พ.ร.บ.คุ้มครองสิทธิอนามัยการเจริญพันธุ์: ความซ้ำซ้อนของกฎหมาย


เมื่อวันที่ ๑๕ ตุลาคมที่ผ่านมา Asian Forum of Parliamentarians on Population and Development (AFPPD) ร่วมกับองค์กรเครือข่ายได้จัดประชุมในประเด็น "Post 2015 และการขับเคลื่อน พ.ร.บ.คุ้มครองสิทธิอนามัยการเจริญพันธุ์" โดยมีสมาชิก สนช. และ สปช.เข้าร่วมประชุมด้วย โดยข้อแลกเปลี่ยนหนึ่งที่สำคัญ คือ การผลักดัน พ.ร.บ.คุ้มครองสิทธิอนามัยการเจริญพันธุ์ ซึ่งคณะกรรมการกฤษฎีกา ได้ทักท้วงเรื่องความซ้ำซ้อนกับกฎหมายที่มีอยู่ เช่น พ.ร.บ.สุขภาพแห่งชาติ พ.ร.บ.แรงงาน เป็นต้น แต่ถึงอย่างไรก็ตาม หากมองทุกมิติของสิทธิอนามัยเจริญพันธุ์โดยรวม และมองถึงการพัฒนาประชากรในทุกช่วงวัยโดยใช้สิทธิอนามัยการเจริญพันธุ์เป็นตัวขับเคลื่อนแล้ว กฎหมายทุกฉบับที่มีอยู่ยังไม่ครอบคลุมในทุกประเด็นและทุกกลุ่มประชากรอย่างแน่นอน

อย่างไรก็ตามการทบทวนประเด็นกฎหมายที่มีอยู่เป็นเรื่องจำเป็น เพื่อให้เห็นช่องว่างที่มีอยู่ การตรากฎหมายใหม่จึงจะมีความครอบคลุม นำไปสู่การป้องกันและแก้ปัญหาได้อย่างแท้จริง โดยไม่เกิดปัญหาความซ้ำซ้อนของกฎหมายที่มีอยู่ด้วย

หมายเลขบันทึก: 579042เขียนเมื่อ 20 ตุลาคม 2014 19:51 น. ()แก้ไขเมื่อ 2 พฤศจิกายน 2017 13:43 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

สวัสดีครับ พี่ๆ ชาวหนองจิก สบายดีนะครับ 

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท