หยุดการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูปราบเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล


การป้องกันกำจัดหรือการปราบเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลในแปลงนาข้าวปัจจุบันนั้นพี่น้องเกษตรกรส่วนใหญ่เริ่มมีความเข้าใจมากขึ้น เกี่ยวกับเรื่องการดื้อยา ยิ่งใช้ยาฆ่าแมลงที่มีพิษรุนแรง หรือชนิดดูดซึมตกค้างยู่ในระบบนิเวศน์ที่ยาวนาน หรือปนเปื้อนอยู่ในธรรมชาติหลายปี ยิ่งจะทำให้เพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลนั้นมีการแปรสภาพกลายพันธุ์เพิ่มจำนวนมากมายหลายชนิด และที่สำคัญคือทราบว่า แท้จริงแล้วนั้นการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชที่เป็นอันตรายทั้งต่อผู้ใช้และทำให้ผู้บริโภคมีโรคภัยไข้เจ็บแทรกซ้อนตามมาอีกมาย ก็ไม่สามารถแก้ปัญหาเจ้าเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลนี้ได้ มิหนำซ้ำทำให้สิ้นเปลืองเงินทองอีกมากมายก่ายกอง จากราคายาฆ่าแมลงที่นำเข้าจากเมืองนอกเมืองนาราคาเป็นร้อยเป็นพัน

ในห้วงช่วงปี 2552 เป็นต้นมา ยาฆ่าแมลงหรือสารเคมีกำจัดศัตรูพืชต้องยอมสยบให้กับสารชีวภัณฑ์ จุลินทรีย์ชีวภาพ ที่เป็นสปอร์ของเชื้อราบิวเวอร์เรียร่วมด้วยช่วยกันจุลินทรีย์เมธาไรเซียมสายพันธุ์ที่ปราบแมลงศัตรูและโดยเฉพาะเจ้าเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล (เนื่องด้วยจุลินทรีย์บิวเวอร์เรียและเมธาไรเซียมมีมากมายหลายสปีชีส์) จึงทำให้มีประสิทธิภาพและประสิทธิผลอย่างมากในการป้องกันกำจัดแมลงศัตรูพืช หลังจากที่พี่น้องเกษตรกรได้เริ่มรู้จักการใช้จุลินทรีย์ชีวภาพปราบเพลี้ยอย่างกว้างขวางในปีนี้นี่เอง ทำให้เกิดกระแสการใช้ยาเชื้อชีวภาพหรืออาวุธเชื้อโรคในการปราบเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลในแปลงไร่นาของพี่น้องเกษตรกร มีการแตกกอต่อยอดนำไปประยุกต์ใช้ในการปราบเพลี้ยอ่อนเพลี้ยแป้งด้วยการใช้ร่วมกับน้ำยาล้างจานหรือสารจับใบ (ม้อยเจอร์แพล้นท์) จึงทำให้ทำลายจุดแข็งของเพลี้ยอ่อนเพลี้ยแป้งซึ่งก็คือผงฝุ่นละอองคล้ายแป้งเด็กและคราบไคลไขมันทำให้เมื่อฉีดพ่นแล้วมักจะไม่ค่อยโดนตัวเพลี้ยหรือแมลงศัตรูพืชมากนัก ทำให้ฉีดพ่นแล้วไม่ได้ผลเพลี้ยและแมลงไม่ตาย

การใช้จุลินทรีย์ "ทริปโตฝาจ" ซึ่งประกอบไปด้วยเชื้อรา บิวเวอร์เรียและเมธาไรเซียม ในอัตรา 50 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตรฉีดพ่นให้ทั่วแปลงนา สามารถฉีดพ่นได้ทุกเวลาทั้งเช้า สาย บ่าย เย็น โดยไม่ต้องกลัวสปอร์ของจุลินทรีย์จะหมดประสิทธิภาพ เพราะสภาพแวดล้อมในแปลงนานั้นมีความหนาแน่นของต้นข้าวและมีความอับชื้นหรือความชื้นสัมพัทธ์ที่เหมาะสมต่อการงอกหรือเจริญเติบโตของเจ้าจุลินทรีย์ทั้งสองชนิดนี้ หลังจากฉีดพ่นไปแล้วสปอร์จะเข้าสู่ระยะปรับ (lag phase). และจะค่อยเพิ่มจำนวนทวีคูณจากหนึ่งเป็นสอง จากสองเป็นสี จากสี่เป็นหก ไปเรื่อยๆ จนเชื้อสามารถเจริญเติบเต็มแปลงนาและจะคงที่ในห้วงช่วงวันที่สามสี่และห้า (stationary. Phase) และในห้วงช่วงวันที่หกหรือเจ็ดก็จะเริ่มมีจำนวนที่ตายมากกว่าตัวที่เกิด (dead phase). จึงทำให้เราอาจจะต้องฉีดพ่นซ้ำทุกๆเจ็ดวัน แต่ถ้าสามารถกำจัดให้อยู่หมัดในคราวแรกได้ก็ไม่ต้องเสียเวลามาฉีดพ่นซ้ำให้เมื่อยตุ้มครับ

มนตรี บุญจรัส

ชมรมเกษตรปลอดสารพิษ www.thaigreenagro.com

หมายเลขบันทึก: 575980เขียนเมื่อ 9 กันยายน 2014 16:06 น. ()แก้ไขเมื่อ 9 กันยายน 2014 16:06 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท