เรียนรู้คุณลักษณะของนิสิตที่พึงประสงค์ จากคำแนะนำของ "ผู้ใหญ่" ในมหาวิทยาลัย


วันนี้ (๗ ตุลาคม ๒๕๕๗) ผมมีโอกาสได้ร่วมเข้าเยี่ยมอาจารย์ผู้ใหญ่ในมหาวิทยาลัยท่านหนึ่ง ท่านเป็นหนึ่งในอาจารย์ (ที่ผมเข้าใจว่ามีจำนวนไม่มาก) ที่เน้น "คุณค่าแท้" มากกว่า "คุณค่าเทียม" จากการสนทนากับท่าน ทำให้ผมมั่นใจมากขึ้น ว่าสิ่งที่เราคิดเรื่องการพัฒนานิสิตในมหาวิทยาลัยนั้นต้องให้ความสำคัญกับรายวิชาศึกษาทั่วไปนั้นถูกต้องแล้ว สิ่งที่ท่านปรารภเป็นแนวทางในการพัฒนาคุณลักษณะของนิสิตนั้น สะท้อนการคิดอย่างองค์รวมและชี้ตัวอย่างชัดเด่นจนเห็นรายละเอียดเล็กๆ น้อยๆ ... เสียดายที่สถานที่ไม่เหมาะที่จะนำเสนอรูปเหตุการณ์ ... แต่อย่างไรก็ดี มุมมองและคำแนะนำดีๆ ของท่าน ควรจะถูกนำมาเผยแพร่เป็นที่สุด

ท่านบอกว่า ....

  • วิชาศึกษาทั่วไป ไม่ใช่วิชาที่จะมาลงเรียนให้ผ่านๆ ไป ใครก็สอนได้ แต่ต้องเป็นการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนในรายวิชาเหล่านี้เพื่อให้นิสิตได้เรียนรู้ "รากเหง้า" อารยธรรม ความเป็นมาของตนเอง รู้จักภูมิปัญญา รู้จักปัญหาของตนเอง ครอบครัว สังคม... ผมคิดว่าหากเราทำได้อย่างท่านแนะนำ จะทำให้นิสิตของเราภูมิใจในตนเอง ภูมิใจในท้องถิ่น ชุมชน ภูมิใจที่ได้เป็นคนไทย
  • ส่วนด้านกายภาพ นิสิต้องรู้จักร่างกาย รู้เรื่องสมอง รู้จักดูแลรักษาร่างกาย สุขภาพ ... ท่านคงหมายถึง "กินเป็น" "อยู่เป็น"
  • การจัดการเรียนรู้ควรเป็นไปอย่างบูรณาการ แต่ละคณะ แต่ละวิชา มาร่วมกันคิดว่า ว่าจะช่วยกันอย่างไรให้นิสิตมีทักษะชีวิต ทักษะพื้นฐาน เช่น การใช้สิ่งของเครื่องใช้ การนำเทคโนโลยีมาใช้อย่างเหมาะสม
    • บางคนเห็นในห้องมีแอร์ ๒ ตัว เข้าใจว่า เปิดตัวเดียวดีกว่า จะประหยัดกว่า ... ผลคือแอร์ตัวนั้นทำงานหนักเกิน...พัง....
    • บางคนไม่รู้จักเรื่องสายดิน เสียบต่อสายไฟง่ายๆ ไม่เป็น .... ทำอย่างไรจะทำให้นิสิตมีความรู้เบื้องต้นแบบนี้
    • เมื่อมีผู้เจ็บป่วย สามารถช่วยเหลือเบื้องต้นได้ไหม
    • ในชีวิตจะมีอันตรายอะไรบ้าง จะป้องกันอย่างไร
    • ฯลฯ
  • เรื่องภาษาอังกฤษ ควรเน้นไปที่การจัดการเรียนรู้ให้นิสิตสามารถ สื่อสารได้ พูดได้ สนทนาได้ จัดเนื้อหาให้เหมาะสม และจัดกิจกรรมเสริมเพิ่ม จัดให้นิสิตที่มีความสามารถได้เข้ามามีส่วนร่วม เพื่อจัดให้นิสิตทุกคนได้ฝึกทักษะจริงๆ ไม่ใช่เรียนทฤษฎีแกรมม่าอย่างเดียว

ผมตีความแบบสรุปจากการสนทนาครั้งนี้่ ว่าการพัฒนา GE นั้น ต้องมีทั้ง "ปรัชญา" และ "ปัญญา" ต้องมีทั้ง "ศาสตร์" (วิทย์) และ "ศิลป์" ทุกคนต้องมองว่าเราทำเพื่อมหาวิทยาลัย ทำเพื่อองค์กร และที่สำคัญคือเพื่อนิสิตนั่นเอง ....

หมายเลขบันทึก: 578440เขียนเมื่อ 8 ตุลาคม 2014 12:12 น. ()แก้ไขเมื่อ 8 ตุลาคม 2014 15:22 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท