“ครูเพื่อศิษย์” ชวนกัน คิด สร้าง ทำ (๓)


ในการจัดการเวลาผู้มีอำนาจการตัดสินใจต้องอยู่ด้วย และยึดถือเป็นนโยบาย ต้องมีคนที่ยอมทำงานหนักในการจัดตารางวางแผน จัดเวลาการทำงาน ทั้งที่เป็นตารางเวลารายบุคคล และรายกลุ่ม ที่ต้องจัดให้มีเวลาของการเข้ามาทำงานร่วมกันตั้งแต่ขั้น pre คิดแผน – while สังเกตการสอน – post สะท้อนหลังสอน ทั้งนี้ก็เพื่อให้การพัฒนาเด็ก พัฒนาแผนการเรียนรู้ และการพัฒนาตัวครูเป็นเรื่องเดียวกัน

กรณีศึกษาเรื่องการปรับการทำงานของกลุ่มครูภาษาไทย และกลุ่มครูอนุบาลโรงเรียนทอสี กับการทำ Lesson Study


กลุ่มครูภาษาไทยได้มานำเสนอประสบการณ์ที่น่าสนใจ ดังนี้


ในอดีตการสอนภาษาไทย ครูรับนโยบายมาแล้วแยกทำงาน ต่างคนต่างออกแบบการสอน

ผลคือ เด็กได้ไม่สมดุล ขาด เกินตามความถนัดของครู ไม่หลากหลายในการเรียนรู้ ครูแข่งขันกัน

ต่อมาเริ่มหาทางแก้โดย ทำงานเป็นทีม ร่วมมือกัน และเพิ่มความสมบูรณ์โดยมีฝ่ายวิชาชีวิต และครูหัวหน้าช่วงชั้น ค่อยๆ แก้ปัญหาไปทีละช่วง มีการประชุมที่ชัดเจน มีการวางแผนล่วงหน้าก่อนประชุม

ผลการทำงาน ครูมีการเตรียมการสอนล่วงหน้า และทำแผนสัปดาห์ต่อสัปดาห์ ส่งผลดีต่อตัวผู้เรียน และตัวผู้สอนก็ได้พัฒนาขึ้น


เสียงสะท้อนจากครู

  • ครูชัดเจนในเป้าหมาย
  • มีที่ปรึกษา แก้ไขปัญหาร่วมกัน
  • ไม่ปล่อยละเลยปัญหา
  • เกิดเทคนิคใหม่ๆ เกิดการพัฒนาทางความคิด
  • แผนมีรายละเอียดที่ชัดเจนขึ้น มีกิจกรรมที่หลากหลายมากขึ้น




กลุ่มครูวิชาชีวิตอนุบาล “คิดว่า Lesson Study ตอบโจทย์การพัฒนากระบวนการสอนในระดับอนุบาลได้”

กระบวนการทำงานของครู

  • ร่วมกันทำโครงสร้างหลักสูตร
  • ร่วมกันเขียนแผนการเรียนรู้ ทั้งการวางโครงใหญ่ ลงแผนย่อย มีการให้ความสำคัญกับการหา Met Before ของนักเรียนมากขึ้นและการทำ AAR โดยผู้เรียนด้วยวิธีหลากหลาย
  • สังเกตการสอนเป็นคู่
  • นำปัญหาที่พบไปหาทางแก้ไขร่วมกัน


ผลที่เกิดขึ้นกับครู

  • เห็นพลังการทำงานเป็นทีม
  • กระจายหน้าที่ชัดเจนขึ้น
  • เป็นตัวช่วยที่ดีในการพัฒนารุ่นน้อง
  • เห็นความกระตือรือร้นในตัวครู เห็นความสำคัญในการประชุม
  • ข้อผิดพลาดในการทำงานลดน้อยลง
  • พูดคุยกับผู้ปกครองไปในทางเดียวกัน เข้าใจตรงกัน
  • การทำงานมีชีวิตชีวามากขึ้น มีความสุขในการทำงานภายใต้วัฒนธรรมการร่วมมือกันทำงาน


ผลที่เกิดกับเด็ก

  • ตอบโจทย์ความถนัดของเด็กเป็นรายบุคคลได้มากขึ้น
  • เด็กเกิดกระบวนการคิดมากขึ้น
  • ได้เรียนรู้กระบวนการกลุ่มอย่างเป็นธรรมชาติ
  • ได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง เป็นประโยชน์และเชื่อมโยงกับชีวิตได้
  • เด็กมีทัศนคติที่ดีในการเรียนรู้
  • เด็กมีศรัทธาและมั่นใจในตนเอง


ปัญหาที่พบ

  • การจัดสรรเวลา
  • การจัดเก็บข้อมูลเป็นหมวดหมู่ ขาดการจัดสรรข้อมูลอย่างเป็นระบบ


แลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกัน

คุณครูออน – วิรงรองรายา การจัดเก็บข้อมูลให้สังเกตจุดเด่นๆ มองเกี่ยวกับแผนการสอนของครูว่าเป็นไปตามแผนไหม ถ้าไม่เป็นตามแผนเพราะอะไร ดูที่พฤติกรรมนักเรียน ดูผลรวมที่เกิดขึ้นทั้งหมดแล้วนำมาสะท้อนผลกับทีมครูผู้สอน

คุณครูปาด –ศีลวัต หลักที่จะทำให้ข้อมูลถูกเก็บอย่างเป็นระบบ คือการเก็บข้อมูลอัตโนมัติตลอดเวลา เช่น ระดับบุคคลคือคุณครูที่ทำงานต้องมีบันทึกเป็นของตัวเองอย่างสม่ำเสมอทั้งก่อนและหลังการสอน รวมทั้งบันทึกสังเกตการสอน นอกจากนั้นก็มีทีม LS และทีม KM คอยรวบรวมการจัดการความรู้รอบครึ่งปี

ในการจัดการเวลาผู้มีอำนาจการตัดสินใจต้องอยู่ด้วย และยึดถือเป็นนโยบาย ต้องมีคนที่ยอมทำงานหนักในการจัดตารางวางแผน จัดเวลาการทำงาน ทั้งที่เป็นตารางเวลารายบุคคล และรายกลุ่ม ที่ต้องจัดให้มีเวลาของการเข้ามาทำงานร่วมกันตั้งแต่ขั้น pre คิดแผน – while สังเกตการสอน – post สะท้อนหลังสอน ทั้งนี้ก็เพื่อให้การพัฒนาเด็ก พัฒนาแผนการเรียนรู้ และการพัฒนาตัวครูเป็นเรื่องเดียวกัน

หมายเลขบันทึก: 578509เขียนเมื่อ 9 ตุลาคม 2014 15:31 น. ()แก้ไขเมื่อ 9 ตุลาคม 2014 16:04 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท