อนุทินครั้งที่ 3 การเขียน AAR และ LO


อนุทินครั้งที่ 3 รายวิชาการศึกษาเพื่อพัฒนาสังคมแห่งการเรียนรู้

โดย นางสาวอุไรวรรณ ภูจ่าพล นักศึกษาปริญญาโทรุ่นที่ 13 สาขาหลักสูตรและการสอน
รหัส 57D0103124 ระดับปริญญาโท สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน ภาคพิเศษ หมู่ 1 

ครูผู้สอน ผศ.รศ. อดิศร เนาวนนท์ 

วันที่ 10 สิงหาคม พ.ศ. 2557 เรีอง การขียน AAR และ LO (Organization)

****************************

1.การเตรียมตัวล่วงหน้า

อ่านเนื้อหาเกี่ยวกับสังคมแห่งการเรียนรู้ และการจัดการกับความรูว่า คืออะไรและมีความสำคัญ มีวีการอย่างไร

2. ความรู้ความเข้าใจที่ได้รับ

จากการเรียนในครั้งนี้ความรู้ที่ข้าพเจ้าได้รับ คือ การทำ AAR (After Action Review) AARเป็นเครื่องมือชนิดหนึ่งในการจัดการความรู้ โดยจะประกอบด้วย 3 ขั้นตอนหลัก 

1.ได้เรียนรู้อะไร 

2.รู้แล้วคิดอย่างไร คิดอะไรต่อ

3.จะนำไปปรับประยุกต์ใช้อย่างไร 

และได้รู้จักสังคมการเรียนรู้อีกสังคมหนึ่ง คือ การทำเว็บ จาก www.gotoknow.org ซึ่งเป็นสังคมที่มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ หรือแชร์ ประสบการณ์เรียนรู้ โดยที่เราสามารถที่จะเขียนอนุทิน แล้วมีผู้ที่สนใจในเรื่องเดียวกันได้เข้ามาอ่าน และแสดงความคิดเห็นในประเด็นต่างๆ ที่เกี่ยวกับเรื่องนั้นๆซึ่งถือเป็นการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ และเป็นสังคมแห่งการเนียนรู้ จากนั้นข้าพเจ้าก็ได้รับความรู้เกี่ยวกับ เรื่อง LO (Leraning Organization)คือ องค์การแห่งการเรียนรู้ เป็นส่วนหนึ่งของสังคมแห่งการเรียนรู้ แต่เป็นสังคมในองค์การ LO หมายถึงที่ซึ่งคนในองค์การได้ขยายขอบเขตความสามารถของตนอย่างต่อเนื่องไม่ว่าจะเป็น ระดับบุคคลระดับกลุ่ม จนถึงระดับองค์การ ตังอย่างเช่น คนที่มีความรู้จะต้องจัดการความรู้ต้องจัดการความรู้ไว้ให้กับคนต่อไป เช่น มีครูคนหนึ่งสอนคณิตเก่งมาก เด็กไปแข่งได้ระดับประเทศ แต่เมื่อครูคนนั้นเกษียณออกไป ก็ไม่มีใครส่งเด็กไปแข่งได้เพราะความรู้มันอยู่ที่ตัวครูคนนั้น ไม่ได้รับการถ่ายทอดให้คนอื่น ไม่มีการจัดการความรู้ การจัดการความรูจึงเป็นเรื่องสำคัญ *เป็นองค์กรที่มีความคิดใหม่ๆแลมีการแตกแขนงของความคิด ที่ได้รับการยอมรับและเอาใจใส่ *เป็นองค์การที่บุคคลเรียนรู้อย่างต่อเนื่องในการเรียนรู้วิธีการที่จะได้เรียนรู้ Learning how to leam LO จะมีบรรยากาศของการเรียนรู้รายบุคคลและกลุ่มมีการสอนของตนให้มีการคิดวิเคราะห์ สมาชิกทุกคนมีอิสระกระตือรือร้นในการเรียนรู้สิ่งต่างๆอย่างต่อเนื่องตลอดเวลาและ LOมีกระบวนการต่อไปนี้มาเกี่ยวข้อง

1 Knowledge

2 Knowledge Mannagement 

ลักษณะของ LO มีดังนี้ 

1.มีโครงสร้างที่เหมาะสม คือ สายบังคับบัญชามีความยืดหยุ่น คล่องตัว มี (สามารถทำงานแทนกันได้แต่ไม่ 100%)

2.มีวัฒนธรรมการเรียนรู้เป็นองค์กร ตัวอย่างเช่น นิสัยรักการอ่าน อ่านสิ่งที่เกี่ยวข้องกับวิชาอาชีพของตน สิ่งที่จะสามารถพัฒนาตนเองได้หรือเวลาที่สอนเด็กแล้วมีปัญหาแทนที่จะพูดคุยเล่าให้กันฟังแค่เพียงผ่านๆก็นำมาเป็น AAR ครูมีแรงจูงใจในการสร้างสรรค์สิ่งใหม่ๆหรือ ต่อยอด และผู้บริหารสนับสนุนทั้งเงินและกำลังใจ

3. การเพิ่มอำนาจในการปฏิบัติงาน เช่น เปิดโอกาสในการเรียนรู้และมีอิสระในการตัดสินใจ 

4.มีการตรวจสอบ เช่น ตรวจสอบ คาดการเปลี่ยนแปลงและผลกระทบที่เกิดขึ้น ไหวตัวทันการเปลี่ยนแปลง ในที่นี้คือรู้เท่าทันการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น 

5.ทุกคนมีส่วนสร้างและถ่ายโอนความรู้ คือ ทุกคนมีหน้าที่สร้างความรู้ใหม่ใหม่ ไม่ใช่เพียง ทุกคนต้องเรียนรู้จากส่วนอื่นๆ หรือฝ่ายอื่นๆ โดยผ่านทางการสื่อสารและเทคโนโลยี และ มีการแลกเปลี่ยนข่าวสารระหว่างกัน 

6.มุ่งเน้นคุณภาพ 

7.เน้นกลยุทธ์

8. บรรยากาศเกื้อหนุน ไม่ว่าจะเป็น จากชุมชน ผู้บริการ เขตพื้นที่

9. ทำงานเป็นทีม ส่งเสริมความร่วมมือในการทำงานเป็นทีม สร้างการแข่งขัน ในที่นี้คือแข่งขันกันทำงาน 

3. ความคิดเห็นเกี่ยวกับประเด็นที่เรียน

จากการเรียนรู้ในวันนี้ การทำ AAR เป็นสิ่งที่สำคัญที่ควรจะฝึกเขียน เพื่อใช้ในการสะท้อนผลหลังจากการเข้าร่วมกิจกรรมต่าง ๆ เพราะโดยส่วนใหญ่เมื่อครูทุกคนเจอกับปัญหาจะไม่ได้สนใจที่จะทำบันทึกว่าทำไมจึงเกิดปัญหาในการทำกิจกรรมการเรียนการสอน ทำไมไม่เป็นไปตามที่คาดหวัง หรือเป็นไปตามที่ตั้งไว้ในจุดประสงค์ สาเหตุที่ไม่เป้นไปตามที่คาดหวังคืออะไร ทำให้การแก้ปัญหาอาจจะทำได้ไม่ตรงจุด ส่วน Leraning Organization ข้าพเจ้าคิดว่า ถ้าทำในสังคมที่โรงเรียนให้เป็นแบบ LO ได้ จะเป็นเรื่องที่ดีมาก โดยส่วนใหญ่แล้ว การที่จะทำให้องค์กรเกิดเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ได้นั้น ไม่ใช่เรื่องที่จะทำได้ง่าย ๆ แต่ต้องได้รับความร่วมมือจากทุกฝ่าย โดยเฉพาะฝ่ายบริหาร ถ้าเราเป็นเพียงหนึ่งในไม่กี่คนที่พยายามจะสร้างสังคมในโรงเรียนให้เป็นสังคมแห่งการเรียนรู้ แต่ผู้บริหารไม่เห็นความสำคัญ หรือครูไม่ได้หึความสำคัญ ความพยายามนั้นก็จะไม่เกิดผล ในความคิดเห็นของข้าพเจ้าถ้าโรงเรียนสามารถพัฒนาจนเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ได้จะเป็นเรื่องที่ดีมาก เพราะการดำเนินงานก็จะมีความต่อเนื่อง และเป็นการขยายขอบเขตความสามารถขององค์กรอย่างต่อเนื่อง โดยที่เราสามารถจัดการองค์ความรู้ที่เรามีในแต่ละคน ไว้ให้กับคนอื่น ๆ ที่อยู่ในองค์กรเดียวกัน จะทำให้การดำเนินงานเกิดความต่อเนื่อง แม้ในวันนั้นคนที่เคยปฏิบัติหน้าที่ในส่วนนั้น ๆ ไม่มา เราก็สามารถที่จะปฏิบัติหน้าที่แทนได้ เพราะเราได้รับองค์ความรู้แล้ว

4. การนำความรู้ไปใช้ในการพัฒนาตนเองและการปฏิบัติงาน

ข้าพเจ้าจะนำความรู้ที่ได้ไปพัฒนาการจัดการเรียนการสอนที่โรงเรียน โดยจะพยายามเขียนบันทึกหลังแผนการเรียนรู้ให้เป็นในรูปแบบของ AAR แลจะพยายามสร้างสังคมในโรงเรียนให้เกิดเป็นสังคมแห่งการเรียนรู้ โดยที่จะเริ่มจากตัวข้าพเจ้าก่อน โดยการพยายามที่จะเรียนรู้งานในส่วนต่าง ๆ ที่ทำให้บุคคลนั้นประสบความสำเร็จในหน้าที่ของตน
5. บรรยากาศในการเรียน

บรรยากาศในครั้งนี้มีการบรรยายเป็นส่วนมาก มีการร่วมแสดงความคิดเห็นของนักศึกษาน้อย ครูผู้สอนพยายามกระตุ้นให้นักศึกษาได้คิด ในบางช่วงบางตอนของการเรียนการสอน และแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับประเด็นปัญหาที่ครูตั้งขึ้น แต่ก็ยังไม่ได้ผลเท่าที่ควร โดยรวมแล้วนักศึกษาตั้งใจฟังคำบรรยายดีแต่ไม่ค่อนมีความกล้าที่จะแสดงความคิดเห็น

คำสำคัญ (Tags): #aar#lo
หมายเลขบันทึก: 579511เขียนเมื่อ 31 ตุลาคม 2014 12:18 น. ()แก้ไขเมื่อ 31 ตุลาคม 2014 12:21 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท