บันทึกอนุทินครั้งที่ 6


บันทึกอนุทินครั้งที่ 6

รายวิชาการศึกษาเพื่อพัฒนาสังคมแห่งการเรียนรู้ (102611)

ผู้สอน ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.อดิศร เนาวนนท์

โดย นายวัชระ เทียนทิพย์การุณย์ รหัสนักศึกษา 57D0103128 เลขที่ 28 ภาคพิเศษ หมู่ที่ 1

สาขา หลักสูตรและการสอน เบอร์โทร 088-4700094 e-mail : [email protected]

วันที่ 31 สิงหาคม 2557

วิทยากรดร.พิมพ์พันธ์ เดชะคุปต์

สถานที่ ราชภัฏนครราชสีมา

……………………………………………………………………………………………………………………………………………………

( ฟังอบรม ) เรื่อง ด้านหลักสูตรและการสอนในศตวรรษที่ 21 ( ดร.พิมพ์พันธ์ เดชะคุปต์ )

1.การเตรียมความพร้อมก่อนเข้าห้องเรียน/ความคาดหวัง

ได้ศึกษาเกี่ยวกับ ทฤษฎีการสอนแบบพหุปัญญา ในการเรียนการสอนนั้น ในสภาวะปกติ มักจะเน้นความสามารถของสมองในด้านของการใช้ภาษา การใช้ทักษะทางคณิตศาสตร์ และการคิดเชิงเหตุผล หรือที่รู้จักกันในนามของการคิดเชิงตรรกะ ซึ่งทำให้นักเรียนไม่สามารถพัฒนาความสามารถได้เท่าที่ควร ดังที่จะเห็นได้จากการที่นักเรียนบางคนมีความสามารถหลายด้าน เช่น ศิลปะ ดนตรี หรืออื่นๆ แต่กลับต้องมานั่งเรียนวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ ที่ไม่ชอบ เมื่อผลการเรียนไม่ดี ผู้ปกครอง ครู ก็ลงโทษนักเรียนหาว่า "โง่" แต่ที่จริงแล้ว ถ้าพัฒนาให้ถูกด้าน นักเรียนคนนั้นอาจจะมีความสามารถมากกว่าที่เห็นทั่วไป ทฤษฎีการสอนแบบนี้จึงถือกำเนิดขึ้นมาในวงการศึกษา เรียกว่า "ทฤษฎีการสอนแบบพหุปัญญา (Multiple Intelligence)"

2. ความรู้ความเข้าใจที่ได้รับจากการเรียน

จะต้องมี นวัตกรรม คือต้อง innovative หรือต้องรู้จักสร้างสรรค์ ต้องมีความพร้อมที่จะก้าวไปข้างหน้า ปรับตัวให้ทันกับความเปลี่ยนแปลงของโลก แต่ว่าก็ต้องสามารถปรับโลกให้เหมาะสมสอดคล้องกับความเป็นอยู่หรือความพอใจความสุขสบายของตัวเองเหมือนกัน ต้องแก้ปัญหาด้วยความคิด พอทางหนึ่งตันก็ต้องหาทางใหม่ ไม่งอมืองอเท้ายิ่งใน ภาวะวิกฤต ยิ่งต้องการนวัตกรรม ซึ่งไม่เฉพาะแต่นวัตกรรมทางเทคโนโลยีเท่านั้น หากแต่เป็นนวัตกรรมของทั้งระบบโดยรวม ตั้งแต่สังคม เศรษฐกิจ และวิถีชีวิตหรือวัฒนธรรม...นวัตกรรมทางด้านการเรียนรู้ก็เช่นกัน จะเกิดขึ้นได้จำเป็นต้องอาศัย "วิถีคิด" ที่ออกนอกกรอบเดิมพอสมควร คือจะต้องออกนอก "ร่อง" หรือช่องทางเดิมๆที่เคยชิน เรียกได้ว่าจะต้องพลิกกระบวนทัศน์ (shift paradigm) ที่มีอยู่เดิมเกี่ยวกับการเรียนรู้เสียใหม่ จากที่เคยเข้าใจว่า การเรียนรู้ก็คือการศึกษาเพียงเพื่อให้ได้รู้ไว้ มาเป็นการเรียนรู้ที่นำมาใช้พัฒนางาน พัฒนาชีวิต ความรู้ที่ได้จากการเรียนรู้

การเรียนรู้ (Learning)มีความหมาย 2 ประการ

1 กระบวนการเรียนรู้ (learning process) หมายถึงการดำเนินการอย่างเป็นขั้นตอนหรือการใช้

วิธีการต่างๆ ที่ช่วยให้บุคคลเกิดการเรียนรู้

2 ผลการเรียนรู้ (learning outcome) ได้แก่ความรู้ความเข้าใจในสาระต่างๆ ความสามารถในการ

กระทำ การใช้ทักษะกระบวนการต่างๆ รวมทั้งความรู้สึกหรือเจตคติอันเป็นผลที่เกิดขึ้นจาก

กระบวนการเรียนรู้

ทฤษฏีการเรียนรู้ที่สนับสนุนการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง

1 ทฤษฏีการสร้างความรู้ (Constructivism Theory)

2 ทฤษฏีกระบวนการทางสมองในการประมวลข้อมูล (Information Processing Theory )

3 ทฤษฏีพหุปัญญา (Theory of Multiple Intelligences)

4 ทฤษฏีการเรียนรู้แบบร่วมมือ (Theory of Cooperative Learning)

หลักการเรียนรู้ (Learning principle) หมายถึงข้อความรู้ย่อยๆ ที่พรรณนา/อธิบาย/ทำนาย ปรากฏการณ์ต่างๆ เกี่ยวกับการเรียนรู้ ซึ่งได้รับการพิสูจน์ ทดสอบ ตามกระบวนการทางวิทยาศาสตร์และได้รับการยอมรับว่าน่าเชื่อถือได้ สามารถนำไปใช้ในการจัดกระบวนการเรียนรู้ ให้แก่ผู้เรียนได้ ส่งเสริมให้ผู้เรียน

1 สร้างความรู้ด้วยตนเอง (construction) ด้วยการใช้กระบวนการเรียนรู้ (learning process)

2 มีส่วนร่วม (participation) อย่างตื่นตัว (active)

3 มีปฏิสัมพันธ์ (interaction) และร่วมมือ ร่วมใจ (co-operation) ในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้

(share and learning)

4 ทำกิจกรรมเพื่อพัฒนาทั้งสมองซีกซ้ายและขวา หรือพัฒนาพหุปัญญา (multiple intelligences)

5 นำความรู้ไปใช้ และประยุกต์ใช้ (application)

3.ความคิดเห็นเกี่ยวกับประเด็นที่เรียน

การสอนให้ได้ผลดีนั้น ควรจะต้องเริ่มที่หลักการและจัดกระบวนการสอนให้สอดคล้องกับหลักการโดยใช้รูปแบบการเรียนการสอน วิธีการสอน และเทคนิคการสอน ซึ่งมีอยู่หลากหลายเข้ามาช่วยให้กระบวนการสอนเกิดประสิทธิภาพสูงสุด

4.การนำความรู้ไปใช้พัฒนาตนเองและการปฎิบัติงาน

การสอนนั้นจะต้องรู้จักการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง และสามารถนำไปปรับใช้กับกระบวนการสอนในรายวิชาที่สอน โดยสร้างองค์ความรู้ให้แก่นักเรียนและให้นักเรียนร่วมกลุ่มและทำกิจกรรมพร้อมกับนำไปประยุกต์กับวิชาอื่นเพื่อให้สอดคล้องกับเรื่องนั้นๆที่เรียน

5.บรรยากาศในการเรียน

นักศึกษาตั้งใจในการอบรมเป็นอย่างดีเยี่ยม โดยวิทยากรสามารถนำเสนอได้ได้อย่างต่อเนื่องพร้อมกับการสอดแทรกเนื้อหาโดยยกตัวอย่างและนวัฒกรรมที่สอดคล้อง โดยใช้เทคนิค วิธีการเรียนรู้ที่หลากหลายทำให้นักศึกษามีความใฝ่รู้ กระตือรือร้นในการอบรม พร้อมกับมีความสนใจในประเด็นที่นักศึกษาสามารถนำไปต่อยอดองค์ความรู้หรือทำวิทยานิพนธ์ของตนเองต่อไปได้เป็นอย่างดีเยี่ยมบันทึกอนุทินครั้งที่ 6

รายวิชาการศึกษาเพื่อพัฒนาสังคมแห่งการเรียนรู้ (102611)

ผู้สอน ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.อดิศร เนาวนนท์

โดย นายวัชระ เทียนทิพย์การุณย์ รหัสนักศึกษา 57D0103128 เลขที่ 28 ภาคพิเศษ หมู่ที่ 1

สาขา หลักสูตรและการสอน เบอร์โทร 088-4700094 e-mail : [email protected]

วันที่ 31 สิงหาคม 2557

วิทยากรดร.พิมพ์พันธ์ เดชะคุปต์

สถานที่ ราชภัฏนครราชสีมา

……………………………………………………………………………………………………………………………………………………

( ฟังอบรม ) เรื่อง ด้านหลักสูตรและการสอนในศตวรรษที่ 21 ( ดร.พิมพ์พันธ์ เดชะคุปต์ )

1.การเตรียมความพร้อมก่อนเข้าห้องเรียน/ความคาดหวัง

ได้ศึกษาเกี่ยวกับ ทฤษฎีการสอนแบบพหุปัญญา ในการเรียนการสอนนั้น ในสภาวะปกติ มักจะเน้นความสามารถของสมองในด้านของการใช้ภาษา การใช้ทักษะทางคณิตศาสตร์ และการคิดเชิงเหตุผล หรือที่รู้จักกันในนามของการคิดเชิงตรรกะ ซึ่งทำให้นักเรียนไม่สามารถพัฒนาความสามารถได้เท่าที่ควร ดังที่จะเห็นได้จากการที่นักเรียนบางคนมีความสามารถหลายด้าน เช่น ศิลปะ ดนตรี หรืออื่นๆ แต่กลับต้องมานั่งเรียนวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ ที่ไม่ชอบ เมื่อผลการเรียนไม่ดี ผู้ปกครอง ครู ก็ลงโทษนักเรียนหาว่า "โง่" แต่ที่จริงแล้ว ถ้าพัฒนาให้ถูกด้าน นักเรียนคนนั้นอาจจะมีความสามารถมากกว่าที่เห็นทั่วไป ทฤษฎีการสอนแบบนี้จึงถือกำเนิดขึ้นมาในวงการศึกษา เรียกว่า "ทฤษฎีการสอนแบบพหุปัญญา (Multiple Intelligence)"

2. ความรู้ความเข้าใจที่ได้รับจากการเรียน

จะต้องมี นวัตกรรม คือต้อง innovative หรือต้องรู้จักสร้างสรรค์ ต้องมีความพร้อมที่จะก้าวไปข้างหน้า ปรับตัวให้ทันกับความเปลี่ยนแปลงของโลก แต่ว่าก็ต้องสามารถปรับโลกให้เหมาะสมสอดคล้องกับความเป็นอยู่หรือความพอใจความสุขสบายของตัวเองเหมือนกัน ต้องแก้ปัญหาด้วยความคิด พอทางหนึ่งตันก็ต้องหาทางใหม่ ไม่งอมืองอเท้ายิ่งใน ภาวะวิกฤต ยิ่งต้องการนวัตกรรม ซึ่งไม่เฉพาะแต่นวัตกรรมทางเทคโนโลยีเท่านั้น หากแต่เป็นนวัตกรรมของทั้งระบบโดยรวม ตั้งแต่สังคม เศรษฐกิจ และวิถีชีวิตหรือวัฒนธรรม...นวัตกรรมทางด้านการเรียนรู้ก็เช่นกัน จะเกิดขึ้นได้จำเป็นต้องอาศัย "วิถีคิด" ที่ออกนอกกรอบเดิมพอสมควร คือจะต้องออกนอก "ร่อง" หรือช่องทางเดิมๆที่เคยชิน เรียกได้ว่าจะต้องพลิกกระบวนทัศน์ (shift paradigm) ที่มีอยู่เดิมเกี่ยวกับการเรียนรู้เสียใหม่ จากที่เคยเข้าใจว่า การเรียนรู้ก็คือการศึกษาเพียงเพื่อให้ได้รู้ไว้ มาเป็นการเรียนรู้ที่นำมาใช้พัฒนางาน พัฒนาชีวิต ความรู้ที่ได้จากการเรียนรู้

การเรียนรู้ (Learning)มีความหมาย 2 ประการ

1 กระบวนการเรียนรู้ (learning process) หมายถึงการดำเนินการอย่างเป็นขั้นตอนหรือการใช้

วิธีการต่างๆ ที่ช่วยให้บุคคลเกิดการเรียนรู้

2 ผลการเรียนรู้ (learning outcome) ได้แก่ความรู้ความเข้าใจในสาระต่างๆ ความสามารถในการ

กระทำ การใช้ทักษะกระบวนการต่างๆ รวมทั้งความรู้สึกหรือเจตคติอันเป็นผลที่เกิดขึ้นจาก

กระบวนการเรียนรู้

ทฤษฏีการเรียนรู้ที่สนับสนุนการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง

1 ทฤษฏีการสร้างความรู้ (Constructivism Theory)

2 ทฤษฏีกระบวนการทางสมองในการประมวลข้อมูล (Information Processing Theory )

3 ทฤษฏีพหุปัญญา (Theory of Multiple Intelligences)

4 ทฤษฏีการเรียนรู้แบบร่วมมือ (Theory of Cooperative Learning)

หลักการเรียนรู้ (Learning principle) หมายถึงข้อความรู้ย่อยๆ ที่พรรณนา/อธิบาย/ทำนาย ปรากฏการณ์ต่างๆ เกี่ยวกับการเรียนรู้ ซึ่งได้รับการพิสูจน์ ทดสอบ ตามกระบวนการทางวิทยาศาสตร์และได้รับการยอมรับว่าน่าเชื่อถือได้ สามารถนำไปใช้ในการจัดกระบวนการเรียนรู้ ให้แก่ผู้เรียนได้ ส่งเสริมให้ผู้เรียน

1 สร้างความรู้ด้วยตนเอง (construction) ด้วยการใช้กระบวนการเรียนรู้ (learning process)

2 มีส่วนร่วม (participation) อย่างตื่นตัว (active)

3 มีปฏิสัมพันธ์ (interaction) และร่วมมือ ร่วมใจ (co-operation) ในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้

(share and learning)

4 ทำกิจกรรมเพื่อพัฒนาทั้งสมองซีกซ้ายและขวา หรือพัฒนาพหุปัญญา (multiple intelligences)

5 นำความรู้ไปใช้ และประยุกต์ใช้ (application)

3.ความคิดเห็นเกี่ยวกับประเด็นที่เรียน

การสอนให้ได้ผลดีนั้น ควรจะต้องเริ่มที่หลักการและจัดกระบวนการสอนให้สอดคล้องกับหลักการโดยใช้รูปแบบการเรียนการสอน วิธีการสอน และเทคนิคการสอน ซึ่งมีอยู่หลากหลายเข้ามาช่วยให้กระบวนการสอนเกิดประสิทธิภาพสูงสุด

4.การนำความรู้ไปใช้พัฒนาตนเองและการปฎิบัติงาน

การสอนนั้นจะต้องรู้จักการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง และสามารถนำไปปรับใช้กับกระบวนการสอนในรายวิชาที่สอน โดยสร้างองค์ความรู้ให้แก่นักเรียนและให้นักเรียนร่วมกลุ่มและทำกิจกรรมพร้อมกับนำไปประยุกต์กับวิชาอื่นเพื่อให้สอดคล้องกับเรื่องนั้นๆที่เรียน

5.บรรยากาศในการเรียน

นักศึกษาตั้งใจในการอบรมเป็นอย่างดีเยี่ยม โดยวิทยากรสามารถนำเสนอได้ได้อย่างต่อเนื่องพร้อมกับการสอดแทรกเนื้อหาโดยยกตัวอย่างและนวัฒกรรมที่สอดคล้อง โดยใช้เทคนิค วิธีการเรียนรู้ที่หลากหลายทำให้นักศึกษามีความใฝ่รู้ กระตือรือร้นในการอบรม พร้อมกับมีความสนใจในประเด็นที่นักศึกษาสามารถนำไปต่อยอดองค์ความรู้หรือทำวิทยานิพนธ์ของตนเองต่อไปได้เป็นอย่างดีเยี่ยม

หมายเลขบันทึก: 580068เขียนเมื่อ 9 พฤศจิกายน 2014 17:51 น. ()แก้ไขเมื่อ 9 พฤศจิกายน 2014 17:51 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท