การประเมินโครงการประกันคุณภาพภายในโรงเรียนบ้านเขาทราย
สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา
นครศรีธรรมราชเขต 4
ความเป็นมาและความสำคัญของปัญหา
สภาวการณ์โลกกำลังเคลื่อนจากยุคข้อมูลข่าวสารผ่านยุคสารสนเทศเข้าสู่ยุคสังคมใหม่ในคลื่นของโลกาภิวัตน์ ที่ไร้พรมแดนได้พัดพามนุษย์จากยุคหนึ่งไปสู่อีกยุคหนึ่งก่อให้เกิดการเรียนรู้ที่จะดำรงอยู่ในโลกนี้ได้ท่ามกลางการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นโลกในยุคโลกาภิวัตน์มีพลโลกที่มีวิธีปฏิบัติเรียนรู้วัฒนธรรมและค่านิยมร่วมกันมากขึ้นโลกกำลังจะกลายเป็นแบนราบด้วยความเจริญทางด้านเทคโนโลยีและการสื่อสาร มีการแข่งขันกันมากขึ้นดัชนีวัดการอยู่รอดขึ้นอยู่กับความรู้ ความสามารถและคุณภาพเรียกว่าโลกที่ใช้ความรู้เป็นฐานหรือการก้าวเข้าสู่สังคม – เศรษฐกิจฐานความรู้ขณะที่อีกฟากหนึ่งธรรมชาติกำลังถูกทำลายด้วยผลพวงของการขยายอุตสาหกรรมที่ผ่านมาผนวกด้วยสำนึกจิตวิญญาณของพลโลกที่ละเลยถึงความสำคัญของสิ่งแวดล้อม ภาวะโลกร้อน น้ำท่วมแผ่นดินไหวและโรคระบาดอย่างรุนแรงหรือโรคอุบัติใหม่ล้วนมีสาเหตุมาจากพฤติกรรมมนุษย์ที่เปลี่ยนแปลงไปจากอดีตทั้งสิ้นการก่อการร้ายข้ามชาติที่ใช้วิธีการรุนแรงและสลับซับซ้อนมากขึ้นมนุษย์ที่เป็นมิตรและศัตรูอาจอยู่ในคน ๆ เดียวกัน ตราบใดที่ผลประโยชน์ยังไม่ขัดแย้งกัน การแสดงออกซึ่งความเป็นศัตรูจะยังไม่ปรากฏนอกจากนี้ผลกระทบของประเทศไทยอีกด้านหนึ่งคือการรวมตัวของประเทศชาติในอาเซียน ซึ่งไทยเป็น 1 ใน 10 ประเทศภาคีสมาชิกเนื่องจากที่ผ่านมาประเทศในอาเซียนได้ร่วมมือกันทางด้านเศรษฐกิจ สังคม การเมือง การปกครอง วิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและการสื่อสารรวมทั้งประชากร เหล่านี้ล้วนเป็นองค์ประกอบสำคัญในยุคโลกาภิวัตน์ทั้งสิ้น(สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา, 2553:15)
สถานการณ์และแนวโน้มบริบทสังคมโลกและสังคมไทยมีผลกระทบต่อการศึกษาทั้งปัจจุบันและอนาคตสังคมไทยขาดภูมิคุ้มกันจากการบริโภคผ่านสื่อและเทคโนโลยีสารสนเทศมีการขยายตัวของความเป็นวัตถุนิยมมากขึ้นวิถีชีวิตและค่านิยมในการดำรงชีวิตเปลี่ยนแปลงไปการศึกษาของไทยจำเป็นต้องได้รับการพิจารณาและเตรียมความพร้อมในการปรับปรุงและพัฒนาการศึกษาให้เป็นไปในลักษณะที่พึงประสงค์สอดคล้องกับสภาวการณ์ที่เปลี่ยนแปลงในอนาคตรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 ได้บัญญัติเกี่ยวกับการพัฒนาคุณภาพการศึกษา ไว้ในหมวด 5 แนวโน้มนโยบายพื้นฐานแห่งรัฐส่วนที่ 4 แนวนโยบายด้านศาสนา สังคม สาธารณสุข การศึกษาและวัฒนธรรม มาตรา 80 (3)และ(4) รัฐต้องดำเนินการตามนโยบายฯ ดังนี้คือการพัฒนาคุณภาพการศึกษาและมาตรฐานการจัดการศึกษาในทุกระดับและทุกรูปแบบให้สอดคล้องกับความเปลี่ยนแปลงทางด้านเศรษฐกิจและสังคม ต้องจัดให้มีแผนการศึกษาชาติกฎหมายเพื่อพัฒนาการศึกษาชาติจัดให้มีการพัฒนาครูและบุคลากรทางการศึกษาให้ก้าวหน้าทันการเปลี่ยนแปลงของสังคมโลกรวมทั้งปลูกฝังให้ผู้เรียนมีจิตสำนึกในความเป็นไทย มีระเบียบวินัย คำนึงถึงประโยชน์ส่วนรวม และยึดมั่นในการปกครองระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข และมีการส่งเสริมสนับสนุนการกระจายอำนาจเพื่อให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ชุมชน องค์กรศาสนาและเอกชนมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษาเพื่อพัฒนาคุณภาพการศึกษาให้เท่าเทียมและสอดคล้องกับแนวนโยบายพื้นฐานแห่งรัฐ (สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา,2551:3)
ดังนั้นสถานศึกษาจำเป็นต้องพัฒนาคุณภาพการศึกษาโดยให้การประกันคุณภาพภายในเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการบริหารและจัดการเรียนการสอน การปฏิบัติงานดานการประกันคุณภาพภายในต้องยึดหลักและแนวทางการดําเนินงานตามกรอบของการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา กฎกระทรวงว่าด้วยระบบ หลักเกณฑ์และวิธีการประกันคุณภาพการศึกษา พ.ศ.2553หมวด 2ข้อ14 ให้สถานศึกษาขั้นพื้นฐานจัดให้มีระบบการประกันคุณภาพภายในตามหลักเกณฑ์และแนวปฏิบัติเกี่ยวกับการประกันคุณภาพภายในระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานโดยดำเนินการ 1.กำหนดมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษา2.จัดทำแผนพัฒนาการจัดการศึกษาของสถานศึกษาที่มุ่งคุณภาพตามมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษา3.จัดระบบบริหารและสารสนเทศ4.ดำเนินงานตามแผนพัฒนาการจัดการศึกษาของสถานศึกษา5.จัดให้มีการติดตามตรวจสอบคุณภาพการศึกษา6.จัดให้มีการประเมินคุณภาพภายในตามมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษา7.จัดทำรายงานประจำปีที่เป็นรายงานประเมินคุณภาพภายใน และ 8.จัดให้มีการพัฒนาคุณภาพการศึกษาอย่างต่อเนื่อง
โรงเรียนบ้านเขาทรายสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครศรีธรรมราชเขต 4 เป็นสถานศึกษาที่ได้รับการประเมินคุณภาพภายนอกจากสำนักงานรับรองคุณภาพและมาตรฐานการศึกษา (องค์กรมหาชน) อย่างต่อเนื่องตามพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติพ.ศ.2542และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2545 โดยได้รับการประเมินรอบแรกในพ.ศ.2548มีผลการประเมินอยู่ในระดับ ปรับปรุงในมาตรฐานที่ 25 และมาตรฐานอื่น ๆ ส่วนใหญ่อยู่ในระดับพอใช้ (สำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา,2548 :28) และได้รับการประเมินคุณภาพภายนอกรอบสองในพ.ศ.2552มีผลการประเมินในระดับการศึกษาปฐมวัยที่เป็นผลประเมินอิงสถานศึกษาในระดับปรับปรุง 5 มาตรฐานจึงทำให้ในภาพรวมสถานศึกษาจัดการศึกษาปฐมวัย ไม่สมควรรับรองมาตรฐานการศึกษา ส่วนภาพรวมสถานศึกษาจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานสมควรรับรองมาตรฐานการศึกษา (สำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา,2552:5 – 6)
จากผลการประเมินคุณภาพการศึกษาจากสำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษาที่ผ่านมาทั้งสองครั้งจึงจำเป็นอย่างเร่งด่วนที่สถานศึกษาจะต้องพัฒนาโครงการประกันคุณภาพภายในโรงเรียนบ้านเขาทรายขึ้นเพื่อดำเนินการปรับปรุงพัฒนาคุณภาพการศึกษาและเตรียมความพร้อมในการรองรับการประเมินคุณภาพภายนอกรอบที่สามและเพื่อให้เห็นผลการดำเนินการที่ชัดเจนผู้ประเมินจึงจัดให้มีการประเมินโครงการประกันคุณภาพภายในโรงเรียนบ้านเขาทรายขึ้นโดยใช้การประเมินโครงการในรูปแบบจำลองซิปป์(CIPP Model) โดยประเมินด้านสภาพแวดล้อมด้านปัจจัยด้านกระบวนการ และด้านผลผลิต จากผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องได้แก่ ครูผู้รับผิดชอบงานประกันคุณภาพการศึกษานักเรียน ผู้ปกครอง และกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน เพื่อนำผลการประเมินมาใช้ในการพัฒนาคุณภาพการศึกษาอันเป็นประโยชน์สูงสุดต่อโรงเรียนและชุมชนต่อไป
วัตถุประสงค์ของการประเมิน
1.เพื่อประเมินสภาพแวดล้อมของโครงการประกันคุณภาพภายในโรงเรียนบ้านเขาทราย
สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครศรีธรรมราชเขต 4
2.เพื่อประเมินปัจจัยนำเข้าของโครงการประกันคุณภาพภายในโรงเรียนบ้านเขาทรายสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครศรีธรรมราชเขต 4
3. เพื่อประเมินกระบวนการของโครงการประกันคุณภาพภายในโรงเรียนบ้านเขาทราย
สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครศรีธรรมราชเขต 4
4. เพื่อประเมินผลผลิตของโครงการประกันคุณภาพภายในโรงเรียนบ้านเขาทราย
สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครศรีธรรมราชเขต 4
ขอบเขตของการประเมินโครงการ
การประเมินโครงการประกันคุณภาพภายในโรงเรียนบ้านเขาทรายสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครศรีธรรมราชเขต 4ปีการศึกษา 2556ตั้งแต่วันที่16พฤษภาคมพ.ศ.2556 ถึง31มีนาคมพ.ศ.2557มีขอบเขตในการประเมินดังนี้
1.ขอบเขตด้านประชากร
1.1ประชากรได้แก่ผู้ที่เกี่ยวข้องกับโครงการประกันคุณภาพภายในโรงเรียนบ้านเขาทรายจำนวน 139คนประกอบด้วย
1.1.1ครูผู้รับผิดชอบงานประกันคุณภาพการศึกษาจำนวน6 คน
1.1.2 นักเรียนจำนวน63 คน
1.1.3 ผู้ปกครองนักเรียนจำนวน63 คน
1.1.4 คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานจำนวน7 คน
2. ขอบเขตด้านวิธีประเมินโครงการการประเมินในครั้งนี้มีวิธีการและขั้นตอนดังนี้
2.1 ประเมินด้านสภาพแวดล้อมของโครงการโดยใช้แบบสอบถามครูผู้รับผิดชอบงานประกันคุณภาพการศึกษาและคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานเกี่ยวกับสภาพแวดล้อมในการดำเนินงานโครงการความสอดคล้องเกี่ยวกับหลักการและเหตุผลของโครงการความเหมาะสมของวัตถุประสงค์เป้าหมายของโครงการและความจำเป็นของโครงการก่อนดำเนินโครงการ
2.2 ประเมินด้านปัจจัยนำเข้าของโครงการโดยใช้แบบสอบถามครูผู้รับผิดชอบงานประกันคุณภาพการศึกษาและคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน เกี่ยวกับความเหมาะสมของคณะกรรมการดำเนินงานโครงการวัสดุอุปกรณ์และเอกสารก่อนดำเนินโครงการ
2.3 ประเมินด้านกระบวนการของโครงการโดยใช้แบบสอบถามครูผู้รับผิดชอบงานประกันคุณภาพการศึกษาและคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานเกี่ยวกับการกำหนดมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษาการจัดทำแผนพัฒนาการจัดการศึกษา การจัดระบบบริหารและสารสนเทศการดำเนินงานตามแผนพัฒนาการจัดการศึกษาการติดตามตรวจสอบคุณภาพการศึกษาการประเมินคุณภาพภายในตามมาตรฐานการศึกษาการจัดทำรายงานประจำปีที่เป็นรายงานผลการประเมินคุณภาพภายในและการพัฒนาคุณภาพการศึกษาอย่างต่อเนื่องระหว่างดำเนินโครงการ
2.4 ประเมินด้านผลผลิตของโครงการโดยใช้แบบสอบถามครูผู้รับผิดชอบงานประกันคุณภาพการศึกษา นักเรียน ผู้ปกครอง และคณะกรรมการสถานศึกษา เกี่ยวกับความพึงพอใจที่มีต่อการดำเนินโครงการประกันคุณภาพภายในโรงเรียนหลังสิ้นสุดโครงการ
3. เครื่องมือที่ใช้ในการประเมิน
การประเมินครั้งนี้มีเครื่องมือที่ใช้ในการประเมิน 3ฉบับดังนี้
3.1 แบบสอบถามความคิดเห็นของครูผู้รับผิดชอบงานประกันคุณภาพการศึกษาและคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานด้านสภาพแวดล้อมและด้านปัจจัยนำเข้าของโครงการ
3.2 แบบสอบถามความคิดเห็นของครูผู้รับผิดชอบงานประกันคุณภาพการศึกษาและคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานด้านกระบวนการดำเนินงานโครงการ
3.3 แบบสอบถามความพึงพอใจโดยสอบถามครูผู้รับผิดชอบงานประกันคุณภาพการศึกษานักเรียนผู้ปกครอง และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ที่มีต่อด้านผลผลิตของโครงการ
กรอบแนวคิดการประเมินโครงการ
การประเมินโครงการประกันคุณภาพภายในโรงเรียนบ้านเขาทรายสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครศรีธรรมราช เขต 4 ใช้รูปแบบจำลองซิปป์ (CIPP Model) ในการประเมินประกอบด้วยการประเมิน 4 ด้าน ดังนี้
1.ด้านสภาพแวดล้อม(Contexts)
2. ด้านปัจจัยนำเข้าของโครงการ(Inputs)
3. ด้านกระบวนการดำเนินงานโครงการ(Process)
4. ด้านผลผลิตของโครงการ(Products)
การประเมินโครงการแบ่งออกเป็น 3ระยะคือ
ระยะที่1 ก่อนดำเนินโครงการทำการประเมินด้านสภาพแวดล้อมและด้านปัจจัยนำเข้าของโครงการ
ระยะที่ 2 ขณะดำเนินโครงการ ทำการประเมินด้านกระบวนการดำเนินโครงการ
ระยะที่ 3 หลังสิ้นสุดโครงการ ทำการประเมินด้านผลผลิตของโครงการ
ดังกรอบแนวคิดของการประเมินโครงการประกันคุณภาพภายในโรงเรียนบ้านเขาทรายปรากฏดังตารางที่ 1
ตารางที่ 1แสดงกรอบแนวคิดการประเมินโครงการ โดยใช้รูปแบบจำลองซิปป์(CIPP Model)
ประเด็น/ตัวชี้วัด | แหล่งข้อมูล | เครื่องมือ | การวิเคราะห์ |
ด้านสภาพแวดล้อมของโครงการ ความสอดคล้องเกี่ยวกับหลักการและเหตุผลของโครงการความเหมาะสมของวัตถุประสงค์เป้าหมายของโครงการและความจำเป็นของโครงการ | -ครูผู้รับผิดชอบงานประกันคุณภาพการศึกษา -คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน | แบบสอบถาม ฉบับที่ 1 | µ , s |
ด้านปัจจัยการดำเนินงานโครงการ คณะกรรมการดำเนินงานโครงการ วัสดุ อุปกรณ์และเอกสาร | -ครูผู้รับผิดชอบงานประกันคุณภาพการศึกษา -คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน | แบบสอบถาม ฉบับที่ 1 | µ , s |
ด้านกระบวนการดำเนินงานตามโครงการ การกำหนดมาตรฐานการศึกษาของสถาน ศึกษา การจัดทำแผนพัฒนาการจัดการศึกษาการจัดระบบบริหารและสารสนเทศการดำเนินงานตามแผนพัฒนาการจัดการศึกษาการติดตามตรวจสอบคุณภาพการศึกษา การประเมินคุณภาพภายในตามมาตรฐานการศึกษาการจัดทำรายงานประจำปีที่เป็นรายงานประเมินคุณภาพภายในและการพัฒนาคุณภาพการศึกษาอย่างต่อเนื่อง | - ครูผู้รับผิดชอบงานประกันคุณภาพการศึกษา - คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน | แบบสอบถาม ฉบับที่ 2 | µ , s. |
ด้านผลผลิตของโครงการ เกี่ยวกับความพึงพอใจที่มีต่อการดำเนินโครงการประกันคุณภาพภายในโรงเรียน | - ครูผู้รับผิดชอบงานประกันคุณภาพการศึกษา - นักเรียน - ผู้ปกครอง - คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน | แบบสอบถาม ฉบับที่ 3 | µ , s
|
ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ
1.ได้ข้อมูลเกี่ยวกับสภาพแวดล้อมในการดำเนินงานความเพียงพอของงบประมาณวัสดุอุปกรณ์และเอกสารคู่มือที่ใช้ในการดำเนินงานโครงการประกันคุณภาพภายใน
2. ได้ข้อมูลเกี่ยวกับกระบวนการดำเนินงานโครงการประกันคุณภาพภายใน
3. ได้ข้อมูลด้านผลผลิตของการดำเนินงานโครงการประกันคุณภาพภายใน
4. ได้ข้อมูลพื้นฐานและสารสนเทศสำหรับการดำเนินงานจัดทำแผนงานโครงการประกันคุณภาพภายในปีต่อไป
5. เป็นหลักฐานยืนยันการดำเนินงานโครงการประกันคุณภาพภายใน
6. เป็นแบบอย่างของการประเมินโครงการ
ผลการประเมินโครงการ
ผลการประเมินโครงการประกันคุณภาพภายในโรงเรียนบ้านเขาทรายสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครศรีธรรมราช เขต 4สรุปได้ดังนี้
1.การประเมินสภาพแวดล้อมของโครงการประกันคุณภาพภายในโรงเรียนบ้านเขาทรายสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครศรีธรรมราช เขต 4
1.1 ผลการประเมินสภาพแวดล้อมของโครงการประกันคุณภาพภายในโรงเรียนบ้านเขาทรายตามความคิดเห็นของครูผู้รับผิดชอบงานประกันคุณภาพการศึกษาโดยภาพรวมมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากมีค่าเฉลี่ย(µ = 4.25, s = 0.19)เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อ พบว่า ข้อที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุดคือ วัตถุประสงค์ของโครงการเหมาะสมกับสภาพปัจจุบันและบริบทของสถานศึกษาและ ความชัดเจนของเป้าหมายเกี่ยวกับผู้รับผิดชอบและผู้เกี่ยวข้องกับงานประกันคุณภาพภายในโรงเรียน (µ = 4.67, s = 0.52 เท่ากัน ) ส่วนข้อที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุดคือวัตถุประสงค์ของโครงการสามารถนำไปปฏิบัติได้
( µ = 3.83, s= 0.41)
1.2 ผลการประเมินสภาพแวดล้อมของโครงการประกันคุณภาพภายในโรงเรียนบ้านเขาทรายตามความคิดเห็นของคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานพบว่าโดยภาพรวมมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก (µ = 4.34, s= 0.35) เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อ พบว่า ข้อที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุดคือ วัตถุประสงค์ของโครงการเหมาะสมกับสภาพปัจจุบันและบริบทของสถานศึกษา (µ = 4.71, s = 0.49) และรองลงมาคือ เป้าหมายของโครงการก่อให้เกิดประโยชน์ต่อนักเรียนและชุมชน (µ = 4.57, s = 0.53)ส่วนข้อที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุดคือความเหมาะสมของโครงการสอดคล้องกับการประกันคุณภาพการศึกษา (µ = 4.00, s =0.82)
2.การประเมินปัจจัยนำเข้า ของโครงการประกันคุณภาพภายในโรงเรียนบ้านเขาทรายสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครศรีธรรมราช เขต 4
2.1ผลการประเมินปัจจัยนำเข้า ของโครงการประกันคุณภาพภายในโรงเรียนบ้านเขาทรายตามความคิดเห็นของครูผู้รับผิดชอบงานประกันคุณภาพ พบว่าโดยภาพรวมมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก (µ = 3.96, s = 0.38)เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่า ด้านคณะกรรมการดำเนินงานโครงการประกันคุณภาพภายใน (µ = 4.17, s= 0.37)มีค่าเฉลี่ยสูงกว่า ด้านวัสดุอุปกรณ์และเอกสาร (µ = 3.75, s= 0.61)
2.2 ผลการประเมินปัจจัยนำเข้า ของโครงการประกันคุณภาพภายในโรงเรียนบ้านเขาทรายตามความคิดเห็นของคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานพบว่าโดยภาพรวมมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด(µ = 4.51, s=0.36) เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่า ด้านคณะกรรมการดำเนินงานโครงการประกันคุณภาพภายใน (µ = 4.52, s= 0.37) มีค่าเฉลี่ยสูงกว่าด้านวัสดุอุปกรณ์และเอกสาร (µ = 4.50, s= 0.38)
3.การประเมินกระบวนการดำเนินงานตามโครงการประกันคุณภาพภายในโรงเรียนบ้านเขาทราย สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครศรีธรรมราช เขต 4
3.1ผลการประเมินกระบวนการดำเนินงานตามโครงการประกันคุณภาพภายในโรงเรียนบ้านเขาทรายตามความคิดเห็นของครูผู้รับผิดชอบงานประกันคุณภาพพบว่าโดยภาพรวมมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก (µ = 3.65, s= 0.22) เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่าด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือการประเมินคุณภาพภายในตามมาตรฐานการศึกษา(µ = 3.80, s= 0.46)และรองลงมาคือการติดตามตรวจสอบคุณภาพการศึกษา(µ = 3.72, s= 0.33) ส่วนด้านที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุดคือ การดำเนินการตามแผนพัฒนาการจัดการศึกษา(µ = 3.48, s= 0.79)
3.2 ผลการประเมินกระบวนการดำเนินงานตามโครงการประกันคุณภาพภายในโรงเรียนบ้านเขาทรายตามความคิดเห็นของคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน พบว่าโดยภาพรวมมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก (µ = 4.17, s= 0.24) เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่าด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุดคือด้านการกำหนดมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษา (µ = 4.40, s= 0.28)และรองลงมาคือด้านการจัดทำแผนพัฒนาการจัดการศึกษา(µ = 4.33, s= 0.29)ส่วนด้านที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุดคือด้านการจัดทำรายงานประจำปีที่เป็นรายงานประเมินคุณภาพภายใน (µ = 3.97, s= 0.39)
4.ด้านผลผลิตของโครงการประกันคุณภาพภายในโรงเรียนบ้านเขาทรายสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครศรีธรรมราช เขต 4
4.1ผลการประเมินด้านผลผลิตของโครงการประกันคุณภาพภายในโรงเรียนบ้านเขาทรายตามความคิดเห็นของครูผู้รับผิดชอบงานประกันคุณภาพพบว่า โดยภาพรวมมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก(µ =3.88, s= 0.13) เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อพบว่าข้อที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ โรงเรียนจัดสภาพแวดล้อมที่ดีและส่งเสริมให้นักเรียนได้เรียนรู้และพัฒนาอย่างเต็มที่(µ = 4.83, s= 0.41) และรองลงมาคือนักเรียนมีสุขภาพกายและสุขภาพจิตที่ดี(µ = 4.17, s= 0.41)ส่วนข้อที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุดโรงเรียนได้จัดกิจกรรมอ่านคล่องเขียนคล่อง ตามจุดเน้นตามนโยบายตามแนวทางการปฏิรูปการศึกษาเพื่อพัฒนา และส่งเสริมยกระดับคุณภาพการศึกษาให้สูงขึ้น(µ = 3.17, s= 0.41)
4.2ผลการประเมินด้านผลผลิตของโครงการประกันคุณภาพภายในโรงเรียนบ้านเขาทรายตามความคิดเห็นของนักเรียนกลุ่มตัวอย่าง พบว่า โดยภาพรวมมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก (= 4.09, S.D.= 0.27) เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อพบว่าข้อที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ โรงเรียนจัดสภาพแวดล้อมที่ดีและส่งเสริมให้นักเรียนได้เรียนรู้และพัฒนาอย่างเต็มที่(
= 4.65, S.D.= 0.49)และรองลงมาคือ นักเรียนมีสุขภาพกายและสุขภาพจิตที่ดี(
= 4.52, S.D.= 0.59)ส่วนข้อที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุดคือ นักเรียนสามารถคิดอย่างเป็นระบบ เช่นทำโครงงานและนำเสนอได้อย่างเหมาะสม (
= 3.83, S.D.= 0.72)
4.3ผลการประเมินด้านผลผลิตของโครงการประกันคุณภาพภายในโรงเรียนบ้านเขาทรายตามความคิดเห็นของผู้ปกครองกลุ่มตัวอย่าง พบว่าโดยภาพรวมมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก (= 4.20, S.D.= 0.45) เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อพบว่าข้อที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ นักเรียนสามารถคิดอย่างเป็นระบบ เช่นทำโครงงานและนำเสนอได้อย่างเหมาะสม(
= 4.42, S.D.= 0.59)และรองลงมาคือนักเรียนมีสุขภาพกายและสุขภาพจิตที่ดีและ โรงเรียนได้จัดกิจกรรมอ่านคล่องเขียนคล่อง ตามจุดเน้นตามนโยบายตามแนวทางการปฏิรูปการศึกษาเพื่อพัฒนาและส่งเสริมยกระดับคุณภาพการศึกษาให้สูงขึ้น(
= 4.35, S.D.= 0.57 เท่ากัน)ส่วนข้อที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุดคือ นักเรียนมีความประพฤติที่ดี มีวินัย มีคุณธรรม จริยธรรมที่เหมาะสม(
= 3.87, S.D.= 0.63)
4.4ผลการประเมินด้านผลผลิตของโครงการประกันคุณภาพภายในโรงเรียนบ้านเขาทรายตามความคิดเห็นของคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานพบว่า โดยภาพรวมมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก (µ = 4.25, s= 0.37)เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อพบว่าข้อที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ นักเรียนมีสุขภาพกายและสุขภาพจิตที่ดีและนักเรียนมีความรู้และทักษะพื้นฐานตามระดับชั้นและโรงเรียนมีการจัดแหล่งเรียนรู้ ส่งเสริม สนับสนุน ให้สถานศึกษาเป็นสังคมแห่งการเรียนรู้ (µ = 4.71, s= 0.95)ส่วนข้อที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุดคือ นักเรียนมีความประพฤติที่ดี มีวินัย มีคุณธรรม จริยธรรมที่เหมาะสมและ นักเรียนมีทักษะในการทำงาน รักการทำงาน สามารถทำงานร่วมกับผู้อื่นได้และมีเจตคติที่ดีต่ออาชีพสุจริต(µ=4.00, s=0.82)
อภิปรายผลการประเมิน
จากผลการประเมินโครงการประกันคุณภาพภายในโรงเรียนบ้านเขาทราย สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครศรีธรรมราช เขต 4 มีประเด็นที่น่าสนใจ สมควรแก่การนำมาอภิปรายผล ดังนี้
1. ด้านสภาพแวดล้อมของโครงการประกันคุณภาพภายในโรงเรียนบ้านเขาทรายสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครศรีธรรมราช เขต 4 ตามความคิดเห็นของครูผู้รับผิดชอบงานประกันคุณภาพการศึกษาและคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานโดยภาพรวมมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากซึ่งสอดคล้องกับการประเมินโครงการของ รุ่งทิวาธราวรรณ(2556 : บทคัดย่อ) ซึ่งได้ประเมินโครงการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา โรงเรียนเทศบาลบูรพาพิทยาคารอำเภอเมืองมหาสารคามจังหวัดมหาสารคามซึ่งได้ประเมินโดยใช้รูปแบบ CIPPจากผู้เกี่ยวข้องกับโครงการจำนวน55 คนพบว่าด้านบริบทหรือด้านสภาพแวดล้อมมีสภาพการดำเนินงานอยู่ในระดับมากผู้มีส่วนเกี่ยวข้องยินดีสนับสนุนกิจกรรมเพื่อพัฒนาคุณภาพโรงเรียนโรงเรียนกำหนดโครงการไว้ในแผนปฏิบัติการประจำปีและกำหนดวัตถุประสงค์ของโครงการไว้อย่างชัดเจนและสอดคล้องกับการประเมินโครงการของสุมาลีสานุจิตร (2554) ซึ่งทำการประเมินโครงการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษาแบบพหุพาคีโรงเรียนเทศบาลวัดป่าเรไรจังหวัดร้อยเอ็ดจากกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการประเมินจำนวน 253คนพบว่า ด้านบริบทหรือสภาพแวดล้อมมีสภาพการดำเนินงานโดยรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อ พบว่า ความสอดคล้องระหว่างวัตถุประสงค์ของโครงการกับแผนงาน และความต้องการพัฒนาการประกันคุณภาพ อยู่ในระดับมากทุกข้อ
สาเหตุที่เป็นเช่นนี้น่าจะเป็นเพราะว่าโรงเรียน ได้จัดทำโครงการประกันคุณภาพภายในโรงเรียนโดยมีครูผู้รับผิดชอบงานพัฒนาระบบการประกันคุณภาพภายในได้ตรวจสอบความเป็นไปได้ ความเหมาะสมและสอดคล้องกับกฎกระทรวงว่าด้วยระบบหลักเกณฑ์และวิธีการประกันคุณภาพการศึกษาพ.ศ. 2553ผู้รับผิดชอบโครงการเป็นผู้ที่มีความรู้ความเข้าใจ ประสบการณ์ในงานพัฒนาระบบประกันคุณภาพเป็นอย่างดี นอกจากนี้วัตถุประสงค์และเป้าหมายของโครงการสอดคล้องกับสภาพความต้องการของชุมชนและสังคมและเป็นเป้าหมายที่ก่อให้เกิดประโยชน์ต่อโรงเรียนเป็นอย่างมาก ผู้บริหารโรงเรียนได้ประชุมชี้แจงให้บุคลากรได้มีส่วนร่วมในการประเมินด้านสภาพแวดล้อมของโครงการโดยมีคู่มือการดำเนินงานประกันคุณภาพภายในโรงเรียนเป็นแนวทาง จึงเป็นสาเหตุที่สำคัญที่ทำให้ความเหมาะสมด้านสภาพแวดล้อมอยู่ในระดับมาก
2.ด้านปัจจัยนำเข้าของโครงการประกันคุณภาพภายในโรงเรียนบ้านเขาทรายสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครศรีธรรมราช เขต 4 ตามความคิดเห็นของครูผู้รับผิดชอบงานประกันคุณภาพการศึกษาโดยภาพรวมมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาด้านพบว่าความเหมาะสมของคณะกรรมการดำเนินงานโครงการประกันคุณภาพภายในโรงเรียนอยู่ในระดับมาก และความเหมาะสมด้านวัสดุอุปกรณ์และเอกสารมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากเช่นกัน ซึ่งสอดคล้องกับการประเมินโครงการของ รุ่งทิวา ธราวรรณ(2556 : บทคัดย่อ) ซึ่งได้ประเมินโครงการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา โรงเรียนเทศบาลบูรพาพิทยาคารอำเภอเมืองมหาสารคามจังหวัดมหาสารคามซึ่งได้ประเมินโดยใช้รูปแบบ CIPP จากผู้เกี่ยวข้องกับโครงการจำนวน 55 คน พบว่า ด้านปัจจัยนำเข้ามีสภาพการดำเนินงานอยู่ในระดับมาก โรงเรียนกำหนดการประกันคุณภาพภายในเป็นนโยบายหลักการประชุมทุกครั้งจะมีการติดตามผลการดำเนินงานอย่างต่อเนื่องผู้บริหารครูผู้เกี่ยวข้องมีความรู้ความเข้าใจมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการประกันคุณภาพและสอดคล้องกับการประเมินโครงการของสุมาลีสานุจิตร (2554) ซึ่งทำการประเมินโครงการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษาแบบพหุพาคีโรงเรียนเทศบาลวัดป่าเรไรจังหวัดร้อยเอ็ดจากกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการประเมินจำนวน253 คนพบว่าด้านปัจจัยนำเข้า มีสภาพการดำเนินงานโดยรวมอยู่ในระดับมาก และเมื่อพิจารณาเป็นรายข้อ พบว่า บุคลากร งบประมาณ และวิธีดำเนินโครงการ อยู่ในระดับมากทุกข้อ
สาเหตุที่เป็นเช่นนี้น่าจะเป็นเพราะว่าโรงเรียนได้พิจารณาบุคคลที่มีความรู้ความสามารถ มีคณะทำงานเตรียมการ จัดประชุมคณะกรรมการฝ่ายต่าง ๆ อย่างต่อเนื่อง เพื่อวางแผนกำหนดแนวทางการดำเนินการเกี่ยวกับการจัดหาวัสดุอุปกรณ์การจัดทำเอกสารจึงทำให้ปัจจัยตัวชี้วัดวัสดุอุปกรณ์และเครื่องมือ และความชัดเจนของงบประมาณอยู่ในระดับมาก นอกจากนี้ คณะกรรมการฝ่ายต่างๆ มีการวางแผนการใช้จ่ายเป็นอย่างดี โดยคำนึงถึงความประหยัดและคุ้มค่าเป็นสำคัญซึ่งสอดคล้องกับแนวคิดของสมหวังพิธิยานุวัฒน์ (2535:70) ที่กล่าวว่าการพิจารณาความเหมาะสมของปัจจัยต่างๆ ในการดำเนินการโครงการสิ่งที่ต้องพิจารณา เช่น จำนวนงบประมาณ คุณภาพ และปริมาณของคณะกรรมการ ห้องประชุมอบรม วัสดุอุปกรณ์อื่นๆ ตลอดถึงความเหมาะสมของเอกสาร เนื้อหาสาระ เป็นต้น ซึ่งจะทำให้โอกาสที่โครงการประสบผลสำเร็จมีมากขึ้น
3.ด้านกระบวนการดำเนินงานโครงการประกันคุณภาพภายในโรงเรียนบ้านเขาทรายสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครศรีธรรมราช เขต 4 ตามความคิดเห็นของครูผู้รับผิดชอบงานประกันคุณภาพการศึกษาและคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานซึ่งเป็นผู้ดำเนินงานโครงการประกันคุณภาพเกี่ยวกับการดำเนินการประกันคุณภาพตามกฎกระทรวงว่าด้วยระบบหลักเกณฑ์และวิธีการประกันคุณภาพการศึกษา พ.ศ. 2553ซึ่งได้แก่ การกำหนดมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษาการจัดทำแผนพัฒนาการจัดการศึกษาการจัดระบบบริหารและสารสนเทศและการดำเนินงานตามแผนพัฒนาการจัดการศึกษาการติดตามตรวจสอบคุณภาพการศึกษาการประเมินคุณภาพภายในตามมาตรฐานการศึกษาการจัดทำรายงานประจำปีที่เป็นรายงานประเมินคุณภาพภายในและการพัฒนาคุณภาพการศึกษาอย่างต่อเนื่องโดยภาพรวมมีระดับความเหมาะสมอยู่ในระดับมากซึ่งสอดคล้องกับผลการวิจัยของพรพิมลสุขะวัธนกุล (2553 : บทคัดย่อ)ที่ได้ทำการวิจัยการปฏิบัติงานการประกันคุณภาพภายในของโรงเรียนแม่พระฟาติมาโรงเรียนสังกัดอัครสังฆมณฑล กรุงเทพมหานคร เขต 2โดยศึกษาจากผู้บริหารครูผู้ปกครองเครือข่าย จำนาน 128 คนตามมาตรฐานคุณภาพภายในทั้ง8ด้าน ผลการวิจัยพบว่าการปฏิบัติงานการประกันคุณภาพภายในของโรงเรียนแม่พระฟาติมาโดยรวมอยู่ในระดับมากและเมื่อพิจารณาในแต่ละด้าน ก็พบว่าทุกด้านมีการปฏิบัติในระดับมากเช่นกันและสอดคล้องกับผลการศึกษาของ เจตสิทธิ์นาคเสน (2551) ที่ได้ศึกษาการดำเนินงานประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา ช่วงชั้นที่1-2สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาหนองคายเขต2จากกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาคือผู้บริหารโรงเรียนและครูวิชาการในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาหนองคาย เขต 2 จำนวน156 คน ซึ่งผลการวิจัย พบว่า ผู้บริหารโรงเรียนและครูวิชาการมีความคิดเห็นต่อการดำเนินงานระบบประกันคุณภาพภายในสถานศึกษาช่วงชั้น1-2สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาหนองคาย เขต 2โดยภาพรวมและรายด้านอยู่ในระดับมาก เรียงตามลำดับค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อย คือ ด้านการจัดทำแผนพัฒนาคุณภาพการศึกษาด้านการดำเนินงานตามแผนพัฒนาคุณภาพการศึกษา ด้านการประเมินคุณภาพการศึกษาด้านการจัดระบบบริหารและสารสนเทศด้านการพัฒนามาตรฐานการศึกษาด้านการผดุงระบบการประกันคุณภาพการศึกษาด้านการตรวจสอบและทบทวนคุณภาพการศึกษาและด้านรายงานคุณภาพการศึกษาตามลำดับ
สาเหตุที่เป็นเช่นนี้น่าจะเป็นเพราะว่าโรงเรียนได้วางแผนการดำเนินงานของโครงการอย่างเป็นระบบตามกฎกระทรวงว่าด้วยระบบหลักเกณฑ์และวิธีการประกันคุณภาพการศึกษาพ.ศ. 2553 รวมทั้งรายละเอียดการดำเนินการจากแนวทางการพัฒนาระบบการประกันคุณภาพภายในโดยทุกฝ่ายมีส่วนร่วมในการดำเนินงานโดยเฉพาะคณะกรรมการดำเนินงานโครงการประกันคุณภาพภายใน ได้แต่งตั้งตามขั้นตอนที่ชัดเจนซึ่งสอดคล้องกับแนวทางปฏิบัติ ซึ่งประกอบด้วยผู้บริหารโรงเรียน ตัวแทนครู นักเรียน ผู้ปกครอง ผู้นำชุมชน ผู้แทนองค์กรท้องถิ่น ผู้นำหน่วยราชการในท้องถิ่นและผู้นำองค์กรเอกชน เมื่อบุคคลเหล่านี้รวมเป็นคณะกรรมการจะช่วยชี้แนะโอกาสและแนวปฏิบัติเพื่อพัฒนาระบบการประกันคุณภาพภายในที่เหมาะสมและสอดคล้องกับความต้องการของชุมชน นอกจากนี้ ครูผู้รับผิดชอบงานประกันคุณภาพภายในโรงเรียนได้ปฏิบัติงานตามแผนปฏิบัติการ และมีความจริงจังสม่ำเสมอต่อเนื่องเป็นไปตามขั้นตอนการดำเนินการประกันคุณภาพการศึกษาจัดทำแผนปฏิบัติงานไว้ในแผนพัฒนาโรงเรียนแต่ละปี โดยกำหนดเป้าหมาย วัตถุประสงค์และขั้นตอนการดำเนินงาน มอบหมายความรับผิดชอบแต่ละขั้นตอนให้ตรงตามทักษะและประสบการณ์ของแต่ละคน
4.ด้านผลผลิตของของโครงการประกันคุณภาพภายในโรงเรียนบ้านเขาทรายสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครศรีธรรมราช เขต 4ตามความคิดเห็นของครูผู้รับผิดชอบงานประกันคุณภาพการศึกษานักเรียนผู้ปกครองคณะกรรมการสถานศึกษาและผู้นำชุมชนเป็นการประเมินความพึงพอใจเกี่ยวกับการดำเนินงานประกันคุณภาพภายในโรงเรียนพบว่าโดยภาพรวมมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก และเมื่อพิจารณารายข้อพบว่าทุกข้อผู้ตอบแบบสอบถามก็มีความพึงพอใจในระดับมากโดยที่แต่ละข้อ คือ ผลผลิตจากการประเมินตามมาตรฐานการศึกษาขั้นพื้นฐานใน5ด้าน 15มาตรฐานซึ่งสอดคล้องกับชาญเจริญซื่อชวกรกุล (2550) ซึ่งได้ศึกษาการดำเนินงานประกันคุณภาพภายในเพื่อรองรับการประเมินคุณภาพภายนอกรอบที่สองของโรงเรียนโป่งหลวงวิทยารัชมังคลาภิเษกจังหวัดลำปางพบว่า การดำเนินงานประกันคุณภาพภายในเพื่อรองรับการประเมินคุณภาพภายนอกรอบที่สองมีมาตรฐาน 4 ด้าน คือมาตรฐานด้านคุณภาพผู้เรียนมาตรฐานด้านการเรียนการสอนมาตรฐานด้านการบริหารและการจัดการศึกษาและมาตรฐานด้านการพัฒนาชุมชนแห่งการเรียนรู้ส่วนใหญ่มีผลการดำเนินงานอยู่ในระดับดีแต่มีมาตรฐานด้านคุณภาพผู้เรียน 2มาตรฐานคือ มาตรฐานที่ 4 ผู้เรียนมีความสามารถในการคิดวิเคราะห์ คิดสังเคราะห์มีวิจารณญาณ มีความคิดสร้างสรรค์ คิดไตรตรองและมีวิสัยทัศน์และมาตรฐานที่ 5 ผู้เรียนมีความรู้และทักษะที่จำเป็นตามหลักสูตรที่มีผลอยู่ในระดับพอใช้ในด้านการดำเนินงานตามมาตรฐานด้านการบริหารจัดการมาตรฐานที่ 12พบว่าสถานศึกษามีระบบประกันคุณภาพภายในที่ดำเนินอย่างต่อเนื่อง โดยส่วนใหญ่เห็นว่ามีการดำเนินงานอยู่ในระดับดีและผลการประเมินโครงการของสุมาลีสานุจิตร (2554) ซึ่งทำการประเมินโครงการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษาแบบพหุพาคีโรงเรียนเทศบาลวัดป่าเรไรจังหวัดร้อยเอ็ดจากกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการประเมิน 253 คน พบว่าด้านผลผลิต มีสภาพการดำเนินงาน โดยรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อพบว่าผู้เรียนมีคุณธรรม จริยธรรมและค่านิยมที่พึงประสงค์ อยู่ในระดับมากผู้เรียนมีความสามารถในการคิดวิเคราะห์ คิดสังเคราะห์ มีวิจารณญาณ มีความคิดสร้างสรรค์ คิดไตร่ตรองและมีวิสัยทัศน์ อยู่ในระดับมาก ผู้เรียนมีความรู้และทักษะที่จำเป็นตามหลักสูตร อยู่ในระดับปานกลาง ผู้เรียนมีทักษะในการแสวงหาความรู้ด้วยตนเอง รักการเรียนรู้และพัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่อง อยู่ในระดับมากผู้เรียนมีทักษะในการทำงาน รักการทำงาน สามารถทำงานร่วมกับผู้อื่นได้และมีเจตคติที่ดีต่ออาชีพสุจริต อยู่ในระดับมากผู้เรียนมีสุขนิสัย สุขภาพกายและสุขภาพจิตที่ดี อยู่ในระดับมากที่สุดและผู้เรียนมีสุนทรียภาพและลักษณะนิสัยด้านศิลปะดนตรีและกีฬา อยู่ในระดับมากที่สุด
ข้อเสนอแนะ
จากผลการประเมินโครงการประกันคุณภาพภายในโรงเรียนบ้านเขาทรายสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครศรีธรรมราช เขต4มีข้อเสนอแนะทั่วไปและข้อเสนอแนะสำหรับการทำวิจัยครั้งต่อไป ดังนี้
- 1. ข้อเสนอแนะทั่วไป
จากผลการประเมินโครงการประกันคุณภาพภายในโรงเรียนบ้านเขาทรายสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครศรีธรรมราช เขต 4 ทั้ง4ด้านผลการประเมินมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากซึ่งสามารถบรรลุวัตถุประสงค์ของโครงการ จึงมีข้อเสนอแนะดังนี้
1. จากการประเมินพบว่าผู้ตอบแบบสอบถามให้ความสำคัญในเรื่องของความเหมาะสมของโครงการกับสภาพปัจจุบันและบริบทของสถานศึกษาดังนั้นโรงเรียนควรมีการวิเคราะห์บริบทของโรงเรียนโดยการมีส่วนร่วมเพื่อพัฒนาระบบประกันคุณภาพการศึกษาต่อไป
2. จากการประเมินพบว่าผู้ตอบแบบสอบถามให้ความสำคัญในเรื่องเป้าหมายของโครงการที่เกิดประโยชน์กับนักเรียนดังนั้นโรงเรียนควรมีการกำหนดเป้าหมายร่วมกับผู้มีส่วนเกี่ยวข้องอย่างหลากหลายเพื่อให้เป้าหมายการดำเนินงานเป็นที่ยอมรับของทุกภาคส่วน
3.จากการประเมินพบว่าผู้ตอบแบบสอบถามให้ความสำคัญในเรื่องของการมีส่วนร่วมและโครงสร้างที่เหมาะสมโดยเน้นระบบคุณภาพดังนั้นโรงเรียนควรมีการวิเคราะห์องค์กรเพื่อจัดโครงสร้างองค์กรนำไปสู่การพัฒนาระบบประกันคุณภาพการศึกษาได้ดีขึ้น
4. จากการประเมินพบว่าการสนับสนุนให้บุคลากรทำงานอย่างมีความสุขโดยจัดสิ่งอำนวยความสะดวกสนับสนุนทรัพยากรในการปฏิบัติอยู่ในระดับปานกลางเท่านั้นดังนั้นสถานศึกษาควรจัดหาสิ่งอำนวยความสะดวกและทรัพยากรในการสนับสนุนการปฏิบัติงานเพื่อพัฒนาระบบการพัฒนาการศึกษาต่อไป
5.จากการประเมินพบว่าการพัฒนาสถานศึกษาให้เป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้อยู่ในระดับปานกลางเท่านั้นดังนั้นสถานศึกษาควรพัฒนาสถานศึกษาให้เป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้โดยครูและบุคลากรกรต้องได้รับการพัฒนาเพื่อเป็นบุคคลแห่งการเรียนรู้
2. ข้อเสนอแนะเพื่อการประเมินครั้งต่อไป
จากการศึกษาการประเมินโครงการโรงโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพในครั้งนี้ ผู้ประเมินมีข้อเสนอแนะในการประเมินครั้งต่อไปดังนี้
- 1.ควรจัดทำการประเมินโครงการประกันคุณภาพภายในที่เน้นกระบวนการดำเนินงาน
ตามกฎกระทรวงว่าด้วยระบบหลักเกณฑ์และวิธีการประกันคุณภาพการศึกษาพ.ศ. 2553
- 2.ควรมีการจัดประเมินระบบประกันคุณภาพภายในโดยให้บุคคลจากภายนอกพื้นที่บริการ
ขององค์กรมีส่วนร่วมในการประเมิน
- 3.ควรมีการประเมินประกันคุณภาพภายในที่มุ่งผลเพื่อรองรับการประเมินคุณภาพภายนอก
4. ควรมีการศึกษาวิจัยเกี่ยวกับรูปแบบที่เหมาะสมต่อการดำเนินโครงการประกันคุณภาพภายในตามขนาดของโรงเรียน
เอกสารอ้างอิง
ชาญเจริญซื่อชวกรกุล. (2550).การดำเนินงานประกันคุณภาพภายในเพื่อรับรองการประเมิน
ภายนอกรอบที่สองของโรงเรียนโป่งหลวงวิทยารัชมัลคลาภิเษก จังหวัดลำปาง.
การค้นคว้าแบบอิสระศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษาบัณฑิต
วิทยาลัยมหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
พรพิมลสุขะวัธนกุล. (2553). การปฏิบัติงานการประกันคุณภาพภายในของโรงเรียนแม่พระ
ฟาติมาโรงเรียนสังกัดอัครสังฆมณฑล กรุงเทพมหานคร เขต 2. ฝ่ายการศึกษา อัครสังฆ
มณฑลกรุงเทพมหานคร : เอกสารอัดสำเนา.
รุ่งทิวาธราวรรณ. (2556). การประเมินโครงการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษาโรงเรียน
เทศบาลบูรพาพิทยาคาร.กองการศึกษาเทศบาลเมืองมหาสารคาม.จังหวัดมหาสารคาม
: เอกสารอัดสำเนา.
สมหวังพิธิยานุวัฒน์. (2541).ความรู้พื้นฐานสำหรับการประเมินโครงการทางการศึกษา.ใน
รวมบทความทางการประเมินโครงการ: ชุดรวมบทความ เล่ม 4.หน้า 114-117.
กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สุมาลีสานุจิตร. (2554). การประเมินโครงการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษาแบบพหุพคี
โรงเรียนเทศบาลวัดป่าเรไรจังหวัดร้อยเอ็ด.จังหวัดร้อยเอ็ด : เอกสารอัดสำเนา.
สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา.(2553). แผนการศึกษาแห่งชาติฉบับปรับปรุง (พ.ศ.2552 -
2559).กรุงเทพมหานคร : พริกหวานกราฟฟิคจำกัด.
สำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา..(2552).รายงานการประเมินคุณภาพ
ภายนอกสถานศึกษาระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน.กรุงเทพมหานคร : สำนักงานรับรอง
มาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา (องค์การมหาชน)
บันทึกนี้เขียนที่ GotoKnow โดย สุพาลิตร สมเขาใหญ่ ใน การประเมินโครงการประกันคุณภาพภายในโรงเรียน
ไม่อนุญาตให้แสดงความเห็น
อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก