การยกย่องเชิดชูเกียรติผู้ประกอบวิชาชีพ


ครูผู้ประกอบวิชาชีพชั้นสูงควรภาคภูมิใจ

 

การยกย่องเชิดชูเกียรติผู้ประกอบวิชาชีพทางการศึกษา

  

ความสำคัญ

 

          คุรุสภาในฐานะที่เป็นองค์กรวิชาชีพครูมีนโยบายในการที่จะส่งเสริมสนับสนุนและยกระดับมาตรฐานวิชาชีพครูให้อาชีพครูเป็นที่ยอมรับโดยทั่วไป เพราะอาชีพครูเป็นอาชีพที่สำคัญยิ่งต่อการพัฒนาเยาวชนของชาติ คณะกรรมการอำนวยการคุรุสภาพิจารณาเห็นว่าการพิจารณาให้รางวัลคุรุสภาแก่ครู       ผู้ปฏิบัติหน้าที่อยู่ในปัจจุบันที่มีประวัติและผลการทำงานดีเด่นในทุกๆด้าน ทั้งในด้านความประพฤติ  การปฏิบัติงานตามอุดมการณ์และหน้าที่ได้อย่างดีเยี่ยมจะทำให้ครูผู้ได้รับรางวัลเกิดความภาคภูมิใจ รู้สึกเป็นเกียรติเป็นศักดิ์ศรี เป็นขวัญกำลังใจในการที่จะทำคุณประโยชน์ให้แก่สังคมและประเทศชาติต่อไป ดังนั้นคุรุสภาจึงได้จัดให้มีการมอบรางวัลคุรุสภาแก่ครูที่ได้รับคัดเลือกให้เป็นครูผู้ปฏิบัติงานที่มีผลงานดีเด่น ซึ่งได้เริ่มดำเนินการมาตั้งแต่ พ.ศ. ๒๕๒๔ เป็นต้นมา (สำนักงานเลขาธิการคุรุสภา ๒๕๓๘ :๗๕)

           ต่อมาคณะกรรมการคุรุสภา ได้ให้ความสำคัญต่อการยกย่องเชิดชูเกียรติผู้ประกอบวิชาชีพทางการศึกษา  ตามพระราชบัญญัติสภาครูและบุคลากรทางการศึกษา พ.ศ. ๒๕๔๖ โดยได้ดำเนินการยกย่องเชิดชูเกียรติผู้ประกอบวิชาชีพ ตั้งแต่เริ่มประกอบวิชาชีพเป็นครูผู้ปฏิบัติการสอน ผู้บริหารสถานศึกษา ผู้บริหารการศึกษา และศึกษานิเทศก์ ไปจนถึงผู้ประกอบอาชีพที่ถึงแก่กรรม โดยมีผู้ทรงคุณวุฒิและผู้เชี่ยวชาญในสาขาต่างๆ ร่วมพิจารณา ซึ่งสอดคล้องกับข้อเสนอเชิงนโยบายการยกย่องเชิดชูครูผู้มีผลงานดีเด่นของสำนักงานปฏิรูปวิชาชีพครู สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ (สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ  ๒๕๔๓ : ๔) ทั้งนี้เน้นการยกย่องในรูปของเงินและงานเพื่อนำไปพัฒนาการเรียนการสอนและพัฒนาเพื่อนครูต่อไป และให้สร้างกลไกเชื่อมโยงการยกย่องให้รางวัลครูของหน่วยงานหรือองค์กรต่างๆให้ต่อเนื่องเป็นบันไดวิชาชีพครู เพื่อให้การยกย่องครูผู้มีผลงานดีเด่นเป็นระบบและมีเครือข่ายในการนกย่องให้รางวัลครูที่มีการประสานงานและส่งเสริมสนับสนุนการทำงานร่วมกัน 

ความหมาย

           พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๒๕  ให้ความหมายคำว่า ยกย่องหมายถึง   เชิดชู และเชิดชูหมายถึง ยกย่อง, ชมเชย 

 

พื้นฐานแนวคิดของคำ

 

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ (สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ,๒๕๔๒)ได้จัดให้มีโครงการพัฒนานโยบายเรื่องการยกย่องครูผู้มีผลงานดีเด่นทั้งของไทยและต่างประเทศ  ผลการศึกษาสรุปได้ว่า

 

.แนวคิดในการยกย่องให้รางวัลครูและบุคคลในสาขาวิชาชีพอื่นๆ ผู้มีผลงานดีเด่นและผู้ที่กระทำความดีที่สร้างสมมาในอดีต มีสองแนวคิดหลักคือ ๑.๑ ประกาศยกย่องครูให้รางวัลแก่บุคคลหรือหน่วยงานที่มีผลงานดีเด่นและได้กระทำความดีให้เป็นที่ประจักษ์ แก่บุคคลทั่วไป เพื่อเป็นกำลังใจให้ปฏิบัติงานต่อไป ซึ่งแนวคิดนี้เป็นที่นิยมปฏิบัติมาช้านานแล้วทั้งในประเทศ และต่างประเทศ โดยเฉพาะสาขาวิชาชีพครู

๑.๒ ประกาศยกย่องให้รางวัลแก่บุคคลหรือหน่วยงานที่มีผลงานดีเด่นและได้กระทำความดีให้เป็นที่ประจักษ์แก่ บุคคลทั่วไป และให้การสนับสนุนทางด้าน "เงินและงาน" เพื่อเปิดโอกาสให้บุคคลหรือหน่วยงานนั้นได้ทำ ประโยชน์ให้แก่วิชาชีพ สังคม และประเทศชาติมากขึ้น ดังตัวอย่างของแนวคิดในเรื่องนี้คือ

 

) ให้รางวัลและยกย่องครูผู้มีความ เป็นเลิศทางการสอนระดับชาติของประเทศออสเตรเลีย และประเทศนิวซีแลนด์

 

)ให้รางวัลและยกย่องครูผู้มีความเป็นเลิศของประเทศฮ่องกง

 

)ให้รางวัลและยกย่องครูแห่งชาติและครูต้นแบบของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ

 

. รูปแบบและวิธีการยกย่องให้รางวัลครูของต่างประเทศได้ดำเนินการอย่างมีระบบ และปฏิบัติอย่างจริงจัง เช่น ประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีน ได้กำหนดวิธีการปฏิบัติไว้ในมาตรา ๓๓ หมวด ๗ ในกฎหมายครู ประเทศออสเตรเลีย ประเทศนิวซีแลนด์ ประเทศสหรัฐอเมริกา และ ESCAP ดำเนินการโดยมูลนิธิหรือหน่วยงานอิสระ เนื่องจากนานาประเทศให้ความสำคัญต่อการยกย่องให้ รางวัลครูผู้มีผลงานดีเด่น เพื่อสร้างขวัญกำลังใจในการปฏิบัติงานต่อไป อีกทั้งเป็นการจูงใจให้คนดี คนเก่งมาประกอบวิชาชีพครู ซึ่งมี ผลกระทบต่อคุณภาพของการศึกษา คุณภาพของเยาวชน และยังส่งผลต่อการพัฒนาประเทศและสังคมโดยส่วนรวมอีกด้วย

            . รูปแบบและวิธีการยกย่องให้รางวัลครู และวงการวิชาชีพอื่น
         
ของประเทศไทยมีวิวัฒนาการชัดเจนสอดคล้องกัน คือจะมี
          หน่วยงานดูแลรับผิดชอบ เช่น คุรุสภา มูลนิธิ สมาคม และ
          องค์กรต่างๆ สรรหาบุคคลผู้มีผลงานดีเด่น มีความดี มีความ
          เสียสละ ในแต่ละอาชีพ และประกาศเกียรติคุณให้สังคมได้
          ประจักษ์อันก่อให้เกิดความภาคภูมิใจและมีกำลังใจที่จะปฏิบัติ
          งาน และทำความดี ต่อไป ในระยะหลังได้เริ่มมีการยกย่องให้
          รางวัลในด้านของ "เงินและงาน" เพื่อให้เกิดการสร้างผลงานที่
          ดีต่อไป เป็นการสร้างคนรุ่นใหม่ในทุกสาขาวิชาชีพให้มีความ
          มั่นคงเข้มแข็งยิ่งขึ้น
         

องค์ประกอบ/ประเภทของคำ

 ในที่นี้มีคำที่เกี่ยวข้อง คือ คำว่ายกย่อง และเชิดชูเกียรติ  ซึ่งประกอบด้วยกิจกรรมการยกย่องและเชิดชูเกียรติผู้ประกอบวิชาชีพทางการศึกษาดังต่อไปนี้ คือ  การจัดงานวันครู  การประกาศเกียรติคุณครูอาวุโส   การประกาศเกียรติคุณผู้ประกอบวิชาชีพทางการศึกษารับรางวัลคุรุสภา   การประกาศเกียรติคุณผู้ประกอบวิชาชีพทางการศึกษารับเครื่องหมายเชิดชูเกียรติ คุรุสดุดีการประกาศเกียรติคุณครูภาษาไทยดีเด่น การจัดพิมพ์หนังสือประวัติครู   การคัดสรรผลงานนวัตกรรมต้นแบบหนึ่งโรงเรียนหนึ่งนวัตกรรม   และการคัดสรรผลงานการวิจัยในชั้นเรียน  เป็นต้น 

การประยุกต์ใช้

 

          เป็นหน้าที่ของครูทุกคนที่จะต้องช่วยกันการยกย่องเทิดทูนวิชาชีพของตน เราจะต้องทำให้สังคมตระหนักในความสำคัญของวิชาชีพนี้ ถึงแม้สถานะทางเศรษฐกิจสังคมจะเปลี่ยนไปอย่างไร จุดหมายของครูเราทุกคนและคุรุสภาในสถานะสถาบันที่เป็นที่รวมผู้ประกอบวิชาชีพนี้จะหาหนทางให้เกียรติคุณวิชาชีพครูกลับไปสู่ฐานะ

แห่งปูชนียบุคคลดังที่เคยเป็นมาตั้งแต่โบราณ(สำนักงานเลขาธิการคุรุสภา ๒๕๔๙ : ๗๑-๗๓)

 

          คุรุสภาได้พยายามอย่างต่อเนื่องตั้งแต่เริ่มแรกของการตั้งคุรุสภามาแล้ว ในการยกย่องเกียรติคุณวิชาชีพครู ประกอบกับนับตั้งแต่ได้มีพระราชบัญญัติสภาครูและบุคลากรทางการศึกษาพ.ศ. ๒๕๔๖   คุรุสภามีความประสงค์จะพัฒนา ยกย่อง ส่งเสริมผู้ประกอบวิชาชีพให้มีศักยภาพ     ในการประกอบวิชาชีพ และมีความภาคภุมิใจในวิชาชีพ เพื่อยกระดับมาตรฐานวิชาชีพและพัฒนา วิชีพทางการศึกษาให้เป็นที่ยอมรับในระดับชาติและระดับสากล  

              กิจกรรมการยกย่องเชิดชูเกียรติ  ผู้ประกอบวิชาชีพทางการศึกษา ของคุรุสภามีดังนี้

 

๑.     การจัดงานวันครู  เพื่อเป็นการยกย่องวิชาชีพทางการศึกษาให้สังคมเห็นความสำคัญของวิชาชีพครู ที่ทำคุณประโยชน์ให้แก่เยาวชนและประเทศชาติ และระลึกถึงพระคุณครูผู้อบรมส่งเสริมถ่ายทอดความรู้แก่เยาวชนให้เป็นพลเมืองดีของชาติ วันครูได้จัดให้มีขึ้นเป็นครั้งแรกในปี
พ.ศ. ๒๕๐๐ หลังจาก พระราชบัญญัติครู พ.ศ. ๒๔๘๘ ประกาศใช้ ๑๒ ปี   สถานที่จัดงานวันครูครั้งแรกของจังหวัดพระนครและธนบุรี คือ กรีฑาสถานแห่งชาติ  คณะกรรมการคุรุสภาในคราวประชุม เมื่อวันที่ ๑๐ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๙๙ ได้มีมติรับข้อเสนอของคณะอนุกรรมการและให้กระทรวงศึกษาธิการนำเสนอรัฐบาล เพื่อกำหนดให้วันที่ ๑๖ มกราคม เป็นวันครู ซึ่งคณะรัฐมนตรีได้มีมติเมื่อวันที่ ๒๑ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๙๙ ให้วันที่ ๑๖ มกราคมของทุกปีเป็นวันครู
  ทั้งนี้คุรุสภาจะเป็นแกนนำในการจัดงานวันครูพร้อมกันทั่วประเทศทั้งส่วนกลางและส่วนภูมิภาค โดยส่วนกลางจัด ณ หอประชุมคุรุสภา ส่วนภูมิภาคมีสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาเป็นแกนนำในการจัดงานวันครู

 

๒.    การประกาศเกียรติคุณครูอาวุโส   เป็นการยกย่องผู้ประกอบวิชาชีพทางการศึกษาที่ปฏิบัติการสอนมาจนมีอายุครบ ๖๐ ปีบริบูรณ์ มีความประพฤติเป็นแบบอย่างที่ดีตามจารีตครู และเป็นผู้ที่เพียบพร้อมด้วยคุณธรรม เป็นครูที่ทำการสอนมีระยะเวลารวมกันไม่น้อยกว่า ๓๐ ปี ส่วนตำแหน่งอื่นต้องเป็นครูที่ทำการสอนในสถานศึกษาไม่น้อยกว่า ๑๐ ปี และรวมเวลาเป็นครูไม่น้อยกว่า ๓๐ ปี  จะได้รับการยกย่องเป็น ครูอาวุโส ตามโครงการประกาศเกียรติคุณครูอาวุโส ซึ่งมีมูลนิธิช่วยครูอาวุโสในพระบรมราชูปถัมภ์ร่วมกับคุรุสภาเป็นผู้ดำเนินการให้ได้เข้ารับพระราชทานเครื่องหมายเชิดชูเกียรติจากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ นับตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๕๐๙ เป็นต้นมา ทั้งนี้ครูอาวุโสจะเข้ารับพระราชทานเครื่องหมายเชิดชูเกียรติประกาศนียบัตรและเงินช่วยเหลือ จากสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร แทนพระองค์ เป็นประจำทุกปี ณ ศาลาดุสิดาลัย สวนจิตรลดา

 

๓.    การประกาศเกียรติคุณผู้ประกอบวิชาชีพทางการศึกษารับรางวัลคุรุสภา  เป็นการดำเนินการสรรหาผู้ประกอบวิชาชีพทางการศึกษาที่มีมาตรฐานวิชาชีพ จรรยาบรรณดีเด่น และสร้างคุณประโยชน์ในด้านการศึกษารับรางวัลคุรุสภา จำนวน ๙ รางวัล ประกอบด้วยรางวัลสำหรับครู ๕ รางวัล ผู้บริหารสถานศึกษา ๒ รางวัล  ผู้บริหารการศึกษา ๑ รางวัล และบุคลากรทางการศึกษาอื่น (ศึกษานิเทศก์) ๑ รางวัล  คุรุสภาได้เริ่มดำเนินการประกาศเกียรติคุณและให้รางวัลมาตั้งแต่ ปี พ.ศ. ๒๕๒๔ ผู้ได้รับการประกาศเกียรติคุณจะได้รับการยกย่อง แสดงผลงานต่อสาธารณชนในงาน      วันครู โดยได้รับประกาศเกียรติคุณพร้อมเงินรางวัล จาก ฯพณฯ นายกรัฐมนตรี ซึ่งการให้รางวัล  คุรุสภาแต่ละปีจะเป็นการส่งเสริมให้ครูบำเพ็ญตนให้เป็นประโยชน์ต่อส่วนรวมและประเทศชาติ เสริมสร้างศรัทธาและความเชื่อถือในวิชาชีพครูให้เป็นที่ประจักษ์แก่สังคม เป็นการส่งเสริมขวัญและกำลังใจแก่ผู้ที่เสียสละและบำเพ็ญประโยชน์ต่อการศึกษาและเพื่อเป็นการยกย่องเชิดชูเกียรติผู้ประกอบวิชาชีพทางการศึกษาปฏิบัติงานมีผลงานดีเด่น สร้างคุณประโยชน์ในด้านการศึกษา

 

๔.         การประกาศเกียรติคุณผู้ประกอบวิชาชีพทางการศึกษารับเครื่องหมายเชิดชูเกียรติ คุรุสดุดี  มีวัตถุประสงค์เพื่อยกย่องผู้ประกอบวิชาชีพทางการศึกษาที่ปฏิบัติตนตามจรรยาบรรณของวิชาชีพ จนสามารถเป็นแบบอย่างและเป็นที่เคารพยกย่องอย่างสูงของศิษย์และบุคคลทั่วไป สมเป็นปูชนียบุคคล และมีความเสียสละ อุทิศตนเพื่อประโยชน์แก่วิชาชีพตลอดระยะเวลาปฏิบัติงาน ได้รับเครื่องหมายเชิดชูเกียรติ คุรุสดุดี ในวันที่ ๕ ตุลาคมของทุกปี  ซึ่งสำนักงานเลขาธิการคุรุสภาจะมอบให้เขตพื้นที่การศึกษาหรือหน่วยงานที่ไม่ได้สังกัดเขตพื้นที่การศึกษาดำเนินการคัดเลือกผู้สมควรได้รับเครื่องหมายเชิดชูเกียรติ คุรุสดุดีเสนอสำนักงานเลขาธิการคุรุสภา เพื่อเสนอคณะกรรมการคุรุสภาอนุมัติ

 

๕.    การประกาศเกียรติคุณครูภาษาไทยดีเด่น เพื่อเป็นการยกย่องครูภาษาไทยดีเด่นซึ่งเป็นครูผู้ปฏิบัติการสอนครบ ๘ กลุ่มสาระในสถาบันการศึกษาต่างๆทั้งของรัฐและเอกชนที่มีความสามารถสูงในการประกอบอาชีพและปฏิบัติงานดีมีผลงานดีเด่นและสามารถจัดการเรียนการสอนภาษาไทยอย่างมีประสิทธิภาพ คุรุสภาจึงดำเนินการประกาศเกียรติคุณโดยการมอบเข็ม    พระนามาภิไธยย่อ สธ. ซึ่งได้รับพระบรมราชานุญาตจากสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี พร้อมโล่เกียรติคุณ ในวันที่ ๑๔ พฤศจิกายน ของทุกปี

 

๖.     การจัดพิมพ์หนังสือประวัติครู  เป็นการยกย่องเกียรติประวัติของผู้ประกอบวิชาชีพทางการศึกษาที่ถึงแก่กรรมแล้ว ซึ่งประพฤติปฏิบัติตนอยู่ในกรอบแห่งจรรยามารยาทที่ดี ได้ปฏิบัติหน้าที่สร้างคุณประโยชน์ต่อการศึกษาปรากฏเด่นชัดในด้านการสอน หรือการบริหารการศึกษา หรือการวิจัยการศึกษา หรือแต่งตำราแบบเรียน เป็นต้น แต่ผลงานของท่านยังมีประโยชน์ต่อวงการศึกษาโดยรวบรวมประวัติจัดพิมพ์เป็นหนังสือประวัติครู เผยแพร่ในวันครู ๑๖ มกราคมของทุกปี  ทั้งนี้สำนักงานเลขาธิการคุรุสภาได้ดำเนินการจัดทำหนังสือประวัติครูเป็นประจำทุกปี ตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๕๐๐ เป็นต้นมา จวบจนถึงปัจจุบัน

                 ๗.    การคัดสรรผลงานนวัตกรรมต้นแบบ
                
หนึ่งโรงเรียนหนึ่งนวัตกรรม 

      สำนักงานเลขาธิการคุรุสภา เริ่มดำเนินการประกวดผลงาน
     
หนึ่งโรงเรียนหนึ่งนวัตกรรมตั้งแต่ปี ๒๕๔๗ โดยมุ่งหวัง
      จุดประกายให้เกิดความตื่นเต้นและตระหนักถึงความสำคัญ
      ของการพัฒนานวัตกรรมการศึกษาที่ส่งผลต่อการพัฒนา

    คุณภาพของแต่ละโรงเรียนซึ่งเป็นการพัฒนาวิชาชีพโดยใช้

    โรงเรียนเป็นฐานการพัฒนาด้วยนวัตกรรมการศึกษาที่เหมาะ

    สมกับบริบทของแต่ละโรงเรียน เกิดจากการมีส่วนร่วมและ 

    ส่งผลต่อการพัฒนาคุณภาพผู้เรียน ครู และทุกฝ่ายที่เกี่ยว

    ข้อง โรงเรียนที่ได้รับการคัดสรรจะได้รับรางวัลตามระดับ

    คุณภาพ คือ ระดับเหรียญทอง เหรียญเงิน และเหรียญทอง

    แดง

                 ๘.    การคัดสรรผลงานการวิจัยในชั้นเรียน  สำนักงาน
             
เลขาธิการคุรุสภา เริ่มดำเนินการคัดสรรผลงานการวิจัยใน
              ชั้นเรียนตั้งแต่ปี ๒๕๔๗ มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาความรู้
              ทักษะ และประสบการณ์  ในการทำวิจัยในชั้นเรียนแก่ครู
              เป็นเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในการสร้างและเผยแพร่ผลงาน
              วิจัยที่มีคุณภาพและเสริมสร้างขวัญกำลังใจแก่ครูให้มั่นใจ
              และสามารถพัฒนางานวิจัย  นอกจากนี้ยังเป็นการส่งเสริม
              ให้เกิดการพัฒนาเครือข่ายครูนักวิจัย  โดยสำนักงานจะจัด
               เวทีให้ผู้ได้รับการคัดเลือกนำเสนอผลงานในการประชุม
               วิชาการเป็นประจำทุกปี
 

บรรณานุกรม/ เอกสารอ้างอิง

 พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ : สมหวัง  พิธิยานุวัฒน์.  กรุงเทพฯ สำนักงานปฏิรูปวิชาชีพครู. สกศ.๒๕๔๓

สำนักงานเลขาธิการคุรุสภา ก้าวเข้าสู่ปีที่ ๖๒ ก้าวเพื่อยกระดับมาตรฐานวิชาชีพทางการศึกษา ครบรอบ ๖๑ ปี วันสถาปนาสำนักงานเลขาธิการคุรุสภา, ๒๕๔๙

สำนักงานเลขาธิการคุรุสภา กึ่งศตววรรษคุรุสภาไทย, ๒๕๓๘ 

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ  ข้อเสนอเชิงนโยบายการปฏิรูปวิชาชีพครูตามพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ
พ.ศ. ๒๕๔๒

  

หมายเลขบันทึก: 57930เขียนเมื่อ 8 พฤศจิกายน 2006 13:19 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 มิถุนายน 2012 21:11 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)
ขอคารวะค่ะ เป็นลูกศิษย์ชนิดแอบอ่านมานานแล้วค่ะ แต่ไม่กล้าออกความคิดเห็น ดิฉันมีความเห็นว่า 1. เมื่อครูทำความดี คนรู้น้อยจัง เมื่อครูทำความไม่ดี รู้กันทั่วประเทศ อยากให้ช่วยกันเผยแพร่ความดีของครูให้มากกว่านี้ ดิฉันมีข้อความที่พูดประจำว่า "ครูดีๆมีอยู่มากมาย" 2. เวลาเป็นข่าว ก็จะพูดทำนองว่าการศึกษามีปัญหา ครูมีปัญหา นักเรียนมีปัญหา แต่ไม่ค่อยได้เสนอทางแก้ปัญหาที่เป็นรูปธรรม ฟังแล้วทำให้จิตตก (แต่ของอาจารย์ ดีค่ะ ชี้แนะตลอดเวลา)
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท