​บันทึกอนุทินครั้งที่ 5


บันทึกอนุทินครั้งที่ 5

รายวิชา การศึกษาเพื่อพัฒนาสังคมแห่งการเรียนรู้ (102611)

ผู้สอน ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.อดิศร เนาวนนท์

โดย นายวัชระ เทียนทิพย์การุณย์ รหัสนักศึกษา 57D0103128 เลขที่ 28 ภาคพิเศษ หมู่ที่ 1

สาขา หลักสูตรและการสอน เบอร์โทร 088-4700094 e-mail : [email protected]วันที่24 สิงหาคม 2557

……………………………………………………………………………………………………………………………………………………

เรื่อง ขั้นตอนการจัดการความรู้ (Knowledge Management)

1. การเตรียมความพร้อมก่อนเข้าห้องเรียน/ความคาดหวัง

การจัดการความรู้ (Knowledge Management) หรือที่เรียกย่อๆ ว่า KM คือ เครื่องมือเพื่อใช้ในการบรรลุเป้าหมายอย่างน้อย 3 ประการไปพร้อมๆ กัน ได้แก่ บรรลุเป้าหมายของงาน บรรลุเป้าหมายการพัฒนาคน และบรรลุเป้าหมายการพัฒนาองค์กรไปสู่การเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ โดยการจัดการให้มีการค้นพบความรู้ ความชำนาญที่แฝงเร้นในตัวคน หาทางนำออกมาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ตกแต่งให้ง่ายต่อการใช้สอยและมีประโยชน์เพิ่มขึ้น มีการต่อยอดให้งดงาม และใช้ได้เหมาะสมกับสภาพความเป็นจริงและกาละเทศะยิ่งขึ้น มีความรู้ใหม่หรือนวัตกรรมเกิดขึ้นจากการเอาความรู้ที่ไม่เหมือนกันมาเจอกัน

2. ความรู้ความเข้าใจที่ได้รับจากการเรียน

1) การค้นคว้าในด้านที่ต้องการหรือความรู้ที่ต้องการ และวางกรอบให้ตรงกับองค์กร

เพื่อหาว่า ความรู้ใดมีความสำคัญสำหรับองค์การ จัดลำดับความสำคัญของความรู้เหล่านั้น เพื่อให้องค์การสามารถวางขอบเขตของการจัดการความรู้ และสามารถจัดสรรทรัพยากรได้อย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล

2) การสร้างและแสวงหาความรู้การได้มาซึ่งความรู้จากบุคคล หรือ จากเอกสารและหนังสือต่างๆในการแสวงหาความรุ้และการรวบรวมความรู้ในองค์การ โดยทั่วไปความรู้ในองค์การสามารถแบ่งออกเป็นรูปแบบต่างๆ ต้องรู้เครื่องมือที่ใช้ในการแสวงหาความรู้และนำมาปรับใช้โดยสามารถสร้างจากองค์คามรู้เดิมหรือนำความรู้จากภายนอกมาปรับใช้

3) การจัดความรู้ให้เป็นระบบ เพื่อง่ายต่อการจัดการและค้นหา

การดำเนินการเพื่อจัดเก็บความรู้ขององค์การมิให้สูญหายไป ซึ่งหลายครั้ง องค์การมักสูญเสียข้อมูลและความรู้บางประการเมื่อมีการปรับปรุงองค์การด้วยระบบต่างๆ ดังนั้น องค์การต้องมีการเลือกระบบจัดเก็บที่ดี มีประสิทธิภาพ ซึ่งเมื่อจัดเก็บความรู้แล้ว ต้องมีการปรับปรุงความรู้ให้ทันสมัย มีความสมบูรณ์ถูกต้อง รวมถึงการขัดเกลาภาษาและรูปแบบให้เป็นไปในทิศทางเดียวกัน

4) การประมวลผลและการกลั่นกรองความรู้ ต้องมีความถูกต้องของข้อมูล และสามารถเข้าถึงข้อมูลได้ง่ายการดำเนินการเพื่อจัดเก็บความรู้ขององค์การมิให้สูญหายไป ซึ่งหลายครั้ง องค์การมักสูญเสียข้อมูลและความรู้บางประการเมื่อมีการปรับปรุงองค์การด้วยระบบต่างๆ ดังนั้น องค์การต้องมีการเลือกระบบจัดเก็บที่ดี มีประสิทธิภาพ ซึ่งเมื่อจัดเก็บความรู้แล้ว ต้องมีการปรับปรุงความรู้ให้ทันสมัย มีความสมบูรณ์ถูกต้อง รวมถึงการขัดเกลาภาษาและรูปแบบให้เป็นไปในทิศทางเดียวกัน

5) การถ่ายโอนและเผยแพร่ความรู้ และสารสนเทศตลอดทั่วทั้งองค์การ ทั้งที่โดยตั้งใจและไม่ตั้งใจ ซึ่งเป็นการสื่อสารโดยใช้เครื่องมือสื่ออิเล็กทรอนิกส์ และความรู้ที่ได้มาน้ันจะไร้ค่าหากไม่ถูกนำไปเผยแพร่เพื่อให้ผู้อื่นใช้ประโยชน์ได้ การกระจายความรู้แบ่งออกเป็น 2 ลักษณะ คือ 1)การป้อนความรู้ (Push) คือ การส่งข้อมูล/ความรู้ให้ผู้รับซึ้งไม่ได้ร้องขอ หรือต้องการ หรือเรียกง่ายๆ ว่าเป็นแบบ "Supply-Based" เช่น การส่งหนังสือเวียนแจ้งให้ทราบเกี่ยวกับกิจกรรมต่างๆ ข่าวสารต่างๆ หรือ ข้อมูลเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ หรือ บริการขององค์การ ซึ่งโดยทั่วๆไป มักจะทำให้ผู้รับรู้สึกว่าได้รับข้อมูล/ความรู้มากเกินไป หรือไม่ตรงตามความต้องการ 2) การให้โอกาสเลือกใช้ความรู้ (Pull) คือ การที่ผู้รับสามารถเลือกรับ หรือ ใช้แต่เฉพาะข้อมูล/ความรู้ที่ต้องการเท่านั้น ซึ่งทำให้ลดปํญหาการได้รับข้อมูล/ความรู้ที่ไม่ต้องการมากเกินไป (Information Overload) การกระจายความรู้แบบนี้ เป็นแบบ "Demand-Based" องค์การควรทำให้เกิดความสมดุลระหว่าง การกระจายความรู้แบบ "Push" และ "Pull" เพื่อประโยชน์สูงสุดแก่ผู้ใช้ข้อมูล/ความรู้

6) การแบ่งปันและแลกเปลี่ยนความรู้ให้กระจายทั่วทั้งองค์การ โดยการใช้ช่องทางและเครื่องมือที่หลากหลาย เพื่อให้ทุกคนสามารถเข้าถึงองค์ความรู้ที่จัดเก็บไว้ได้เมื่อต้องการ โดยสามารถดำเนินการได้หลายนวิธี การแบ่งปันแลกเปลี่ยนความรู้นั้นแยกเป็น 2 ประเภท คือ ความรู้ประเภทเด่นชัด (Explicit Knowledge) ได้แก่ การจัดทำเอกสาร จัดทำฐานความรู้ รวมทั้งการทำสมุดหน้าเหลือง โดยนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้ จะช่วยให้การเข้าถึงความรู้ได้ง่ายและรวดเร็ว ส่วนความรู้ประเภทไม่ชัดแจ้ง (Tacit Knowledge)นั้นทำได้หลายรูปแบบ ขึ้นอยู่กับความต้องการและวัฒนธรรมขององค์กร ส่วนใหญ่มีักจะใช้วิธีตามความถนัดและสะดวก

7) การประยุกต์็ใช้ความรู้และการเรียนรู้ / การติดตามตรวจสอบความรู้

การประยุกต์ใช้ความรู้กับการทำงาน การแก้ปัญหา หรือเมื่อเผชิญกับเหตุการณ์ หรือสถานการณ์ใหม่ๆ โดยเมื่อมีการนำความรู้ที่จัดเก็บมาใช้ จะทำให้เกิดการเชื่อมโยงความรู้ที่ดึงมาใช้กับประสบการณ์เดิมของแต่ละบุคคล ผลที่ได้คือ เกิดการเรียนรู้ขึ้นในตัวบุคคล ซึ่งถือได้ว่าเป็นสิ่งสำคัญ และจะก่อให้เกิดประโยชน์ในระยะยาวกับองค์การ ในความเป็นจริงแล้ว การนำความรู้ไปใช้เป็นหัวใจของการจัดการความรู้ หรือ เป้าประสงค์หลักในการจัดการความรู้ ซึ่งบุคลากรทุกคนในองค์การควรตระหนักในประโยชน์ของการใช้ความรู้นี้การติดตามตรวจสอบและประเมินความรู้ เป็นการศึกษาผลการนำความรู้ไปใช้ของผู้ปฏิบัติงาน เพื่อให้ดำเนินการตามที่บ่งชี้ความรู้ไว้ และเพื่อให้บรรลุตามที่ตั้งเป้าหมายไว้ และนำข้อมูลที่ศึกษาได้มาพิจารณาปรับปรุงแก้ไขให้ดีขึ้น

ความรู้อาจแบ่งใหญ่ๆ ได้ 2 ประเภท คือ

  • 1.ความรู้เด่นชัด (Explicit Knowledge) เป็นความรู้ที่อยู่ในรูปแบบที่เป็นเอกสาร หรือ วิชาการ อยู่ในตำรา คู่มือปฏิบัติงาน
  • 2.ความรู้ซ่อนเร้น (Tacit Knowledge) เป็นความรู้ที่แฝงอยู่ในตัวคน เป็นประสบการณ์ที่สั่งสมมายาวนาน เป็นภูมิปัญญา

โดยที่ความรู้ทั้ง 2 ประเภทนี้มีวิธีการจัดการที่แตกต่างกัน การจัดการ "ความรู้เด่นชัด" จะเน้นไปที่การเข้าถึงแหล่งความรู้ ตรวจสอบ และตีดความได้ เมื่อนำไปใช้แล้วเกิดความรู้ใหม่ ก็นำมาสรุปไว้ เพื่อใช้อ้างอิง หรือให้ผู้อื่นเข้าถึงได้ต่อไป ส่วนการจัดการ "ความรู้ซ่อนเร้น" นั้นจะเน้นไปที่การจัดเวทีเพื่อให้มีการแบ่งปันความรู้ที่อยู่ในตัวผู้ปฏิบัติ ทำให้เกิดการเรียนรู้ร่วมกัน อันนำไปสู่การสร้างความรู้ใหม่ ที่แต่ละคนสามารถนำไปใช้ในการปฏิบัติงานได้ต่อไป

การนำความรู้ทั้ง 2 ประเภทนี้จะเปลี่ยนสถานภาพ สลับปรับเปลี่ยนไปตลอดเวลา บางครั้ง Tacit ก็ออกมาเป็น Explicit และบางครั้ง Explicit ก็เปลี่ยนไปเป็น Tacit

3.ความคิดเห็นเกี่ยวกับประเด็นที่เรียน

นักศึกษามีความสนใจในการนำ KM ไปประยุกต์ใช้ในองค์กร โดยการอภิปรายและยกตัวอย่างและรูปแบบต่างๆ หรือให้นักศึกษาเกิดความสนใจและมองเห็นภาพที่ชัดเจนยิ่งขึ้นเกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ซึ่งกันและกัน

4.การนำไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน

เป้าหมายที่งาน คน และองค์กร เป็นเงื่อนไขสำคัญ ในระดับที่เป็นหัวใจสู่ความสำเร็จในการจัดการความรู้ การจัดการความรู้ มีมากมายหลายแบบ ทำให้ภาพลักษณ์ขององค์กรดูดี หรือมาจากความต้องการผลงานของหน่วยย่อยภายในองค์กร เช่น หน่วยพัฒนาบุคลากร หน่วยสื่อสารและสารสนเทศ หรือหน่วยพัฒนาองค์กร ต้องการใช้การจัดการความรู้ในการสร้างความเด่น การจัดการความรู้ต้องจัดเก็บข้อมูลอย่างเป็นระบบและสามารถถ่ายทอดความรู้จากตัวบุคคล เพื่อให้คนอื่นๆในองค์การสามารถนำความรู้ที่มีอยู่ถายในองค์กรสามารถนำไปใช้ได้

5.บรรยากาศในชั้นเรียน

นักศึกษาตั้งใจเรียนอย่างตั้งใจ เพื่อนๆในห้องมีความกระตือรือร้นในการเรียนสังเกตได้จากการโต้ตอบคำถามจากอาจารย์ผู้สอน มีการจดบันทึกความรู้ที่ได้ บรรยากาศอบอุ่น มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ซึ่งกันและกัน

หมายเลขบันทึก: 580067เขียนเมื่อ 9 พฤศจิกายน 2014 17:50 น. ()แก้ไขเมื่อ 9 พฤศจิกายน 2014 17:50 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท