การศึกษาบทบาทของระบบเหมืองฝายกับวิถีชีวิตชาวตำบลแจ้ซ้อน อำเภอเมืองปาน จังหวัดลำปาง


บทที่ 2

เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง

ในการศึกษาเรื่องระบบเหมืองฝายกับวิถีชีวิตชาวตำบลแจ้ซ้อน จังหวัดลำปาง ซึ่งผู้ศึกษาได้ค้นคว้าจาก เอกสาร แนวคิด และงานวิจัยที่เกี่ยวข้องเพื่อนำมาใช้ในการศึกษา

ในการศึกษาเรื่องระบบเหมืองฝายกับวิถีชีวิตชาวตำบลแจ้ซ้อน จังหวัดลำปาง ซึ่งผู้ศึกษาได้ค้นคว้าจาก เอกสาร แนวคิด และงานวิจัยที่เกี่ยวข้องเพื่อนำมาใช้ในการศึกษา

1 แนวความคิดการปกครองและการจัดการสาธารณะ “การอนุรักษ์ระบบเหมืองฝาย”

2 ทฤษฎีการมีส่วนร่วมของชุมชน

-เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง

ในการศึกษาวิจัยครั้งนี้ได้มีการทบทวนเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องดังนี้

ศุภชัย ยาวะประภาส (2539) ในการบริหารงาน การกำหนดนโยบายซึ่งเป็นกิจการที่อยู่ในความอำนวยการ หรือความควบคุมของฝ่ายปกครอง ลักษณะที่สำคัญที่สุดของนโยบายที่เกี่ยวข้องกับการอนุรักษ์วัฒนธรรมของชุมชน เช่น การอนุรักษ์ระบบเหมืองฝายหรือการสร้าง ปรับปรุง เพื่อความสะดวกสบายต่อการทำมาหากินของประชาชนและเป็นกิจการที่รัฐจัดทำขึ้นเพื่อสนองต่อความต้องการของประชาชนด้วย

สุพจน์ บุญวิเศษ (2548) กล่าวว่า การบริหารกิจการบ้านเมืองและ สังคม ประชาชนและหน่วยงานราชการที่มีบทบาทรวมกัน นั้นมันมีกติกาหรือกฎเกณฑ์การบริหารการปกครองที่ดีและเหมาะสมการบริหารงานอย่างเป็นระบบระเบียบของประชาชน ชุมชนและหน่วยราชการและมีเป้าหมายปรับการบริหารจัดการ

ปรัชญา เวสารัชช์ (2538,หน้า8) กล่าวว่า การมีส่วนร่วมของประชาชน หมายถึงกระบวนการซึ่งประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมเกี่ยวข้องในขั้นตอนต่างๆของกิจกรรมของส่วนร่วมซึ่งมีวัตถุประสงค์ในการพัฒนาชนบทโดยการเข้ามาเกี่ยวข้องนี้ผู้เข้าร่วมได้ใช้ความพยายามและเสียสละทรัพยากรบางอย่างเช่น ความคิด วัตถุ และแรงกายเวลา

บทความจากสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (2556)ได้ทำการศึกษาเรื่อง“ระบบเหมืองฝาย”:วิถีวัฒนธรรมแห่งน้ำ...ของชาวล้านนา ระบบเหมืองฝาย' วิธีการ กักเก็บ จัดสรร แบ่งปัน ทรัพยากรน้ำที่ใช้หลักการด้านประเพณี วัฒนธรรมพื้นบ้านของชาวเหนือมาผสมผสานกับเรื่องของทรัพยากรธรรมชาติไว้ได้อย่างลงตัว โดยมีแก่ฝายเป็นผู้นำคนสำคัญ ซึ่งต่างกับการสร้างเขื่อนกักเก็บน้ำของภาครัฐอย่างสิ้นเชิง เพราะนับแต่อดีตการจัดการน้ำของชาวบ้านจะสะท้อนถึงมิติทางวัฒนธรรม สังคม และการมีส่วนร่วมของชุมชนเข้ามาเกี่ยวข้องสูงมาก แต่ปัจจุบันการจัดการน้ำไปตกอยู่ในมือของชลประทาน ซึ่งเป็นการจัดการน้ำแบบแยกส่วน ขาดมิติทางวัฒนธรรมและการมีส่วนร่วมของชุมชน

สุมาตร ภูลายยาว. โครงการแม่น้ำเพื่อชีวิต. (2551) ได้ทำการศึกษาเรื่องระบบเหมืองฝาย: การจัดการน้ำของคนล้านนา ระบบเหมืองฝาย เป็นระบบการจัดการน้ำระบบหนึ่ง โดยอาศัยภูมิปัญญาท้องถิ่นเข้ามาจัดการ การทำเหมืองฝายแยกออกเป็น ๒ ส่วนคือ ส่วนที่เป็นตัวฝาย ส่วนนี้ทำไว้เพื่อกั้นน้ำ ให้ระดับน้ำสูงขึ้น ส่วนที่ ๒ คือ ลำเหมือง ส่วนนี้จะมีการขุดดินเพื่อเป็นคอลงส่งน้ำไปตามที่ต่างๆ ซึ่งอยู่ตอนท้ายของลำเหมือง บริเวณตัวฝายจะมีประตูเปิด-ปิดน้ำเอาไว้ เพื่อเปิด-ปิดน้ำตามเวลาที่ต้องการ น้ำที่ส่งไปตามเหมืองฝายก็เพื่อการอุปโภค

บทสัมภาษณ์ สุมนมาลย์ สิงหะ ผู้ช่วยนักวิจัย โครงการคืนความสัมพันธ์ชุมชนล้านนากับทรัพยากรน้ำ กรณีฝายพญาคำ อ.สารภี จ.เชียงใหม่ (2548) ได้ทำการศึกษาและวิเคราะห์ระบบเหมืองฝายได้ผสมผสาน จำลองโครงสร้างแบบราชการ นายอำเภอเหมือนแก่ฝาย แต่อำนาจของชาวบ้านดำรงอยู่อย่างกระจัดกระจาย อำนาจของชาวบ้านจะมีความละเอียดอ่อนกว่าอำนาจจากรัฐที่สั่งให้ทำนั่นทำนี่ ชาวบ้านจะมีการต่อรองกับชาวบ้านด้วยกัน ต่อรองกับกลุ่มคนใหม่ ๆ ที่เข้าไปใช้น้ำ

ทั้งวิธีคิดเรื่องประสิทธิภาพ ความยั่งยืน และเป็นธรรมของรัฐกับชาวบ้านก็แตกต่างกัน มีงานวิจัยที่อ้างว่า ประสิทธิภาพของชลประทานสมัยใหม่ดีกว่า แต่เป็นการมองสเกลใหญ่ เช่น สร้างเขื่อนโดยมองที่ปริมาณน้ำและต้นทุน แต่ฝายของชาวบ้านเป็นการมองสเกลเล็ก ไม่ต้องใช้เทคโนโลยีสูง อย่างฝายพญาคำ นอกจากใช้ลำน้ำปิงแล้วชาวบ้านยังรู้จักแหล่งซับน้ำ ที่เป็นห้วย หนอง น้ำผุด ถ้าขาดแคลนน้ำปิง เขาก็หันไปใช้หนองน้ำ เขามีการจัดการร่วมกัน

นิคม พรหมมาเทพย์ เรื่องบ่าเก่าเล่าล้านนา.(2539)อาณาจักล้านนา รวมขึ้นจาก 8 จังหวัดภาคเหนือของประเทศไทย ได้แก่ จังหวัดเชียงใหม่ เชียงราย ลำพูน ลำปาง แพร่ น่าน พะเยา และแม่ฮ่องสอน ภูมิประเทศทั่วไป เป็นพื้นที่ภูเขาสลับที่ราบ การเกษตร ในที่ราบดังกล่าวอาศัยสองฝั่งน้ำเป็นที่ทำกิน ซึ่งในหน้าแล้ง แม่น้ำจะลดระดับลงต่ำ เกษตรกรจึงหาวิธีการแก้ไข โดยการกั้นแม่น้ำระดับสูงขึ้น เอ่อเข้าสู่ลำเหมืองที่กั้นแม่น้ำดังกล่าวเรียกว่า “ฝาย”

ฝาย การสร้างฝายเป็นผะหญา (ปัญญา) อันชาญฉลาดของคนล้านนา ที่ใช้ความสังเกต ระดับน้ำขึ้นตามฤดูกาลต่างๆ

กรอบแนวคิดในการศึกษาวิจัย

คำสำคัญ (Tags): #รายงาน
หมายเลขบันทึก: 575089เขียนเมื่อ 24 สิงหาคม 2014 22:19 น. ()แก้ไขเมื่อ 24 สิงหาคม 2014 22:22 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท