ความรู้สึกในแววตา กับกลุ่มสร้างสรรค์


สวัสดีค่ะ ห่างหายจากการบันทึกไปนาน ช่วงนี้หน้าฝน ฝนตกไม่แน่นอน ดูแลสุขภาพ ไปไหนก็พกร่มไปด้วยนะค่ะ วันนี้เข้ามาเขียนความรู้สึกของตัวฉันเองในบทบาทที่ได้รับแตกต่างกันไป เมื่อวันอังคารที่ 9 กันยายน ห้องเรียนของฉันได้จำลองgroup ออกเป็น 2 ช่วงวัย นั่นคือ กลุ่มเด็ก และผู้สูงอายุ โดยประยุกต์ใช้จากวิชา กภกก 332 การวิเคราะห์และปรับสื่อเพื่อการบำบัด เรื่อง Group process and Group dynamic 

บทบาทที่ทุกคนจะได้รับมี 3 บทบาท คือ ผู้นำกลุ่ม(Leader) ผู้สังเกต(observer) และผู้รับบริการ(client) ซึ่งดิฉันได้รับบทบาทเป็นผู้สังเกตในกลุ่มเด็ก และ ผู้รับบริการ ในกลุ่มผู้สูงอายุ ซึ่งมีความรู้สึกที่ต่างกันออกไป กิจกรรมในกลุ่มเด็ก leader จะเล่านิทานและให้เด็กแสดงตัวละครตามนั้น ส่วนกลุ่มผู้สูงอายุให้ต่อจิ๊กซอ และเล่าเรื่องราวที่เห็นจากภาพที่ต่อเสร็จ

การเป็นผู้สังเกต จะเป็นการมองภาพรวมก่อน จากนั้นจึงเน้นเป็นรายบุคคล อย่างละเอียดถี่ถ้วน ซึ่งการจำลองกลุ่ม แน่นอนว่าไม่มีใครรู้สิ่งที่จะเกิดขึ้น  เมื่อเกิดความผิดพลาดกับ client ขึ้น ผู้ที่จะรู้สึก fail มากเป็นพิเศษ ได้แก่ leader และ ตัวclientเอง ซึ่งจะรู้สึกดีขึ้นหรือไม่นั้น ก็ขึ้นอยู่กับ leader เพียงผู้เดียว ในมุมมองของผู้สังเกตจะเห็นภาพที่เกิดขึ้นทุกอย่างแต่ไม่สามารถทำอะไรได้ รู้สึกสงสารแต่ก็คงไม่ fail มากเท่ากับตัว client ในทางกลับกัน การที่ฉันได้แสดงบทบาทสมมติเป็น client ในกลุ่มผู้สูงอายุ เมื่อไม่สามารถทำกิจกรรมได้เหมือนคนอื่น ก็จะเกิดความรู้สึกแย่ อีกทั้งถ้าไม่มีใครมาสนใจ ยิ่งจะทำให้เกิดความไม่อยากทำกิจกรรมนั้นอีก พอมาเป็น client เอง ทำให้รับรู้ความรู้สึกจริง การรอให้ leader มาถาม มาช่วยพยุง  มันเป็นความรู้สึกที่มีความหวัง เป็นแรงจูงใจที่อยากทำกิจกรรมต่อไปซึ่งความรู้สึกตรงนี้ถ้าเป็นผู้สังเกตอาจจะไม่รู้สึกมากขนาดนี้ 

 

ภาพจาก http://hotsideofmoon.blogspot.com/2011/09/dhaka-st...

ภาพจาก http://www.langevin.com/blog/2012/08/02/5-instruct...

ซึ่งการทำกิจกรรมแบบนี้ ดิฉันคิดว่ามันเป็นการ active ตัวเองอย่างหนึ่ง ให้มีความพร้อมในด้านการแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้า การแสดงสีหน้าท่าทาง ช่างสังเกต มองภาพให้ลึก ระวังคำพูดที่อาจส่งผลกระทบต่อจิตใจและใช้คำพูดให้เหมาะสมกับแต่ละวัย ศัพท์ไม่วัยรุ่นเกินไปในผู้สูงอายุ และต้องไม่เข้าใจยากในเด็ก อีกทั้งยังต้องดูสภาพจิตใจ ลักษณะอาการของโรค และการให้ความร่วมมือของผู้รับบริการซึ่งเป็นส่วนสำคัญอย่างมากในการบำบัด สถานการณ์แบบนี้ในอนาคตนัก OT ทุกคนต้องเจออยู่แล้ว ดังนั้นการได้ฝึกฝนก่อนก็ย่อมเป็นผลดีต่อตัวเอง อีกทั้งยังได้เห็นอีกว่าในกลุ่มเด็กต้องเน้นการเคลื่อนไหวและการแสดงบทบาทสมมติซึ่งเด็กจะชอบมาก แต่กิจกรรมในวัยผู้สูงอายุอาจต้องปรับเปลี่ยนให้มีดนตรีเข้ามาบางช่วง เพื่อไม่ให้เกิดความเบื่อนั่นเอง 

หมายเลขบันทึก: 576235เขียนเมื่อ 15 กันยายน 2014 01:09 น. ()แก้ไขเมื่อ 15 กันยายน 2014 01:12 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท