ตามความสารถของเด็กพิเศษ </p> <p style="margin-bottom:0cm;margin-bottom:.0001pt"> </p>

คำสำคัญ (Tags): #story telling
หมายเลขบันทึก: 580177เขียนเมื่อ 10 พฤศจิกายน 2014 20:44 น. ()แก้ไขเมื่อ 10 พฤศจิกายน 2014 20:44 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท