บันทึกความคิด 4 : คิดเยอะมีปัญหา ปรึกษาหลังคาแดง


ปัญหาไม่ใช่ปัญหา แต่วิธีการจัดการกับปัญหานั่นแหละ คือปัญหา

...ภาพจากคอลัมน์ สกู๊ป หน้า1 นสพ.ไทยรัฐ ฉบับวันที่ 6 พฤศจิกายน 2557...

เมื่อวันที่ 6 พฤศจิกายน 2557 ที่ผ่านมาระหว่างที่ผู้เขียนอ่านหนังสือพิมพ์รอเรียกชื่อเพื่อเข้าพบแพทย์อยู่นั้น ก็พลันอ่านเจอกับคอลัมน์ที่เกี่ยวกับบันทึกว่าด้วยความคิดที่ผู้เขียนกำลังบันทึกอยู่ นั่นคือ คอลัมน์ สกู๊ปหน้า1 จากหนังสือพิมพ์ไทยรัฐ ซึ่งเนื้อหาน่าสนใจและผู้เขียนก็ไม่พลาดที่จะบันทึกไว้เพื่อศึกษาเป็นอย่างยิ่ง

"หลังคาแดง"คือชื่อเรียกเก่าของคนสมัยก่อนที่เรียก สถาบันจิตเวชศาสตร์สมเด็จเจ้าพระยา ในปัจจุบัน ด้วยประวัติเดิมๆที่เรือนผู้ป่วยใช้สังกะสีมุงหลังคาสีแดง นอกจากนั้นก้ยังมีชื่ออื่นๆเรียกอีก เช่น ชื่อแรก คือ"โรงพยาบาลคนเสียจริต" และเพราะตั้งอยู่บริเวณปากคลองสาน จึงเรียกอีกชื่อว่า "โรงพยาบาลปากคลองสาน" ต่อๆมาปี 2475เปลี่ยนชื่อเป็น "โรงพยาบาลโรคจิตต์ธนบุรี" ปี2497 เป็น"โรงพยาบาลสมเด็จเจ้าพระยา" ปี 2545 จึงได้เปลี่ยนชื่อเป็น "สถาบันจิตเวชศาสตร์สมเด็จเจ้าพระยา" จนปัจจุบัน

"ถ้าความเครียดทั่วไปอย่างในชีวิตประจำวันไม่ต้องมาหาหมอ เพราะคนจะสบายใจทุกวันเวลาคงไม่มี แต่ถ้าเครียดแล้วมีอาการมากจนกระทั่งคนรอบข้างทัก อย่างสีหน้าไม่ดี อารมณ์ไม่ดีติดต่อกันหลายไวันอย่างนี้อาจต้องขอคำปร฿กษาแพทย์เพื่อเข้ารับการรักษา" นพ.สินเงิน สุขสมปอง ผอ.สถาบันฯอธิบายระดับอาการทางจิตของคน ว่า ถ้าทำร้ายตัวเอง ทำลายข้าวของ จะรับเอาไว้เป็นผู้ป่วยใน

นางสุจิตรา อุสาหะกลุ่มงานจิตวิทยา บอกว่า "เรามีหน้าที่ปรับตัวให้เขาอยุ่ร่วมกับครอบครัว เพื่อนร่วมงาน โดยหลักคือ ให้เขารู้จักตัวเองจริงๆ แล้วปัญหาไม่ใช่ปัญหา แต่วิธีการจัดการกับปัญหานั่นแหละ คือปัญหา"

"...ต้องฝึกให้คิดอย่างเป็นเหตุเป็นผล คิดไปตามความเป็นจริง เพราะความคิดมีผลต่ออารมณ์ อารมณ์มีผลต่อระบบร่างกายและพฤติกรรม เหตุการณ์ไม่ใช่ตัวปัญหา แต่ความคิดของเราต่อเรื่องนั้นๆต่างหากที่เป็นปัญหา"นางสจิตรบอก

ถ้าเราคิดเป็น คิดให้รอบด้าน 360 องศา เราจะเห็นทางออกของปัญหา เราต้องคิดอย่างใช้ปัญญา ไม่ใช่คิดตามกระแสอารมณ์

สรุปแล้ว "ความคิด" เป็นปัญหาสำคัญที่ก่อให้เกิดโรค

นพ.กัมปนาท ตันสิถบุตรกุล จิตแพทย์ผู้เคยร่วมทำคดีดังๆมาแล้วบอกว่า ส่วนใหญ่ผู้ป่วยที่เป็นฆาตรกรโรคจิต มักมีอารมณ์แปรปรวน เกี่ยวข้องกับยาเสพติด ทำให้การควบคุมตัวเองเสียไป ส่วนใหญ่มักมาจากปัญหาสังคมแวดล้อม การเลี้ยงดู

ส่วนอีกกลุ่มหนึ่งมาจากความผิดปกติทางสมอง เพราะสมองเป็นตัวควบคุมสถานการณ์ต่างๆ นพ.กัมปนาทแยกผู้ป่วยออกเป็น 2 พวกคือ พวกเลือดร้อนและพวกเลือดเย็น พวกเลือดร้อนเมื่ออะไรมากระทบจะระเบิดอารมณ์ออกมาเลย เช่นยกพวกตีกัน เป็นต้น

ส่วนพวกเลือดเย็นน่ากลัวกว่า มักเป็นปัญญาชน ทำอะไรช้าๆใจเย็น อาจจะทำเพื่อหวังทรัพย์สินหรือผลทางความพึงพอใจ พวกนี้มีสมองบกพร่องบางอย่าง ทำให้ตอบสนองสถานการณ์ และคิดอะไรกับสังคมแปลกออกไป

"พวกเลือดร้อนรักษาง่าย พวกเลือดเย็นรักษายาก"นพ.กัมปนาทสรุปในที่สุด

ด้าน นพ.สินเงิน บอกอีกว่า พื้นฐานของชีวิต เพื่อสุขภาพกายและใจ คนเราควรแบ่งเวลาให้เหมาะกับการทำงาน พักผ่อนและบันเทิง หากจัดให้เหมาะควร ก็จะไม่เกิดความเครียด เมื่อไม่เครียดสุขภาพจิตก็ดี ไม่ต้องพึ่งพา บ้านหลังคาแดง

.....................

ขอบคุณหนังสือพิมพ์ไทยรัฐฉบับวันที่ 6 พฤศจิกายน 2557

พ.แจ่มจำรัส

7 พฤศจิกายน 2557

หมายเลขบันทึก: 579909เขียนเมื่อ 7 พฤศจิกายน 2014 20:12 น. ()แก้ไขเมื่อ 8 พฤศจิกายน 2014 14:29 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

ที่โรงพยาบาลนี้มีระบบคำปรึกษาที่ดีนะครับ

ขอบคุณคุณพิชัยที่นำมาแนะนำครับ

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท