​บันทึกอนุทินครั้งที่ 4


บันทึกอนุทินครั้งที่ 4

รายวิชา การศึกษาเพื่อพัฒนาสังคมแห่งการเรียนรู้ (102611)

ผู้สอน ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.อดิศร เนาวนนท์

โดย นายวัชระ เทียนทิพย์การุณย์ รหัสนักศึกษา 57D0103128 เลขที่ 28 ภาคพิเศษ หมู่ที่ 1

สาขา หลักสูตรและการสอน เบอร์โทร 088-4700094 e-mail : [email protected]

วันที่24 สิงหาคม 2557

…………………………………………………………………………………………………………………………………………………………

เรื่อง Knowledge Managemen

1.การเตรียมความพร้อมก่อนเข้าห้องเรียน/ความคาดหวัง

การจัดการความรู้หรือที่ เรียกย่อๆ ว่า KM เป็นเครื่องมือเพื่อใช้ในการบรรลุเป้าหมายอย่างน้อย 3

ประการไปพร้อมๆ กัน ได้แก่ บรรลุเป้าหมายของงาน บรรลุเป้าหมายการพัฒนาคน และบรรลุเป้าหมาย

การพัฒนาองคกรไปสู่การเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้การจัดการความรู้ หรือเคเอ็ม

2.ความรู้ความเข้าใจที่ได้รับจากการเรียน

(KM = Knowledge Management) คือ การรวบรวมองค์ความรู้ที่มีอยู่ในองค์กร ซึ่งกระจัดกระจายอยู่ในตัวบุคคลหรือเอกสาร มาพัฒนาให้เป็นระบบ เพื่อให้ทุกคนในองค์กรสามารถเข้าถึงความรู้ และพัฒนาตนเองให้เป็นผู้รู้ รวมทั้งปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ อันจะส่งผลให้องค์กรมีความสามารถในเชิงแข่งขันสูงสุดโดยที่ความรู้มี 2 ประเภท คือ 1) ความรู้ที่ฝังอยู่ในคน (Tacit Knowledge) เป็นความรู้ที่ได้จากประสบการณ์ พรสวรรค์หรือสัญชาติญาณของแต่ละบุคคลในการทำความเข้าใจในสิ่งต่าง ๆ เป็นความรู้ที่ไม่สามารถถ่ายทอดออกมาเป็นคำพูดหรือลายลักษณ์อักษรได้โดยง่าย เช่น ทักษะในการทำงาน งานฝีมือ หรือการคิดเชิงวิเคราะห์ บางครั้ง จึงเรียกว่าเป็นความรู้แบบนามธรรม 2) ความรู้ที่ชัดแจ้ง (Explicit Knowledge) เป็นความรู้ที่สามารถรวบรวม ถ่ายทอดได้ โดยผ่านวิธีต่าง ๆ เช่น การบันทึกเป็นลายลักษณ์อักษร ทฤษฎี คู่มือต่าง ๆ และบางครั้งเรียกว่าเป็นความรู้แบบรูปธรรม

3.ความคิดเห็นเกี่ยวกับประเด็นที่เรียน

ความรู้นั้นมี 2 รูปแบบแต่ถ้าเราไม่สามารถนำความรู้จากผู้ที่มีความรู้มาใช้ได้ก็ย่อมไม่เกิดประโยชน์การจัดการความรู้นั้นต้องปรับเปลี่ยนรู้แบบและทัศนะคติของคนในองค์กร ต้องรู้จักยอมรับ และไม่ห่วงความรู้โดยการแลกเปลี่ยนความรู้ โดยการถ่ายทอดหรือเขียนสรุปเป็นขั้นตอนเพื่อที่จะให้คนอื่นสามารถนำความรู้ไปใช้ประโยชน์ได้แต่ความรู้บางอย่างต้องมีทักษะในการปฏิบัติจึงให้ได้ประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น เช่น การทำอาหาร

งานช่าง งานฝีมือ

4.การนำไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน

จากการศึกษาในครั้งนี้ ทำให้ได้แนวคิดว่า เราสามารถนำความรู้ต่างๆไปปรับใช้เพื่อให้เกิดประโยชน์ได้ดังนี้

(1) การแบ่งปันแลกเปลี่ยนเรียนรู้ โดยการที่คนในองค์กรนำความรู้ที่มีอยู่มาแลกเปลี่ยนกัน ทั้งในรูปแบบที่จับต้องได้ เช่น เอกสาร ฐานความรู้ เทคโนโลยีสารสนเทศ Intranet หรือในรูปแบบที่ไม่สามารถจับต้องได้ เช่น การจัดทีมข้ามสายงาน การจัดกิจกรรมกลุ่มคุณภาพและนวัตกรรม การจัดชุมชนแห่งการเรียนรู้ การใช้ระบบพี่เลี้ยงเพื่อสอนงาน การสับเปลี่ยนสายงาน การยืมตัว และการจัดเวทีความคิดเห็น เป็นต้น

(2) การเรียนรู้ โดยการที่คนในองค์กรนำองค์ความรู้ที่ได้รับมาในรูปแบบและวิธีการต่าง ๆ ไปใช้ในการปฏิบัติงาน โดยมีการเรียนรู้และสร้างนวัตกรรมอย่างต่อเนื่อง ทำให้เกิดการเรียนรู้และประสบการณ์ใหม่ ๆ และนำไปสู่การสร้างองค์ความรู้ใหม่ใน ทำให้ทราบว่า การจัดการความรู้ไม่ใช่เป้าหมายในตัวของมันเอง เมื่อไรก็ตามที่มีการเข้าใจผิดเอาการจัดการความรู้เป็นเป้าหมายความผิดพลาดก็เริ่มเดินเข้ามา ปัญหาที่จะเกิดตามมาคือ การจัดการความรู้เทียม หรือ ปลอม เป็นการดำเนินการเพียงเพื่อให้ได้ชื่อว่ามีการจัดการความรู้เท่านั้นเอง

5.บรรยากาศในชั้นเรียน

บรรยากาศในห้องเรียนวันนี้ นักศึกษาให้ความสนใจ และมีความกระตือรือร้น พยายามที่จะเรียนรู้ และร่วมกันอภิปรายเพื่อแลกเปลี่ยนความคิดเห็น ทำให้เกิดความรู้ใหม่ๆ ในมุมมองที่หลากหลาย จุดไหนที่ไม่เข้าใจ ก็จะทำให้เข้าใจชัดเจนยิ่งขึ้น อาจารย์มีรูปแบบการสอนที่ช่วยการกระตุ้นให้นักศึกษาให้ความสนใจ และมีความกระตือรือร้นที่อยากจะเรียนรู้ และร่วมอภิปรายเพื่อแลกเปลี่ยนความรู้กัน

หมายเลขบันทึก: 580065เขียนเมื่อ 9 พฤศจิกายน 2014 17:42 น. ()แก้ไขเมื่อ 9 พฤศจิกายน 2014 17:42 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท