บันทึกอนุทินครั้งที่ 7


บันทึกอนุทินครั้งที่ 7

รายวิชา การศึกษาเพื่อพัฒนาสังคมแห่งการเรียนรู้ (102611)

ผู้สอน ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.อดิศร เนาวนนท์

โดย นายวัชระ เทียนทิพย์การุณย์ รหัสนักศึกษา 57D0103128 เลขที่ 28 ภาคพิเศษ หมู่ที่ 1

สาขา หลักสูตรและการสอน เบอร์โทร 088-4700094 e-mail : [email protected]

วันที่7 กันยายน 2557

วิทยากร รศ.ดร.ประพันธ์ศิริ สุเสารัจ

สถานที่ ราชภัฏนครราชสีมา

……………………………………………………………………………………………………………………………………………………

( ฟังอบรม ) เรื่อง การสอนเพื่อพัฒนาการคิด

1.การเตรียมตัวล่วงหน้าในการอบรมครั้งนี้

ได้ศึกษารูปแบบในการคิดดังนี้

" พระบรมราโชวาทของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชมหาราช "

"การคิดนั้นอาจคิดได้หลายอย่างจะคิดให้วัฒนะคือคิดแล้วทำให้เจริญงอก งามก็ได้จะคิดให้หายนะคือคิดแล้วทำให้พินาศฉิบหายก็ได้การคิดให้เจริญจึง ต้องมีหลักอาศัยหมายความว่าเมื่อคิดเรื่องใดสิ่งใดต้องตั้งใจให้มั่นคงใน ความเป็นกลางไม่ปล่อยให้อคติอย่างหนึ่งอย่างใดครอบงำให้มีแต่ความจริงใจตรง ตามเหตุตามผลที่ถูกแท้และเป็นธรรม" ความเจริญในด้านต่าง ๆ เช่น การเกษตร อุตสาหกรรม วิทยาศาสตร์ คอมพิวเตอร์ ล้วนเกิดจากความคิด ของมนุษย์ที่ต้องการแก้ปัญหาหรืออุปสรรคต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นในชีวิตประจำวัน หรือเพื่อความต้องการที่ จะมีชีวิตที่ดีขึ้น สะดวกสบายมากยิ่งขึ้น ซึ่งการพัฒนาทางด้านความคิดได้เกิดขึ้น อย่างต่อเนื่อง ตั้งแต่อดีต จนถึงปัจจุบัน เราจึงควรทราบเกี่ยวกับการคิดและกระบวนการคิด และหาวิธีการต่างๆ เพื่อฝึกตนเองให้เป็นคน ที่คิดเป็นระบบ คิดถูกต้อง เพื่อประโยชน์แก่ตนเองและสังคม

2.สิ่งที่คาดหวังจากการศึกษา

สามารถนำรูปแบบการสอนไปปรับใช้กับการจัดการเรียนการสอนในรายวิชาของข้าพเจ้าได้ โดยการสามารถพัฒนาศักยภาพของผู้เรียนให้มีความรู้ความสามารถ มีทักษะ กระบวนการ อ่าน คิด วิเคราะห์ ได้อย่างมเต็มศักยภาพของผู้เรียน

3.ความรู้ความเข้าใจที่ได้รับ

ความคิด คือ กิจกรรมทางจิตใจหรือทางปัญญาที่เกี่ยวข้องกับจิตสำนึกเฉพาะคน ความคิดยังอาจหมายถึงกระบวนการคิดหรือลำดับแง่คิด ในทำนองเดียวกัน กรอบความคิด หมายรวมถึง กระบวนการการรับรู้การรับรู้ความรู้สึกความมีจิตสำนึกและจินตนาการ การทำความเข้าใจถึงจุดกำเนิดที่เป็นรูปธรรมและนามธรรม กระบวนวิธี และผล ยังคงเป็นเป้าหมายที่นักวิชาการจำนวนมาก เช่น นักชีววิทยา นักปรัชญา นักจิตวิทยา และนักสังคมวิทยา ตั้งไว้ เนื่องมาจากความคิดนั้นเป็นหลักพื้นฐานรองรับการกระทำและปฏิกิริยาของมนุษย์

สมองกับความคิด สมองเป็นอวัยวะของร่างกายที่เป็นศูนย์ร่วมของเส้นประสาท เป็นศูนย์กลางในการควบคุม และการทำงานทุกชนิดของร่างกาย รวมทั้งความคิด โดยที่เด็กทุกคนมีขนาดของสมองใกล้เคียงกัน แต่มีสติปัญญาความเฉลียวฉลาดและสามารถของเด็กแต่ละคนจะแตกต่างกันออกไป ขึ้นอยู่กับจุดเชื่อมต่อระหว่างเส้นใยประสาทที่แตกต่างกัน ถ้ามีมากกว่าก็จะมีสติปัญญาและความเฉลียวฉลาดมากกว่า ความเฉลียวฉลาดที่แตกต่างกันมีผลมาจากปัจจัย 3 ประการ คือ พนธุกรรม สภาพแวดล้อม และประสบการณ์ที่ได้รับ เด็กบางคนอาจมีความเฉลียวฉลาดที่เกิดจากการถ่ายทอดพันธุกรรมจากจากพ่อแม่ เช่น นักกีฬา นักพูด นักคณิตศาสตร์

การคิดวิเคราะห์เป็นรากฐานสำคัญของการเรียนรู้ที่สำคัญ และการดำเนินชีวิตประจำวันโดยบุคคลที่มีความสามารถในการคิดวิเคราะห์ จะมีความสามรถในด้านอื่นๆ เหนือกว่าบุคคลทั่วไป

การคิดอย่างวิจารณญาณ เนื่องจากการคิดวิจารณญาณเป็นการคิดอย่างมีระบบ มีกระบวนการที่หลากหลายได้แก่ การตรวจสอบข้อสรุป การค้นหาความคลุมเครือที่ซ่อนอยู่ การวิเคราะห์และประเมินหลักฐานที่ปรากฏ จึงเป็นการใช้ความคิดที่ลุ่มลึก ที่ต้องใช้ทักษะความคิดรวบยอด การประยุกต์ใช้ การวิเคราะห์ การสังเคราะห์ และการประเมินข้อมูล ซึ่งข้อมูลที่ได้มาต้องผ่านกระบวนการรวบรวมข้อมูลที่เป็นระบบ เชื่อถือได้ จากประสบการณ์ที่ดี

การคิดแก้ปัญหา เป็นสิ่งสำคัญต่อวิถีการดำเนินชีวิตในสังคมของมนุษย์ ซึ่งวิธีการแก้ปัญหานั้นไม่แน่นอนตายตัวเสมอไป วิธีที่ใช้ในการค้นคว้าหาคำตอบอาจมีมากมายหลายวิธีขึ้นอยู่กับประสบการณ์ของแต่ละคนและสถานณ์การของปัญหาที่เกิดขึ้น ดังนั้นการพัฒนาการคิดแก้ปัญหาจึงต้องมีการฝึกฝน จึงทำให้ทุกคนคิดแก้ปัญหาได้อย่างถูกต้องเหมาะสม โดยเฉพาะอย่างยิ่งในการจัดการเรียนรู้

การสอนแบบ 4MAT เป็นการจัดกระบวนการเรียนการสอน ที่คำนึงถึงแบบการเรียนของผู้เรียน 4 แบบ กับการพัฒนาสมองซีกซ้ายและซีกขวาอย่างสมดุล เพื่อให้ผู้เรียนเรียนรู้ตามแบบและความต้องการของตนเองอย่างเหมาะสม รูปแบบการสอนแบบ 4MAT ซึ่งคำนึงถึงแบบการเรียนรู้แบบผู้เรียน 4 แบบ กับการพัฒนาสมองซีกซ้ายและซีกขวาอย่างสมดุล ซึ่งลำดับขั้นการสอนแบบ 4MAT มี 8 ขั้นดังนี้

— แบบที่ 1 WHY การบูรณาการประสบการณ์ด้วยตนเอง การพัฒนาจากประสบการณ์จริง ไปสู่

การสังเกตด้วยสติปัญญาคิดไตร่ตรอง

— บทบาทครู : เป็นผู้กระตุ้น สร้างแรงจูงใจ เป็นผู้ยั่วยุ

— นักเรียน : สร้างเหตุผล

— แบบที่ 2WHAT การพัฒนาความคิดรวบยอด การพัฒนาความคิดรวบยอดจากการสังเกตด้วย

สติปัญญาคิดไตร่ตรองไปสู่การ สร้างแนวคิดที่เป็นนามธรรม

— บทบาทครู : เป็นผู้สอน

— นักเรียน : แสวงหารายละเอียด

— แบบที่ 3 HOW การปฏิบัติและปรับแต่งเป็นความคิดของตนเอง การทดลองด้วยตนเอง ไปสู่

การสร้างแนวความคิดที่เป็นนามธรรม ผู้เรียนที่ชอบใช้สามัญสำนึกจะมีความสุขในการเรียนรู้

— บทบาทครู : เป็นผู้ฝึก

— นักเรียน : ลองปฏิบัติ

— แบบที่ 4IF การบูรณาการและประยุกต์ประสบการณ์ การทดลองด้วยตนเอง ไปสู่การได้รับ

ประสบการณ์จริง ผู้เรียนที่ชอบพลวัตจะมีความสุขที่สุดในการเรียนรู้

— บทบาทครู : เป็นผู้ประเมิน แก้ไขข้อบกพร่อง ผู้ร่วมเรียนรู้ —

— นักเรียน : ค้นพบด้วยตนเอง

— ลำดับขั้นการสอนแบบ 4MAT มี 8 ขั้น ซึ่งทั้งหมดนี้จะดำเนินไปตามวัฏจักรการเรียนรู้ที่คำนึงถึงการพัฒนาสมองทั้งสองซีก เพื่อให้ผู้เรียนแต่ละแบบเรียนรู้อย่างสมดุลและสมบรูณ์ที่สุด

—

4.การนำความรู้ไปใช้

  • การสามารถนำรูปแบบของการคิดไปพัฒนาแบบแผนการจัดการเรียนรู้แบบ 4 MAT ซึ่งทำให้เป็นประโยชน์อย่างยิ่งในการอบรมการสอนเพื่อพัฒนาการคิด ซึ่งตระหนักถึงความสำคัญของการปลูกฝังเสริมสร้างทักษะกระบวนการคิดให้กับนักเรียน ซึ่งเป็นพื้นฐานที่สำคัญต่อการพัฒนาสติปัญญาของนักเรียน สิ่งที่สำคัญครูต้องเรียนรู้ในการพัฒนาการคิด มีทักษะในการสอน ตลอดจนสร้างให้เป็นนักคิด

5. บรรยากาศของการอบรม

  • มีกิจกรรมให้นักศึกษาได้ร่วมเรียนรู้ทำให้สามารถนำไปประยุกต์ใช้ได้ พร้อมกับวิทยากรนั้นบรรยายได้อรรถรสในการอบรม พร้อมกับยกตัวอย่างประกอบ ซึ่งวิทยากรนั้นบรรยายได้อย่างต่อเนื่องเข้าใจง่าย ไม่น่าเบื่อนักศึกษาตั้งใจจดบันทึกในองค์ความรู้ที่ได้รับอย่างเต็มที่

6.ความรู้สึกที่มีต่อวิทยากร

  • เนื้อหาสาระนั้นมีประโยชน์ต่อผู้เรียนและนักศึกษาโดยสามารถนำรูปแบบไปใช้ในการจัดการเรียนรู้ได้ วิทยากรนั้น อารมณ์ดี ร่างเริง เรียนสนุก ทำให้ผู้เรียนมีความกระตือรืนร้นการเรียนรู้และสอดแทรกเนื้อหา ประเด็นที่สำคัญ พร้อมกับยกตัวอย่างสถานการณ์ของขยะที่ร้นเมือง พร้อมกับตั้งประเด็นในการตอบที่น่าสนใจทำให้การอบรมในครั้งนี้ทั้งได้ความรู้เป็นอย่างมากพร้อมกับได้สัมผัสกับประการณ์ที่นอกเหนือจากการอบรมโดยทั่วไป
หมายเลขบันทึก: 580069เขียนเมื่อ 9 พฤศจิกายน 2014 17:53 น. ()แก้ไขเมื่อ 9 พฤศจิกายน 2014 17:53 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท