บันทึกอนุทิน ครั้งที่ 3 เรื่อง การจัดการความรู้


ความคาดหวังในการเรียนครั้งนี้

มีความคาดหวังว่าจะได้เติมเต็มความรู้ที่เกี่ยวกับเนื้อหา เรื่องการจัดการความรู้ยิ่งขึ้น จะได้รู้วิธีและแนวทางการจัดการความรู้มากขึ้นอีกด้วย

องค์ความรู้ที่ได้ศึกษามา

ได้ศึกษาเกี่ยวกับ หลักการ แนวคิด ทฤษฎีต่างๆเกี่ยวกับการจัดการความรู้

ความรู้ คือ สิ่งที่สั่งสมมาจากการศึกษาเล่าเรียน การค้นคว้า หรือประสบการณ์ รวมทั้งความสามารถเชิงปฏิบัติและทักษะ ความเข้าใจ หรือสารสนเทศที่ได้รับจากประสบการณ์ หรือสิ่งที่ได้รับจากการได้ยิน ได้ฟัง การคิดหรือ การปฏิบัติ (พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2542)

Michel Polanyi และ Ikujiro Nonaka ได้แบ่งความรู้ออกเป็น 2 ประเภท คือ

-ความรู้ทั่วไป หือความรู้ชัดแจ้ง (Explicit Knowledge) เป็นความรู้ที่สามารถรวบรวมถ่ายทอดได้โดยผ่านวิธีต่างๆ เช่น การบันทึกเป็นลายลักษณ์อักษร ทฤษฎี คู่มือต่างๆ

-ความรู้เฉพาะตัว หรือความรู้ที่ฝังอยู่ในคน (Tacit Knowledge) เป็นความรู้ที่ได้จากประสบการณ์ พรสวรรค์ หรือสัญชาตญาณ ของแต่ละบุคคล

ศ.นพ. วิจารณ์ พานิช ได้ให้ความหมายของการจัดการความรู้ไว้ว่า เป็นการยกระดับความรู้ขององค์กร เพื่อสร้างผลประโยชน์จากต้นทุนทางปัญญา

กระบวนการจัดการความรู้มี 7 กิจกรรม ดังนี้

1. การบ่งชี้ความรู้ คือ การระบุประเด็นความรู้ รูปแบบ

2. การสร้างและแสวงหาความรู้ คือการรวบรวมความรู้ใหม่ รักษาความรู้เดิม

3. การจัดความรู้ให้เป็นระบบ คือ การวิเคราะห์ คัดกรอง และแยกแยะความรู้ออกเป็นกลุ่มๆ

4. การประมวลและกลั่นกรองความรู้ คือ การปรับปรุงให้ความรู้มีรูปแบบมาตรฐาน และไม่ซ้ำซ้อน

5. การเข้าถึงความรู้ คือ การสร้างแหล่งเผยแพร่ที่สามารถเข้าถึงได้ตลอดเวลา

6. การแบ่งปันและแลกเปลี่ยนความรู้ คือ การนำความรู้ไปแลกเปลี่ยนกับคนอื่น

7. การเรียนรู้ คือ การใช้ความรู้เป็นส่วนหนึ่งของงาน

องค์ประกอบขององค์กรแห่งการเรียนรู้

Peter Senge ได้กล่าวถึง วินัย 5 ประการ ที่เป็นองค์ประกอบที่สำคัญ ดังนี้

1. การคิดอย่างเป็นระบบ (Systematic Thinking) ทุกอย่างมีความเกี่ยงข้องกัน ดังนั้นให้มองทุกอย่างเป็นองค์รวม

2. ความรอบรู้แห่งตนเอง (Personal Mastery) การเรียนรู้ขององค์กรจะเกิดขึ้นได้ การเรียนรู้นั้นต้องเกิดขึ้นในระดับบุคคลก่อน

3. แบบผนความคิดอ่าน (Mental Models) คนเราเกิดต่างสถานที่ ต่างคนเลี้ยงดู ดังนั้นความคิดอ่านจึงต่างกัน ถ้าองค์กรไหน ที่คนส่วนใหญ่มีแผนการคิดอ่านไปในแนวเดียวกัน ก็จะสามารถพาองค์กรไปในทางที่ดีได้

4. การเสริมสร้างวิสัยทัศน์ร่วมกัน (Building Shared Vision) องค์กรต้องมองภาพที่องค์กรจะเป็นไปในทางที่ดีด้วยกัน

5. การเรียนรู้เป็นทีม (Team Learning) ความรู้บางอย่างนั้นต้องอาศัยความร่วมมือจากทุกคน ช่วยกันคิด

บรรยากาศในการเรียน

เป็นบรรยากาศที่ผู้สอนคือผู้ป้อนความรู้ ผู้เรียนเงียบ ไม่ค่อยแสดงความคิดเห็นหรืออภิปรายในประเด็นต่างๆ บรรยากาศเงียบเหงา แต่ก็เป็นบรรยากาศที่น่าเรียนเพราะมีอาจารย์สิริรัตน์ นาคิน มาสอนการทำเว็บบล็อก อาจารย์จะสอนวิธีการ หลังจากนั้นให้ผู้เรียนได้ลงมือปฏิบัติเอง จะทำให้บรรยากาศการเรียนน่าเรียนยิ่งขึ้นและผู้เรียนจะสนใจเรียนมากยิ่งขึ้น ซึ่งการเรียนด้วยการลงมือปฏิบัติจะส่งผลให้ผู้เรียนจดจำได้นานอีกด้วย

ความรู้ที่ได้รับจากการเรียนวันนี้

ได้เรียนรู้ว่า AAR (After Action Review) เป็นการบันทึกคล้ายๆการบันทึกอนุทิน เป็นการประมวลความรู้ที่ได้จากการเรียน รวมทั้งการนำไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันของตนเอง ได้รู้หลักการเขียน ขั้นตอนในการเขียน ขั้นตอน และกระบวนการในการเขียน AAR หลักจากนั้นได้ความรู้ในการจัดทำเว็บบล็อก การใช้งานเว็บบล็อก การจัดทำเว็บบล็อกนั้นมีจุดประสงค์เพื่อใช้ในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ข้อมูลทางวิชาการ และสามารถใช้เผยแพร่ผลงานของตนเองได้ด้วย ขั้นตอนแรกของการใช้งานเว็บบล็อก คือ การสมัครเป็นสมาชิกของเว็บบล็อก ซึ่งการสร้างเครือข่ายเว็บบล็อกนี้ถือเป็นสังคมแห่งการเรียนรู้ด้วย

ความรู้ เรื่องใดเรื่องหนึ่งของบุคคลแต่ละคนนั้น หากมีแล้วแต่ไม่ได้ใช้ ไม่ได้จดบันทึก หรือไม่ได้ถูกจัดเก็บ ความรู้เรื่องนั้นๆ ก็จะหายไปตามกาลเวลา ฉะนั้น การสร้างองค์ความรู้ของตนเองแล้วนำไปถ่ายทอดให้ผู้อื่นได้รู้ด้วยวิธีการต่างๆเช่น การถ่ายทอดลงสู่เว็บบล็อก จะเป็นวิธีการที่ทำให้ความรู้ของแต่ละบุคคลนั้นคงอยู่และเป็นประโยชน์ต่อผู้อื่นด้วย

จากนั้นได้เรียนรู้เกี่ยวกับ LO หรือ Learning Organization หมายถึง องค์กรแห่งการเรียนรู้ ซึ่งองค์กรแต่ละองค์กรต้องมีการขยายความรู้สร้างองค์กรของตนให้เป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ ตั้งแต่ระดับบุคคล กลุ่ม และระดับองค์กร เช่นองค์กรในโรงเรียน การที่โรงเรียนแห่งหนึ่งที่มีบุคลากรอยู่หลายคน ซึ่งบางคนในโรงเรียนจะมีวิธีการจัดการเรียนการสอนอย่างดี และประสบผลสำเร็จ เช่น ครูสอนดนตรีที่เก่ง ส่งนักเรียนเข้าประกวดที่ไหน ได้รับรางวัลชนะเลิศทุกครั้ง การที่นักเรียนไปแข่งขันและชนะได้ส่วนหนึ่งเกิดจากการที่ครูสอนดี มีเทคนิคการสอนที่ดี เหนือกว่าคนอื่นๆ หากไม่อยากให้เทคนิค วิธีการสอนของครูท่านนั้นหายไปเมื่อท่านย้ายหรือปลดเกษียณ จะต้องมีการถ่ายทอดเทคนิควิธีการสอนนั้นให้คนอื่น อาจจะเป็นคนในองค์กรเดียวกันก็ได้ การกระทำเช่นนี้ถือเป็นสังคมแห่งการเรียนรู้ได้ เพราะองค์กรนั้นเกิดการเรียนรู้ขึ้นแล้ว


คำสำคัญ (Tags): #learning organization
หมายเลขบันทึก: 580174เขียนเมื่อ 10 พฤศจิกายน 2014 20:38 น. ()แก้ไขเมื่อ 10 พฤศจิกายน 2014 20:39 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท