เล่าสู่การฟังจากการคว้าความรู้


การแลกเปลี่ยนความรุ้ที่เกิดจากการปฏิบัติจริงในงานประจำที่รับผิดชอบแล้วได้เป็นความสำเร็จนำมาเป็นความรู้เล่าสู่คนอื่นๆ จึงเป็นสิ่งที่ทำแล้วสำเร็จและเป็นผลดี ไม่ใช่แค่สิ่งที่ไปฟังเขามาแล้วเอามาเล่าต่อ

ผมได้เปืดกระทู้ไว้ในเว็บบอร์ดของโรงพยาบาลบ้านตากเพื่อให้เจ้าหน้าที่ที่ได้ไปประชุมอบรมได้สรุปประเด็นสำคัญไว้เป็นกระดาษมานานหลายปี ตอนนี้ได้นำมาลงสู่คอมพิวเตอร์เพื่อให้สามารถเข้าถึงได้ง่ายขึ้น ทำให้การกระจายความรู้(Knowledge distribution)ไม่ถูกจำกัดด้วยสถานที่และเวลา  ดังตัวอย่างต่อไปนี้

"สวัสดีครับ กระทู้นี้เปิดขึ้นเพื่อให้เจ้าหน้าที่โรงพยาบาลบ้านตากทุกท่านที่ได้ไปประชุมอบรม สัมนา ศึกษาดูงานหรือให้ไปราชการประชุมเรื่องต่างๆ ได้นำสิ่งดีๆที่ได้มาเขียนเล่าให้กับเพื่อนร่วมงานและเพื่อนๆนอกหน่วยงานได้รับทราบครับ เพื่อจะได้นำไปประยุกต์ใช้ประโยชน์ในการทำงานได้ หรือเพื่อนๆที่ไม่ได้อยู่โรงพยาบาลบ้านตากแต่มีสิ่งดีๆที่อยากจะเล่าให้ฟังก็เชิญเขียนลงในกระทู้นี้ได้ครับ การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ Care&Share& Learn ร่วมกันเปลี่ยนสังคมไทยจากสังคมแห่งความเห็นสู่สังคมแห่งความรู้เพื่อมุ่งสู่สังคมอุดมปัญญาครับ"

คำถามจากกระทู้ : การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ทีไปอบรมแล้วมาเล่าให้ฟังเป็นชุมชนนักปฏิบัติหรือKMไหมคะ

คำตอบ : การแลกเปลี่ยนเรียนรู้แบบนี้ถือเป็นรูปแบบกิจกรรมหนึ่งในการจัดการความรู้ เป็นการคว้า(Capture)ความรู้จากข้างนอกมาเล่าสุ่กันฟังเพื่อให้นำไปประยุกต์ใช้ให้เป็นประโยชน์กับงานของแต่ละคนที่เกี่ยวข้อง แต่ยังไม่ถือเป็นชุมชนนักปฏิบัติที่ชัดเจน
ชุมชนนักปฏิบัติจะต้องประกอบด้วยหัวข้อเรื่องที่ทีมสนใจ,ทีมที่มีจุดมุ่งหมายร่วมกันและBest practice โดยชุมชนนักปฏิบัติควรจะมีการแลกเปลี่ยนเรียนรุ้ทั้งความรู้ที่คว้ามาจากข้างนอกและการเรียนรุ้ที่ทำจริงในองค์กรด้วย และที่สำคัญคือการแลกเปลี่ยนความรุ้ที่เกิดจากการปฏิบัติจริงในงานประจำที่รับผิดชอบแล้วได้เป็นความสำเร็จนำมาเป็นความรู้เล่าสู่คนอื่นๆ จึงเป็นสิ่งที่ทำแล้วสำเร็จและเป็นผลดี ไม่ใช่แค่สิ่งที่ไปฟังเขามาแล้วเอามาเล่าต่อ และที่สำคัญอีกประการหนึ่งคือชุมชนนักปฏิบัติต้องพูดกันถึงเรื่องที่ทำจริงในงานประจำที่ตนเองรับผิดชอบ ต้องเกาะเกี่ยวแนบแน่นไปกับงานประจำ เป็นสิ่งที่ทำแล้ว ไม่ใช่สิ่งที่คิดว่าจะทำ

คุณวราภรณ์ ใจมูล : เมื่อวันที่ 31 ที่ผ่านมาโชคีที่ดิฉันได้มีโอกาสไปฟัง TQA (Thailand Qulity Award)ที่ทางสถาบันเพิ่มผลผลิตแห่งชาติและสนง.พัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาตื จัดขึ้นมาจากการฟังท่ามกลางบรรยากาศสบายๆของเชียงใหม่เลยทำให้รู้สึกมีสมาธิ เอาเป็นว่าได้ประเด็น และสาระสั้นๆพอเป็นกระษัย ที่อยากเล่าสู่กันฟังก็คือว่าเป็นกิจกรรมที่สอดคล้องกับกิจกรรมคุณภาพที่พวกเราคุ้นเคยกันนั้นเอง (เพราะฉะนั้นไม่ต้องกลัวว่าจะเป็นการเพิ่มงานแต่อย่างใด หรอกน่า) มีขั้นตอน อยู่ 9 ขั้น คือ หาความต้องการผู้มีส่วนได้เสีย กระตุ้นให้เกิดการปรับปรุง ประเมินสภาพองค์กรในปัจจุบัน วางแผนกลยุทธ์ระยะสั้นระยะยาว วางแผนปฏิบัติงานประจำปี เสริมศักยภาพภายในองค์กร ปฎิบัติตามแผนการปฏิบัติการ วัดและประเมินผล สุดท้ายจบที่ การปรับปรุงงานอย่างต่อเนื่อง หากหน่วยงานทำตามกระบวนการที่กำหนดมาก็จะทำให้ส่งมอบคุณค่าที่ดีขี้นเสมอให้แก่ลูกค้า การปรับปรุงประสิทธิผลและความสามารถขององค์กรโดยรวม ในส่วนของงานสุขศึกษาและประชาสัมพันธ์ก็มีแนวทางในการนำมาปรับให้เหมาะสมในเรื่องหาความต้องการผู้มีส่วนได้เสียไม่ว่าจะเป็นรายละเอียดการจัดการกับข้อร้องเรียน การวัดความพึงพอใจ และที่สำคัญคือในการประชุมครั้งนี้โชคดีที่รพ.เราได้มีการปูพื้นเรื่องของ BSC เลยทำให้ต่อติด คาดว่าองค์กรเรียนรู้อย่างต่อเนื่องของรพ.เราคงประสบผลสำเร็จในการทำกิจกรรมนี้โดยไม่ยากนัก

คุณพูนทรัพย์ ภู่เจริญ : เมื่อวันที่ 1มิ.ย48มีโอกาสได้เป็นตัวแทนของหอผู้ป่วยชายไปร่วมกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ที่มหาวิทยาลัยนเรศวร พิษณุโลกในประเด็น [u]การนำ C3THERมาใช้การในการดูแลผู้ป่วย บรรยากาศในการแลกเปลี่ยนเป็นการ พูดคุยกันแบบสบายๆ ไม่เครียด เป็นกันเอง ซึ่งแต่ละ ร.พ.ก็ได้นำ C3THERมาเล่าสู่กันฟัง รูปแบบอาจมีแตกต่างกันบ้าง บางแห่งใช้แบบฟอร์ม บางแห่งไม่ใช้ก็แล้วแต่บริบทของแต่ละแห่ง ที่สำคัญอย่าลืมนำไปใช้ในงานประจำและให้C3THER Model อยู่ในสมอง ในหัวใจ ในกระแสเลือด ของสหสาขาวิชาชีพทุกท่าน

คุณปิย์วรา ตั้งน้อย : เมื่อ 4 ส.ค.นี้ มีโอกาสไปบรรยาย ในหัวข้อ เรื่อง "สมองกับพัฒนาการการเรียนรู้" ให้กับผู้อำนวยการสถานศึกษาโรงเรียนประถมศึกษาและอาจารย์ผู้สอนในโรงเรียนนำร่องจังหวัดตาก ที่โรงเรียนตากสินราชานุสรณ์ เป็นการประสานงานร่วมกันของโรงพยาบาล สู่โรงเรียน ซึ่งคิดว่าน่าจะเป็นส่วนหนึ่งของ ร ว บ (โรงเรียน วัด บ้าน) เป็นเรื่องของ Brain Base learning หรือ BBL หนึ่งในนโยบายรัฐบาล ซึ่งเป็นเรื่องที่ต่อเนื่องกับ ถุงรับขวัญแรกเกิดของโรงพยาบาล โดยในเรื่องของBBL เป็นการเน้นในเรื่องการพัฒนาศักยภาพการเรียนรู้ของเด็กไทยให้มีศักยภาพสูงสุด มีแนวทางการปฏิบัติหลัก คือ
1. ถุงรับขวัญเด็กแรกเกิด แจกในโรงพยาบาลเพื่อให้พ่อแม่ได้ส่งเสริมพัฒนาการการเรียนรู้ได้ที่บ้าน
2. เน้นศูนย์เด็กเล็กให้มีการจัดการเรียนรู้แบบ BBL (ข้อนี้กำลังติดต่อกับ NBL ซึ่งเป็นหน่วยงานที่ดูแลเรื่องนี้อยู่ เพื่อขอรายละเอียดการปฏิบัติงานเข้าร่วมโครงการศูนย์เด็กเล็กนำร่อง)
3.การจัดหลักสูตรการเรียนในระดับปฐมวัย โดยให้เด็กได้เรียนรู้แบบ BBL
4. เยาวชนนำร่อง หรือแกนนำ BBL

ซึ่ง BBL คือ การใช้ความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับสมองเป็นเครื่องมือในการออกแบบกระบวนการเรียนรู้และกระบวนการอื่นๆที่เกี่ยวข้องกับศักยภาพของมนุษย์ โดยเชื่อว่าโอกาสทองของการเรียนรู้นั้นคือ ช่วงแรกเกิดถึง 12 ปี มีโอกาสไปพูดคุยเรื่องของสมองเด็กและพัฒนาการในเด็กช่วงวัยต่างๆ และการให้เด็กได้เรียนรู้แบบ BBL เป็นเรื่องน่ายินดีที่มีความก้าวหน้าในเรื่องนี้ในจังหวัดตากของเราแล้วค่ะ

นี่คือส่วนหนึ่งของการสรุปประเด็นความรู้ที่ได้มาจากภายนอก ก่อนที่จะนำมาปรับใช้ภายในโรงพยาบาลที่เหมาะสมกับบริบทขององค์กร ทุกคนที่ไปประชุมอบรมต้องทำบันทึกสรุปนี้เก็บไว้ใช้และเผยแพร่เพื่อการใช้ประโยชน์

หมายเลขบันทึก: 5797เขียนเมื่อ 23 ตุลาคม 2005 21:16 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 14:03 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท