หลักและแนวคิด KM


หลักและแนวคิด KM

                                         วิชาการ

ครูจักษ์                   

                              หลักการและแนวคิด KM

                โรงเรียนตะคร้อพิทยา (ต.พ.) กำลังก้าวสู่การเปลี่ยนแปลงสู่การเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ จึงจำเป็นต้องพัฒนาบุคลากรทุกคนให้ทันสมัย ทันต่อการเปลี่ยนแปลงต้องรับรู้ข้อมูลข่าวสารและสามารถประมวลผลสังเคราะห์ความรู้ในด้านต่างๆ เพื่อนำมาประยุกต์ใช้ในการปฎิบัติราชการได้อย่างถูกต้อง รวดเร็ว และเหมาะสมกับสถานการณ์ ทั้งนี้เพื่อประโยชน์ต่อการปฎิบัติราชการของหน่วยงานให้สอดคล้องกับการบริหารราชการตามหลักเกณฑ์และวิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี ( Good Governance : G.G.) ให้เกิดผลสัมฤทธิ์ และรูปแบบวิธีการพัฒนาให้ส่วนราชการเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้วิธีหนึ่งนั้นคือ"การจัดการความรู้

"(KnowledgeManagement:KM) แนวคิดของการจัดการความรู้ วิจารณ์ พานิช : อธิบายแนวคิดของการจัดการความรู้ไว้ว่าการจัดการความรู้เป็นการเรียนรู้แบบใหม่ที่เรียนจากการปฎิบัติเป็นตัวนำ เป็นตัวเดินเรื่องไม่ใช่แค่เรียนจากครู หรือตำรานั้นเป็นการเรียนรู้แบบเก่า ซึ่งเน้นเรียนทฤษฎี ขณะที่การเรียนรู้แบบ KM ก็เป็นทฤษฎี แต่ว่าเน้นที่การเรียนรู้แบบปฎิบัติ เพราะการปฎิบัติทำให้เกิดประสบการณ์ การจัดการความรู้ไม่ใช่เรื่องของคนๆเดียวเป็นเรื่องของคนหลายคนที่ทำงานร่วมกัน เพราะฉะนั้นเวลาปฎิบัติแต่ละคนจะมีประสบการณ์ไม่เหมือนกัน เมื่อนำความคิดความรู้มาแลกเปลี่ยนกันก็จะทำให้ยกระดับความรู้ความเข้าใจขึ้นไปอีก จะเห็นว่าการจัดการความรู้เราจะเน้นที่การเรียนรู้จากการปฎิบัติแล้วก็เน้นตัวความรู้ที่เป็นความรู้ใน "คน" หรือที่เรียกว่า tacit knowledge ทั้งนี้ ความรู้จากเอกสาร ตำรา หรือที่เรียกว่า explicit knowledge นั้นก็สำคัญ เพียงแต่ว่าเรามักจะละเลยความรู้ที่มีอยู่ในคน โดยจัดระบบระเบียบเพื่อให้คนเข้าถึงได้ง่าย และดึงออกมาใช้งานได้โดยสะดวก การจัดการความรู้จะเกิดขึ้นในระดับทีมงาน หรือระดับองค์กรที่ต้องปฎิสัมพันธ์ระหว่างปัจเจกแต่ละคน เพราะการจัดการความรู้จะเกิดขึ้นได้ ก็ต่อเมื่อมีปฎิสัมพันธ์เพื่อให้เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างทีม ซึ่งอาจเป็นปฎิสัมพันธ์บนเครือข่าย cyber space หรืออาจผ่านการพบปะพูดคุยกันก็ได้                โรงเรียนตะคร้อพิทยา ของเราได้รับหน้าที่จากสำนักเขตพื้นที่การศึกษาเป็นโรงเรียนนำร่องโรงเรียนที่เพิ่มประสิทธิภาพขององค์กรทางการศึกษาด้วยการจัดการความรู้(KM) ทำให้โรงเรียนของเรามีการพัฒนาการทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผลมากยิ่งขึ้น  ถ้าโรงเรียนหรือหน่วยงานต่าง ๆ สนใจก็มาแวะเยี่ยมชมได้  

คำสำคัญ (Tags): #หลักและแนวคิดkm
หมายเลขบันทึก: 57633เขียนเมื่อ 7 พฤศจิกายน 2006 12:35 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 ธันวาคม 2012 13:49 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

เพิ่มรายละเอียดการพัฒนาการขงองค์แห่งการเรียนรู้

เพิ่มรายละเอียดการพัฒนาการขงองค์แห่งการเรียนรู้

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท