ทรัพย์สินมีค่าสูงสุด ใน ศตวรรษที่ 21


วันนี้มีแรงกระตุ้นให้เขียน เป็น 'วาบ' ความคิด
จากการอ่านข่าวเล็กๆ 
" “หนังสือที่นักเขียนมาจากออนไลน์จะไม่ใช่แนวนิยายเป็นส่วนใหญ่อีกแล้ว เพราะที่มาแรงในงานครั้งนี้จะเป็นพ็อกเก็ตบุ๊คที่เกี่ยวกับความรู้ ความคิดในด้านต่างๆ รวมถึงหนังสือภาพ คาดว่าอาจเพราะนักเขียนมีฐานของแฟนคลับจึงทำให้ยอดขายหนังสือแนวนี้ไปได้ดี และการันตียอดขายได้ในระดับหนึ่ง โดยหนังสือส่วนใหญ่จะเป็นการเขียนใหม่ขึ้นมา หรือจัดคอนเซ็ปต์เล่มอย่างชัดเจน

ในส่วนของหนังสือแนวพัฒนาตัวเองนั้น กระแสเกิดขึ้นจากสภาพสังคมที่ผู้คนกำลังสับสนกับสภาวะเศรษฐกิจและสังคมภายนอก จึงตั้งใจที่จะพัฒนาตัวเองให้ดีที่สุด รวมถึงสร้างรายได้เพิ่มทั้งจากอาชีพและการลงทุนที่น่าสนใจคืองานมหกรรมหนังสือฯครั้งนี้.."ที่มา http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1...

และจากการตัดสินใจยกเลิกการใช้บริการธนาคารหนึ่ง
ด้วยเหตุผล ความไม่สะดวกของระบบ internet banking
ที่ให้โอกาสปรับปรุง แล้วก็ยังไม่ดีขึ้นนัก

                                                       อะไรจะเป็นทรัพย์สินมีมูลค่าสูงสุด ใน ศตวรรษถัดไป ?
<p>ในยุคเกษตรกรรม  คือ ที่นา  
ในยุคอุตสาหกรรมตอนต้น คือ ทอง
ในยุคอุตสาหกรรมตอนปลาย คือ หุ้น
ผ่านสู่ยุคข้อมูลข่าวสาร  ทั้งที่นา ทอง และหุ้น  ก็ยังสิ่งมีค่าอยู่ 
แต่เมื่อทุกคนก็พยายามถือครอง ก็มี ‘ราคา’ ต้นทุนถูกจึงไม่มี
ผลตอบแทนก็ย่อมไม่สูงเลิศเลอเหมือนแต่ก่อน..เป็นสัจธรรม
สิ่งที่มี ‘ราคา’ สูงแล้วในประเทศผู้นำทางเศรษฐกิจโลกคือ ‘สื่อเพื่อพัฒนาตนเอง’
หนังสือชื่อ ‘Strength finder’ ติดอันดับ Best seller มา 4 ปี (ที่มา)
คอร์สเกี่ยวกับการสร้างแรงบันดาลใจ และการพัฒนาตนเอง ของ John Maxwell, Brian Tracy
ราคาบัตรแพงกว่าคอนเสิร์ต ก็มีคนเต็ม

ขณะที่ประเทศไทยเรานั้น เริ่มเห็นกระแสนี้ และข้าพเจ้ามองว่ากระแสนี้จะแรงขึ้นเรื่อยๆ
แต่ต้นทุนถูก คอร์สดีๆ ที่ให้เข้าฟรียังมีอีกมาก
คนที่ ‘โชคดี’ ก็คือ คนที่พัฒนาตนเองให้รองรับกับโอกาสเมื่อมาถึง

  ทรัพย์สิน (Asset) ที่มีค่าสูงสุด ในศตวรรษถัดไป ไม่ใช่ความรู้ แต่เป็น การพัฒนาตนเองอยู่เสมอ                               



ยินดีด้วยกับ ผู้เริ่มหยอดกระปุกการพัฒนาตนเอง มาตลอด
ไม่ว่าสิ่งนั้นจะเป็นเรื่องอะไร..ที่ท่านบอกกับตนเองได้ว่า ทำดีขึ้นกว่าเมื่อวาน

หมายเลขบันทึก: 579165เขียนเมื่อ 23 ตุลาคม 2014 16:18 น. ()แก้ไขเมื่อ 26 ตุลาคม 2014 11:45 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (10)

ยากยิ่ง..เจ้าค่ะ..มันเคยชิน..ซ้ะแล้ว..(ต้องยอมรับ)..ชี้นิ้วง่ายกว่า..จะมองดูว่ากี่นิ้วที่ชี้มาหาตัว..น่ะเจ้าค่ะ..กับการพัฒนาตัวตน..๕แต่..ถ้านับหนึ่งถึงสามได้..ก็คงนับได้ถึงสิบ..อิอิ..(หวังๆๆๆ)..๕

In my words, it's the triple L (LLL for Life Long Learning) drive ;-)

Please note: 'drive' : force to propel (something) or grit : (as in 'true grit') determination (to do something); (slang) guts (as in you have the guts to do something).

;-)

เรียนรู้ด้วยการฝึกหัด

ปฎิบัติเรียนรู้เพื่อศึกษา

หาเลี้ยงชีพมีชีวิตวัฒนา

มีวิชาประสบการณ์บริหารงานชุมชน  (การพัฒนาตนเองอยู่เสมอ)

...ส่วนตัวมีหลักในการพัฒนาตนเองง่ายๆค่ะ...ยอมรับ ...ชื่่นชม...และแสวงหา..นะคะคุณหมอป.

การที่มีสื่อให้พัฒนาตนเองสำคัญมากเลยครับ

หนังสือเหล่านี้ขายดีมาก

ขอบคุณมากๆครับ

ให้นึกถึง K M  แบบ "ปิ้งแว๊บ" ขึ้นมาเลยค่ะ 

ขอบคุณค่ะ ได้ข้อคิดสะกิดให้ 'แว๊บ' ต่อจากความเห็นของทุกท่าน

"..Perseverance is a great element of success;
if you only knock long enough and loud enough at the gate
you are sure to wake up somebody.. Brian Tracy"

Ajarn Sujin (สุจินต์ บริหารวนเขตต์ ผู้เชี่ยวชาญด้านพุทธศาสนา และ ประธานกรรมการ มูลนิธิศึกษาและเผยแพร่พระพุทธศาสนา)'s word came to me: (in quotes)

"When you see the importance of pa~n~naa, no matter where, among people, in the forest, at home, in the hotel or anywhere, pa~n~naa comes to your mind because it's developed to that degree that you see nothing is more important than pa~n~naa.

You don't mind where you are, you don't mind whether you're sick or not sick, you don't mind anything at all - only pa~n~naa for you in your life is the most important thing."

NB: pa~n~aa (in Roman script) or ปัญญา (in Thai script) is ONE BIG GOAL of being a Buddhist. In short

 1) siila or สีล (vinaya in the Books of Tipitaka) is a goal for 'right actions' or living

 2) samaadhi or สมาธิ is another goal for gaining enlightenment or learning 

 3) Pa~n~naa or ปัญญา is the ultimate goal of being a Buddhist -- to understand the Nature of things or Dhamma.

It seems to me that we are seeing an example of 'a final endeavour' in this post.

Sadhu ;-)

ขอบคุณ และสาธุค่ะ
เมื่อตอนพยายามออกแสวงหานั้น ภายในใจไม่สงบ เมื่อมีสิ่งกระทบจากภายนอกแม้เพียงเล็กน้อย ก็ปั่นป่วน น้อยใจง่าย
เมื่อ ภายในใจสงบนิ่ง เมื่อมีสิ่งกระทบก็กระเพื่อมเพียงเล็กน้อย
เรื่องเล็กหรือใหญ่ ขึ้นอยู่กับใจเราสะเทือนเพียงไร :)

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท