ทุกข์ปลายสายที่ซ้อนบนทุกข์ ทุกข์ ทุกข์


สำหรับเราๆผู้ศึกษาธรรม เพราะยังคลายความเห็นว่าเป็นตนไม่ได้ จึงยังมีตัวเรา มีของเรา มีลูกเรา มีทรัพย์เรา เป็นต้นอยู่ดังนั้นเวลาเผลอสติ ที่ทำให้เราอยากได้อะไรแล้วไม่ได้ตามที่อยาก เราจึงทุกข์ใจได้ เมื่อเราระลึกรู้ถึงความทุกข์ที่เกิดเพราะการไม่ได้ในสิ่งที่ต้องการ เพราะความที่ศึกษามาบ้าง เราจึงรู้ว่านี่คือทุกข์ที่เกิดจากการที่ความอยากถูกขัด ทุกข์นี้ เป็นความทุกข์ใจที่เราประสบจริง เราจึงเห็นว่าเป็นความทุกข์ได้ แต่อันที่จริง ทุกข์เริ่มต้นมาก่อนหน้านั้นล้วค่ะเพราะสรรพสิ่งล้วนเป็นทุกข์โโยสภาวะทั้งหมดเนื่องจากความที่ไม่สามารถคงอยู่ในสภาพเดิมได้ ต้องมีอันแปรปรวนไป หากรู้ชัดสภาวะและมีสติสัมปชัญญะแล้ว เราก็จะสามารถดับความทุกข์ได้เก่งขึ้น จนกระทั่งดับได้อย่างแท้จริง

ทุกข์ที่ว่ามีมาก่อนหน้านั้นที่น่าสนใจก็เช่นคือ เวทนาที่เกิดขึ้นก่อนหน้าที่จะเกิดความอยากนั้นแล้ว เวทนานั้นมีทั้งทุกข์ สุข ไม่ใช่ทุกข์ไม่ใช่สุขหรืออทุกขมสุขนั่นเองค่ะ ทั้งสามนี้ แม้แต่สุขเวทนาก็ได้ชื่อว่าเป็นทุกข์ด้วยเพราะความที่ไม่สามารถคงอยู่ได้ ต้องแปรปรวนแปรไป เกิดแล้วก็ต้องดับ

หรือ

ความไม่รู้ เช่น ไม่รู้ว่าสรรพสิ่งเป็นเพียงสภาพเกิดดับ ความรู้ไม่ทั่วหรือการไม่ได้นำพื้นฐานความเป็นจริงในปัจจุบันมาคาดการณ์อนาคตเพื่อหาทางรับมือ หรือ เพราะขาดการกำหนดสติหรือขาดการฝึกสติปัฏฐาน ปัญญาจึงมาไม่ทันสถานการณ์ จึงทำให้เห็นไปว่าสรรพสิ่งอันเป็นสภาพเกิดดับ ได้ชื่อว่าเป็นทุกข์เพราะไม่สามารถคงรูปอยู่ได้ เกิดจากเหตุปัจจัยผสมผสานกันทำให้เกิดขึ้น เป็นตัวตนที่เที่ยงแท้ถาวร สภาวธรรมที่เป็นเพียงรูป นาม จึงกลายเป็นตัวตน เป็นบุคคลต่างๆ มีเขา มีเรา ซึ่งสภาวะเหล่านี้ก็คือความไม่รู้ รู้ไม่ทั่ว รู้ผิด หรือ อวิชชา

ส่วนความทุกข์ที่เราๆรู้จักกัน เป็นทุกข์ที่ปลายสาย ทุกข์นี้ก็เป็นเวทนาที่เป็นผลสืบเนื่องมาจากเวทนาทั้งสามที่เกิดขึ้นแล้วในอดีตเมื่อ ตา หู เป็นต้น ได้รับรู้สิ่งที่น่าพอใจแล้วเกิดความรู้สึกทุกข์ สุข หรือเฉยๆ เมื่อเวทนาเกิดขึ้นแล้ว เราคิดปรุงแต่งว่าเราชอบหรือไม่ชอบเวทนานั้นๆ เมื่อชอบ ก็อยากยึดเวทนานั้นเอาไว้ อยากมีตนที่เป็นผู้เสพเวทนานั้นๆ อยากมีสิ่งที่ทำให้ได้เสพเวทนานั้นๆได้ จึงดึงสิ่งนั้นๆเข้าหาตัว เมื่อไม่ชอบ ก็อยากจะให้สิ่งนั้นสูญหายไป อยากผลักออก ไม่อยากรับสิ่งนั้นหรือเวทนานั้นไว้

ซึ่งทั้งความอยากในการเสพ อยากในความมีความเป็น และความอยากในความไม่มีความไม่เป็นนี้ก็คือตัณหาทั้งสามนั่นเองค่ะ (ตัณหา) เมื่อตัณหาถูกขัด เราจึงทุกข์

เพราะเหตุนั้น แม้แต่สุขเวทนาที่เกิดขึ้นก่อนก็อาจกลายเป็นทุกขเวทนาในที่สุดได้หากอยากยึดความสุข สิ่งที่ทำให้เกิดความสุขไว้ ซึ่งทุกข์ที่เกิดตามมานี้อาจเกิดได้ซ้ำแล้วซ้ำเล่า ทั้งๆที่สุขเวทนาที่เคยเกิดขึ้นนั้นดับไปนานแล้ว

เช่น เรารักหมาตัวหนึ่งมาก เวลาที่ได้เห็นหมาวิ่งเล่นก็สบายตา สบายใจ (สุขเวทนา) จึงคิดปรุงไปว่าภาพที่เห็นเป็นภาพที่ชอบ อยากเห็นภาพที่น่ารื่นรมย์นั้นบ่อยๆ (กามตัณหา) เพื่อเสพความสบายใจ ต่อมา หมาตัวนั้นถูกรถชน ภาพหมาที่กำลังจะตายนั้นทำให้เราไม่สบายใจ (ทุกขเวทนา) เราจึงปรุงไปว่าไม่ชอบภาพนั้น ไม่อยากเห็นภาพนั้น (วิภวตัณหา – อยากในความสูญ) ต่อมาหมาตัวนั้นตายลง ด้วยความรักเราจึงอยากให้หมาที่เรารักยังเป็นราวกับว่ายังมีชีวิตอยู่ (ภวตัณหา – อยากในความมี ความเป็น) เพื่อที่จะได้เสพความรู้สึกดีๆอีกต่อไป

ด้วยความสงสาร ภาพการทุรนทุรายก่อนตายของหมาจึงผุดขึ้นมาให้เราได้คิดปรุงไปว่าหมาคงเจ็บปวดมาก เราไม่อยากเห็นภาพนั้น (วิภวตัณหา) เรายึดการเสพสุขเวทนาที่เคยได้ ยึดตัวหมาไว้ ยึดความสงสารที่เกิดขึ้นและดับไปแล้วไว้ ครั้นเมื่อความอยากในลักษณะต่างๆไม่เป็นไปอย่างที่อยาก และจึงทำให้คิดถึงทีไร ก็ทุกข์ใจขึ้นมาทุกที

จะเห็นว่าแม้สุขเวทนา ทุกขเวทนา อันเกิดจากผัสสะนั้นดับไปแล้ว แต่เพราะความอยากและการยึด สิ่งที่จบไปแล้วจึงสามารถทำร้ายเราได้อยู่เรื่อยๆตราบเท่าที่เรายัง “ไม่วาง” เวทนาที่ไม่ว่าจะเป็นสุขหรือทุกข์หรืออทุกขมสุข แม้จะเกิดเพียงครั้งเดียว ก็อาจนำทุกข์โทมนัสมาให้เราต่อจากนั้นได้นับครั้งไม่ถ้วน

การดับทุกข์นั้น สามารถดับได้ทั้งที่ตัณหา และที่จุดเริ่มต้นคืออวิชชา โดยปกติ เรามักดับกันได้ที่ตัณหาค่ะ เพราะความที่ปัญญายังไม่พัฒนาจนเป็นญาณที่ทำให้รู้ทั่วถึง จึงไม่เฉียบคมพอที่จะดับในระดับที่สูงกว่านั้นบ้าง เรายังไม่คายกิเลสบางส่วนอันทำให้ไม่สามารถแจ้งธรรมบ้าง สติยังไม่ตั้งพร้อมเป็นสติปัฏฐานบ้าง จิตยังไม่ตั้งมั่นพอที่จะไม่หวั่นไหวไปตามเรื่องที่จรเข้ามาบ้าง เป็นต้น

เราจึงต้องเพียรเรื่อยไปค่ะ และพยายามตรวจสอบการปฏิบัติอันเป็นผลของความเพียรพร้อมๆกันไปด้วย

มมติว่าเรามีเรื่องกวนใจสักเรื่อง เช่น หวนละห้อยอาลัยหาถึงบางสิ่งที่ล่วงไปแล้ว โหยหาคะนึงถึงในสิ่งซึ่งเป็นไปไม่ได้

เสียใจซ้ำแล้วซ้ำเล่ากับบางอย่างที่ได้สูญเสียไป โกรธอย่างไม่มีเหตุผลเมื่อเห็นคนที่เคยทำให้ขัดใจ หากความรู้สึกเหล่านั้นไม่เบาบางลง หรือมีแต่จะฝังรากลึกลงไปเรื่อยๆเพราะเวียนเข้ามาให้ตริตรึกถึงได้ไม่สร่างซา แม้ว่าเราจะบอกตนเองว่ากำลังปฏิบัติธรรม ฝึกสติปัฏฐานอยู่ ก็แสดงว่าต้องมีอะไรผิดพลาดในการปฏิบัติขึ้นมาแล้วล่ะค่ะ

เพราะหากสติตั้งขึ้นพร้อมแล้ว ต้องพยายามตามระลึกด้วยความเป็นที่ไม่เป็นตน

เช่น เรา เกิดความเห็นผิดขึ้นแล้ว

ว่าสภาพเกิดดับนั้นเป็นตัวตนอันเป็นอกุศลธรรม

แล้วเราก็ยัง เกิดความเห็นผิดซ้อนบนความเห็นผิดแรกอีกที

คือยอมรับอกุศลธรรมนั้นไว้

แล้วก็ มีความเห็นผิดซ้อนบนความเห็นผิดที่เกิดขึ้นแล้วๆนั้นอีก

คือการไม่ยอมละไม่บรรเทา ไม่ทำให้ถึงกับความไม่มีอีกต่อไป

อกุศลธรรมที่จรเข้ามาจึงดูเหมือนไม่จรไป แต่ตั้งอยู่ในใจแล้วเผาเราอยู่ได้เรื่อยๆ

ากเพียรปฏิบัติอย่างถูกต้อง ไม่ว่าอย่างไร ทุกข์ต้องค่อยๆลดน้อยลง ให้เราได้ถูกต้องความสุขในลักษณะต่างๆ เช่น สุขจากการยอมรับความจริงแม้ในสิ่งที่ไม่ดีอันเป็นความซื่อตรงของจิต, สุขจากการเห็นกิเลสตนอันทำให้รู้ว่ามีกิจต้องทำอย่างไรต่อไป, สุขจากการดับของตัณหาที่สามารถดับเป็นครั้งๆได้, สุขจากการตามเห็นว่าสิ่งที่เวียนเข้ามาให้ตริตรึกนั้น เวียนมาในระยะเวลาที่ห่างออกไปทุกที อีกทั้งความรู้สึก “เจ็บปวดเหมือนถูกลูกศรแทง” ก็ลดน้อยลงทุกทีที่เรื่องนั้นเวียนเข้ามาให้ตริ

กระทั่ง สุขจากการรู้ชัดสภาวะ ว่าสิ่งนั้นไม่เป็นปัจจัยให้เกิดทุกข์นั้นได้อีกแล้ว สมุทัยหมดไปแล้วเรื่องหนึ่งเพราะการปฏิบัติตามธรรม

ขอทุกท่านมีธรรมเป็นที่พึ่ง เพียรฝึกฝนจนมีตนเป็นที่พึ่งของตน นะคะ

หมายเลขบันทึก: 575595เขียนเมื่อ 3 กันยายน 2014 09:43 น. ()แก้ไขเมื่อ 4 กันยายน 2014 18:15 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (5)

สวัสดีค่ะ   วันนี้มาเรียน เรื่อง ทุกข์  ทุกข์   ทุกข์   สาธุ

"ทุกอย่างอยู่ที่  ใจ"...รู้ใจ..รู้กาย..(สูญ)...ปลดทุกข์..ได้...

สมุทัยหมดไปแล้วเรื่องหนึ่งเพราะการปฏิบัติตามธรรม

ขอบคุณวรรคนี้ตรับ

ทุกข์ อยู่ที่เรากำหนดเองครับ สาธุ สาธุ

อ่านและใคร่ครวญ คิด วิตก วิจารณ์ เริ่มที่จะเข้าใจบ้าง ณ เวลาที่อ่าน

ประเดี๋ยวจะ เกิด ดับ ไปอีก ก็ต้องอ่านใหม่ 

ขอบคุณค่ะ

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท