หินแร่ภูเขาไฟช่วยให้พืชกินอาหารได้ต่อเนื่อง ไม่เปลืองปุ๋ย ต้นทุนลดผลผลิตเพิ่ม


เหลือเชื่อนะครับท่านผู้อ่านที่ในห้วงช่วงนี้ ผู้คนให้ความสนใจการใช้หินแร่ภูเขาไฟปรับปรุงบำรุงดินเพิ่มมากขึ้นอย่างมากมาย มีผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวกับการปรับปรุงดินออกมาเยอะแยะมากมายหลายยี่ห้อ บ้างก็เอาดินเบาลำปาง (diatomite) บ้างก็เอาดินขาว (Kaolinite)บ้างก็เอาปูนมาร์ล ปูนเผา ปูนขาว ยิปซั่ม (Lime) ที่หนักข้อขึ้นไปอีกก็คือใช้ดินเหนียว (Mineral Clay) อาจจะเป็นด้วยดินที่ผ่านการใช้งานมาอย่างยาวนาน ทำให้การปลูกพืชของพี่น้องเกษตรกรไม่ค่อยประสบความสำเร็จ จึงต้องพยายามหาสิ่งที่ต้องบำรุงปรุงดินให้ดีขึ้น เพื่อให้พืชเจริญเติบโตงอกงามและให้ผลผลิตที่เพิ่มมากขึ้น

การทดลองและวิจัยเกี่ยวกับการใช้หินแร่ภูเขาไฟในการปรับปรุงบำรุงดินเท่าที่เห็นเป็นรูปธรรมคือตั้งแต่ปี 1999 ก็คือ Silicon In Agriculture. และ Zeolite In Agriculture. ซึ่งเป็นข้อเกี่ยวกับการใช้หินแร่ภูเขาให้ความชุ่มชื้น ให้ความแข็งแกร่งทนทานต่อโรคแมลง ทนทานต่อสภาพดินเค็ม ดินเปรี้ยว ดินด่าง ฯลฯซึ่งความจริงอาจจะมีข้อมูลเกี่ยวกับด้านนี้มาก่อนเยอะแยะมากมายก็ได้ แต่ด้วยเทคโนยีด้านข้อมูลข่าวสารในอดีตไม่ได้รวดเร็วเหมือนสมัยนี้ จึงทำให้ความแพร่หลายในอดีตจากอีกซีกโลกหนึ่งมาถึงเราช้า...แต่ดีกว่าไม่มา!

หินแร่ภูเขาไฟ.(Volcanic Rock) ซึ่งมีองค์ประกอบของความอุดมสมบูรณ์พร้อมต่อการเจริญเติบโตทั้งของพืช สัตว์และจุลิทรีย์หรือสิ่งมีชีวิตที่มีขนาดเล็กที่มนุษย์อย่างเราไม่สามารถมองได้ด้วยตาเปล่า ดังนั้นไม่ว่าจะเป็นพืชสัตว์แพลงค์ตอนถ้ามีแหล่งหินแร่ภูเขาไฟบนพื้นดิน ภูเขาหรือใต้ท้องทะเล สิ่งมีชีวิตที่ได้รับแร่ธาตุและสารอาหารที่หินแร่ภูเขาไฟปลดปล่อยย่อยสลายออกมาก็จะเจริญเติบโตสมบูรณ์งอกงามจนแทบไม่จำเป็นต้องพึ่งพาอาหารจากการสังเคราะห์หรือปุ๋ย ยาฮอร์โมนต่างๆ เช่นพืชที่ปลูกบนเกาะชวา บาหลี แพลงค์ตอน ปลากระตัก นกนานาชนิดที่ปากอ่าวชิลี เปรู

การใช้กลุ่มวัสดุปูน lime, ดินเบา diatomite และดินขาว Kaolinite ซึ่งส่วนใหญ่ใช้แก้ปัญหาดินเปรี้ยวดินกรด ไม่มีค่าความสามารถในการจับตรึงปุ๋ยให้กลายเป็นปุ๋ยละลายช้า ไม่มีซิลิก้าทำให้พืชแข็งแรง ไม่มีคุณสมบัติที่สามารถปลดปล่อยย่อยสลายตนเองให้กลายเป็นอาหารของสิ่งมีชีวิตได้ทีละน้อยๆ จึงแตกต่างจากหินแร่ภูเขาไฟ พื้นที่เกษตรที่มีการเติมสารปรับปรุงบำรุงดินด้วยหินแร่ภูเขาไฟ พืชจึงเจริญได้อย่างต่อเนื่อง ไม่สะดุดหยุดการรรับสารอาหาร สามารถดูดซับจับความชื้นจากอากาศ รับแร่ธาตุกักเก็บสารอาหารที่ถูกน้ำพัดพาทำหน้าที่คล้ายตู้เย็นพืช จึงทำให้พืชโตเร็ว ต่อเนื่อง ผลผลิตเพิ่ม ลดต้นทุนการใช้ปุ๋ยเคมีที่ซื้อมาเสริมเพิ่มเติมลงไป

มนตรี บุญจรัส

ชมรมเกษตรปลอดสารพิษ www.thaigreenagro.com

หมายเลขบันทึก: 575982เขียนเมื่อ 9 กันยายน 2014 16:10 น. ()แก้ไขเมื่อ 9 กันยายน 2014 16:10 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท