การอ่านเพื่อให้เกิดความเข้าใจ (Reading Comprehension) ตอนที่ 1


การอ่านเพื่อให้เกิดความเข้าใจนั้นมีความสำคัญเป็นอย่างยิ่ง เพราะในสังคมที่เรากำลังอยู่ด้วยจำเป็นต้องใช้ทักษะการอ่านเพื่อให้เกิดความเข้าใจในการอ่านสิ่งต่างๆ อย่างไรก็ตาม การอ่านมักมีเป็นปัญหาสำหรับนักเรียน และนักเรียนที่มีปัญหาในการเรียนรู้ (disable students) มักจะมีปัญหาในเรื่องการอ่าน การเขียน และการสะกดคำ .ในบันทึกฉบับนี้จะนำเสนอการสร้างทักษะการอ่าน และกิจกรรมการเรียนการสอน เพื่อให้นักเรียนมีการตระหนักรู้ทางด้านตัวอักษร (a child's phonological awareness) วิธีการสอนสำหรับนักเรียนที่มีปัญหาทางการเรียนรู้จะได้ผลดี เพราะมีการทำงานวิจัยไว้แล้ว วิธีกานสอนบางอย่างนั้นสามารถใช้ได้ทั้งการสอนปกติ แต่กระนั้นก็ยังใช้ได้ผลกับนักเรียนที่มีปัญหาในการเรียนรู้เช่นเดียวกัน สิ่งต้องเตือนกันในที่นี้ก็คือ การใช้สื่อการเรียนการสอนจะต้องเหมาะสมกับอายุด้วย

1. สมมติฐานเบื้องต้นในการสอนเด็กที่มีปัญหาในการเรียนรู้

ข้างล่างเป็นประเด็นที่มีความสำคัญในการสอนการอ่าน สำหรับเด็กที่มีปัญหาในการเรียนรู้ เด็กที่มีปัญหาในการเรียนรู้นั้นไม่เกี่ยวกับอายุและระดับความสามารถ

1.1 นักเรียนที่มีปัญหาในการเรียนรู้ทุกชนิดมีสิทธิในการเข้าถึงการสอนการอ่านที่มีคุณภาพ

1.2 โปรแกรมการอ่าน (Reading Program) สำหรับนักเรียนที่มีปัญหาในการเรียนรู้ต้องมีการออกแบบอย่างเป็นปัจเจกบุคคล โดยคำนึงถึงความแข็ง และความอ่อนด้อยของนักเรียนเอง

1.3 นักเรียนจำนวนมากที่มีปัญหาในการเรียนรู้อาจได้รับการเปลี่ยนแปลง (modifications) ในระหว่างพวกเขาได้รับการเรียนการสอน และระหว่างนั้นพวกเขาจะได้รับหน่วยกิต เพื่อที่ว่าจะเรียนวิชาอื่นๆได้สำเร็จ เช่น วิทยาศาสตร์, สังคมศึกษา, และศิลปะภาษา แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นการเปลี่ยนแปลงนั้นไม่สามารถมาแทนที่การเรียนการสอนได้

1.4 พ่อแม่จะต้องสอบถามครูผู้สอนลูกตนเองอย่างเสมอ

1.5 สื่อการสอนการอ่านจะต้องไม่ง่ายเกินไป และยากเกินไป แต่ต้องเหมาะกับระดับของผู้เรียน

1.6 ในอดีต มีนักวิชาการบางคนเชื่อว่า มีวิธีสอนการอ่านอยู่บางวิธีสามารถที่จะสอนเด็กที่มีปัญหาในการเรียนรู้ แต่ในปัจจุบันนี้กลับเชื่อว่า ความสำเร็จในการสอนอ่านย่อมขึ้นอยู่กับเนื้อหาในวิชา, วิธีการที่สอน, ความเข้มข้นในการสอน (ซึ่งหมายถึง การสอนนี้สอนบ่อยครั้งแค่ไหน และ มีการเข้าร่วมอย่างกระตือรือร้นจากเด็กมากน้อยแค่ไหน), และความต้องการ รวมทั้งจุดแข็งของเด็กที่เป็นรายบุคคล

1.7 ถึงแม้ว่าบางวิธีสอนอาจใช้การได้ดีสำหรับกับนักเรียนที่มีปัญหาในการเรียนรู้ แต่นักเรียนทุกคนจะได้ผลประโยชน์จากการสอนที่เป็นระบบและวางไว้อย่างเป็นโครงสร้าง ทักษะการอ่านจะต้องวางไว้อย่างระมัดระวัง และนักเรียนทุกคนจะต้องมีการทำแบบฝึกหัดจำนวนมาก และมีการทบทวนในทุกๆทักษะ เพื่อที่ว่าพวกเขาจะได้เข้าใจ ก่อนที่พวกเขาจะได้เรียนเรื่องใหม่ๆต่อไป

แด่กบ พงศกร บัวทอง และง้อ ทีี่เป็นแรงบันดาลใจให้ค้นคว้าเรื่องนี้

หนังสืออ้างอิง

Carolyn A. Denton and Jan E. Hasbrouck. (2000) Reading Comprehension from Teaching Students with Disabilities to Read. Texas A & M University.

หมายเลขบันทึก: 580072เขียนเมื่อ 9 พฤศจิกายน 2014 19:41 น. ()แก้ไขเมื่อ 9 พฤศจิกายน 2014 19:41 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท