วิธีการปราบเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล


การปราบเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลในยุคปัจจุบันนั่นถือว่ามีทางเลือกที่หลากหลาย มีหนทางอีกมากมายให้เลือกสรร ทั้งหนังสือวารสาร วิทยุทีวี และ อินเทอร์เน็ต แต่ที่อยากให้ท่านผู้อ่านได้นำไปใช้ก็อยากจะให้เป็นไปในรูปแบบที่ปลอดภัยไร้สารพิษ ไม่เป็นอันตรายต่อชีวิต และไม่เป็นมลพิษกับสิ่งแวดล้อม เจ้าเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลนั้นสามารถแพร่ขยายพันธุ์ตั้งแต่ไข่จนถึงตัวเต็มวัยใกล้เคียงกับหนึ่งเดือน แถมยังชนิดปีกสั้นสามารถวางไข่ได้ 300 ฟอง และชนิดปีกยาววางไข่ได้ 100 ฟอง นำมาถัวเฉลี่ยคือหารสองก็เท่ากับว่าเพลี้ยกระโดดวางไข่ได้ประมาณ 200 ฟอง แบ่งเป็นตัวผู้ 100 ตัวและตัวเมียอีก 100 ตัว เพียงห้วงช่วงสองสามเดือนก็จะสามารถแพร่กระจายขยายพันธุ์ได้เป็นร้อยถึงสองร้อยล้านตัว จึงทำให้การควบคุมโดยแมลงศัตรูธรรมชาติไม่ได้ผลโดยเฉพาะในห้วงช่วงที่มีการระบาดรุนแรง

การทำให้พื้นนาราบเรียบเสมอกันก็จะช่วยทำให้ต้นข้าวแข็งระบายถ่ายเทน้ำก็สามารถปล่อยน้ำออกได้อย่างทันท่วงทีแตกต่างจากพื้นนาที่ลุ่มๆดอนๆ เพราะเราจะสังเกตุเห็นเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลระบาดเป็นที่แรกตรงบริเวณที่ต้นข้าวขึ้นในแอ่งที่เป็นที่ลุ่ม การใช้เมล็พันธุ์เพียง 5-10 กิโลกรัมต่อไร่ก็สามารถช่วยทำให้การระบาดของเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลระบาดน้อยกว่าแปลงนาที่มีการหว่านเมล็ดพันธุ์หนาแน่นมากถึง 20-30 กิโลกรัม เพราะข้าวที่ได้รับแสงแดด ใบตั้งตรง จะไม่อ่อนแอจากการทำลายของเชื้อราฉวยโอกาศทำให้ยากต่อการเข้าทำลายของแมลงศัตรูพืชด้วยเช่นกัน ข้าวที่ได้รับซิลิก้ามากๆ ก็ให้ผลในลักษณะนี้ด้วยเช่นกัน (Silicon In Agriculture)
การใช้มะพร้าวขูด 200 กรัม ยาฉุน 100 กรัม คั้นกับน้ำต้มสุกอุ่นๆ 1 ลิตร แล้วนำน้ำที่ได้ไปผสมกับกาแฟแท้ 100% อีก 50 กรัม นำส่วนผสมทั้งหมดไปผสมกับน้ำเปล่าอีก 200 ลิตรสูตรนี้ท่านอาจารย์สุวัฒน์ ทรัพยะประภา ท่านว่ากระทิช่วยเป็นตัวแทนสารจับใบและกาแฟและยาฉุนจะทำให้หัวใจของเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลเต้นแรงคือมีผลกระทบต่อระบบประสาทและออกฤทธิ์เป็นยาเบื่อนั่นเอง. และีกวิธีหนึ่งที่ฮอทฮิตติดอันดับความนิยมต้นๆ ก็คือการใช้เชื้อราบิวเวอร์เรีย โดยเฉพาะบิวเวอร์เรียที่เสริมฤทธิ์ด้วยเมธาไรเซียมด้วยแล้วจะถือว่าให้ผลในการปราบเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลได้ดีค่อนข้างมากทีเดียวเชียวละครับ (ทริปโตฝาจ Triptophaj) ใช้ผงสปอร์ประมาณ 50 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตรฉีดพ่นทุก 3-7 วันเพลี้ยกระโดดจะเจ็บป่วยอ่อนแอหยุดนิ่งจากการติดยาเชื้อชีวภาพ
สปอร์ของเชื้อราบิวเวอร์เรียและเมธาไรเซียมจะงอกออกมาชอนไชแทงทะลุเข้าไปในลำตัวเพลี้ยจนอวัยวะภายในถูกทำลายจนเหลวแหลก ตัวเพลี้ยที่ล้มตายและจะกลายเป็นแหล่งอาหารให้จุลินทรีย์พร้อมที่จะเจริญเติบโตแพร่เชื้อต่อออกไปอีกเรื่อยๆเพราะสภาพแวดล้อมในแปลงนาที่หนาแน่นไปด้วยต้นข้าวมีความชื้นสูงเอื้อต่อการเจริญเติบโตของเชื้อราทั้งสองชนิดนี้เป็นอย่างดี ทำให้แปลงนาข้าวที่มีจุลินทรีย์ชีวภาพอาศัยอยู่โดยปราศจากสารเคมีกำจัดศัตรูพืชที่บ่อนทำลายชีวิตของเขาจะอยู่รอดปลอดภัย มักจะไม่ได้รับความเสียหายจากเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล แตกต่างจากแปลงนาที่ใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชที่มีพิษรุนแรง เพราะจะทำให้เพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลดื้อยาและต้านสารเคมีทำให้ต้นข้าวยังถูกทำลายต่อไป ท่านผู้อ่านและพี่น้องเกษตรกรที่ชื่นชอบแนวทางปลอดสารพิษพิชิตต้นทุนลองนำเทคนิคและวิธีการต่างๆดังที่ได้เขียนนี้ไปลองใช้กันดูนะครับ
มนตรี บุญจรัสชมรมเกษตรปลอดสารพิษ www.thaigreenagro.com

หมายเลขบันทึก: 575978เขียนเมื่อ 9 กันยายน 2014 16:03 น. ()แก้ไขเมื่อ 9 กันยายน 2014 16:03 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท