"จุลินชีพชีวภาพ" กับการทำปุ๋ยน้ำหมักอินทรีย์


เกล็ดความรู้เล็กๆ น้อยๆ เกี่ยวกับการทำลำไย จากนู๋ยุ้ย :

.

"จุลินชีพชีวภาพ" เมื่อเกษตรกรนำมาหมักรวมกับอินทรย์วัตถุชนิดใด จะได้สิ่งที่เราเรียกว่า "น้ำหมักชีวภาพ"

น้ำหมักชีวภาพ จะมีธาตุอาหารตามประเภทของอินทรีย์วัตถุที่ใช้ในการหมัก ดังนี้ :

.

หากหมักกับหน่อกล้วยอ่อนที่มีความยาวจากพื้นถึงปลายยอดที่ความยาว 1 เมตร จะได้น้ำหมักชีวภาพที่มี ฮอร์โมนจิบเบอเลอลิน เหมาะสำหรับพ่นลำไยในช่วงที่ต้องการให้ลำไยแตกยอดอ่อน

.

ถ้าหมักกับเศษใบลำไยสดจะได้ ไนโตรเจน ธาตุอาหารอื่นๆ และคาร์บอนสูง เหมาะกับการพ่นต้นลำไยหลังการเก็บเกี่ยวผลิต และตัดแต่งกิ่งใหม่ๆ

.

หากหมักกับเศษใบลำไยที่แห้งแล้ว จะทำให้ได้คาร์บอนสูง เหมาะกับการฉีดพ่นทรงพุ่มก่อนการราดสารฯ เพื่อปรับสภาพ C/N Ratio ให้มีระยะแคบเข้า

.

หากหมักด้วยปลา เนื้อ และเศษกระดูกสัตว์ จะได้ ซัลเฟอร์ และฟอสเฟสสูง เหมาะสำหรับการฉีดพ่นในช่วง การสร้างเปลือก เมล็ด ก่อนการสร้างเนื้อลำไย

.

ถ้าหมักกับผักผลไม้สุกจะได้น้ำหมักชีวภาพที่มีธาตุ โพแทสเซียมสูง เหมาะจะใช้ในช่วงการขยายลูก และพัฒนาคุณภาพความหวานของเนื้อผลลำไย ในช่วงก่อนเก็บผลิต...ค่ะ

หมายเลขบันทึก: 579913เขียนเมื่อ 7 พฤศจิกายน 2014 22:15 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 ตุลาคม 2019 09:05 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท