การจัดการความรู้ เรื่อง การพัฒนาเยาวชนต้นแบบด้านศีลธรรม


คำนำ

ชมรม V-Star Club เป็นชมรมที่ตั้งขึ้นเพื่อเป็นศูนย์รวมของเหล่า V- Star ดาวแห่งความดี ฟื้นฟูศีลธรรมโลก ผู้กล้าที่จะทำความดีด้วยตนเองและชักชวนผู้อื่นทำความดีอย่างต่อเนื่อง ความกล้าดีของเยาวชนเหล่านี้กำลังจะกลายเป็นประวัติศาสตร์ที่ต้องจารึกไว้ว่า ในปีพุทธศักราช 2551 ได้มีชมรม V-StarClub เกิดขึ้นพร้อมๆกัน ถึงกว่า 3,000 ชมรมทั่วประเทศ โดยมีเยาวชนต้นแบบด้านศีลธรรมเป็นผู้ก่อตั้งและขับเคลื่อนฟื้นฟูศีลธรรม

คู่มือ ชมรม V- Star Clubนี้ จึงเป็นเสมือนที่ปรึกษา ที่จะคอยแนะนำขั้นตอน วิธีการจัดตั้งชมรม จนกระทั่งทำอย่างไรให้ชมรมยั่งยืนตลอดไป การที่จะจะดำเนินไปจนถึงเป้าหมายสูงสุดได้ ก็จะต้องอาศัยความร่วมมือร่วมใจจากทุกๆฝ่าย โดยเฉพาะผู้บริหารและคุณครู ซึ่งเป็นเสมือนแสงสว่างที่จะนำทางลูกศิษย์ให้เดินไปข้างหน้าสู่เส้นทางสายศีลธรรม และที่จะขาดไม่ได้คือ นักเรียนต้นแบบฯที่มีหัวใจ ดังนั้นทางคณะผู้จัดทำจึงหวังเป็นอย่างยิ่งว่า สิ่งที่ผู้บริหารสถานศึกษา คุณครูและนักเรียน กำลังทำนี้จะเป็นการฟื้นฟูศีลธรรมให้หวนคืนกลับมาสู่สังคมไทยและสังคมโลกอย่างแท้จริง

ชมรมพุทธศาสตร์สากล

ในอุปถัมภ์สมเด็จพระมหารัชมังคลาจารย์

อาสารฬหบูชาที่ 17 กรกฎาคม 2551

รายละเอียดการจัดตั้งชมรม V-StarClub

วิธีการจัดตั้ง

1. รวบรวมสมาชิกที่ตั้งใจจะก่อตั้งชมรม V-Star Club

2.ประชุมเพื่อเลือกหรือแบ่งตำแหน่ง ตามผังโครงสร้างในธรรมนูญชมรม

หมายเหตุ อาจมีตำแหน่งไม่ครบตามโครงสร้างได้

3. มีคุณครูที่ปรึกษาอย่างน้อย 1 ท่าน

4. ยื่นหนังสือจดทะเบียนชมรมแก่คุณครูที่ปรึกษาหรือผู้บริหารสถานศึกษา(ดูในภาคผนวก)

5. เขียนโครงการ พร้อมทั้งงบประมาณ

6. นำเสนอโครงการต่อท่านผู้มีอำนาจในการอนุมัติ

7. ส่งหนังสือจดทะเบียนชมรม V-Star Club รายชื่อสมาชิกV-Star Club และซีดีรายงานผลการดำเนินงาน ชมรมตามเวลาที่กำหนด

คุณสมบัติของชมรม

สมาชิก

1. นักเรียนที่จะเป็นสมาชิกกลุ่ม V – Star Club ต้องผ่านการร่วมโครงการ รุ่นที่ 1 มาแล้ว และจะต้องเป็นระดับ Diamondหรือ Gold เท่านั้น จึงมีสิทธิ์เป็นสมาชิก

2. จำนวนสมาชิกต้องไม่น้อยกว่า 20 คน โดยส่วนหนึ่งเป็นคณะกรรมการ และส่วนหนึ่งเป็นสมาชิก

การประเมินมาตรฐานศีลธรรม

ระดับบุคคล

1. หากเป็นกรรมการบริหารชมรมฯหรือมีคะแนนร้อยละ 80 ขึ้นไป จะได้รับเข็มเชิดชูเกียรติและ ประกาศนียบัตรเชิดชูเกียรติพิเศษ ระดับ (Super Leader V-Star)

2. หากเป็นสมาชิกชมรมฯ และมีคะแนนร้อยละ 60 ขึ้นไป จะได้รับเข็มเชิดชูเกียรติและ ประกาศนียบัตรเชิดชูเกียรติพิเศษ ระดับ (Leader V-Star)

3. หากเป็นกรรมการหรือสมาชิกชมรมฯ แต่มีคะแนนน้อยกว่าร้อยละ 60 จะไม่ได้รับเข็มเกียรติยศใดๆ นอกจากใบ ประกาศนียบัตร

นอกจากนี้ ยังมีการประกวดชมรม V- Star Club ในระดับจังหวัด ระดับภาค และระดับประเทศ ซึ่งจะได้รับทุนเพื่อการพัฒนาชมรม 10,000 บาท 20,000 บาท และ100,000 บาท ตามลำดับ

ภาพรวมหลักสูตร

1 กิจวัตร ปฏิบัติครบ 10 ประการ อย่าง

ถูกต้องและครบถ้วนทุกขั้นตอน

เข้าใจถึงเหตุผล อานิสงค์ของการปฏิบัติ

สามารถบอกกล่าว หรือ แนะนำผู้อื่นได้

2 กิจกรรม ทำอย่างสม่ำเสมอ โดยเยาวชนคิดเอง ทำเอง เป็นกลุ่มชมรม

สวดมนต์ นั่งสมาธิ ร่วมกันเป็นประจำทุกวัน

เสียงตามสาย หรือธรรมะหน้าเสาธง สัปดาห์ละครั้ง

ตักบาตรที่โรงเรียน เป็นประจำอย่างน้อยเดือนละ 1 ครั้ง

กิจกรรมอื่นๆ ที่เป็นลักษณะเด่นของกลุ่ม 1 กิจกรรม

นอกจากนี้ยังคงรักษากิจกรรมเครือข่าย บ้าน วัด โรงเรียน

กิจกรรมสัมพันธ์ครอบครัวอบอุ่น

ไปวัดทุกวันพระ พัฒนาวัด รณรงค์รักษาศีล 8

พัฒนาความสะอาดของโรงเรียน โดยเฉพาะห้องน้ำ

3 กิจกรรมการเรียนรู้

เพิ่มเรื่องอานุภาพเรื่องทิศ 6

ศึกษาเรื่องพระรัตนตรัย ผ่านสื่อ www.dmc.tv หรือ เว็บไซต์อื่นๆ

แลกเปลี่ยนเรียนรู้นำเสนอผลงานผ่านเว็บไซต์ที่ทำด้วยตนเองของกลุ่ม

4 ขยายผลสู่ครอบครัว / ชุมชนโดย

พ่อแม่ ผู้ปกครอง อ่านหนังสือครอบครัวอบอุ่นและสอบวัดความรู้ด้วยกัน

สัมมนาปฏิบัติธรรมแกนนำครอบครัวอบอุ่นของแต่ละโรงเรียน

กิจกรรมทางพระพุทธศาสนาร่วมกับชุมชน เช่น ตักบาตร 1,000 รูป, แห่เทียนพรรษา ลอยกระทง ยี่เป็ง เป็นต้น

ธรรมนูญชมรม

หมวดที่ 1 บททั่วไป

1.1 ระเบียบนี้เรียกว่า “ธรรมนูญชมรม V-Star Club โรงเรียน…………………..

1.2 ให้กลุ่มชื่อ V- Star Club ชื่อย่อ V.Club

1.3 สัญลักษณ์ของกลุ่มให้เป็นไปตามที่สมาชิกชมรมช่วยกันออกแบบตามหนังสือจดทะเบียนชมรม

1.4 ชมรม V-StarClub จัดอยู่ในฝ่าย .......................... สังกัด……......................

1.5 ธรรมนูญชมรมนี้มีผลตั้งแต่วันประกาศเป็นต้นไป

หมวดที่ 2 วัตถุประสงค์

2.1 เพื่อสร้างกลุ่มผู้นำเยาวชนต้นแบบด้านศีลธรรมที่มีคุณธรรมพื้นฐาน และเป็นพุทธศาสนิกชนที่ แท้จริง ภายในสถานศึกษา

2.2 เพื่อเป็นศูนย์กลางของการเรียนรู้การใช้ชีวิตในทางที่ถูกต้องและเป็นคนดีมีศีลธรรม

ของนักเรียนในโรงเรียน

2.3 เพื่อให้สมาชิกทุกคนได้มีโอกาสฝึกฝนอบรมตนเอง ตามหลักพุทธวิธี

2.4 เพื่อเป็นศูนย์กลางให้นักเรียนในโรงเรียนได้มีโอกาสสั่งสมบุญ ฟังธรรม นั่งสมาธิและกิจกรรมความดีต่างๆ

2.5 เพื่อให้สมาชิกทุกคนได้พัฒนาศักยภาพการดำเนินกิจกรรมได้อย่างมีประสิทธิภาพและสามารถทำ ประโยชน์ให้เกิดขึ้นได้ทั้งที่บ้าน วัด และโรงเรียน ตลอดจนชุมชน สังคมที่สมาชิกทุกคนอยู่อาศัย

หมวดที่ 3 สมาชิกชมรม

3.1 คุณสมบัติของสมาชิก

3.1.1 ต้อง เป็นนักเรียนที่ลงทะเบียนในปีการศึกษานั้น

3.1.2 ต้องเป็นผู้มีสุขภาพจิตสมบูรณ์

3.1.3 สามารถฝึกฝนตนเองตามกิจวัตร 10 ประการของ V-Star ได้อย่างสม่ำเสมอ

3.1.4 มีความเคารพอ่อนน้อมเป็นปกติต่อทุกคน

3.1.5 มีความซื่อสัตย์สุจริตต่อตนเองและหมู่คณะ

3.1.6 ไม่เป็นนักเรียน ต้องห้ามตามข้อบังคับของโรงเรียน

3.2 ระเบียบปฏิบัติ

3.2.1 สมาชิกทุกคนต้องรักษาศีล 5 เป็นปกติ และคณะกรรมการชมรม รณรงค์ให้รักษาศีล 8 ในวันพระ

3.2.2 สมาชิกทุกคนต้องมีความประพฤติ การแต่งกาย และไว้ผมสุภาพเรียบร้อยเป็นปกติ

3.2.3 สมาชิกทุกคนห้ามใช้สถานที่ของชมรมเป็นที่มั่วสุมติดต่อนัดพบหรือแสดงพฤติกรรมใดที่

ส่อไปในด้านชู้สาว โดยไม่มีข้อแม้ใดๆ ทั้งสิ้น

3.2.4 สมาชิกทุกคนต้องเว้นจากอบายมุขทั้งปวงและการพนันทุกชนิด โดยเฉพาะอย่างยิ่งห้ามสูบบุหรี่และดื่มสุราอย่างเด็ดขาด

3.2.5 สมาชิกทุกคนต้องปฏิบัติตามธรรมนูญของชมรมโดยเคร่งครัดทุกประการ

3.3 หน้าที่สมาชิก

3.3.1 ส่งเสริมและปฏิบัติตามวัตถุประสงค์ของชมรม

3.3.2 ปฏิบัติตามธรรมนูญของชมรม

3.3.3 ให้ความร่วมมือ และมีส่วนรับผิดชอบต่อการดำเนินงานของชมรม

3.3.4 รักษาและนำชื่อเสียงเกียรติคุณมาสู่โรงเรียน สังคม ประเทศชาติ

3.3.5 แสดงประชามติเพื่อดำเนินการเสนอแก้ไข หรือยกเลิกในกรณีที่เห็นว่าระเบียบปฏิบัติของชมรมไม่ เหมาะสม

3.4 การพ้นสภาพสมาชิก

3.4.1 ละเมิดระเบียบปฏิบัติของชมรมซึ่งได้รับพิจารณาโทษจากคณะกรรมการตามความเหมาะสม

3.4.2 หมดอายุตามวาระจบการศึกษา

หมวดที่ 4 โครงสร้างการบริหารชมรม

4.1ผังโครงสร้างชมรม V-Star Club



<p>ที่ปรึกษา อาจารย์ที่ปรึกษา</p><table> <tbody><tr> </tr> <tr> <td> </td> <td> </td> </tr> </tbody></table>
<p> </p><p></p><table> <tbody><tr> </tr> <tr> <td> </td> <td> </td> </tr> </tbody></table><p></p><table> <tbody><tr> </tr> <tr> <td> </td> </tr> <tr> </tr> <tr> <td> </td> </tr> <tr> </tr> <tr> </tr> <tr> <td> </td> <td> </td> <td> </td> </tr> <tr> </tr> <tr> </tr> <tr> </tr> <tr> </tr> </tbody></table><table> <tbody><tr> </tr> <tr> </tr> <tr> <td> </td> </tr> <tr> </tr> <tr> <td> </td> </tr> <tr> </tr> <tr> <td> </td> <td> </td> <td> </td> </tr> <tr> </tr> <tr> </tr> <tr> </tr> <tr> </tr> <tr> </tr> </tbody></table><table> <tbody><tr> </tr> <tr> <td> </td> </tr> <tr> </tr> <tr> </tr> <tr> </tr> <tr> </tr> <tr> <td> </td> </tr> </tbody></table><p></p><p></p><p></p><p></p><p></p><p></p><p></p><p>4.2 คณะกรรมการชมรมประกอบด้วย</p><p> 4.2.1 ประธาน</p><p> 4.2.2 รองประธาน</p><p> 4.2.3 หัวหน้าฝ่ายต่างๆในสายประสานงาน</p><p> 4.2.4 หัวหน้าฝ่ายต่างๆในสายธุรการ</p><p> 4.2.5 หัวหน้าฝ่ายต่างๆในสายกิจกรรม</p><p> 4.2.6 หัวหน้าฝ่ายต่างๆในสายบุคคล</p><p> </p><p>4.3 บทบาทและหน้าที่</p><p>1. ที่ปรึกษาและอาจารย์ที่ปรึกษา</p><p> มีหน้าที่ </p><p>1. ให้คำปรึกษาแก่ประธานและสมาชิกในชมรม</p><p>2. เป็นต้นแบบในการทำความดี, ให้กำลังใจ, หล่อหลอมและดูแลลูกศิษย์</p><p> 2. ประธาน</p><p>มีหน้าที่</p><p> 1. ดูแลภาพรวมการทำงาน และประสานงานกับอาจารย์ที่ปรึกษาและหน่วยงานต่างๆ</p><p> 2. นำประชุม</p><p> 3. นำสวดมนต์, ปฏิบัติธรรม, เล่าธรรมะ </p><p> 4. ให้คำแนะนำปรึกษาในเรื่องต่างๆ เช่น การเรียน, การทำงาน, การปฏิบัติธรรม, ฯลฯ </p><p> 5. เป็นต้นแบบในการสร้างความดี, ให้กำลังใจ, หล่อหลอมและดูแลเพื่อนสมาชิก</p><p> 3. รองประธาน</p><p>มีหน้าที่</p><p> 1. ช่วยประธานประสานงานและดูแลงานในฝ่ายต่างๆ</p><p> 2. ปฏิบัติงานแทนประธานได้ทุกอย่าง เมื่อประธานไม่อยู่</p><p></p><p> ฝ่ายบุคคล</p><p> 4. อบรมพัฒนา</p><p> มีหน้าที่</p><p> 1. วางแผนกิจกรรมพัฒนาศักยภาพให้สมาชิก</p><p> 2. ประสานงาน จัดกิจกรรมอบรม เข้าค่ายพัฒนาศักยภาพแก่สมาชิก</p><p></p><p> </p><p> 5. ติดตามรักษา</p><p> มีหน้าที่</p><p> 1.วางแผนดูแล รักษา ให้กำลังใจ แก่สมาชิกชมรมในการทำกิจวัตร 10 ประการของV-Star</p><p> 2. คอยจัดกิจกรรมสร้างเสริมกำลังใจให้สมาชิกภายในชมรม เช่น Happy birthdayวันเกิดของ สมาชิก,SMSให้กำลังใจก่อนสอบ</p><p> 6. ปฏิคม</p><p> มีหน้าที่</p><p> 1. ต้อนรับและปฏิสันถาร สร้างความประทับใจให้แก่ผู้มาร่วมกิจกรรมของชมรมหรือมาเยี่ยมเยียนชมรม</p><p> 2. จัดเตรียมของที่ระลึกในกิจกรรมต่างๆ</p><p> ฝ่ายธุรการ</p><p> 7. ทะเบียน</p><p>มีหน้าที่</p><p>1.จัดทำทะเบียนคณะกรรมการ สมาชิกของชมรม และผู้เข้าร่วมกิจกรรมต่างๆ</p><p>2.เตรียมเอกสารที่ใช้ในการดำเนินงาน ทั้งภายในและภายนอกชมรม ตลอดจนวางระบบจัดเก็บรักษาเอกสาร</p><p>8. สาราณียกร</p><p>มีหน้าที่ </p><p> 1. วางแผนการจัดทำสื่อสิ่งพิมพ์</p><p> 2. จัดทำสื่อสิ่งพิมพ์เผยแผ่ธรรมะ เช่น ธรรมสารตักบาตร, สารชมรม, ใบปลิว ประชาสัมพันธ์งาน ต่างๆ ฯลฯ</p><p> 9. สารสนเทศ</p><p> มีหน้าที่</p><p>1. ออกแบบและจัดทำเว็บไซต์ชมรมV-Star Club (ถ้าสามารถทำได้)</p><p>2. ดูแล จัดเก็บข้อมูลของชมรมทั้งหมดไว้ในคอมพิวเตอร์อย่างเป็นระบบระเบียบ</p><p> 10. ประชาสัมพันธ์และศิลปกรรม</p><p> มีหน้าที่</p><p> 1.วางแผนงานประชาสัมพันธ์โครงการต่างๆ</p><p> 2. คิดรูปแบบและจัดทำสื่อประชาสัมพันธ์ เช่น cut out, บอร์ด, ป้ายผ้า,เสียงตามสาย,website,hi5</p><p> 3. กระจายข่าวการจัดกิจกรรมแก่คณะกรรมการ, สมาชิกภายในโรงเรียน</p><p>4. ตัดต่อ MV (ภาพประกอบเสียงเพลง)เพื่อใช้ในการทำกิจกรรมชมรม(ถ้าสามารถทำได้)</p><p> 5. ตกแต่งสถานที่ที่ใช้ในกิจกรรมของชมรมและช่วยฝ่ายประชาสัมพันธ์ทำสื่อ</p><p> ฝ่ายประสานงาน</p><p> 11. เลขานุการ</p><p>มีหน้าที่</p><p> 1. เป็นผู้รับผิดชอบในการจัดประชุม, นัดหมายการประชุมแก่ผู้มีส่วนร่วมในการประชุม</p><p> 2. จดบันทึกการประชุม พร้อมจัดทำสรุปการประชุมทุกครั้ง</p><p> 3. ช่วยประธานประสานงานกับฝ่ายต่างๆ ในการติดตามงานเพื่อให้งานดำเนินไปโดยเรียบร้อย</p><p> </p><p> 12. ฝ่ายเหรัญญิก</p><p>มีหน้าที่</p><p> 1. ดูแลด้านการเงิน รายรับรายจ่ายของชมรม การเบิกจ่ายเงินของสมาชิก</p><p> 2. ดูแลบัญชี การเงินให้เป็นระเบียบเรียบร้อย</p><p> 13. สวัสดิการ</p><p>มีหน้าที่</p><p> 1. จัดชมรมให้เป็นปฏิรูปเทส คือ ดูแลความสะอาดของชมรม อาหาร- ปานะและยา ให้แก่คณะกรรมการและสมาชิก</p><p> 2. ดูแลการจัดภัตตาหาร – ปานะพระอาจารย์ และอาหาร – เครื่องดื่มสำหรับ วิทยากร</p><p> </p><p> ฝ่ายกิจกรรม</p><p> 14. พิธีกรรม </p><p> มีหน้าที่</p><p> 1. จัดเตรียมและดำเนินพิธีกรรมให้เกิดความสำเร็จ เช่น การสวดมนต์ทำวัตรเช้า-เย็น, การเตรียมพิธีกรตักบาตร, การจัดเตรียมโต๊ะหมู่บูชาตลอดจนดูแลความเรียบร้อยของพิธีกรรมในทุกๆ โครงการต่างของชมรม</p><p> 15. สถานที่</p><p> มีหน้าที่</p><p> 1. ติดต่อประสานงานหาสถานที่ในการจัดกิจกรรมโครงการต่างๆ </p><p> 2. จัดเตรียมสถานที่จัดกิจกรรม</p><p> 3. ดูแลความเรียบร้อยของสถานที่จัดกิจกรรม</p><p> 4. ดูแลอุปกรณ์ ที่ใช้ในทำกิจกรรมชมรมทั้งหมด</p><p> 16. โสตสื่อและถ่ายภาพ</p><p> มีหน้าที่</p><p> 1 ดูแลรักษาอุปกรณ์เครื่องเสียง</p><p> 2. จัด ติดตั้งระบบเครื่องเสียงในกิจกรรมต่างๆ</p><p> 3. เก็บภาพก่อนงาน ขณะงาน และหลังงาน ในโครงการต่างๆของชมรมและ ดูแล – จัดเก็บข้อมูลภาพให้เป็นระบบระเรียบ</p><p></p><p>กิจกรรมชมรม V- Star Club</p><p></p><p>กิจกรรมของชมรม V- Star Club แบ่งเป็น 4 ประเภท</p><p>1. กิจกรรมประจำวัน</p><p> 1.1 การสวดมนต์ทำวัตรเช้า – เย็น สมาทานศีล นั่งสมาธิ อธิษฐานจิตและ เล่าธรรมะ </p><p>2. กิจกรรมประจำสัปดาห์</p><p> 2.1 การตักบาตร</p><p> 2.2 การจัดรายการเสียงตามสาย</p><p> 2.3 ประชุมคณะกรรมการประจำสัปดาห์(กำหนดวันประชุมตามความเหมาะสม) </p><p> 2.4 พัฒนาความสะอาดของโรงเรียน โดยเฉพาะห้องน้ำสัปดาห์ละ 1 ครั้งหรืออย่างน้อยเดือนละ 1 ครั้ง</p><p></p><p>3. กิจกรรมประจำเดือน</p><p> 3.1 การนิมนต์พระมาแสดงพระธรรมเทศนาที่โรงเรียน</p><p> 3.2 การไปวัดปฏิบัติธรรมและฟังธรรม</p><p> 3.3 กิจกรรมอื่นๆที่เป็นลักษณะเด่นของกลุ่ม 1 กิจกรรม เช่น ภายในกลุ่มมีสมาชิกที่มีความสามารถด้านดนตรีหรือการแต่งเพลง ก็สามารถแต่งเพลงที่มีเนื้อหาสร้างกำลังใจ สร้างความสามัคคี หรืออิงธรรมะ เพื่อใช้เป็นเพลงประจำชมรม เป็นต้น โดยจุดเน้นของกิจกรรมคือ ให้เป็นไปเพื่อการฟื้นฟูวัฒนธรรมชาวพุทธที่ดีงามของ เพื่อน ครูหรือชุมชน</p><p></p><p>4. กิจกรรมประจำปี </p><p> 4.1 กิจกรรมสัมพันธ์ครอบครัว </p><p> 4.2 การเข้าค่ายพัฒนาศักยภาพผู้นำกับชมรมพุทธศาสตร์สากล</p><p> 4.3 การช่วยเหลืองานทางพระพุทธศาสนาของชุมชนในวันสำคัญต่างๆตามประเพณีของแต่ละท้องถิ่น</p><p></p><p>1. กิจกรรมประจำวัน</p><p> 1.1 การสวดมนต์ทำวัตรเช้า-เย็น การทบทวนศีล และการอธิษฐานจิต</p><p> เวลา 07.00 น.เสียงสวดมนต์ทำวัตรเช้าดังแว่วมา เริ่มเสียงผู้นำสวดมนต์หนึ่งเสียง แล้วก็มีเสียงรับสวดมนต์ หนึ่ง สอง สาม สี่ … ตามลำดับ เมื่อเสียงสวดมนต์ดังไปถึงท่อนที่สาม จากเสียงสวดมนต์น้อยๆ ก็ดังนับร่วมห้าสิบเสียงได้ นี่คือกิจวัตรยามเช้าที่คณะกรรมการถือเป็นกิจวัตรที่ขาดเสียไม่ได้ แม้ว่าเช้าใด จะมีสมาชิกมาเพียงไม่กี่คนก็ตาม ก็ต้องเริ่มไปเท่านั้นก่อน จนเสียงสวดมนต์ดังไปทั้งห้อง</p><p> หลักการและวัตถุประสงค์</p><p> ร่างกายจำเป็นต้องได้รับการอาบน้ำ ชำระล้างเหงื่อไคลออกเป็นประจำฉันใด แม้จิตใจก็มีความจำเป็นต้องชำระให้ผ่องแผ้วอย่างน้อยวันละครั้งฉันนั้นวิธีการชำระล้างจิตใจให้ผ่องแผ้วอย่างง่ายๆ คือ</p><p> การสวดมนต์</p><p> การสวดมนต์ คือ การกล่าวคำสรรเสริญถึงพระคุณอันยิ่งใหญ่ของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าที่พระองค์ได้ทรงตรัสสอนเอาไว้ เป็นการย้ายใจจากสิ่งที่ฟุ้งซ่าน ขุ่นมัวไม่ผ่องใส ให้มารวมที่บทสวดมนต์ แล้วทำให้ใจสงบผ่องใส เป็นการยกระดับใจให้สูงขึ้น ด้วยการผูกใจมั่นไว้กับพระรัตนตรัย ทางชมรมจึงต้องจัดให้มีการสวดมนต์ทำวัตรทุกเช้า-เย็น เพื่อเป็นการกล่อมเกลาจิตใจ และเป็นระลึกนึกถึงพระพุทธคุณ พระธรรมคุณ พระสังฆคุณ และยึดเป็นแบบอย่างตั้งปณิธานในการประพฤติปฏิบัติในแนวทางที่ดีงาม</p><p> ลักษณะการปฏิบัติงาน</p><p> มีโปสเตอร์ บอร์ดประชาสัมพันธ์ ฯลฯ ชักชวน เข้าร่วมกิจกรรมดังกล่าว ทุกเช้า-เย็น โดยใช้บทสวดมนต์มาตรฐานทั่วไป</p><p> หลังจากสวดมนต์ทำวัตรเย็น จะเป็นการนั่งสมาธิประมาณ 15-30 นาที หลังจากนั้นจะมีการอธิษฐานจิต และเล่าธรรมะ หลังจากสรุปธรรมะ จึงบูชาพระเป็นขั้นตอนสุดท้าย</p><p> เก็บอาสนะ และหนังสือสวดมนต์ให้เรียบร้อย หลังจากสวดมนต์ทำวัตรเช้า และเย็น</p><p> </p><p></p><p></p><p></p><p></p><p></p><p></p><p></p><p> การฝึกสมาธิ</p><p> หลักการและวัตถุประสงค์</p><p> การฝึกสมาธิ เป็นการปรับพื้นฐานจิตใจของผู้ที่จะศึกษาธรรมะในพระพุทธศาสนา เป็นการทำจิตใจให้หยุดนิ่งจากสิ่งต่างๆ เสียก่อน จากนั้นจึงจะศึกษาเข้าใจธรรมะตามลำดับ ใจที่เป็นสมาธิย่อมเป็นใจที่มีประสิทธิภาพในการทำกิจการงานทั้งปวง ทำให้มีวิจารณญาณที่ถูกต้องเหมาะสมยิ่งขึ้น ทำให้เป็นผู้มีใจสงบเยือกเย็น ผ่องใส มีความมั่นคง และนำสมาธิไปใช้ในการศึกษาเล่าเรียนและการงานทั้งปวงได้</p><p></p><p> ลักษณะการปฏิบัติงาน</p><p> มีโปสเตอร์ แผ่นพับ บอร์ดประชาสัมพันธ์ให้เพื่อนนักเรียนทราบ และชักชวนให้มาร่วมกิจกรรมทุกวัน ตอนเย็นดำเนินกิจกรรมเป็นไปโดยสมาชิก และคณะกรรมการนั่งรวมกันโดยแยกหญิงซ้ายชายขวา </p><p></p><p></p><p></p><p></p><p> การเล่าธรรมะ</p><p>โดยปกติการเล่าธรรมะจะเป็นหน้าที่หลักของประธานแต่ก็สามารถสลับหมุนเวียนให้สมาชิกในชมรมได้ใช้เป็นเวทีในการฝึกทักษะการพูด ความกล้าแสดงออกได้ดังนั้น ก่อนเล่าธรรมะผู้เล่าจะต้องเตรียมเนื้อหาก่อนที่จะมาเล่าเมื่อถึงเวลาก็เล่าด้วยความมั่นใจ ส่วนผู้ฟังมีวิธีการเตรียมตัวดังนี้</p><p></p><p>เตรียมสมุด ปากกา บันทึกธรรม ก่อนสวดมนต์ทำวัตร นั่งสมาธิ</p><p>อุบาสก อุบาสิกา นั่งพับเพียบ หรือท่านั่งที่สุภาพ สำหรับอุบาสิกาให้ใช้ผ้าคลุมเข่าอีกทีหนึ่ง</p><p>ไม่ยืดขาไปที่โต๊ะหมู่บูชา หรือแสดงอาการกริยาอันไม่สุภาพใดๆ</p><p>ปฏิสันถารทักทาย แนะนำตัวเอง เล่าความดีของกันและกัน จนครบทุกคน</p><p>เล่าธรรมะ- สรุปธรรมะ</p><p>มีการบันทึกธรรมะลงในสมุดทุกวัน</p><p>แจ้งข่าวสารต่างๆ เกี่ยวกับกิจกรรมชมรม V– Star Club</p><p>กราบบูชาพระรัตนตรัย</p><p>เก็บอาสนะ และหนังสือสวดมนต์ให้เรียบร้อย</p><p></p><p></p><p></p><p>2. กิจกรรมประจำสัปดาห์</p><p> </p><p> 2.1 การตักบาตร</p><p> หลักการและวัตถุประสงค์</p><p> การตักบาตร คือ การถวายภัตตาหารแด่พระภิกษุ สามเณร โดยการใส่ลงในบาตร ด้วยอาการนอบน้อม การตักบาตรนี้จะตักบาตรกับพระภิกษุสามเณรที่ออกบิณฑบาต หรือนำไปถวายที่วัดก็ได้ จัดเป็นการทำบุญอย่างง่ายๆ</p><p> การตักบาตร จึงเป็นกิจวัตรประจำวันที่สำคัญอย่างหนึ่งของพุทธศาสนิกชน เพื่อช่วยเหลือพระภิกษุสามเณร ให้มีโอกาสศึกษาและปฏิบัติธรรมได้อย่างเต็มที่ โดยไม่ต้องกังวลเรื่องอาหาร และเป็นการกำจัด</p><p>โลภะ คือความโลภในใจ กำจัดความตระหนี่และเห็นแก่ตัวลงได้ และเป็นผลดีที่ได้ทำนุบำรุงพระพุทธศาสนา</p><p> ระยะเวลาการปฏิบัติการ</p><p> ทุกเช้าวันพฤหัส เวลา 7.30–8.00น. โดยจัดสัปดาห์ละ 1 ครั้ง (อาจมีการเปลี่ยนแปลงวันเวลา ได้ตามความเหมาะสม)</p><p> ลักษณะการปฏิบัติงาน</p><p> นิมนต์พระมาบิณฑบาตครั้งละ 3-9 รูป กรณีเป็นงานบุญสำคัญตามประเพณี อาจเพิ่มจำนวนพระ เป็น 100 รูป หรือ 1,000 รูปก็ได้</p><p></p><p></p><p></p><p></p><p></p><p></p><p></p><p>2.2การจัดรายการเสียงตามสาย </p><p></p><p> 2.3 การประชุมคณะกรรมการชมรมV- Star Club</p><p> หลักการและวัตถุประสงค์</p><p> การประชุมกันอย่างเนืองนิตย์ จะช่วยทำให้การทำงาน เป็นไปอย่างราบรื่น เพราะสมาชิกและคณะกรรมการทุกคน จะได้มีภาพและเป้าหมายในการทำงานไปในทิศทางเดียวกัน</p><p> ระยะเวลาการปฏิบัติการ</p><p> ทุกวันจันทร์หลังเลิกเรียน สัปดาห์ละ 1 ครั้ง (อาจมีการเปลี่ยนแปลงวันเวลา ได้ตามความเหมาะสม)</p><p> ลักษณะการปฏิบัติงาน</p><p> จัดให้มีการประชุมเพื่อชี้แจงภาพรวมในการทำงานในแต่ละสัปดาห์ให้แก่สมาชิกและคณะกรรมการได้รับทราบ</p><p></p><p></p><p></p><p>2.4 พัฒนาความสะอาดของโรงเรียน โดยเฉพาะห้องน้ำสัปดาห์ละ 1 ครั้งหรืออย่างน้อยเดือนละ 1 ครั้ง</p><p> หลักในการทำความสะอาด</p><p> “ ต้องสะอาดทั้งภายนอก และภายใน จึงได้ชื่อว่าสะอาดอย่างแท้จริง” สะอาดภายนอกคือความสะอาดที่ตาสัมผัสได้ ส่วนสะอาดภายในคือ ความสะอาดที่ใจสัมผัสได้ การทำความสะอาดห้องน้ำมีผลกระทบถึงใจ เพราะห้องน้ำเป็นสถานที่ที่ ถ้าไม่ดูแลรักษาความสะอาดอย่างสม่ำเสมอ ก็จะเป็นที่สั่งสมของความสกปรกและมีกลิ่นอันไม่พึงปรารถนาต่อทุกคนที่เข้ามาใช้ห้องน้ำ ใจ ของคนเราก็คล้ายกับห้องน้ำหากไม่ทำความสะอาดโดยการสวดมนต์นั่งสมาธิเป็นประจำสม่ำเสมอ ใจก็จะขุ่น อกุศลก็เกิดขึ้นได้ง่าย การทำความสะอาดห้องน้ำที่ถูกต้องคือ ในขณะที่เราได้ขัดถูสิ่งสกปรกออกไปจากโถชักโครกหรือจากส่วนต่างๆของห้องน้ำก็ตาม ให้เรานึกว่าเราได้ขัดเอากิเลสภายในใจของเราออกไปด้วย ถ้าทำได้อย่างนี้จึงถือได้ว่าเป็นการทำความสะอาดที่ได้ทั้งความสะอาดของสถานที่และบุญกุศลที่เกิดขึ้นในใจ </p><p></p><p></p><p>3. กิจกรรมประจำเดือน</p><p></p><p> 3.1 การนิมนต์พระมาแสดงพระธรรมเทศนาที่โรงเรียน</p><p>หลักการและวัตถุประสงค์</p><p> การนิมนต์พระอาจารย์มาเทศน์สอนและฝึกการนั่งสมาธิเบื้องต้นเพื่อให้นักเรียนทุกคนมีความรู้ ความเข้าใจในพระพุทธศาสนาอย่างถูกต้อง และสามารถนำเอาหลักธรรม สมาธิมาประยุกต์ใช้ได้ในชีวิตประจำวัน</p><p> ระยะเวลาปฏิบัติงาน</p><p> เดือนละ 1-2 ครั้งตามความเหมาะสม</p><p> ลักษณะการปฏิบัติงาน</p><p> มีการนิมนต์พระมาเทศน์สอนธรรมะและฝึกการนั่งสมาธิที่โรงเรียน</p><p></p><p> 3.2 การไปวัดปฏิบัติธรรมฟังธรรม และพัฒนาวัดในวันพระ และวันสำคัญทางพระพุทธศาสนา</p><p> หลักการและวัตถุประสงค์</p><p> ชมรมV – Star Clubได้จัดการศึกษาและปฏิบัติธรรมทุกวันพระ ได้มาฝึกปฏิบัติธรรมที่วัด กับคณะครูสอนภาวนาที่ได้ผลดีแล้ว ในสถานที่สงบเหมาะสมต่อการเจริญภาวนา และได้มีโอกาสสนทนาธรรม ฟังธรรมะบรรยาย เพื่อให้ทุกคนมีความรู้ ความเข้าใจในพระพุทธศาสนาอย่างถูกต้อง และได้ศึกษาพระพุทธศาสนาอย่างถูกต้องทั้งภาคปริยัติและปฏิบัติ สามารถนำเอาหลักธรรมมาประยุกต์ใช้ได้ในชีวิตประจำวัน</p><p> ระยะเวลาปฏิบัติงาน</p><p> ทุกวันพระ(ปรับได้ตามความเหมาะสม) </p><p> ลักษณะการปฏิบัติงาน </p><p> 1. มีการจัดรถรับส่งจากโรงเรียนเพื่อไปฟังธรรมและปฏิบัติธรรมที่วัดใกล้โรงเรียน </p><p> 2. ช่วยกันพัฒนาความสะอาดภายในวัด</p><p></p><p></p><p></p><p></p><p> 4.กิจกรรมประจำปี</p><p> 4.1 กิจกรรมสัมพันธ์ครอบครัว เช่น พ่อแม่ ผู้ปกครองและลูกอ่านหนังสือครอบครัวอบอุ่นและสอบวัดความรู้ ด้วยกัน สัมมนาปฏิบัติธรรมแกนนำครอบครัวอบอุ่นของแต่ละโรงเรียน เป็นต้น</p><p> 4.2 การเข้าค่ายพัฒนาศักยภาพผู้นำกับชมรมพุทธศาสตร์สากล</p><p> 4.3 การช่วยเหลืองานทางพระพุทธศาสนาของชุมชนในวันสำคัญต่างๆตามประเพณีของแต่ละท้องถิ่น</p><p> เช่น แห่เทียนพรรษา ลอยกระทง ตักบาตรพระ 1,000 รูป เป็นต้น</p><p> </p><p></p><p>1. ธรรมะสำหรับการทำงานเป็นทีม</p><p> อปริหานิยธรรม เป็นธรรมะอันเป็นที่ตั้งแห่งความไม่รู้จักเสื่อม เป็นเหตุที่ตั้งแห่งความสามัคคี ความเป็น ปึกแผ่นทั้งในบ้านเรือน ทั้งในหมู่คณะ แม้ที่สุดทั้งในประเทศชาติของเราด้วย</p><p>เพราะฉะนั้นการทำงานที่ต้องอาศัยความเป็นทีมจึงจำเป็นต้องมีธรรมข้อนี้ ในการทำงานเป็นหมู่</p><p> อปริหานิยธรรม 7 ประการ มีดังนี้</p><p>1. หมั่นประชุมกันเนืองนิตย์</p><p> ประโยชน์ของการประชุมบ่อยๆ </p><p> - ทำให้ทุกคนเกิดความเป็นเจ้าของชมรม จะได้ช่วยกันรับผิดชอบของหมู่คณะ</p><p> - ทำให้ทุกคนมีโอกาสสร้างสรรค์ชมรมของตนเองด้วยการออกความเห็นต่างๆ</p><p> - ฝึกให้ทุกคนมีความคุ้นเคยและเข้าใจซึ่งกันและกัน</p><p> - ฝึกให้ทุกคนมีความชำนาญในการเป็นผู้พูดและผู้ฟังที่ดี </p><p>2. ความพร้อมเพรียงกันในการมาประชุม พร้อมเพรียงกันเลิกประชุม พร้อมเพรียงกันในการทำกิจกรรม ธรรมะข้อนี้ฝึกความวินัยในเรื่องของเวลา</p><p>3. ไม่บัญญัติสิ่งใหม่ และไม่ถอดถอนสิ่งเก่า รวมทั้งให้ถือมั่นในหลักการที่วางไว้เดิม ธรรมะข้อนี้จะทำให้ ชมรมเป็นปึกแผ่น เพราะได้รักษาสิ่งดีไว้ให้คงอยู่ตลอดไป</p><p></p><p>4. ให้ความเคารพและรับฟังความคิดเห็นของผู้ใหญ่ ผู้ใหญ่เป็นผู้มีประสบการณ์ยาวนาน ดังนั้นเราต้องให้เกียรติ ให้ความเคารพนับถือ และรับฟังความคิดเห็นของท่านในฐานะที่เป็นผู้รู้และมีประสบการณ์มามากธรรมะข้อนี้เป็นคุณธรรมประจำตัวของผู้มีปัญญามาก เพราะใครๆก็อยากถ่ายทอดสิ่งที่ดีๆให้เมื่อผู้รับมีความเคารพ อ่อนน้อม</p><p>5. ไม่ข่มเหง ล่วงเกินหญิงที่มีผู้ปกครอง การล่วงเกินในสิ่งที่ผู้อื่นหวงแหน จะเป็นบ่อเกิดแห่งความแตกแยก สำหรับการทำงานชมรมก็เช่นกันต้องป้องกันไม่ให้เกิดปัญหาชู้สาวขึ้นในชมรมเพราะจะนำมาซึ่งคำติเตียนและความแตกแยก เนื่องจากความลำเอียงเพราะรักได้เกิดขึ้นแล้ว ข้อนี้จึงควรระวังเป็นอย่างยิ่ง </p><p>6. เคารพบูชาสักการะเจดีย์ คือการให้ความเคารพศาสนสถาน ปูชนียสถาน อันเป็นเครื่องเตือนความจำ ปลุกเร้าให้เราทำความดี และเป็นที่รวมใจของหมู่ชน ไม่ละเลย พิธีเคารพบูชาอันพึงทำต่ออนุสรณ์สถานที่สำคัญเหล่านั้นตามประเพณีที่ดีงาม</p><p>7. ถวายอารักขา คุ้มครองป้องกัน พระภิกษุสงฆ์หรือผู้ทรงศีล ธรรมะข้อนี้เน้นให้ความสำคัญกับการต้อนรับ การต้อนรับเป็นหน้าที่ของกัลยาณมิตร พระพุทธองค์ทรงตรัสเอาไว้เกี่ยวกับความเคารพคือ ในเรื่อง คารวะ 6 ซึ่งมีเรื่องขอการให้ความเคารพในการปฏิสันถารด้วย ดังนั้นชมรมของเราจึงจำเป็นอย่างยิ่งที่ทุกคนตั้งจิตเมตตา ให้การต้อนรับทุกคนที่เข้ามาชมรมของเรา แม้ว่าคนๆนั้นจะเป็นรุ่นพี่ รุ่นน้อง คุณครู หรือ ผู้บริหารโรงเรียน เราก็ให้การต้อนรับเช่นเดียวกัน</p><p> </p><p></p><p></p><p></p><p> </p><p> 2. อานิสงส์ของการสร้างชมรม V-Star Club</p><p></p><p> ได้รับอานิสงส์หรือผลดี คือ เราจะได้บำเพ็ญบารมีทั้ง 10 ประการอย่างครบถ้วน </p><p> 1. ทานบารมี คือ การให้ อันได้แก่การทำบุญให้ทรัพย์เป็นทาน ให้อภัยทาน ให้ความรู้เป็นทานและที่สำคัญ </p><p> ที่สุดแห่งการให้ คือ การให้ธรรมะเป็นทาน ชมรมV-Star เป็นชมรมแห่งการปลูกฝังความดีให้เยาวชน ทั้งโรงเรียน จึงถือเป็นธรรมทานที่ยิ่งใหญ่ </p><p> 2. ศีลบารมี คือ การสำรวมระวังทั้งกาย วาจา ใจ คือระวังไม่พูดร้าย ไม่คิดร้าย ไม่ทำร้ายผู้อื่น คุณสมบัติของสมาชิกชมรม ข้อที่ 1 คือ รักษาศีล 5 เป็นปกติ และรักษาศีล 8 ในวันพระ ฉะนั้นผู้ก่อตั้งชมรมย่อมได้บุญกับการถือศีลของสมาชิกทุกคน</p><p>3. เนกขัมมบารมี คือ การประพฤติพรหมจรรย์ เป็นการวางภารกิจส่วนตัวครอบครัวชั่วคราวมารับใช้สังคม</p><p> 4. ปัญญาบารมี คือ การสะสมปัญญา การเจริญสมาธิภาวนาถือเป็นสุดยอดของปัญญา การนั่งสมาธิถือเป็น กิจวัตรหลักของคณะกรรมการชมรม ฉะนั้นเกิดชาติหน้าจะเป็นผู้มีปัญญามาก</p><p> 5. วิริยะบารมี คือ ความขยันขันแข็ง มานะพากเพียร การสร้างคนดีต้องปลูกฝังสิ่งที่ดีๆ ซ้ำแล้ว ซ้ำอีก จนกลายเป็นนิสัย ฉะนั้นใครจะสร้างคนให้เป็นคนดีจะได้วิริยะบารมีที่เพิ่มพูน</p><p> 6. ขันติบารมี คือ ความอดทน อดทนต่อดินฟ้าอากาศ อดทนต่อโรคภัยไข้เจ็บ อดทนต่อการกระทบ กระทั่ง อดทนต่ออำนาจกิเลส บารมีข้อนี้ทุกคนจะได้ฝึกอย่างเต็มที่</p><p> 7. สัจจะบารมี คือ การฝึกฝนตนเองให้ทำงาน อย่างทุ่มเทชีวิตจิตใจ “ถ้าทำจริง ทุกสิ่งจะสำเร็จ”</p><p> 8. อธิษฐานบารมี คือ ความมุ่งมั่นตั้งใจจริง ตั้งเป้าหมายและตอกย้ำความตั้งใจ พระชาติแรกของพระ สัมมาพุทธเจ้าของเรา พระองค์ทรงตั้งจิตอธิษฐานในขณะที่บ่าแบกมารดาอยู่กลางทะเลว่า “ขอกุศลผลบุญที่เราได้แบกมารดาว่ายในมหาสมุทรมาด้วย ความเหน็ดเหนื่อย หวังที่จะพามารดาไปขึ้นฝั่ง โดยไม่ได้คิดถึงตัวเองว่าจะเป็นอย่างไร ขอกุศลผลบุญนี้ จงเป็นปัจจัยให้เราสามารถข้ามพ้นทะเลแห่งความทุกข์ของชีวิตนี้ได้ครั้นตั้งจิตเป็นมหากุศลแล้ว ก็ตั้งปณิธานซ้ำลงไปอีกว่า ถ้าหากเราข้ามพ้นห้วงทะเลทุกข์ได้แล้ว ขอให้เราสามารถนำสรรพสัตว์ทั้งหลายข้ามพ้นจากทะเลแห่งชีวิต หรือวัฏสงสารนี้ไปได้ด้วย”</p><p> 9. เมตตาบารมี คือ การช่วยเหลือผู้อื่นให้มีความสุข พ้นจากทุกข์ “อัธยาศัยของพระโพธิสัตว์ข้อหนึ่งมีอยู่ว่า มีการเจริญเมตตาอยู่เป็นนิจ” การทำงานชมรมต้องมีเมตตาให้มาก ทั้งรุ่นพี่ เพื่อนและ รุ่นน้อง</p><p> 10. อุเบกขาบารมี คือ การวางเฉย ฝึกความเป็นธรรม ทั้งรักความยุติธรรมและรักความเป็น ธรรม ทำให้เป็น คนมีจิตใจ มั่นคงในกุศลต่างๆ อย่างเต็มที่ไม่หวั่นไหว</p><p></p><p></p><p></p><p></p><p></p><p></p><p></p><p></p><p></p><p></p><p></p><p></p><p></p><p></p><p></p><p></p><p></p><p>ภาคผนวก</p><p></p><p></p><p></p><p></p><p></p><p></p><p></p><p></p><p></p><p></p><p></p><p></p><p>หนังสือจดทะเบียนชมรม V-Star Club วันที่….เดือน…………พ.ศ……….</p><p>ข้าพเจ้า ชื่อ……………….. สกุล………………………… รหัสประจำตัวนักเรียน…………………………… </p><p>ขอรับการจัดตั้งชมรม V-Star Club สังกัดฝ่าย……….. ……………………………………….</p><p>สถานที่ตั้ง ………………………………………………………………………………………………………………</p><p>เครื่องหมายสัญลักษณ์ที่ใช้ประกอบในกิจกรรมชมรม V-Star Club</p><p>พร้อมคำขอนี้ได้แนบหลักฐานและเอกสารต่างๆ เพื่อประกอบการพิจารณาดังต่อไปนี้</p><p>1. ธรรมนูญชมรม</p><p>2. รายชื่ออาจารย์ที่ปรึกษา</p><p>3.รายชื่อคณะกรรมการ</p><p>4. รายชื่อสมาชิก</p><p>5. สำเนาบัตรนักเรียนผู้ขอรับการจัดตั้งชมรม</p><p>ข้าพเจ้าขอสัญญาว่า</p><p> 1. จะปฏิบัติตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขต่างๆ ตามกฎระเบียบโรงเรียน………………………………….</p><p> ว่าด้วยกิจกรรมและวินัยนักเรียน และหน่วยงานที่สังกัด ที่ได้กำหนด และที่จะมีการกำหนดและ/หรือแก้ไขเพิ่มเติมในภายหน้าด้วย</p><p> 2. ขอรับรองว่าหลักฐานและเอกสารต่างๆ ทั้งหมดเป็นความจริง</p><p> ลงชื่อ……………..………</p><p> ( )</p><p> ผู้ขอรับการจัดตั้งชมรม</p><p></p><p></p><p></p><p> แผนก V- Star ศูนย์ส่งเสริมกิจกรรมเยาวชน ชมรมพุทธศาสตร์สากลฯ</p><p>23/2 หมู่ 7 ต.คลองสาม อ.คลองหลวง จ.ปทุมธานี 12120</p><p></p><p></p><p></p><p>ทะเบียนรายชื่อสมาชิกชมรม V-Star Club</p><p>โรงเรียน…………………………………………….. อาจารย์ที่ปรึกษา…………………………………………………..</p><p> สังกัด………………………………………………ฝ่าย………………………………………………………………………….. </p><table> <tbody><tr> <td>ตำแหน่ง</td> <td>ชื่อ</td> <td>นามสกุล</td> <td>ชื่อเล่น</td> <td>วัน/เดือน/ปี เกิด</td> <td>เบอร์โทรศัพท์</td> <td>E-mail</td> </tr> <tr> <td>1. ประธาน</td> <td> </td> <td> </td> <td> </td> <td> </td> <td> </td> <td> </td> </tr> <tr> <td>2.รองประธาน</td> <td> </td> <td> </td> <td> </td> <td> </td> <td> </td> <td> </td> </tr> <tr> <td>3. เลขานุการ</td> <td> </td> <td> </td> <td> </td> <td> </td> <td> </td> <td> </td> </tr> <tr> <td>4. เหรัญญิก</td> <td> </td> <td> </td> <td> </td> <td> </td> <td> </td> <td> </td> </tr> <tr> <td>5. สวัสดิการ</td> <td> </td> <td> </td> <td> </td> <td> </td> <td> </td> <td> </td> </tr> <tr> <td>6. พิธีกรรม</td> <td> </td> <td> </td> <td> </td> <td> </td> <td> </td> <td> </td> </tr> <tr> <td>7.โสตสื่อ</td> <td> </td> <td> </td> <td> </td> <td> </td> <td> </td> <td> </td> </tr> <tr> <td>8. สถานที่และพัสดุ</td> <td> </td> <td> </td> <td> </td> <td> </td> <td> </td> <td> </td> </tr> <tr> <td>9. ทะเบียน</td> <td> </td> <td> </td> <td> </td> <td> </td> <td> </td> <td> </td> </tr> <tr> <td>10.สาราณียกร </td> <td> </td> <td> </td> <td> </td> <td> </td> <td> </td> <td> </td> </tr> <tr> <td>11.สารสนเทศ</td> <td></td> <td></td> <td></td> <td></td> <td></td> <td></td> </tr> <tr> <td>12ประชาสัมพันธ์และศิลปกรรม</td> <td></td> <td></td> <td></td> <td></td> <td></td> <td></td> </tr> <tr> <td>13.อบรมพัฒนา</td> <td></td> <td></td> <td></td> <td></td> <td></td> <td></td> </tr> <tr> <td>14. ติดตามและรักษา</td> <td></td> <td></td> <td></td> <td></td> <td></td> <td></td> </tr> <tr> <td>15. ปฏิคม</td> <td></td> <td></td> <td></td> <td></td> <td></td> <td></td> </tr> </tbody></table><p></p><p></p><p></p>

หมายเลขบันทึก: 579547เขียนเมื่อ 1 พฤศจิกายน 2014 11:09 น. ()แก้ไขเมื่อ 1 พฤศจิกายน 2014 11:09 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท