แลดูผู้ดูแลในโลกที่หมุนไป


โลกกำลังหมุนไปสู่ภาวะที่ 'เวลา' กับ 'ความเฉพาะทาง' เป็นทรัพย์อันมีค่ายิ่งกว่าสิ่งใด การคาดหวังว่าใครสักคนในครอบครัวจะต้อง 'เสียสละ' จึงยากขึ้นทุกที ถึงเวลาหรือยังที่จะใช้วิกฤติสร้างโอกาส ยกวิชาชีพผู้ดูแล ที่มีคุณค่าอยู่แล้วให้มีศักดิ์ศรี

"เดี๋ยวจะต่อสายถึงคนมีอำนาจตัดสินใจนะค่ะ..."
คุณจุ๊บ (นามสมมติ) ผู้ดูแลแม่สามีมากว่า 5 เดือนที่นอนห้องพิเศษใน รพ. กล่าว
คุณจุ๊บ ทำหน้าที่ตั้งแต่ตื่นเช้ามา ป้อนอาหาร พลิกตัว เปลี่ยนผ้าอ้อม ดูดเสมหะในลำคอ
ส่วนตอนกลางคืน น้องสามี ลูกชายของผู้ป่วยจะมานอนเฝ้า
เทียบกับหลายๆ ครอบครัวแล้ว ผู้ป่วยรายนี้ยังนับว่าโชคดี
ที่ลูกๆ ทั้งสี่ กับ หนึ่งศรีสะใภ้ช่วยกันดูแล โดยไม่มีปัญหาทางเศรษฐกิจ

กระนั้น ก็ยังไม่มีใครมั่นใจการดูแลที่บ้าน..
ที่ซึ่งผู้ป่วยปรารถนาจะนอนพักผ่อนในระยะท้ายของชีวิต

อุปสรรคสำคัญคือ การให้สารน้ำและยา ทางหลอดเลือดดำ
การอยู่ใน รพ. มีสารพัดวิธีและผู้เชี่ยวชาญที่จะทำได้
แต่แล้ว วันที่ข้าพเจ้ากลัวก็มาถึง
ผู้ป่วยแขนขาบวมมาก จากภาวะอัลบูมินต่ำ จนคุณพยาบาลหาเส้นไม่ได้
ปรึกษาคุณหมอวิสัญญี มาช่วยหาเส้นที่แขน ก็ประเมินว่าบวมเกินกว่าจะทำได้
จนต้องถามความเห็นญาติ เรื่องการใส่สายที่เส้นเลือดลำคอ (central line)

แม้คุณจุ๊บ กับลูกชายคนสุดท้องดูแลใกล้ชิดมาตลอด
และรู้ว่า หากคนไข้ลุกมาพูดได้ คำตอบคือ 'พอเถอะ'
แต่อำนาจการตัดสินใจกลับอยู่ที่ลูกคนที่อยู่ห่างที่สุด มีหน้าทีการงานดีที่สุด...
.......
ยุติธรรมหรือไม่ กับผู้ดูแล ที่เสียสละเวลา กับโอกาสในชีวิต

โลกกำลังหมุนไปสู่ภาวะที่ 'เวลา' กับ 'โอกาส' เป็นทรัพย์อันมีค่ายิ่งกว่าสิ่งใด
การคาดหวังว่าใครสักคนในครอบครัวที่ 'เสียสละ' แบบคุณจุ๊บ จะยากขึ้นทุกที
ถึงเวลาหรือยังที่จะใช้วิกฤตินี้สร้างโอกาส
ยกวิชาชีพผู้ดูแล ที่มีคุณค่าอยู่แล้วให้มีศักยภาพและศักดิ์ศรียิ่งขึ้น

=====================

I have a dream

ภาพ: ตัวอย่าง บริการให้ยาและสารอาหารที่บ้าน มีระบบ referal online ด้วยค่ะ http://www.infusioncare.com/

Professional home health care
อาจมีชื่อภาษาไทยว่า  นักเคหะบริบาล  ไม่ควรใช้คำว่า 'ผู้ช่วยทางการแพทย์/ผู้ช่วยพยาบาล'
เขาคือ นักบริบาลที่สามารถสะสม เพิ่มพูน องค์ความรู้และอัตลักษณ์ของตนเอง
หลักสูตรนักบริบาล มีการรับรอง และตรวจสอบโดยกระทรวงสาธารณสุข และ/หรือ กระทรวงศึกษาธิการ
นักบริบาลรุ่นแรก อาจมีอาจารย์จากสหวิชาชีพ แต่เมื่อเวลาผ่านไป เขาจะกลายเป็นอีกวิชาชีพที่ภาคภูมิ
มีความสามารถขั้นสูงขึ้น มากไปกว่าการเฝ้า พลิกตัว ป้อนอาหาร
มาเป็นสามารถ ให้สารน้ำทางเส้นเลือดหรือทางใต้ผิวหนัง, เปลี่ยนสายอาหาร
และที่สำคัญ มีความเป็น Expert แก้ปัญหาการดูแลที่บ้านได้อย่างสร้างสรรค์

ข้าพเจ้าไม่มีความรู้ทางบริหาร เพียงเคยสัมผัสด้วยใจว่า
'คนเรานั้นขับเคลื่อนด้วยในสิ่งที่ท้าทาย ด้วยความหวังถึงชีวิตที่ดีกว่า 
...บรรพบุรุษเราจึงออกจากถ้ำมาสร้างตึกระฟ้าทุกวันนี้

หมายเลขบันทึก: 579050เขียนเมื่อ 21 ตุลาคม 2014 07:54 น. ()แก้ไขเมื่อ 21 ตุลาคม 2014 18:15 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (13)

ถ้าจะสรุปว่า

- การเห็นคุณค่าของผู้ดูแล

- การเสริมพลัง สร้างระบบรองรับวิชาชีพผู้ดูแล

พอไหวมั้ยครับ

ทึ่งเลยครับ

บ้านเราไม่ค่อยมีนักบริบารใช่ไหมครับ

มีใจรักมาก่อน  อย่างอื่น ๆ ตามมานะคะ   น่าจะเป็นที่ต้องการของสังคมผู้สูงอายุในปัจจุบันและอนาคตมากขึ้นด้วยค่ะ

ให้กำลังใจนะคะคุณหมอ ป.

จากประสบการณ์ที่มีผู้ดูแลคุณแม่สามีมาสองสามคนก่อนท่านจะสิ้น บอกได้จริงๆค่ะว่าควรมีในบ้านเราให้เป็นเรื่องเป็นราวจริงๆ โดยเริ่มจากผู้ดูแลที่มีอยู่ในปัจจุบันซึ่งมีมากจริงๆ และหลายๆคนทำด้วยใจรัก จึงมีความสามารถหลายอย่างตามประสบการณ์ที่มี แต่ที่แน่ๆคือเขาขาดความรู้พื้นฐานบางอย่างที่จำเป็นในงาน และยังขาดความเข้าใจอย่างเต็มที่และถูกต้องในงานที่เขาทำได้จากการ"ครูพักลักจำ"พยาบาลที่มาดูแล กลุ่มคนเหล่านี้จะเป็นกำลังสำคัญในการดูแลผู้สูงอายุ ซึ่งนับวันจะมีมากขึ้น ให้เราไม่ต้องใช้ที่ในโรงพยาบาลเพื่อผู้ป่วยที่สามารถดูแลที่บ้านได้ ผลดีมีทั้งต่อโรงพยาบาลและผู้ป่วยเพราะใครๆก็อยากนอนอยู่ที่บ้านมากกว่าที่อื่นนะคะ เราจะผลักดันอย่างไรจึงจะเกิดได้จริงๆคะนี่

ใช่ค่ะอาจารย์ เป็นการเสริมพลังนอกจากระบบจิตอาสาซึ่งดีงามอยู่แล้ว

แต่บางครั้ง การนำผู้ป่วยหนักไปดูแลที่บ้าน ต้องการทั้งเวลา และ ทักษะเทคนิค ระดับวิชาชีพ
ยกตัวอย่าง การเปิดเส้นให้สารน้ำ  การดูแลแผลกดทับที่เป็นเยอะๆ เป็นต้นค่ะ

  เห็นอาจารย์ขจิต แล้ว เลยนึกได้อีกอย่างว่า หนึ่งในสมรรถนะ สำคัญคือสื่อสารภาษาอังกฤษค่ะ

คนต่างชาติมาอยู่ในเมืองไทย โดยเฉพาะคนสูงอายุมากขึ้นทุกวัน

ขอบคุณในกำลังใจและไมตรีดั่งหยาดฝนอันชื่นใจค่ะ ^_^

เห็นนโยบายกระทรวงสาธารณสุขใหม่แวบๆ ว่ามีเรื่อง care giver ในชุมชนเช่นเดียวกัน

ที่ดีแน่อยู่แล้วคือ จิตอาสา 
เพียงอยากให้พิจารณา วิชาชีพ 

ทั้งคู่น่าจะเป็นการพัฒนาอย่างยั่งยืน  

ขอบคุณค่ะพี่โอ๋ที่จุดประกายแนวคิดดีๆ เกี่ยวกับ 'ผู้เชี่ยวชาญจากการลงมือปฎิบัติ' 
เป็นอีกกำลัง ที่สามารถเป็นโคช ให้กับ care giver หน้าใหม่ได้อย่างดี
ทุกครั้งที่ไปเยียมคนไข้ติดเตียง จะทึ่งในความช่างสังเกต เอาใจใส่ และปรับตัวของผู้ดูแล
เพียงแต่อาจขาดความรู้ทางเทคนิค
เทคนิค caring นั้นเป็นองค์ความรู้ที่คุณพยาบาลชำนาญ เพียงแต่ไม่มีเวลา เพราะนอกจากงานบริการแล้วยังมีการคุณภาพโรงพยาบาลต่างๆ มากมายค่ะ

คำถามที่พี่โอ๋ ทิ้งท้าย ให้ 'คิดใหญ่ไม่คิดเล็ก'  ค่ะ
กำลังเดินไปตามแผนค่ะ  พัฒนาตน - เชื่อมโยงคน - รอเมื่อผลสุก
(แม้ใครไม่เข้าใจก็ไม่เป็นไร ทำได้เพียงไรก็ดีใจแล้วที่ได้พยายามทำ)

สวัสดียามดึกจ้ะ  ช่วงนี้คุณมะเดื่อไม่ค่อยได้เข้าโกทูโนนัก  จึงไม่ได้มาทักทาย  สบายดีนะจ๊ะ  ระลึกถึงเสมอจ้ะ

  ขออนุญาตทักทายฉับพลัน ^_^  ไม่ได้เข้ามานานเหมือนกันค่ะ

http://www.prachachat.net/news_detail.php?newsid=1...

ในปี 2583 ที่ข้าพเจ้าจะกลายเป็น ผู้สูงอายุ

คาดการณ์ว่าขณะนั้น จะมีสัดส่วนผู้สูงอายุ 1 ใน 4 ของประชากร
จากสังเกตการณ์ คงเป็นไปได้ยากของการดำรงอยู่ของ 'ระบบเบิกสิทธิข้าราชการ'

เป็นไปได้ยากที่จะ 'open end' ค่าใช้จ่ายของรัฐเรื่องนี้ ในภาวะที่อัตราการพึ่งพิงสูง

เศรษฐกิจไทยอาจไม่ก้าวกระโดดเหมือนยุค เปลี่ยนจากเกษตรกรรมสู่อุตสาหกรรมใหม่ๆ แบบ 30 ปีก่อน

ความตึงตัวของภาคแรงงาน และค่าครองชีพที่ถีบตัวสูงขึ้น

การคิดว่า เมื่อชราไปลูกหลานมีหน้าที่เลี้ยงดู อาจใช้ไม่ได้อีกต่อไป

อย่างไรเสีย สุภาษิตที่ว่า 'ตนเป็นที่พึ่งแห่งตน' ก็ยังใช้ได้เสมอ

อ่านแล้ว คิดถึงตัวเอง ตอนพ่อป่วยระยะสุดท้าย

ถึงเราจะเป็นพยาบาล

เรายังต้องการคนที่รู้ เข้าใจ คอยให้คำปรึกษา

ทุกระยะของการเจ็บป่วยว่า..เราควรจะทำอะไรให่พ่อที่กำลังจะจากไป

พี่แก้ว

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท