ยิ่งเรียน ยิ่งรู้เพิ่ม


ไม่ว่าจะเป็น ครู อาจารย์ สาขาใดก็ตาม ก็ควรมีความรู้เกี่ยวกับการวัดผลที่ดี เพื่อจให้ะสามารถวัดผลการเรียนการสอนได้อย่างมีประสิทธืภาพ

ขณะนี้กำลังมีการเตรียมความพร้อมสู่การเปลี่ยนแปลงทางการศึกษามากมาย ตั้งแต่หลักสูตรการเรียนของเด็กเพื่อเพิ่มเนื้อหาเกี่ยวกับประวัติศาสตร์ประเทศไทย การเป็นพลเมืองที่ดี รวมทั้งการปรับการเรียนการสอนให้เข้าสู่ประชาคมอาเซียน หรือ AEC   หากแต่การจัดการเรียนการสอนทั้งระบบคงไม่ใช่สิ่งที่ทำได้อย่างรวดเร็วนัก เนื่องจากศาสตร์แห่งการสอนและศาสตร์ของการเป็นครูหรือผู้แนะนำการเรียนรู้เป็นสิ่งที่ต้องมีการพัฒนาและปรับปรุงตลอดเวลา โดยเฉพาะผู้ที่จะสอน/แนะนำการเรียนรู้ที่ดีได้จะต้องพัฒนาให้เป็นผู้รู้ในด้านนั้นๆ อย่างเชี่ยวชาญ จึงจะสามารถกระตุ้นให้ผู้เรียนสามารถเรียนรู้ได้อย่างเต็มศักยภาพ นอกจากการการออกแบบกระบวนการเรียนรู้จะมีความสำคัญแล้ว การประเมินผลหรือวัดผลก็มีความสำคัญมากเช่นกัน

เมื่อหลายคนไม่ได้เรียนจบครู ไม่ได้เรียนจบการประเมินและวัดผล แต่ต้องมาเป็นครู อาจารย์ แน่นอนว่าความรู้ในสายวิชาชีพเฉพาะนั้นแต่ละท่านคงมีความเชี่ยวชาญและชำนาญ แต่สำหรับการเป็นครู อาจารย์ที่จะต้องทำการออกข้อสอบเพื่อวัดผลของผู้เรียนให้ได้ดีนั้นจะต้องทำการศึกษาเพิ่มเติมจากศาสตร์เดิมที่ตนเองรู้มา ยิ่งเรียน ยิ่งรู้เพิ่มอย่างแน่นอน 

และในวันหนึ่งก็มีน้องที่น่ารักส่งคำถามเกี่ยวกับการออกข้อสอบปรนัยว่า "การออกข้อสอบแบบไหนกันแน่ที่เป็นข้อสอบที่มีคุณภาพ ระหว่างเด็กส่วนใหญ่ได้คะแนนพอๆ กันอยู่ระดับปานกลาง มีต่ำสุดและสูงสุดไม่กี่คน หรือเด็กส่วนใหญ่ได้คะแนนน้อยๆ มีคะแนนสูงๆมาเพียงเล็กน้อย" ซึ่งนับว่าเป็นโชคดีของเราทั้งสองคน ที่คนหนึ่งถาม และอีกคนหนึ่งก็กำลังพยายามเรียนรู้ในอีกวิชาชีพชั้นสูงนี้ (อาจารย์ท่านหนึ่งกล่าวว่า การวัดและการประเมินผลเป็นวิชาชีพชั้นสูง เนื่องด้วยเหตุผลหนึ่งเพราะมีการบัญญัติศัพท์เฉพาะของตนเอง) การอ่านหนังสือเพียงอย่างเดียวก็ทำความเข้าใจยาก แต่เมื่อมีอาจารย์สอน/แนะนำก็เหมือนมีคนมาชี้นำแนวทางให้ได้เข้าใจมากขึ้น

โดยส่วนใหญ่แล้วการออกข้อสอบปรนัยมักจะนำคะแนนสอบที่เด็กสอบมาทำการวิเคราะห์เพื่อการเก็บเข้าคลังข้อสอบหรือ item bank หรืออาจจะต้องสร้างข้อสอบคู่ขนานเพื่อนำมาใช้วิเคราะห์ก่อนนำไปใช้วัดและประเมินผลกับผู้เรียนจริงๆ เมื่อได้คะแนนสอบมาแล้วจะต้องทำการแบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม คือเด็กกลุ่มเก่งและเด็กกลุ่มอ่อน โดยอ้างอิงตามหลักการ 50% หรือ 33% ตามจำนวนผู้เรียนหรือแต่ละหน่วยงานจะกำหนดว่าจะใช้หลักการใด ข้อสอบที่ดีจะต้องพิจารณาจากสิ่งต่างๆ ดังนี้คือ
ข้อสอบรายข้อ
1. ค่าความยาก เป็นค่าที่บอกได้ว่าข้อสอบข้อนั้นมีความยากง่ายอย่างไร ซึ่งข้อสอบที่ดีควรมีค่าความยากอยู่ระหว่าง 0.2-0.8 ถ้าค่าเป็น 0 แสดงว่าข้อสอบนั้นยาก ไม่มีคนทำได้
2. อำนาจจำแนก เป็นค่าที่บอกได้ว่าข้อสอบข้อนั้น สามารถแยกระหว่างคนเก่งกับคนอ่อนได้ โดยค่าอำแนกที่ติดลบ หมายถึงข้อสอบข้อนั้นใช้ไม่ได้ แสดงว่าเด็กกลุ่มเก่งตอบไม่ถูก แต่เด็กกลุ่มอ่อนตอบถูก ค่าอำนาจจำแนกที่ดีคือ มากกว่า 0.20
ข้อสอบทั้งฉบับ
1. ค่าความตรง (validity) ซึ่งเป็นการตรวจสอบระหว่างข้อสอบกับหลักสูรหรือวัตถุประสงค์ของการเรียน ซึ่งอาจให้ผู้เชี่ยวชาญ 3-5 คน หรือเป็นอาจารย์ผู้ที่สอนในกลุ่มวิชาเดียวกันพิจารณา หาค่า content validity

2. ค่าความเที่ยง (reliability) เป็นการตรวจสอบความเที่ยงของข้อสอบที่ไม่ว่าจะวัดกี่ครั้งกับผู้เรียนกลุ่มเดิม/ลักษณะเดิมก็ยังคงได้ผลที่ไม่แตกต่างกัน ซึ่งจะตรวจสอบได้หลายวิธี แต่ที่นิยมก็สามารถวัดจากการแบ่งเป็นข้อคู่/ข้อคี่ และใช้สูตร Split-half reliability

สำหรับการวิเคราะห์สามารถใช้โปรแกรมได้หลากหลาย เช่น spss TAP lertab หรือ X-caribral หน่วยงานบางแห่งให้ความสำคัญกับการสร้างข้อสอบ และพัฒนาข้อสอบก็จะจ้างให้เขียนโปรแกรมเพื่อการวิเคราะห์ข้อสอบสำหรับหน่วยงานนั้นโดยเฉพาะ
สำหรับวันนี้ไแนะนำให้ทดลองใช้โปรแกรม TAP [Test analysis program] ค่ะ มีให้ Download ฟรีด้วยค่ะ http://www.ohio.edu/people/brooksg/software.htm สามารถนำไปใช้วิเคราะห์เบื้องต้นได้ค่ะ แต่เหมาะกับคสที่ไม่ได้ต้องการผลไปเพื่อการวิจัยหรืออ้างอิงค่ามากนะค่ะ เพราะที่มาข้อสูตรโปรแกรมสำเร็จรูปเหล่านี้ผู้วิเคราะห์ข้อมูลไม่สามารถเข้าไปแก้ไขได้ค่ะ  สำหรับภาษาไทยก็มีผู้เขียนอธิบายไว้ค่ะ

การเปิดใจที่จะเรียนรู้สิ่งอื่นเพิ่มเติม ก็จะช่วยเติมเต็มในสิ่งที่เราไม่รู้ได้นะค่ะ

หมายเลขบันทึก: 578477เขียนเมื่อ 8 ตุลาคม 2014 23:16 น. ()แก้ไขเมื่อ 8 ตุลาคม 2014 23:17 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)

ด้วยประสบการณืพบว่า

ในหลายที่ไม่มีคลังข้อสอบ

ไม่มีการวิเคราะห์ข้อสอบครับ

แม้แต่การพัฒนาข้อสอบ

หายไปนานเลยนะครับ

คิดถึงๆๆ

มาเขียนบ่อยๆนะครับ

ขอบคุณอาจารย์ ขจิต ฝอยทอง คุณ แสงแห่งความดี... และ คุณ Wasawat Deemarn

Best wishes for a Merry Christmas and a prosperous New year


อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท