Application: เครื่องมือเชื่อมต่อคน


Application ที่จะ attract ทั้ง volunteer และ sponsor ให้มาร่วมกันดำเนินโครงการ พร้อมทั้งใช้ Gamification ทำให้เกิด engagement และ participation ที่สนุกสนานขึ้น

ตามที่เคยเล่าถึงการสนับสนุนของ MFEC PCL ต่องานของเครือข่ายเบาหวาน (อ่านที่นี่) ขณะนี้ eQuestionnaire ได้ผ่านการพัฒนาและนำไปทดลองใช้ในพื้นที่ที่กำลังดำเนินโครงการ Thai DPP มา 3 รอบแล้ว มีการปรับปรุงให้สมบูรณ์ขึ้นเรื่อยๆ

การสนับสนุนอีก 2 ส่วนของบริษัทคือการพัฒนา Application ที่จะช่วยระดม volunteer และ sponsor ซึ่งดิฉันเห็นว่าน่าจะทดลองใช้กับกิจกรรมภายในมหาวิทยาลัยก่อน แล้วจึงค่อยขยายไปสู่การใช้กับชุมชนในงานด้านสุขภาพ

เมื่อวันที่ 5 กันยายน 2557 คุณ Shimmy Thomas ซึ่งเป็น Vice President, Strategic Department ของ MFEC PCL และ Executive Director ของบริษัท Promptnow กับทีมงานคือคุณชัยยุทธ พิโรธิศักดิ์ และคุณชลิตรัตน์ ไทยปรีชา Business Development ของบริษัท Promptnow ซึ่งเป็นผู้สร้าง Application ได้มาเยี่ยมเราที่มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ จังหวัดนครศรีธรรมราช เพื่อมาพบกับผู้บริหาร เสนอแนวความคิด และรวบรวม requirement เอากลับไปทำงานต่อ

คุณ Shimmy Thomas และคณะเดินทางมาถึงนครศรีธรรมราชตอนเช้า เช่ารถขับจากสนามบินมามหาวิทยาลัยกันเอง เจ้าหน้าที่ของดิฉันเตรียมอาหารเช้าเบาๆ เอาไว้ต้อนรับ การพบกันครั้งนี้ ดร.กีร์รัตน์ สงวนไทร อธิการบดีมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์มาให้การต้อนรับและทำหน้าที่เป็นประธานในการประชุมร่วมกัน ระหว่างเวลา 10.00 – 12.00 น.


ภายในห้องประชุมโมคลาน ที่มีอธิการบดีเป็นประธาน


ทีมของมหาวิทยาลัยที่เข้าร่วมพูดคุยประกอบด้วย รศ.ดร.อมรา ช้างทรัพย์ รองอธิการบดีฝ่ายวิชาการ ผศ.ดร.เอกพงษ์ จุลเสนีย์ คณบดีสำนักวิชาสถาปัตยกรรมศาสตร์และการออกแบบ อ.ดร.อรรถโส ขำวิจิตร ผู้อำนวยการศูนย์คอมพิวเตอร์ อ.ดร.ชัยโรจน์ ใหญ่ประเสริฐ ผู้ช่วยอธิการบดีฝ่ายสารสนเทศ คุณปิยวัชน์ คงอินทร์ หัวหน้าส่วนกิจการนักศึกษา คุณอวยพร เรืองศรี หัวหน้าส่วนส่งเสริมวิชาการ คุณภีม ภคเมธาวี จากศูนย์บริการวิชาการ อาจารย์ เจ้าหน้าที่จากส่วนกิจการนักศึกษา ศูนย์คอมพิวเตอร์ และส่วนส่งเสริมวิชาการ มีหลายคนที่แจ้งชื่อไว้แต่ไม่ได้มา

คุณ Shimmy Thomas เริ่มต้นด้วยคำพูดที่ทำให้คนฟังเกิดความรู้สึกดีๆ ว่าสภาพบ้านเมืองที่เห็นระหว่างทางที่ขับรถมา “look like my parents hometown” ที่ประเทศอินเดีย บอกถึงแนวคิดในการทำงานของบริษัทและว่า CSR ไม่ใช่แค่ marketing campaign หวังว่างานที่ส่งมอบให้จะมีผลกระทบทางบวกต่อสังคม

คุณ Shimmy Thomas และทีมงาน ได้นำเสนอแนวคิดในการทำ Application ที่จะ attract ทั้ง volunteer และ sponsor ให้มาร่วมกันดำเนินโครงการ พร้อมทั้งใช้ Gamification ทำให้เกิด engagement และ participation ที่สนุกสนานขึ้น App นี้จะเป็น platform สำหรับสื่อสาร social projects


จากขวา คุณ Shimmy Thomas คุณชลิตรัตน์ ไทยปรีชา คุณชัยยุทธ พิโรธิศักดิ์


คุณชัยยุทธ เล่าว่าเกมมีวิธีทำให้คนติด เกิดความอยากจะแข่งขัน จึงเอา concept ตรงนี้มาใช้ โดยอาจจะมี Leaderboard, Badge หรือการได้ Medal และ scholarship จริงๆ (การให้คะแนนหรือแต้มจะไม่มีติดลบ)

คุณชลิตรัตน์หรือสปายบอกว่า App ใช้ประชาสัมพันธ์กิจกรรมแทนการติดประกาศที่ notice board คนสามารถ register ได้โดยการคลิก “join” และกด share ผ่าน facebook ได้ เมื่อมาร่วมกิจกรรมจริงก็สามารถสแกน QR code แทนการเข้าแถวรอลงทะเบียน การบริจาคเพื่อสนับสนุนกิจกรรมก็สามารถทำได้ผ่าน App

อธิการบดีมีความเห็นว่าระบบดังกล่าวนี้ relevant กับงานของมหาวิทยาลัยทั้งงานเก่าและงานใหม่ ตาม social engagement strategy

ผู้เข้าร่วมประชุมมีทั้งที่พอจะเข้าใจและนึกภาพออกบ้าง ไม่ออกบ้าง ได้ซักถามและช่วยกันคิดต่อว่าน่าจะเอาไปใช้กับงานอะไรอย่างหลากหลาย แต่เราสรุปว่าจะขอนำร่องด้วยงานของกิจการนักศึกษา ซึ่งนักศึกษาจะต้องสะสมจำนวนชั่วโมงการเข้าร่วมกิจกรรมทำสิ่งดีๆ อยู่แล้ว


ส่วนหนึ่งของทีมมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์


เราคุยกันจนถึงเวลาเที่ยงและรับประทานอาหารกลางวันมื้ออร่อยที่สั่งมาจากร้านเก่าแก่ที่ท่าแพ

หลังรับประทานอาหารกลางวัน ทีมของคุณ Shimmy Thomas คุยรายละเอียดกับทีมของส่วนกิจการนักศึกษาและเจ้าหน้าที่จากศูนย์คอมพิวเตอร์ เพื่อทำความเข้าใจและเก็บรายละเอียดต่างๆ ของกิจกรรม คุณปิยวัชน์ คงอินทร์ หัวหน้าส่วนกิจการนักศึกษาและทีมงานมีความกระตือรือร้นอย่างยิ่ง การพูดคุยมีบรรยากาศที่ดีมากๆ 


บรรยากาศของการพูดคุยตอนบ่าย


เราต่างตื่นเต้นที่จะมี App มาช่วยให้การทำงานกิจการนักศึกษาสะดวกและรวดเร็วขึ้น สามารถหาผู้สนับสนุนได้ ดิฉันยังมองเห็นโอกาสที่สำนักวิชาต่างๆ จะสร้างกิจกรรมเพิ่มเติมหรือร่วมกับส่วนกิจการนักศึกษา นอกจากนี้ไม่ว่านักศึกษาจะอยู่ภายในหรือภายนอกมหาวิทยาลัยก็สามารถจะทำกิจกรรมที่สะสมแต้ม/คะแนน/ชั่วโมงผ่าน App นี้ได้โดยไม่มีข้อจำกัด


วัลลา ตันตโยทัย

บันทึกเมื่อวันที่ 8 กันยายน 2557

หมายเลขบันทึก: 575920เขียนเมื่อ 8 กันยายน 2014 22:50 น. ()แก้ไขเมื่อ 8 กันยายน 2014 23:05 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

ขอบคุณครับ

ที่เล่าเรื่องให้อ่าน

เห็นความก้าวหน้าไปไกลมากๆ

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท