PLC เทศบาลเมืองมหาสารคาม _ : ครูภาวนา ดวงเพียราช


วัตถุประสงค์ข้อแรกของการสร้าง PLC เทศบาลเมืองมหาสารคาม คือการจัดการความรู้ ค้นหาประสบการณ์แห่งความสำเร็จและแนวปฏิบัติที่ดี (Best Practice) ครูในสังกัด หรือเรียกว่า “ครู BP เทศบาลเมืองมหาสารคาม”  ในบันทึกนี้ คุณอาริษา โคตรเนื่อง (คุณก้อย) เป็นผู้ " เล่าเรื่อง จากการถอดบทเรียนครูภาวนา ดวงเพียราช

ครูภาวนา ดวงเพียราช |การจัดการเรียนรู้แบบ “เพลิน”

(ถอดบทเรียน เขียนเล่าเรื่องโดย อาริษา โคตรเนื่อง)

เด็กเรียนรู้จากการเล่นหรือเพลิน, Play and Plearn” คือประโยคหนึ่งของบทสนทนาระหว่างข้าพเจ้ากับคุณครูภาวนาดวงเพียราชหรือครูปุ๊กสอนระดับปฐมวัยชั้นอนุบาล๓โรงเรียนเทศบาลโพธิ์ศรีสังกัดเทศบาลเมืองมหาสารคาม คุณครูเพื่อศิษย์อีกท่านหนึ่งที่มีกระบวนการจัดการเรียนรู้ที่ดีครูปุ๊กเล่าว่าโชคดีที่จบด้านการสอนเด็กระดับปฐมวัยได้สอนตรงตามสาขาที่ตนเองถนัดและโชคชั้นที่สองคือได้สอนชั้นอนุบาล๓เพราะไม่ต้องปูพื้นฐานอะไรมากเนื่องจากเด็กมีความรู้พื้นฐานตั้งแต่ระดับชั้นอนุบาล๑และ๒แล้วชั้นนี้จึงให้ความสำคัญกับการทำอะไรซ้ำๆเป็นประจำจนเด็กเกิดความเคยชินหรือทำให้เด็กท่องจำได้ราวกับ“นกแก้วนกขุนทอง”เพราะเมื่อจบอนุบาลแล้วเข้าเรียนต่อระดับชั้น ป.๑พื้นฐานทั้งหมดไม่ว่าจะเป็นก-ฮตัวเลขคำศัพท์พื้นฐานภาษาอังกฤษเช่นการนับเลขวันเดือนสีเป็นต้นเด็กจะระลึกถึงความรู้เดิมและสามารถนำมาใช้ได้ทันที

ครูปุ๊กดูแลเด็กในชั้นกว่า๒๐คนทำการสอนอยู่บนฐาน“เพลิน”(Play + Learn = Plearn)เด็กจะได้เรียนปนเล่นเล่นปนเรียนแบบนี้เป็นประจำเพราะครูปุ๊กเชื่อว่าการเล่นเป็นส่วนสำคัญของชีวิตเด็กการเรียนรู้และพัฒนาการของเด็กจึงเริ่มจากการได้เล่นก่อนประเด็นนี้ข้าพเจ้าเห็นด้วยเป็นอย่างยิ่งการเรียนปนเล่นจึงไม่ใช่เรื่องใหม่อะไรสำหรับวงการการศึกษาครูทุกคนทราบดีถึงผลประโยชน์อันมหาศาลของการเรียนปนเล่นนี้ประกอบกับผลการวิจัยทางการแพทย์ก็ยืนยันชัดเจนว่าการเล่นมีส่วนสำคัญอย่างมากในการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างสมองซึ่งการเล่นนี้เป็นกระบวนการเรียนรู้อย่างมีความสุขเป็นคุณค่าที่สำคัญที่ทำให้เด็กๆเติบโตอย่างมีวุฒิภาวะที่สมบูรณ์ทั้งกายใจและจิตวิญญาณครูปุ๊กก็ได้ขยายความต่อว่าแม้การเล่นจะมีความสำคัญแต่ครูต้องไม่ลืม “บูรณาการ”บูรณาการระหว่างเกมกับความรู้พื้นฐานให้แนบเนียนแยบยลจึงจะไม่ทำให้เด็กรู้สึกว่าตนนั้นกำลังเรียนอยู่ตลอดเวลาแต่สามารถเล่นสนุกกับเพื่อนๆ ในห้องได้เกือบทั้งวันเด็กจะมีทัศนคติที่ดีต่อการเรียนเด็กจึงอยากมาโรงเรียนทุกวัน

….ต่อไปนี้เป็นบทสนทนาระหว่างข้าพเจ้ากับคุณครูปุ๊ก

ข้าพเจ้า : ครูปุ๊กอยากให้เด็กระดับนี้(ระดับอนุบาล๓) ได้อะไรมากที่สุดหรือต้องการพัฒนาด้านไหนมากที่สุด?

ครูปุ๊ก : ครูมีความคาดหวังว่าเด็กระดับอนุบาล๓นี้ได้รับพื้นฐานวิชาภาษาไทยคณิตศาสตร์และภาษาอังกฤษควบคู่กับการมีศีลธรรมพร้อมที่จะเรียนในระดับต่อไปได้อย่างมีคุณภาพแม้ว่าเด็กจะยังเล็กอยู่คุณธรรมจริยธรรมครูจะต้องไม่ลืมสอนเรื่องนี้และเด็กควรได้รับการฝึกฝนทักษะการคิด(CriticalThinking)

ข้าพเจ้า :ทักษะการคิดที่ง่ายที่สุดทำอย่างไรคะ?

ครูปุ๊ก :...รอค่ะครูต้องรู้จักรอคำตอบจากเด็ก

ข้าพเจ้า :อยากให้ครูปุ๊กเล่าให้ฟังหน่อยว่าในแต่วันหรือแต่ละสัปดาห์ครูปุ๊กออกแบบการเรียนรู้ของเด็กไว้อย่างไรบ้าง?

ครูปุ๊ก :ก่อนอื่นต้องออกตัวก่อนว่าจะสามารถทำแผนหรือออกแบบการเรียนรู้ได้นั้นครูต้องศึกษาหลักสูตรการสอนเป็นอย่างดีต้องแตกฉานหลักสูตรของกรมส่งเสริมการปกครองส่วนท้องถิ่นต่อมาต้องทำแผนให้สอดคล้องกับจังหวัดหรือบริบทของชุมชนสังคมและวัฒนธรรมให้ตรงตามวัตถุประสงค์ของแต่ละระดับชั้นดังภาพประกอบ ๑

ภาพประกอบ ๑ ภาพแสดงขั้นตอนการออกแบบกิจกรรม

เมื่อได้ตารางกิจกรรมที่สอดคล้องกับบริบทของชุมชนแล้วก็จะเริ่มเรียนรู้ไปพร้อมๆ กันซึ่งในแต่ละวันเด็กจะได้พัฒนาเกือบครบทุกกิจกรรมไม่ว่าจะเป็นกิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะกิจกรรมเสริมประสบการณ์กิจกรรมสร้างสรรค์กิจกรรมเสรีกิจกรรมกลางแจ้งกิจกรรมเกมการศึกษาทั้ง๖กิจกรรมนี้ไม่จำเป็นต้องทำจนครบครูควรยืดหยุ่นตามสถานการณ์ไม่ใช่ฝนตกก็จะต้องทำกิจกรรมกลางแจ้ง(หัวเราะ)

ข้าพเจ้า :สัปดาห์นี้ครูสอนหน่วยอะไรคะ?

ครูปุ๊ก :สัปดาห์นี้สอนหน่วยการเรียนรู้จังหวัดมหาสารคามเมื่อวานนี้พาเด็กไปทัศนศึกษาเริ่มที่ศาลากลางจังหวัดมหาสารคามไปดูห้องทำงานของผู้ว่าราชการจังหวัดฯหอนาฬิกาศาลเจ้าพ่อหลักเมืองและที่สุดท้ายคือสวนสัตว์มหาวิทยาลัยมหาสารคามซึ่งก่อนที่จะพาเด็กไปข้างนอกก็ได้เล่าให้ฟังคร่าวๆแล้วว่าจังหวัดมหาสารคามมีสถานที่สำคัญๆอะไรบ้างสถานที่ท่องเที่ยวที่เด่นๆทั้งใกล้และไกลถึงแม้ว่าเด็กจะไม่เข้าใจก็ไม่เป็นไรก็เล่าให้ฟังก่อนจะได้คุ้นกับชื่อเมื่อเด็กมีความรู้เบื้องต้นแล้วก็พาไปดูสถานที่จริงจากนั้นวันต่อมาก็ต้องเปิดวิดีทัศน์ประวัติจังหวัดมหาสารคามสถานที่ที่เด็กเคยไปเด็กจะจำได้เมื่อจบวีดิทัศน์ก็เปิดรูปภาพที่ถ่ายเมื่อวันที่เราไปทัศนศึกษาทบทวนความจำอีกครั้งจากนั้นก็ให้เด็กทำแบบฝึกหัดที่สอดคล้องกับหน่วยการเรียนรู้จังหวัดมหาสารคาม สุดท้ายก็จะถามเด็กว่าใครประทับใจที่ไหนบ้างใครอยากเล่าให้เพื่อนฟังบ้าง

ข้าพเจ้าได้เข้าไปสังเกตการสอนของครูปุ๊กเป็นเวลาเกือบสองชั่วโมงวันนั้นตรงกับวันพุธครูปุ๊กเริ่มสอนหน่วยการเรียนรู้จังหวัดมหาสารคามตั้งแต่วันจันทร์วันอังคารครูปุ๊กพาเด็กไปทัศนศึกษาวันพุธข้าพเจ้าก็ไปโผล่อยู่ในห้องเรียนพอดีจึงได้เรียนรู้และเข้าใจกระบวนการสอนของครูปุ๊กมากยิ่งขึ้นเพราะตอนแรกนั้นสัมภาษณ์อย่างเดียว

ช่วงเช้าเด็กก็ทำกิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะโดยแต่ละคนจะนั่งที่รถประจำตำแหน่งรถแต่ละคันจะมีชื่อเด็กแต่ละคนและจอดเรียงกันเป็นรูปตัวยูดังภาพประกอบ ๒

ภาพประกอบ ๒ รถประจำตำแหน่ง

จากนั้นก็เริ่มด้วยการร้องเพลงพร้อมประกอบท่าทางท่องสัปดาห์หนึ่งมีเจ็ดวันท่องเดือนทั้ง๑๒สีเด็กทุกคนทำได้อย่างพร้อมเพรียงข้าพเจ้าขอชื่นชมเด็กทุกคนสามารถท่องวันเดือนสีได้ทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ

เมื่อจบกิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะครูปุ๊กก็เริ่มเปิดวิดีทัศน์ประวัติจังหวัดมหาสารคามให้เด็กๆดูพร้อมกับอธิบายไปพร้อมๆกันครูจะถามคำถามง่ายๆ“ที่นี่เรียกว่าอะไรไหนใครเคยไปแล้วเมื่อวานนี้เราก็ไปมาใช่ไหมคะ”แต่ในวิดีทัศน์ก็จะมีนอกเหนือจาก๔แห่งที่ครูพาไปครูปุ๊กจะอธิบายด้วยว่าที่นี่เรายังไม่เคยไปเขาเรียกว่า...เมื่อวีดิทัศน์จบลงครูปุ๊กให้เด็กร้องเพลงจังหวัดมหาสารคามสั้นๆพร้อมๆกันข้าพเจ้าเข้าใจว่าก่อนจะถึงวันนี้เด็กได้ฝึกร้องเพลงมาระยะหนึ่งแล้วในเนื้อเพลงจะบอกถึงประวัติจังหวัดมหาสารคามสถานที่สำคัญๆเป็นต้น
ครูปุ๊กก็ได้เปิดภาพถ่ายตอนไปทัศนศึกษาทั้ง๔แห่งให้เด็กดูอีกเด็กสามารถตอบได้และตอบถูกด้วยเนื่องจากได้ไปดูสถานที่จริงมาแล้วจากนั้นครูปุ๊กได้แจกแบบฝึกให้เด็กตกแต่งหอนาฬิกาให้สวยงามซึ่งเป็นได้ทั้งกิจกรรมสร้างสรรค์และเสรีเด็กมีอิสระที่จะวาดรูประบายสีเด็กๆมีสีหน้ายิ้มแย้มคุยกันเล่นกันพร้อมๆกับตั้งใจทำแบบฝึกของตนอย่างขะมักเขม้นดังภาพประกอบ ๓

ภาพประกอบ ๓ หอนาฬิกาของฉัน

ครูปุ๊กจะมีแฟ้มสะสมผลงานของเด็กๆทุกคนเมื่อเด็กทำแบบฝึกเรียบร้อยแล้วจะให้เด็กนำผลงานของตนเก็บเข้าแฟ้มช่วงแรกๆครูมีการสาธิตว่าจะเก็บผลงานเข้าแฟ้มอย่างไรปัจจุบันนี้เด็กๆสามารถเก็บผลงานด้วยตนเองครูช่วยเพียงเจาะกระดาษก่อนเก็บเข้าแฟ้มเท่านั้น

เมื่อเด็กวาดรูประบายสีเสร็จเรียบร้อยแล้วครูปุ๊กก็ได้รวมเด็กอีกครั้งหนึ่งพร้อมกับตั้งคำถามดังนี้

- เมื่อวานเราไปไหนมาบ้าง?

- เรานั่งรถอะไรไป?

- รถสีอะไร?

- มีใครประทับใจที่ไหนหรืออยากเล่าให้เพื่อนฟังบ้างว่าเมื่อวานได้ทำอะไรบ้าง?

จากคำถามข้างต้นเด็กอนุบาล๓สามารถตอบคำถามได้ทั้งหมดและมีเด็กหนึ่งคนยกมือขออาสาเล่าให้เพื่อนฟังเด็กคนนั้นตอบว่า“ไปสวนสัตว์”ครูปุ๊กก็ถามต่อว่าเห็นอะไรเด็กตอบว่า“เห็นกวาง”—เพื่อนๆที่นั่งฟังก็ช่วยกันตอบว่าเห็นกระต่ายไก่นกครูปุ๊กถามต่อว่าหนูได้ให้อาหารกวางมั้ย?เด็กตอบพร้อมพยักหน้าว่าได้ให้ครูปุ๊กถามอีกว่าเอาอะไรให้กวางกินเด็กตอบว่า“เอาหญ้าค่ะ”ครูปุ๊กไม่ลืมที่จะถามทุกคนว่าไหนใครเอาหญ้าให้กวางกินบ้าง?เด็กๆในห้องก็ยกมือตอบคำถามด้วยความสนุนสนานครูปุ๊กตบท้ายด้วยการสรุปว่าจังหวัดมหาสารคามก็เป็นจังหวัดหนึ่งที่มีสถานที่ท่องเที่ยวสำคัญๆมีสวนสัตว์ใกล้บ้านเราไม่ต้องไปไกลถึงโคราชก็ได้

ภาพประกอบ ๔ เด็กเรียนรู้จากวิดีทัศน์

ภาพประกอบ ๕ ขออาสาสมัครเล่าเรื่องประทับใจ

กิจกรรมในห้องอนุบาล๓นี้ไม่เพียงแต่ได้เรียนรู้จากการปฏิบัติบรรยากาศในห้องเรียนก็เอื้อต่อการเรียนรู้ด้วยสื่อประกอบการสอนมีมากมายหลากหลายทั้งจากงบประมาณของเทศบาลหรือแม้แต่ผลงานของครูผู้สอนและนิสิตฝึกสอนที่ช่วยกันออกแบบใบงานให้มีความสวยงามดึงดูดความสนใจของเด็กในวัยนี้ด้วยที่น่าสังเกตคือไม่ว่าจะเป็นแฟ้มที่เก็บยาสีฟันแปรงสีฟันที่นั่งจะมีชื่อและรูปเด็กติดอยู่เป็นการบอกเด็กโดยนัยว่าพื้นที่ตรงนี้ใครเป็นเจ้าของและถ้าจำชื่อไม่ได้ก็ไปดูได้ที่รถที่แฟ้มหรือแม้กระทั่งรถประจำตำแหน่งที่ครูปุ๊กติดไว้ก็เว้นระยะห่างพอดีเวลายืนเข้าแถวทำกิจกรรมเป็นรูปตัวยูเด็กก็จะเข้าเป็นระเบียบเรียนร้อยพร้อมทั้งคัดแยกเด็กที่คุยเก่งเล่นกันบ่อยจะมีรถประจำตำแหน่งตรงจุดที่ไกลกันสลับเช่นนี้กับเด็กที่เรียบร้อยไม่ค่อยพูด

วันนี้จึงเป็นวันที่ข้าพเจ้ารู้สึกมีความสุขที่สุดอีกวันหนึ่งที่ให้เรียนรู้กระบวนการจัดการเรียนการสอนของครูเพื่อศิษย์ซึ่งได้เห็นด้วยตาแล้วว่าท่านเป็นบุคคลที่ทุ่มเทและเข้าใจเด็กจริงๆพร้อมกันนี้ข้าพเจ้าได้ถอดกระบวนการสอนของครูปุ๊กไว้เป็น๕ขั้นและให้ชื่อว่าThe Star Model by KruPook ดังภาพประกอบ๖

ภาพประกอบ ๖The Star Model by KruPook

จากภาพประกอบ๖นั้นสามารถอธิบายกระบวนการสอนของครูปุ๊กตลอด๑สัปดาห์หรือตลอดหน่วยการเรียนรู้นั้นจะวนเวียนอยู่๕ขั้นดังนี้

  • ขั้น ๑ educate ขั้นนี้เป็นขั้นให้ความรู้จะมีทั้งบรรยายเปิดวีดิทัศน์สอนร้องเพลงเกี่ยวกับหน่วยการเรียนรู้นั้นๆ
  • ขั้น ๒ sense ขั้นนี้เป็นขั้นการเรียนรู้จากประสาทสัมผัสทั้ง๖คือตาหูจมูกลิ้นกายและใจเด็กจะได้ดูได้เห็นได้ยินได้สัมผัสของจริงสถานที่จริงพร้อมทั้งสอดแทรกในเรื่องศีลธรรมจริยธรรมเข้าไปในขั้นนี้ด้วย
  • ขั้น ๓ repeat เมื่อเด็กได้เรียนรู้จากการได้สัมผัสแล้วจะตามด้วยการทบทวนทวนสิ่งที่ได้พบได้เห็นอีกครั้งเมื่อให้แน่ใจว่าเด็กนั้นรู้และเข้าใจกับหน่วยการเรียนรู้นั้นๆ
  • ขั้น๔ practice เมื่อเด็กผ่านขั้น๓มาแล้วต่อไปเป็นหน้าที่ของใบงาน/แบบฝึกหัดที่มีการบูรณาการทั้งภาษาไทยคณิตศาสตร์ภาษาอังกฤษและศิลปะเมื่อเด็กมีความรู้ความเข้าใจในหน่วยการเรียนรู้นั้นๆเด็กจะสามารถทำแบบฝึกนี้ได้ถูกต้อง
  • ขั้น ๕ reflect แม้ว่าเด็กจะอยู่แค่ชั้นระดับอนุบาล๓ขั้นการสะท้อนความคิดความรู้สึกนี้ก็ไม่ควรที่จะละเลยเพียงแค่ให้เด็กได้เล่าเรื่องแสดงความรู้สึกชอบ/ไม่ชอบสนุก/ไม่สนุกอยาก/ไม่อยากทำกิจกรรมอีกเพียงเท่านี้จะทำให้ผู้สอนได้เรียนรู้และเข้าใจเด็กมากยิ่งขึ้น

ทั้ง ๕ ขั้นนี้ครูจะต้องไม่ลืมตั้งคำถามอยู่ตลอดเวลา ๕WH คือ Who What Where When Why และ How ที่สำคัญครูจะต้องรู้จักรอและมีความอดทนที่จะรอฟังคำตอบจากเด็กๆ

หมายเลขบันทึก: 575915เขียนเมื่อ 8 กันยายน 2014 21:06 น. ()แก้ไขเมื่อ 8 กันยายน 2014 21:08 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท