วิธีปฏิบัติที่ดีในการบ่งชี้แนวเขตก่อสร้างในทางวิ่งทางขับลานจอด


อุปกรณ์บอกแนวเขต จึงประสงค์แค่จะจัดให้มี วัสดุอุปกรณ์สีสรรต่างๆที่สามารถมองเห็นเด่นชัด จากสภาพแวดล้อมบริเวณนั้น การทำสัญญลักษณ์บอกแนวเขตพื้นที่ ทำได้โดยการกั้นกรวยยางและติดไฟสีแดงทุกระยะไม่เกิน 3 เมตรขวางตลอดกว้างรวมไหล่ทางวิ่งทางขับ มิได้มุ่งหวังการสกัดกั้น(อากาศยาน)มิให้ล้ำเข้าในเขตก่อสร้าง

วิธีปฏิบัติที่ดีในการบ่งชี้แนวเขตก่อสร้างในทางวิ่งทางขับลานจอด

"แท่ง Barrier ขนาดความสูง 20 เซนติเมตรใช้บอกแนวเขต(Denoting or Identify Perimeter) ก่อสร้าง(Construction Area)หรือเขตพื้นที่ที่กันไว้ไม่ได้ประสงค์เปิดให้ใช้งาน(Unservicable Area)  เป็นแค่บอกแนวแสดงขอบเขตพื้นที่ให้เด่นชัดขึ้น มิใช่ใช้เพื่อสกัดกั้น(Protection)กีดกั้น,ขวาง(Obstructed)ไม่อากาศยานรุกล้ำเข้ามาในพื้นที่"  

ดังนั้นอุปกรณ์บอกแนวเขต จึงประสงค์แค่จะจัดให้มี วัสดุอุปกรณ์สีสรรต่างๆที่สามารถมองเห็นเด่นชัด จากสภาพแวดล้อมบริเวณนั้น  การทำสัญญลักษณ์บอกแนวเขตพื้นที่ ทำได้โดยการกั้นกรวยยางและติดไฟสีแดงทุกระยะไม่เกิน 3 เมตรขวางตลอดกว้างรวมไหล่ทางวิ่งทางขับ  รวมถึงทาสีเครื่องหมายกากบาทบนพื้น มีไว้เพื่อ บอกแนวเขตพื้นที่ปิดไม่ได้เปิดให้ใช้งาน หรือพื้นที่ก่อสร้าง มิได้มุ่งหวังการสกัดกั้น(อากาศยาน)มิให้เข้าเขตก่อสร้าง โดยการการกั้นด้วย Barrier ปูน หรือแม้กระทั่งไฟเบอร์กลาสใส่น้ำสูงที่สูงเกิน 50 เซนติเมตร แต่อย่างใด (visual aids for denoting unservice area)

         หลายครั้งผู้ตรวจทางวิ่งพบว่า งานก่อสร้างต่างๆในทางวิ่งทางขับ ลานจอด มีการกันพื้นที่ส่วนที่ก่อสร้าง โดยใช้ Barrier กั้นแนวเขตลักษณะทำด้วย ไฟเบอร์กลาสใส่น้ำ แล้วนำมาวางขวางจุดที่ไม่ต้องการให้อากาศยานเลยถลำเข้าไปยังพื้นที่ก่อนสร้าง ซึ่งมีเครื่องมือเครื่องจักรขนาดใหญ่อาจทำอันตรายอากาศยาน อย่างหนักกรณีอากาศยานวิ่งเลยไปชนเข้ากับเครื่องจักรเหล่านั้น

         ซึ่งตามมาตรฐานแล้ว การทำเครื่องหมายบนสัญญลักษณ์ ให้จัดหาติดตั้งเพื่อใช้บอกแนวเขตก่อสร้างเพียงเท่านั้น ไม่ได้เจตนาให้อุปกรณ์เหล่านั้นทำหน้าที่สกัดกั้นอากาศยานให้ช้าหรือหยุดแต่อย่างใด  เพราะถ้าต้องการสกัดกั้น อุปกรณ์ที่นำมาติดตั้งจะต้องติดตั้งมั่นคงแข็งแรงฝังลงไปในพื้นผิว ซึ่งความแข็งแรงนี้เอง เมื่ออากาศยานชนกระแทกเข้า ก็จะทำให้อากาศยานเสียหาย ล้อเสียหาย ไม่สามารถควบคุมทิศทางได้อีกเป็นสาเหตุให้เกิดความเสียหายขั้นรุนแรงต่อไป นั่นคือสาเหตุที่เราป้องกันได้ โดยกำหนดให้อุปกรณ์ที่จะนำมาติดตั้งเพื่อบ่งชี้ บอกแนวเขตนั้น ต้องเป็นวัสดุที่สามารถยืดหยุ่น แข็งแต่เปราะแตกหักได้โดยง่ายเมื่อถูกชนกระแทก (ICAO กำหนดค่าแรงการกระแทกไว้ว่าเท่าไร วัตถุนี้จะต้องแตกหักพังไป ซึ่งต้องทำการทดสอบค่าแรงที่กระทำให้ผ่านค่ามาตรฐาน)

           ดังนั้นต้องทำความเข้าใจเรื่อง การรักษาความปลอดภัย กับ การบ่งชี้จุดอันตราย เสียใหม่ แบบแรก การรักษาความปลอดภัย เราต้องการสกัดกั้นให้เข้ามาได้ลำบาก ประกอบด้วยอุปกรณ์ที่แข็งแรงมั่นคง ทนแรงกระแทกได้ยิ่งสูงยิ่งดี แต่แบบหลัง การบ่งชี้จุดอันตรายนั้นเราต้องการเตือน ชี้ชัด บ่งบอกแนว เขตอันตราย ต้องการความมั่นคงแต่แข็งแรงระดับหนึ่งมีจุดเปราะแตกหักได้ในระดับแรงกระแทกค่าหนึ่ง มีลักษณะแบบ ยืดหยุ่นได้เช่นกรวยยาง แตกหักได้ง่ายแบบมี จุดแตกหัก (Breakable Coupling) ลักษณะองค์ประกอบแบบมีความแข็งแต่มีมวลเบา (Low Mass) เช่น อลูมิเนียม ไททาเนียม ไฟเบอร์กลาส คาร์บอนไฟเบอร์ ไม่ใช่แบบมวลแข็ง (Rigid) แบบนี้ที่เรานำมาใช้ในภาคพื้นสนามบิน เพราะจะไม่เพิ่มความเสียหายให้หนักขึ้นเมื่ออากาศยานพลาด หรือไถลออกนอกทางวิ่งมากระทบเข้ากับวัสดุเหล่านี้

ในต่างประเทศการกั้นพื้นที่บอกแนวเขตก่อสร้างนั้น ใช้ Barrier แต่เป็นชนิดที่มีส่วนสูงไม่ควรเกิน 20 เซนติเมตร ทำจากไฟเบอร์กลาส สีแดง/ส้ม สลับขาว มีหลอดไฟสีแดงติดสว่างในเวลากลางคืน เป็นระยะห่างไม่เกิน 3 เมตร ตลอดความยาวที่กั้นไว้

การนำวัสดุพิเศษนี้มาใช้ทำอุปกรณ์ภาคพื้นก็มีอยู่มาก ดังเช่น

1.ขาเสาไฟPAPI ขาเสาไฟนำร่อง(Approach light) ที่ทำจากไฟเบอร์กลาสหล่อขึ้นรูป 

2.เคสของโคมไฟสนามบินเป็นอลูมิเนียมหล่อขึ้นรูปแข็งแต่เปราะ

3.เสาอากาศบอกมุมร่อน Shelter สำหรับติดตั้งวิทยุเครื่องช่วยเดินอากาศเป็นชนิดมวลเบา(Low mass Structer) และมีขาช่วยรับน้ำหนัก(Self Support)

4.โครงเสาถุงกระบอกทิศทางลม แบบมีขาช่วยรับน้ำหนัก(Self Support)

5.สายอากาศบอกแนวกึ่งกลางทางวิ่ง โดยตัวสายอากาศทำจากไฟเบอร์กลาสหล่อหุ้มขดลวดสายกาศ และตัวโครงเสาที่ทำที่ทำจากอลูมิเนียมและสามารถล้มพับลงได้  

6.ป้ายบอกข้อมูล/ทิศทางอากาศยาน ซึ่งนอกจากเสาจะเป็นอลูมิเนียมแล้ว ยังต่อข้อต่อที่แตกหักได้ง่าย(Breakable Coupling)ต่อระหว่างเสาเหนือพื้นผิวขึ้นมา เพื่อให้เป็นจุดที่กระทบแล้วหักหลุดกลิ้งไป ตามแรงกระแทกมาตรฐานที่ถูกทดสอบมาแล้วว่าจุดแตกหัก สามารถแตกหักได้เมื่อได้รับแรงปะทะ(Impact)เป็นไปตามเกณฑ์ที่ทดสอบ เป็นต้น

พื้นที่ก่อสร้างบนไหล่ทางขับเดิมที่ใช้งานปัจจุบัน จากการตรวจพบมีบางช่วงมีการก่อสร้างบนไหล่ทางขับ จึงให้สนามบินนำกรวยยางสีส้มวางตลอดแนวก่อสร้างห่าง 3 เมตรพร้อมติดไฟสีแดงแบบไม่กะพริบ ไม่น้อยกว่า 20 วัตต์ ตลอดแนวพื้นที่ก่อสร้างเพื่อบ่งบอกแนวเขต ก่อสร้างและเป็นการเตือนให้เพิ่มความระมัดระวังในการขับเคลื่อนอากาศยานให้ตรงตามเส้นกึ่งกลางทางขับโดยเฉพาะบริเวณตำแหน่งที่ก่อสร้างไหล่ทางขับ

การใช้ Baricade บอกแนวพื้นที่ๆไม่เปิดให้ใช้งาน ตามข้อกำหนดควรตั้งให้ต่ำที่สุด เพียงพอที่จะไม่ทำให้เครื่องยนต์ใบพัดของเครื่องบินเสียหายเมื่อล้ำผ่านไป และติดไฟสีแดงแบบไม่กะพริบ 10 แคนเดลลา ทุกระยะห่างไม่เกิน 3 เมตร 

หมายเลขบันทึก: 575592เขียนเมื่อ 3 กันยายน 2014 08:31 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 กรกฎาคม 2017 06:37 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

สิ่งนี้..เห็นในเมืองไทย..น้อยที่สุด..ทั่วๆไป..กับการก่อสร้าง..ไม่ว่าที่ใดๆ...โดยเฉพาะ..ถนนหนทาง..(โปรดสังเกตุ)

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท