มารู้จัก Metadata standards | Moving Picture Experts Group หรือ MPEG


เมทาดาทา (Metadata)

เมทาดาทา (Metadata) เป็นคำศัพท์ที่ถูกบัญญัติขึ้น และมีการใช้งานมานานกว่า 20 ปี ตั้งแต่ก่อนมีการใช้งานอินเตอร์เน็ตดังเช่นปัจจุบัน “Metadata” จึงไม่ใช่คำศัพท์ใหม่ในปัจจุบัน เมทาดาทาเริ่มมีการใช้งานนับตั้งแต่ทรัพยากรสารสนเทศมีจำนวนมากขึ้นเรื่อยๆ และเป็นสิ่งที่สามารถพบเจอได้ทั่วไปในชีวิตประจำวัน เมทาดาทาที่สามารถพบเจอได้เป็นประจำคือ บัตรประจำตัวประชาชน ซึ่งเป็นตัวอย่างเมทาดาทาที่ทุกคนคุ้นเคยกันเป็นอย่างดี นอกจากนี้ เมทาดาทามีอีกมากหมายหลากหลายชนิด ซึ่งห้องสมุดได้นำเมทาดาทามาใช้ในงานห้องสมุดมาแต่ช้านาน และมีบทบาทที่สำคัญเป็นอย่างมากในงานห้องสมุดดิจิทัล

ความหมาย

คำว่า “metá” (μετά) มาจากภาษากรีก แปลว่า ระหว่าง/ ท่ามกลาง/ หลังจากที่ หรือ เหนือกว่า ส่วนคำว่า “data” มาจากคำศัพท์ภาษาอังกฤษ แปลว่า ข้อมูล หรือข้อเท็จจริงเมื่อรวมกันแล้ว คำว่า Metadata จึงหมายถึง ข้อมูลของข้อมูล หรือข้อมูลที่ใช้กำกับ และอธิบายข้อมูลหลักหรือกลุ่มของข้อมูลอื่น

National Information Standards Organization หรือ NISO (2004, p.1) ให้ความหมายไว้ว่า เมทาดาทาคือ สารสนเทศที่มีโครงสร้าง ซึ่งใช้พรรณนา อธิบาย ระบุตำแหน่ง หรือข้อมูลด้านอื่นๆ ที่จะช่วยให้ง่ายต่อการค้นคืนใช้งาน และจัดการกับทรัพยากรสารสนเทศนั้นๆ โดยเมทาดาทามักจะถูกเรียกว่าเป็น “data about data” (ข้อมูลเกี่ยวกับข้อมูล) หรือ “information about information” (สารสนเทศเกี่ยวกับสารสนเทศ)

เมทาดาทา คือ โครงสร้างของข้อมูล ที่อธิบายลักษณะของทรัพยากรสารสนเทศ ซึ่งมีรูปแบบลักษณะที่คล้ายคลึงกันในการลงรายการของห้องสมุด พิพิธภัณฑ์ และหอจดหมายเหตุ ข้อมูล เมทาดาทา ประกอบด้วย ตัวอักษรที่ใช้แทนข้อมูลที่มีคุณลักษณะเฉพาะ และในแต่ละข้อมูลสามารถมีตัวอักษรแทนคุณลักษณะได้หลากหลาย (Taylor, 2003)

เมทาดาทา คือ ข้อมูลที่เกี่ยวกับข้อมูล ซึ่งเป็นข้อมูลพื้นฐานของสารสนเทศ เพื่อให้มนุษย์หรือเครื่องคอมพิวเตอร์ประมวลผลและเข้าใจได้ เมทาดาทา ใช้สำหรับจัดการ ระบุ และประมวลผล ข้อมูลอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับข้อมูล เพื่อนำเสนอข้อมูลที่ทำให้เกิดความเข้าใจได้ง่ายขึ้นกว่าตัวข้อมูลจริง (Linux Information Project, 2006)

เมทาดาทา หมายถึง ข้อมูลที่ใช้กำกับและอธิบายข้อมูลหลักหรือกลุ่มของข้อมูลอื่น ตัวอย่างที่เห็นได้ชัดคือ บัตรในห้องสมุดสำหรับสืบค้นหนังสือ โดยเก็บข้อมูลเกี่ยวกับชื่อหนังสือและตำแหน่งของหนังสือที่ต้องการหา ซึ่งหนังสือเป็นข้อมูลที่ต้องการ และบัตรเป็นข้อมูลที่อธิบายรายละเอียดของข้อมูลนั้นเมทาดาทา ยังมีการใช้คำศัพท์อื่นเช่น อภิข้อมูล (Wikipedia, 2554)

สมศักดิ์ ศรีบริสุทธิ์กุล (2549, น.23) กล่าวว่า “เมดาเดทา คือ สารนิเทศเชิงโครงสร้างที่ถูกใช้เพื่อพรรณนา อธิบาย ระบุตำแหน่งที่จัดเก็บของสารนิเทศ และส่งผลให้การค้นคืนสารนิเทศ การใช้ หรือการจัดการทรัพยากรสารนิเทศเป็นไปได้อย่างสะดวกและง่ายดาย”

เมทาดาทาเป็นสารสนเทศที่มีโครงสร้าง ที่ใช้พรรณนา บรรยาย และบอกตำแหน่งของวัตถุสารสนเทศหนึ่งๆ ทั้งยังทำให้ง่ายต่อการสืบค้น การใช้ หรือการจัดการ วัตถุสารสนเทศมีทั้งที่อยู่ในรูปแบบเอกสารดิจิทัล และไม่เป็นเอกสารดิจิทัล คำว่า เมทาดาทาถูกใช้ต่างกันไปในหลายกรณี อาจเป็นการใช้เพื่อให้เข้าใจสารสนเทศ หรือใช้เป็นการบันทึกเพื่อพรรณนาทรัพยากรสารสนเทศอิเล็กทรอนิกส์ หรือทรัพยากรสารสนเทศบนเว็บไซต์ (มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช สำนัก บรรณสารสนเทศ, 2548, น.2)

สรุปแล้ว เมทาดาทาคือ ข้อมูลที่ใช้อธิบายเกี่ยวกับข้อมูล หรือกลุ่มข้อมูล ซึ่งจะไม่สามารถระบุความหมายในตัวเองได้ แต่จะเป็นข้อมูลที่ใช้ในการบ่งชี้ข้อมูล และระบุลักษณะเฉพาะของข้อมูล อาจเป็นข้อมูลเกี่ยวกับความหมายของข้อมูล วัตถุประสงค์ของข้อมูล ผู้เขียนข้อมูล ตำแหน่งที่จัดเก็บข้อมูล และข้อมูลพื้นฐานอื่นๆ ของข้อมูล มีทั้งที่เป็นรูปแบบของข้อมูลที่เป็นดิจิทัล และข้อมูลที่ไม่ใช่ดิจิทัล โดยจะต้องเป็นข้อมูลที่มีโครงสร้าง และสามารถอธิบายถึงสารสนเทศนั้นๆ ได้

ในส่วนของงานห้องสมุด เมทาดาทาถูกนำมาใช้ในการลงรายการจัดเก็บทรัพยากรสารสนเทศภายในห้องสมุด ทั้งสารสนเทศที่เป็นดิจิทัล และไม่ใช่ดิจิทัล โดยให้ข้อมูลเกี่ยวกับทรัพยากรสารสนเทศนั้นๆ ทำให้สามารถค้นคืน และเรียกใช้งานทรัพยากรสารสนเทศนั้นๆ ได้สะดวก อีกทั้งเป็นการให้ข้อมูลเกี่ยวกับสารสนเทศนั้นๆ


MPEG - เอ็มเพก 

Moving Picture Experts Group หรือ MPEG (นิยมอ่าน เอ็มเพก) เป็นชื่อกลุ่มนักพัฒนา ระบบ

มาตรฐานการเข้ารหัสวิดีโอและออดิโอ ของ ISO/IEC โดยมีการเริ่มพัฒนาร่วมกันครั้งแรกเมื่อ พฤษภาคม

พ.ศ. 2531 ที่ประเทศแคนาดา โดยสมาชิกของเอ็มเพก ประกอบด้วยบุคคลจากบริษัทพัฒนา นักวิจัยจาก

ศูนย์วิจัยและมหาวิทยาลัย โดยปัจจุบันมีมาตรฐานหลักที่พัฒนาออกมาได้แก่ MPEG-1, MPEG-2, MPEG-3

และ MPEG-4 ซึ่งยังมีมาตรฐานเสริมคือ MPEG-7 และ MPEG-21

มาตรฐานในแวดวงมัลติมีเดียปัจจุบันถูกกำหนดโดยสององค์กรหลักๆ คือ

• MPEG (Moving Picture Expert Group)

• ITU-T (The ITU Telecommunication Standardization Sector) เป็นหน่วยที่มีหน้าที่ออกมาตรฐาน

ทางโทรคมนาคม ของ ITU (International Telecom Union)

มาตรฐานที่ออกโดย MPEG กับ ITU-T มีบางอย่างซ้อนทับกัน แต่จะยึดตาม MPEG เป็นหลัก ดังนี้

MPEG-1

เป็นมาตรฐานเกี่ยวกับวิดีโอ กำเนิดอย่างเป็นทางการในช่วงปี ค.ศ.1993 (พ.ศ. 2536) นำไปใช้ในวีซีดี

มีเทคโนโลยีที่พัฒนาตาม MPEG-1 ดังนี้

• MP3 ไม่ได้เป็น MPEG-3 อย่างที่ใครหลายคนเข้าใจ ใน MPEG-1 จะแบ่งเป็นหลายส่วน เช่น ส่วนของ

ภาพ ส่วนของเสียง ส่วนของมีเดีย สามารถหยิบเฉพาะบางส่วนไปใช้งานจริงได้ และส่วนของเสียงใน

MPEG-1 คือ ส่วนที่เรียกว่า Layer 2 และ Layer 3 ซึ่ง Layer 2 นั้นตกสมัยไปแล้ว ส่วน MPEG-1 Layer

3 ก็คือ MP3 นั่นเอง

• Ogg Vorbis เป็นมาตรฐานที่พัฒนาขึ้นมาเพื่อแทนที่ MP3 เนื่องจากใน ค.ศ. 1998 สถาบัน Fraunhofer

ในเยอรมนี ซึ่งเป็นเจ้าของสิทธิบัตรวิธีการบีบอัดข้อมูลใน MP3 ประกาศเตรียมคิดค่าใช้งาน จึงมีกลุ่ม

พัฒนามาตรฐานใหม่เพื่อมาแทน MP3 และให้มาตรฐานใหม่นี้เป็นสาธารณสมบัติ (Public Domain).

ในปี ค.ศ. 2002 Ogg Vorbis 1.0 ก็เสร็จสมบูรณ์ และกลายเป็นหนึ่งในฟอร์แมตเสียงหลักที่ทุกโปรแกรม

ต้องมี. ไฟล์นามสกุล .ogg

• มาตรฐานอื่นๆ ที่เทียบเคียง MP3 ได้ก็มี ATRAC ของโซนี่, AC-3 ของ Dolby Digital, mp3PRO และ

Windows Media Audio (.wma) ของไมโครซอฟท์

MPEG-2

ปีค.ศ. 1994 มาตรฐาน MPEG-2 ถูกใช้กับดีวีดี ความแตกต่างกับ MPEG-1 ก็มีไม่มากนัก ยกเว้นเรื่อง

การเข้ารหัส/ถอดรหัสที่ใช้วิธีทันสมัยมากขึ้น

MPEG-3

เป็นมาตรฐานที่เตรียมใช้กับ HDTV (High Definition Television หรือโทรทัศน์ความละเอียดสูง)

แต่สุดท้ายไม่ได้ใช้ เพราะพบว่าแค่เทคโนโลยี MPEG-2 ที่มีอยู่เดิมเพียงพอสำหรับ HDTV แล้ว

MPEG-4

เป็นส่วนขยายของ MPEG-1 เพื่อรับรูปแบบมัลติมีเดียต่างๆ เช่น 3D หรือการเข้ารหัสที่มีประสิทธิภาพมาก

ขึ้น MPEG-4 แบ่งออกเป็นหลายส่วนตามหน้าที่แต่ละส่วน และทาง MPEG จะปล่อยให้ผู้ผลิตซอพท์แวร์เป็น

ผู้พัฒนาโปรแกรมที่ใช้จริงๆ เอง ไม่จำเป็นต้องตาม MPEG-4 เต็มชุดก็ได้ พัฒนาได้เป็นบางส่วนก็พอ (แบบ

เดียวกับ MP3 ที่หยิบแต่ส่วนออดิโอไปทำ)

เทคโนโลยีสำคัญใน MPEG-4

MPEG-4 part 2

รับผิดชอบกับการจัดการด้านภาพ ฟอร์แมตวิดีโอสำคัญๆ หลายตัวอิมพลีเมนต์ตาม part 2 นี้

• DivX

• XviD

MPEG-4 part 3

รับผิดชอบการจัดการกับเสียง

• AAC (Advance Audio Coding) เป็นการอิมพลีเมนต์ตาม MPEG-4 part 3 โดยแอปเปิล ซึ่งอ้างว่า

AAC ที่บิทเรต 96 kbps มีคุณภาพเทียบเท่ากับ MP3 ที่ 128 kbps เทคโนโลยีนี้นำไปใช้กับเพลงที่ขาย

ในร้านจำหน่ายเพลงออนไลน์ iTunes Music Store นามสกุลไฟล์ในฟอร์ตแมตนี้จะเป็น .aac, .mp4

และ .m4a

MPEG-4 part 10

จัดการกับการเข้ารหัสวิดีโอระดับสูง (Advance Video Coding)

• H.264

• เป็นมาตรฐานที่ซ้อนกับ AVC โดย H.264 เป็นชื่อของ ITU-T และ AVC เป็นชื่อของทาง MPEG

เท่านั้นเอง มีความสามารถในการเข้ารหัสวิดีโอที่สูงกว่า MPEG-4 part 2 มาก ปัจจุบันเพิ่งเริ่ม

นำมาใช้งาน โดยแอปเปิลจะนำไปใช้ใน QuickTime 7 และ MacOSX 10.4 Tiger นอกจาก

แอปเปิลแล้ว H.264 เริ่มถูกนำไปใช้ในระบบทีวีแบบใหม่ของญี่ปุ่นและยุโรป และฟอร์แมต

แผ่นดิสก์ในยุคหน้าทั้ง Bluray กับ HD-DVD

นอกจากนั้นยังมีการนำมาตราฐาน H.264 ไปใช้กับงานด้านกล้องวงจรปิด CCTV โดยเครื่องบันทึกภาพ

DVR ใช้คุณสมบัติที่ดีกว่าของมาตราฐานนี้ซึ่งสามารถบีบอัดข้อมูลทั้งภาพและเสียงได้สูงกว่า Mpeg-4 เกือบ

เท่าตัว ทำให้ประหยัดเนื้อที่ในการบันทึกซึ่งก็เท่ากับว่าสามารถบันทึกข้อมูลภาพและเสียงได้ยาวนานขึ้นกว่าเดิม

ในขณะที่ใช้เนื้อที่เท่ากันนั่นเอง และยังทำให้อัตราการส่งข้อมูลผ่านระบบเครือข่ายทำได้รวดเร็วยิ่งขึ้นอีกด้วย

MPEG-7

MPEG-7 ไม่ใช่มาตรฐานเกี่ยวกับภาพและเสียงเหมือนอันอื่นๆ แต่เป็นมาตรฐานที่ใช้เก็บข้อมูลเกี่ยวกับตัว

มีเดีย (metadata) เช่น หนังแผ่นนี้ชื่ออะไร หรือถ้าหนังเล่นมาถึงตอนนี้ ให้เล่นเพลงนี้ พร้อมขึ้นซับไทเทิลไฟล์

นี้ เป็นต้น เก็บข้อมูลเป็น XML

MPEG-21

เป็นมาตรฐานมัลติมีเดียในอนาคต มุ่งเน้นการใช้งานมัลติมีเดียผ่านเครือข่าย ปัจจุบันอยู่ในสถานะร่าง

คำสำคัญ (Tags): #เมตาดาต้า#mpeg
หมายเลขบันทึก: 579548เขียนเมื่อ 1 พฤศจิกายน 2014 11:24 น. ()แก้ไขเมื่อ 1 พฤศจิกายน 2014 11:24 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

ต้องอ้างอิงแหล่งที่มาด้วยครับอุ้ม...

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท