เรื่องเล่า "ที่มาที่ไป..ความประทับใจของคนภาคการศึกษา" (ตอนที่ 1)


ภาคการศึกษาต้องนำการจัดการความรู้ใช้เป็นเครื่องมือในการทำงาน

      

          วันนี้ขอนำเรื่องเล่าที่ได้จากการถอดเทปของ ผศ.ดร. เลขา  ปิยะอัจฉริยะ หนึ่งในนักวิจัยใน โครงการวิจัยและพัฒนานวัตกรรมการเพิ่มประสิทธิภาพขององค์กรทางการศึกษาด้วยการจัดการความรู้ (Ed-KM)” ให้ชาว G2K ได้อ่าน ซึ่งเรื่องเล่านี้ อ. เลขาได้เล่าให้ภาคีสคส. ฟังในวันที่ 19 ต.ค. 49  ในงานประเมิน สคส.    และท่านจะพบว่าเรื่องเล่านี้มีพลังจริงๆ  ท่านจะได้  รู้ที่มาที่ไป ความประทับใจของคนในองค์กรทางการศึกษา 

           ต่อเนื่องจากเรื่องเล่าของภาคการศึกษาขั้นพื้นฐานกับการจัดการความรู้ในโรงเรียนจิระศาสตร์ของ ดร.ปฐมพงศ์  ศุภเลิศ  รองผู้อำนวยการโรงเรียนจิระศาสตร์วิทยา  ที่ริเริ่มจาก 1 โรงเรียนที่มีศักยภาพและแผ่ไพศาลสร้างเครือข่าย  เพราะว่า อ. จิรพันธ์เป็นประธานของโรงเรียนเอกชน 

           ดิฉันขอไหว้ครูก่อน เพราะว่า ทางโรงเรียน จิระศาสตร์ และโรงเรียนชาวนา  พิจิตร และโรงพยาบาลบ้านตากก็เป็นครูของดิฉัน เหล่านี้มี Impact มากต่อสิ่งที่กระทำอยู่ 

          เริ่มแรกเข้ามาเกี่ยวข้องกับการจัดการความรู้ จากความกรุณาของ อ. หมอวิจารณ์และทีมน้องๆ สคส.    ซึ่งมียุทธศาสตร์และกลวิธีสูงมากที่จะพาคนแก่ 2 คนตามไปกับคณะ KM สัญจร    ในครั้งนั้นได้ไปแบบ รู้บ้างไม่รู้บ้าง  ไปแบบงง  ไม่ได้อ่านหนังสือมือใหม่หัดขับของ อ. ประพนธ์    แต่ไปก็สนุกดี ได้ไปรู้จักกับ คุณหมอเทพ จากโรงพยาบาลเทพธารินทร์  โดยได้คุยกันตลอดทาง  และ อ. ไพบูลย์ วัฒนศิริธรรม มาจากภาคชุมชน      ตนและ ดร. สุวัฒน์ เงินฉ่ำ ท่านก็เป็นผู้มีบารมี  อ. สุวัฒน์ก็กระซิบกับตนว่า   เรามาผิดวิกรึเปล่าเนี้ยะ !!!    เค้าพูดเรื่องเบาหวาน แต่มันเป็นประโยชน์  เราต้องเตรียมตัวแล้วนะ มองประโยชน์ด้วยความเชื่อมโยงตัวเอง 

           พอไปถึงแหล่งเรียนรู้ โรงเรียนชาวนา จ. สุพรรณบุรี   ก็ตื่นตาตื่นใจการนำเสนอของคุณเดชา  Present PowerPoint   ทีมคุณเดชาเรียกตัวเองว่า  ชาวนา   ออกมาแล้วค่อยๆ get  ว่ามันคืออะไร และไปดูแปลงที่ทดลองข้าว นี่คือ Scientific thinking ค่อยเรียนรู้  มันคือกระบวนการเรียนรู้   ไม่ได้ผิดจริตตนเลย  

          พอไปถึงโรงพยาบาลบ้านตาก จ. ตาก ก็ไปตื่นตาตื่นใจอีกครั้ง  แต่ก็ยังงงบ้างเหมือนกัน เพราะมันไม่ชัดเหมือนในวีซีดี   มีความประทับใจท่านคุณหมอพิเชฐ บัญญัติ  พูดเรื่องการเรียนรู้ได้ดีกว่าพวกด็อกเตอร์ทั้งหลาย ที่พยายามพูดอธิบายเรื่องการเรียนรู้ และคุณหมอพิเชฐ นำเสนอแบบชนิดที่ว่าลงเข้ามาในการปฏิบัติอะไรต่ออะไร ก็ประทับใจในตัวผู้อำนวยการคนนี้มาก

          และเมื่อถึง โรงเรียนชาวนา จ. พิจิตรของชุมชน ดูอะไรต่ออะไร และได้สอบถามคุณเดชาก็พอจะเข้าใจ   ในที่สุดพอไปถึงมหาวิทยาลัยนเรศวรเป็นแหล่งเรียนรู้สุดท้าย อ้า!!  อันนี้ใช้ได้   เราสามารถประยุกต์เข้ากับการศึกษาขั้นพื้นฐานได้    ที่มันเป็นประเด็นยุทธศาสตร์ของ สคส. ก็คือว่า  เค้าจุดประกายไม่ว่าจะเป็นชุมชนหรือ โรงพยาบาล เมื่อถึงกิจกรรม AAR   ทุกคนได้ AAR     ดิฉันและอ. สุวัฒน์เกิดความคิดว่า     เออ.....แล้วโรงเรียนล่ะเกิดอะไรขึ้น  การศึกษาขั้นพื้นฐานกับการจัดการความรู้มันน่าจะทำนะ   ที่พิจิตร คุณสุรเดชกับสมาชิกของท่านนักจัดการความรู้ชาวบ้าน   เนี้ยะโรงเรียนเนี้ยะเด็ก น่าจะทำ..... โอตายแล้ว  (ไม่รู้ สคส. ไป lobby รึเปล่า)    และยิ่งแหล่งดูงานสุดท้ายมหาวิทยาลัยนเรศวร ช่วง AAR   เรา 2 คนก็ต้อง commit ตัวเอง เพราะโดนต่อว่าตลอดทาง  ทุกคนก็มองหน้า เออ... อนาคตของชาติเนี้ยะ การจัดการความรู้น่าจะเข้ามาช่วย  พอกลับจากการดูงานมาแล้วก็คิดว่า เราจะขยับเขยื้อนโครงการอย่างไร   ก็ไปคุยกับคุณหมอวิจารณ์ และคุณธวัชมารอบหนึ่งแล้ว กลับมาก็ยังคิดไม่ออก

          จังหวะดีที่ว่าดิฉันเสร็จงานวิจัยการปฏิรูปการเรียนรู้ทั้งโรงเรียน ได้รับทุนจากสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) ได้หารือกับ ดร. สีลาภรณ์  บัวสาย ว่า KM น่าจะเข้าไปช่วยตรงนี้  แต่ว่าถ้าจะของบสกว. มาต่อยอดตรงเนี้ยะ โอเคไหม และก็ไปเส้นก๋วยจั๊บของบกับสำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา  เราไม่มีนโยบายนะ  แต่การจัดการความรู้กับการเป็นองค์กรการเรียนรู้เป็นมาตรฐานที่ 3 ระดับชาติ เป็นมาตรฐานการศึกษาชาติ ชัดเจนเลยว่า การจัดการเรียนรู้ต้องเป็นเครื่องมือในการพัฒนาประสิทธิภาพทุกมิติของการจัดการศึกษา  ดังนั้นเข้าหมดทั้งเรื่องครอบครัวและ ภาคประชาชน แต่ว่าสถานศึกษาขั้นพื้นฐานจะขยับอย่างไร  ก็ไปเชียร์.......สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา (สกศ.)   ทาง สกศ. บอกว่า ตนต้องช่วยในการพัฒนานโยบาย  โอเคไม่มีปัญหา แต่ว่ามาทำ R&D กันไหม  สกศ. ตอบตกลงและให้ทุนในงานวิจัยด้วย เพราะได้ทุนจากสกว. ไม่เพียงพอ  และให้ทุนไม่มากเพราะไม่ได้คิด เพียงแต่มีทุนให้เดินทางไปติดตาม   สกศ. ก็ลงขัน    สกว. ชอบใจเพราะว่ามี Partner     ที่ดีมากๆ   เพราะว่านอกจากสภาการศึกษาให้เงินทุนและ ยังเข้ามาทำวิจัยด้วย  โดยมีเงื่อนไขว่า ดร. เลขาต้องเป็นหัวหน้าโครงการ และแต่งตั้ง ดร. สุวัฒน์ เงินฉ่ำ ท่าน senior กว่า  เป็นผู้อำนวยการโครงการฯ   ซึ่งท่านเป็นผู้มีบารมีและ ใช้บารมีของท่านในการขับเคลื่อน   และตนมีประสบการณ์ในการทำงานกับกระทรวงศึกษาธิการว่า  หัวไม่ส่ายหางไม่กระดิกหรือ หัวส่ายหางก็ยังไม่กระดิก”  

ติดตามตอนต่อไป

หมายเลขบันทึก: 57651เขียนเมื่อ 7 พฤศจิกายน 2006 13:56 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 17:36 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)
  • สวัสดีคุณจ๋าค่ะ 
  • ขอปูเสื่อนั่งรอชมภาคต่อไปเลยนะคะ
  • อ่านข้อความถอดเทปแล้วเห็นภาพท่านอาจารย์เลขา ท่านมานั่งอยู่ตรงหน้าเลยค่ะ
  • ขอบคุณ สกศ. สกว. และ สคส. ที่ทำให้เกิด EdKM ค่ะ

สวัสดีค่ะคุณจ๊ะจ๋า  ศน.กุ้ง

  • เสียงท่าน  เลขา  ดังอยู่ในหูครูอ้อยเลยค่ะ
  • ขอบคุณทุกๆสิ่งนะคะ คุณจ๊ะจ๋า ศน.กุ้ง

สวัสดีคะ ศน. กุ้งและครูอ้อย

ยินดีเป็นอย่างมากที่ได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกันคะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท