บันทึกอนุทินครั้งที่ 3 เรื่องการสร้างองค์กรแห่งการเรียนรู้ (Learning Organization : LO) บันทึกโดยนางสาวผกาวรรณ สุวรรณภูมานนท์


                                                   บันทึกอนุทินครั้งที่ 3

วิชา                    การศึกษาเพื่อพัฒนาสังคมแห่งการเรียนรู้

รหัสวิชา             102611

อาจารย์ผู้สอน    ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.อดิศร   เนาวนนท์

เรื่อง                    การสร้างองค์กรแห่งการเรียนรู้   (Learning Organization : LO)

บันทึก                 วันที่ 10 สิงหาคม 2557

ผู้บันทึก              นางสาวผกาวรรณ  สุวรรณภูมานนท์   รหัสนักศึกษา   57D0103110    

                     นักศึกษาปริญญาโท สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน (ภาคพิเศษ หมู่1 รุ่นที่ 13)


การเตรียมตัวล่วงหน้าในการเรียนแต่ละครั้ง

              การเรียนการสอนในวันที่ 10 สิงหาคม 2557 ท่านอาจารย์ได้มอบหมายไว้ว่าชั่วโมงหน้าจะเรียนเกี่ยวกับการจัดการความรู้ (Knowledge Management : KM)

              ดิฉันได้ศึกษาเนื้อหาเกี่ยวกับการจัดการความรู้ ดังนี้ ได้ทราบว่าการจัดความรู้เป็นเครื่องมือเพื่อใช้ในการบรรลุเป้าหมายอย่างน้อย   3 ประการ ได้แก่   งาน  การพัฒนาคน   และการพัฒนาองค์กร   เพื่อไปสู่การเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้   ถ้าต้องการความสำเร็จจะต้องสร้างแรงจูงใจแท้   ไม่ใช่แรงจูงใจเทียมคือการถูกบังคับให้ทำ


สิ่งที่คาดหวังจากการเรียน

               ในการจัดความรู้ให้เกิดผลสำเร็จจะต้องใช้นวัตกรรมอะไร   ซึ่งข้าพเจ้าคาดหวังจากการเรียนการสอนว่าข้าพเจ้าจะต้องทราบเกี่ยวกับนวัตกรรมที่นำมาใช้นั้น เพื่อนำไปต่อยอดความรู้


ความรู้ความเข้าใจที่ได้รับ

            ในวันนี้ดิฉันได้ทราบความรู้เกี่ยวกับ After Action Review (AAR) คือการบันทึกความรู้คล้ายกับอนุทิน แต่ AAR จะประกอบด้วย 3 ส่วน คือ จะต้องมีความรู้ มี กระบวนการ และมีทักษะ

            ได้เรียนรู้เกี่ยวกับเว็บไซต์ www.gotoknow.org เป็นการบันทึกความรู้ แสดงความเห็นลง Webblog เป็นการสร้างสังคมแห่งการเรียนรู้ที่อาศัยเทคโนโลยีสารสนเทศ

             ได้รับความรู้เกี่ยวกับ Learning Organization (LO) คือองค์กรแห่งการเรียนรู้ นั่นหมายถึง องค์กรที่สามารถปรับเปลี่ยน หาวิธีการต่าง ๆ เพื่อให้องค์กรมีประสิทธิภาพ

                Learning Organization (LO) จะไม่รู้จักคำว่า “ทดสอบแล้วล้มเหลว” ตราบเท่าที่มีการเรียนรู้จากการกระทำ องค์ประกอบที่สำคัญคือ  1.  การเรียนรู้ ได้แก่ ระดับการเรียนรู้ ประเภทของของการเรียนรู้ และทักษะการเรียนรู้   2. องค์กร ประกอบด้วย วิสัยทัศน์ วัฒนธรรม กลยุทธ์ โครงสร้าง   3. สมาชิกในองค์กร ได้แก่ บุคลากร ผู้บริหาร ผู้รับบริการ คู่ค้า   4. ความรู้  และ   5. เทคโนโลยี

                การทำให้เกิดองค์กรแห่งการเรียนรู้ จะต้องมีแนวทาง ดังนี้

                1)  บุคคลจะต้องให้ความสำคัญกับการเรียนรู้ ฝึกฝนอย่างต่อเนื่อง

                2)  จะต้องมีแบบแผนทางความคิด ตัดสินใจอย่างเหมาะสม

                3)  บุคลากรต้องมีวิสัยทัศน์ร่วมกันไปในทิศทางเดียวกัน

               4)  ทำงานเป็นทีม

                5)   คิดอย่างเป็นระบบ สามารถเชื่อมโยงกับสิ่งต่าง ๆ ได้ มีการต่อยอดสร้างสรรค์สิ่งใหม่ ๆ ได้


ความคิดเห็นประเด็นที่เรียน

              การสร้างองค์กรแห่งการเรียนรู้  จะต้องปลูกจิตสำนึกให้กับบุคลากรทุกคนให้เกิดความศรัทธา   ร่วมมือกัน  ไม่เช่นนั้นองค์กรแห่งการเรียนรู้จะไม่เกิดขึ้น                                 

                                         

การนำความรู้ไปใช้

              ในการที่จะพัฒนาองค์กรต่าง ๆ ให้เป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ ทุกคนจะต้องมีส่วนร่วมในการ

สร้างสรรค์   พัฒนา   จัดการอบรม   มีการถ่ายทอดแลกเปลี่ยนความรู้อย่างต่อเนื่อง  ซึ่งจะทำให้องค์กรพัฒนาไปอย่างรวดเร็ว   และสิ่งที่สำคัญจะต้องมีการประเมินผลการดำเนินงานเพื่อทราบข้อบกพร่อง พร้อมนำไปแก้ไข และพัฒนาต่อไป

             สำหรับการนำ After Action Review (AAR) ไปใช้ในการเรียนการสอน เป็นวิธีที่สามารถให้ผู้เรียนได้ทบทวนบทเรียน  เช่น ได้เรียนรู้อะไร เรียนแล้วคิดอย่างไร และสามารถนำไปประยุกต์ใช้อย่างไร แล้วบันทึกลงในเว็บไซต์เพื่อร่วมแสดงความคิดเห็น เป็นการฝึกให้ผู้เรียนได้คิด และเขียนเป็น


บรรยากาศการเรียน

             บรรยากาศในชั้นเรียน  สภาพห้องเรียนมีอากาศถ่ายเทได้สะดวก แสงสว่างเพียงพอ สื่อการเรียนการสอนทันสมัย  ห้องเรียนสะอาด เหมาะสมในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้

            

ความรู้สึกที่มีต่ออาจารย์ผู้สอน

             ท่านอาจารย์เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ ท่านพยายามกระตุ้นให้นักศึกษาได้คิด และซักถามเพื่อให้เกิดการเรียนรู้ที่แท้จริง สร้างบรรยากาศที่เป็นกันเองอบอุ่น ไม่ตึงเครียด


ความรู้สึกที่มีต่อเพื่อนนักศึกษา

          เพื่อนนักศึกษามีความต่างกันในด้านการศึกษา อาชีพ เพศ วัย แต่ทุกคนเสมือนพี่น้อง สามารถให้คำปรึกษาได้ ช่วยเหลือซึ่งกันและกัน

หมายเลขบันทึก: 579043เขียนเมื่อ 20 ตุลาคม 2014 20:07 น. ()แก้ไขเมื่อ 20 ตุลาคม 2014 20:29 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท